Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

meet&EAT

ทะเลภาคตะวันออกช่วงปลอดมรสุมผืนน้ำสีฟ้าจะมีความหวานละมุน มองแล้วชื่นสายตา อีกทั้งยังไม่ต้องออกเรือไปไกล หากนั่งสปีดโบ๊ทจากท่าเรืออ่าวมะขามป้อม แหลมแม่พิมพ์ จะใช้ประมาณ 15-20 นาทีเท่านั้นก็จะไปถึงหมู่เกาะมัน อันประกอบด้วยเกาะมันใน เป็นเกาะที่อยู่ใกล้ฝั่งที่สุด และมีขนาดใหญ่กว่ามันกลางและมันนอก ด้วยพื้นที่ 131 ไร่ เอกลักษณ์ที่สำคัญคือเป็นที่ตั้งของศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เกาะนี้ไม่มีที่พัก แต่สวยงามเหมาะกับการเที่ยวชม โดยเฉพาะช่วงที่มีทะเลแหวก ส่วนเกาะถัดไปคือ เกาะมันกลาง เกาะแห่งนี้ขึ้นชื่อเรื่องการเป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังน้ำตื้น ด้วยสภาพโขดหินที่กระจายตัวสลับกับชายหาดรอบเกาะ เกาะนี้มีที่พัก และมีทะเลแหวกน้อย ๆ เกาะถัดไปที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาเกาะมัน  คือ เกาะมันนอก มีพื้นที่ประมาณ 95 ไร่ มีที่พัก 1 แห่ง ด้วยความไกลจากฝั่งมากขึ้น ก็ทำให้ทะเลมีสีเขียวอมฟ้า และมีชายหาดที่สะอาดตา สวยงามและเป็นส่วนตัวเฉพาะผู้เข้าพักเท่านั้น ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน หมู่เกาะมัน จังหวัดระยอง ก็ยังคงเอกลักษณ์ของความเงียบสงบ ล่าสุดที่เกาะมันกลาง

หลังจาก “แห้ว” มีชื่อเรียกใหม่ว่า “สมหวัง” ดูเหมือนว่าภาพรวมต่าง ๆ ก็ดูดีตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าแค่เปลี่ยนชื่อแล้วจะมีความเปลี่ยนแปลง เพราะแห้ว ก็ยังเป็นแห้ว เป็นพืชที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า มีประโยชน์มากแค่ไหน ทั้งตัวผู้กิน ผู้ปลูก และวันนี้แห้วก็เป็นหนึ่งในขบวนการกู้โลกไปแล้ว รู้จักแห้วสุพรรณ GI พื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแหล่งปลูกแห้วคุณภาพของที่ได้ชื่อว่า มีหัวโต เติบโตได้ดีในพื้นที่นา เต็มไปด้วยคุณประโยชน์ มีไฟเบอร์สูง และแร่ธาตุต่าง ๆ เพราะปลูกในแหล่งที่ได้ชื่อว่ามีดิน ฟ้า อากาศ ที่เหมาะสำหรับการปลูกแห้ว เพียง 1 เดียวในเมืองไทย จนทำให้ “แห้วสุพรรณ” ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “สมหวังที่วังยาง” เป็นชื่อที่ทำให้หลายคนได้รู้จักเรื่องราวของแห้วมากขึ้น ทั้งจากการส่งเสริมและพัฒนา “แห้ว” ให้

ย้อนไปไม่นานในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 หลายคนคงจำปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี เพราะเป็นช่วงที่เราต้องอยู่บ้านกันเป็นหลัก กิจกรรมสันทนาการที่พอจะทำได้ในเวลานั้น เกิดเป็นธุรกิจหลายอย่าง โดยเฉพาะการขายอาหาร ซึ่งหลาย ๆ ร้านมีจุดเริ่มต้นจากช่วงเวลานั้น อีกหนึ่งกิจกรรมยามว่างที่หลายคนหันมาสนใจ แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การเลี้ยงกระบองเพชร หรือ แคคตัส เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่บูมขึ้นมาอีกครั้งในช่วงโควิด [caption id="attachment_31214" align="aligncenter" width="800"] จากโรงเรือนเล็ก ๆ สู่นักธุรกิจผู้คร่ำหวอดในวงการกระบองเพชร[/caption] สวนกระบองเพชรภูพินิจพงศ์ การ์เด้น อ.ด่านขุนทด โดย “เจษฎ์ ภูพินิจพงศ์” ที่เริ่มต้นจากคำถามและความสงสัย จนเริ่มศึกษาการเลี้ยงกระบองเพชรมาตั้งแต่ปี 2552 ค่อย ๆ พัฒนามาจากโรงเรือนขนาดเล็กแค่เมตรกว่า มาเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่นับ 10 โรงเรือน จากทำเป็นงานอดิเรกกลายเป็นงานประจำ ปัจจุบันถือเป็นแหล่งปลูกกระบองเพชรขนาดใหญ่ และสามารถดูแลพร้อมพัฒนาสายพันธุ์ มีกระบองเพชรจำหน่ายตั้งแต่ราคาหลักสิบไปจนถึงหลักหมื่น จำหน่ายในประเทศและการส่งออก ที่นี่เป็นทั้งคาเฟ่

เป็นอีกจังหวัดที่ไปเมื่อไหร่ก็เป็นอันตกหลุมรักเหมือนเพิ่งได้พบเจอเสมอ ด้วยวิถีแห่งผู้คนและธรรมชาติที่เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ท่ามกลางบรรยากาศอันเงียบสงบ งดงามและลงตัวในแบบฉบับของตัวเอง ทำให้ “ชัยภูมิ” เป็นหนึ่งในกลางใจ เดินทางไปคราใดก็ยังรู้สึกดี ๆ เสมอ ต้นเดือนพฤษภาคมประเทศไทยยังอยู่ในฤดูร้อน ช่วงเวลาที่หลายคนบอกว่าอยากนอนตากแอร์อยู่บ้านมากกว่าจะออกไปไหน แต่กลับกลายเป็นว่า ไปเที่ยวชัยภูมิในครั้งนี้ มีแต่เรื่องราวชื่นตาชื่นใจ เป็นน้ำเย็นที่ราดรดความรุ่มร้อนให้ผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี จะมีที่ไหนบ้าง ไปดูกันเลย รับพลังแห่งความชื่นบาน ทุ่งบัวแดง บึงละหาน รับพลังยามเช้าอันงดงามที่บึงละหาน ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ อันดับ 3 ของประเทศไทย มีพื้นที่กว่า 18,000 ไร่ ครอบคลุมหลายตำบลในอำเภอจัตุรัส สะพานไม้ที่ทอดยาว 450 เมตร ถือเป็นแลนด์มาร์คของบึงละหาน ทุ่งบัวแดงที่บานสะพรั่งตั้งแต่ช่วงเช้าไปถึงยามสาย เป็นเวลาที่อันน่าชื่นตาชื่นใจ นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการล่องเรือชมความงดงามในบึงกว้าง ทั้งในยามเช้าและยามเย็น โดยเฉพาะในเช้าตรู่ของแต่ละวัน นกนาชนิดต่างออกมาหากินในอยู่ในบึง ขณะที่ชาวบ้านที่อาศัยความอุดมสมบูรณ์ของบึงละหาน ก็ออกเรือมาหาสัตว์น้ำไปกินไปขาย

ธรรมชาติของดอกบัวจะเริ่มผลิบานตั้งแต่กลางดึก และจะสะพรั่งอย่างเต็มที่ตั้งแต่ช่วงเช้าไปถึงช่วงสาย แต่เราก็ไม่อาจตัดสินใจได้ว่าควรจะมาเที่ยวชมทุ่งบัวแดงบึงละหานในตอนไหน เพราะความเคลื่อนไหวของธรรมชาติ รวมทั้งวิถีของชาวบ้านในละแวก ไม่เคยหยุดนิ่ง ท่ามกลางความเงียบสงบของบึงขนาดใหญ่สุดลูกหูลูกตา ปริมาณพื้นที่กว่า 18,000 ไร่ สะพานไม้ที่ทอดยาวเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านและหน่วยงานในพื้นที่ โดยคนในชุมชนได้บริจาคไม้ในการก่อสร้างสะพาน ประกอบกับไม้หมอนที่ได้จากทางรถไฟเก่าที่ทาง อบจ. ได้สรรหามาใช้ เกิดเป็นสะพานไม้ความยาว 450 เมตร สวยงาม ทรงมนต์ขลัง เป็นแลนด์มาร์คกลางทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่อันดับ 3 ของประเทศไทย “ละหาน” แปลว่า “ห้วงน้ำ” บึงละหานตั้งอยู่ใน อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ กินพื้นที่หลายตำบล ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ จึงเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้านมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการทำประมงน้ำจืด รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม เหมาะกับการพักผ่อนตลอดทั้งวัน เช้าตรู่ที่บึงละหาน คือการรับพลังแห่งวันใหม่ จะชื่นชมแค่บริเวณริมบึง เดินเล่นบนสะพานไม้ หรือจะล่องเรือออกไปชมวิถีชีวิตของชาวประมงที่ตั้งตารอคอยด้วยความหวัง หลังจากที่วางเครื่องดักจับสัตว์น้ำไว้ทั้งคืน ตั้งแต่ตีห้าครึ่ง คือช่วงเวลาที่แสงแรกเริ่มทอประกาย เรือลำน้อย

บึงละหาน อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ เป็นบึงขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย มีพื้นที่รอบบึงกว้างกว่า 18,500 ไร่ และมีพันธุ์ปลานานาชนิดอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปลาตะเพียน ปลาตอง ปลาฉลาด ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาแรด ปลาเนื้ออ่อน ปลากราย ฯลฯ ชาวบ้านในบริเวณนี้จึงอาศัยบึงแห่งนี้ในการทำประมงน้ำจืด นอกจากปลาสด ๆ จากบึงแล้ว ที่บ้านดอนละนาม ต.ละหาน อ.จัตุรัส ยังมีภูมิปัญญาที่สืบสานกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย เป็นการแปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านได้รวมตัวกันเป็น “กลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำดอนละนาม” ผลิตสินค้าชุมชนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชัยภูมิ [caption id="attachment_31043" align="aligncenter" width="800"] แม่ประนอมโชว์ปลากรายตัวใหญ่[/caption] วันนี้เราได้เจอกับ แม่ประนอม-ประนอม นามนภาวรรณ ประธานกลุ่มฯ พร้อมปลาหลากหลายพันธุ์ ที่เตรียมสาธิตการแปรรูปปลาให้ทุกคนได้ชม และชิมเมนูเด็ดประจำถิ่น

มนต์ขลังทางประวัติศาสตร์ คือความงดงามทางวัฒนธรรมที่สะท้อนภาพอดีตอันทรงคุณค่า เรื่องราวแต่ครั้งโบราณของเมืองไทยหลายต่อหลายอย่าง ถือเป็นเอกลักษณ์เพียงหนึ่งเดียวที่หาชมได้ยาก หากมีโอกาสจึงอยากให้ทุกคนได้เห็นด้วยตาสักครั้ง เช่นเดียวกับทริปนี้ ที่จังหวัดลพบุรี  “หนึ่งเดียวที่ลพบุรี” อีกหนึ่งเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์นำร่องคุณภาพสูง ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหอการค้าไทย มุ่งมั่นผสานความร่วมมืออย่างเต็มกำลัง ภายใต้โครงการ “ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สร้างสรรค์”เพื่อผลักดันให้รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เป็น Amazing Experience ที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG และนำสู่ความยั่งยืน 1.มรดกทางวัฒนธรรม “ลุ่มน้ำป่าสัก” สำหรับเส้นทางท่องเที่ยวเส้นทางประวัติศาสตร์เมืองละโว้  เริ่มต้นที่ “พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก” ตั้งอยู่ในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จัดแสดงมรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่กักเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งมีการขุดพบหลักฐานสำคัญในด้านโบราณคดี  ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การดำรงชีวิต ตลอดจนความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนในบริเวณนี้ [caption id="attachment_30831" align="aligncenter" width="800"] ของว่างยามสาย เมี่ยงคำ และลูกหม่อนสด[/caption] [gallery columns="2" size="full"

สระแก้วเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในภาคตะวันออก และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากพื้นที่ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นที่ราบและที่ราบสูง รายล้อมด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่ เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ติดชายแดนไทย-กัมพูชา จึงมีคนหลายเชื้อชาติ ทั้งเขมร ญวน (เวียดนาม​) และลาว เข้ามาอาศัยอยู่ เราได้เดินทางสู่จังหวัดสระแก้วเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ได้ตื่นตาตื่นใจกับเรื่องราวอันหลากหลายแง่มุม ทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม และนี่คือ 12 เรื่องราวที่ชวนมอง ในเมืองรองที่ไม่เป็นสองรองใครแห่งนี้ 1.กราบหลวงปู่บุดดา ชมโบสถ์มหาอุต วัดป่าใต้พัฒนาราม อยู่ใน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว เป็นจุดแรกที่อยากแนะนำสำหรับการเริ่มต้นทริปเพื่อความเป็นสิริมงคล ชวนกันไปกราบไหว้ “หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร” พระเกจิอาวุโสที่มีความเมตตาธรรมบารมีสูงส่ง และมีชีวิตอยู่มาถึง 6 รัชกาล หรือ 6 แผ่นดิน มรณภาพเมื่อวันที่ 13

หน่อไม้ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง เป็นแหล่งโปรตีนที่มีรสชาติละมุน แถมยังแคลอรี่ต่ำ อีกทั้งยังเป็นอาหารปลอดภัยจากสารตกค้างต่าง ๆ เมนู “ข้าวซอยไก่หน่อไผ่บงหวาน” หนึ่งในเซ็ตเมนู “กระซิบรัก ฮักน่าน” จากทีม wow wow wow จังหวัดน่าน เป็นทีมที่ชนะใจกรรมการ โดยได้รับรางวัล Rising Star Chef Amazing Taste Great Story โดยการนำวัตถุดิบอันทรีย์ในท้องถิ่นมารังสรรค์เมนูน่ากินพร้อมเรื่องราวที่น่าสนใจ นอกจากนั้นยังมีเมนูจากความตั้งใจจากอีกหลายพื้นที่ อาทิ เยลลี่เลมอน จากเชียงใหม่ น้ำพริกหน่อกระวาน จากจันทบุรี เมนูจากดอกกุหลาบบิชอป จากเชียงราย ฯลฯ อาหารคือวัฒนธรรมที่ครบรส วัตถุดิบอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาอันน่าทึ่ง โดยเฉพาะวิถีชีวิตดั้งเดิมของผู้คน ก่อนที่อุตสาหกรรมการเกษตรจะเข้ามาถึง ผักริมรั้ว แปลงสวนครัวหลังบ้าน หรือผผลผลิตจากผืนป่า ล้วนมาจากธรรมชาติอันบริสุทธิ์

เคยได้ยินคนกรุงเก่าเล่าว่า สมัยก่อนเรือเป็นพาหนะหลักของคนอยุธยา เวลาล่องสวนกันก็จะพอมีเวลาทักทายถามสารทุกข์สุกดิบกันได้ เป็นชีวิตแบบช้า ๆ เนิบ ๆ ลมพัดโชย เย็นสบาย ฟังแล้วก็อยากจะย้อนไปดูให้เห็นกับตา ปัจจุบันการสัญจรทางน้ำของชาวอยุธยาก็ยังพอมีเรือพื้นบ้านให้เห็นอยู่บ้าง  แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรือแบบใช้เครื่องยนต์ที่วิ่งไวกว่า เป็น “วิถีชาวน้ำแห่งอยุธยา” ที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ก็ไม่ทิ้งรากเหง้าอันแข็งแกร่ง ที่คนกับสายน้ำยังคงผูกพันธ์กันเช่นเดิม อยุธยาในวันนี้ยังมีกลิ่นอายของวันวานให้ชวนกันไปชื่นชมเสมอ  เชื่อแน่ว่าเมื่อนึกถึงการไหว้พระเสริมสิริมงคล เราจะนึกถึงอยุธยา เช่นเดียวกับที่นึกว่า อยากถ่ายรูปย้อนยุค  อยากย้อนประวัติศาสตร์ อยากกินก๋วยเตี๋ยวเรือ อยากกินโรตีสายไหม อยากกินกุ้งแม่น้ำ อยากกินอาหารไทยโบราณ ฯลฯ เราก็จะนึกถึงอยุธยา ไม่นานมานี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหอการค้าไทย จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเส้นทางประวัติศาสตร์  สัมผัสเส้นทางวิถีแห่งสายน้ำ ณ พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 25 - 26

หวดนึ่งข้าวเหนียวถูกย่อไซส์ให้เล็กลงพอที่จะตั้งไว้บนกระบอกไม้ไผ่ เป็นหนึ่งในไอเดียจาก “กาแฟช้างป่า” กาแฟเพื่อความยังยืนของชุมชน และเป็นมิตรกับช้างป่า จากอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี [caption id="attachment_30431" align="aligncenter" width="800"] ภาชนะจากกาบกล้วย[/caption] นี่คืออุปกรณ์ที่เรียกว่า “ดริปไม้ไผ่” หนึ่งในผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติที่ผสมผสานภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีความเท่ เก๋ ไม่เหมือนใคร ในงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 8 ที่สวนสามพราน ซึ่งเป็นงานรวมพลังสังคมอินทรีย์ ที่นอกเหนือจากการได้มาช้อปปิ้งสินค้าทั้งของกินของใช้ที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากเครือข่ายเกษตรกรจากทั่วประเทศแล้ว งานนี้ยังรวมองค์ความรู้ที่น่าสนใจสำหรับคนที่รักในวิถีธรรมชาติ และเชื่อมั่นว่า พลังเล็ก ๆ ของสังคมอินทรีย์ที่ยังมีสัดส่วนที่น้อยมากในเมืองไทย จะค่อย ๆ ขยายตัวพร้อมก้าวสู่สังคมที่สุขใจยิ่ง ๆ ขึ้นไปในวงกว้าง [caption id="attachment_30442" align="aligncenter" width="900"] การห่อผักด้วยกาบของหัวปลี แล้วมัดด้วยเชือกจากไผ่[/caption]  อีกเรื่องราวที่น่าสนใจจากงานนี้ ก็คือไอเดียในการออกแบบสินค้า อาหาร ของกิน

Profit (ผลกำไร) People (คน) และ Planet (โลก) ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในทำการทำธุรกิจในโลกปัจจุบัน แต่สำหรับธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนอย่างแท้จริง คงต้องลำดับความสำคัญอีกแบบ โดยเริ่มต้น Planet, People แล้วตามด้วย Profit คำอธิบายที่ทำให้เห็นภาพของคำว่า “ธุรกิจเพื่อสังคม”  จาก “พิเชษฐ โตนิติวงศ์” ผู้จัดการไปทั่ว บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด หนึ่งในต้นแบบของวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี 2556 ก่อนที่คำว่า SE จะเข้ามามีบทบาทในเมืองไทย [gallery columns="2" size="full" ids="30371,30372"] สวส. กับการผลักดัน SE ในเมืองไทย เมื่อกระแสโลกมุ่งหวังการพึ่งพาและเกื้อกูลกันเพื่อสร้างความสมดุล ประเทศไทยจึงมีการจัดตั้ง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

กว่า 10 ปีจากการสร้างสรรค์ในเส้นทาง “สามพรานโมเดล” แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า โลกเราดีขึ้นได้ด้วยสังคมสุขใจ พลังเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ที่ดีต่อเรา ดีต่อโลก สร้างความเข้มแข็งทั้งกายใจให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งขยายภาพ “เศรษฐกิจสีเขียว” ให้ชัดเจน ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังเป็นความหวังของโลกในวันนี้และในอนาคต หากเดินทางไปเที่ยวหรือผ่านไปสวนสามพราน ในทุกวันเสาร์-อาทิตย์ อาจจะเคยแวะชม ชิม ช้อป กันที่ “ตลาดสุขใจ” ตลาดน่ารัก ๆ รวมของกินของใช้จากเกษตรอินทรีย์ที่ดีต่อใจ โดยแต่ละปีก็จะมีการจัดงานใหญ่ เพื่อแสดงพลังเครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์จากทั่วประเทศ จึงเป็นงานที่หลายคนเฝ้ารอ เพราะจะมีของดีที่มั่นใจได้มาให้เราได้เลือกสรร ถือเป็นอีกงานที่คนรักสุขภาพ รักธรรมชาติ รักสังคม รักสิ่งแวดล้อม ได้มาพบเจอกัน หลังจากโควิด 19 ผ่านไป ความสุขที่หลายคนรอคอยก็กลับมาอีกครั้ง กับ “งานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 8”  ซึ่งเป็นการรวมพลังของ มูลนิธิสังคมสุขใจ

ความเข้มแข็งของชุมชน คือปัจจัยสำคัญของการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน ไม่ว่านโยบายภาครัฐหรือหน่วยงานใด ๆ จะประกาศออกมาเสียงดังแค่ไหน แต่หาก “คน” ซึ่งเป็นฟันเฟืองหลักไม่เห็นความสำคัญ มันก็เปล่าประโยชน์ โมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) เป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางธรรมชาติของโลก และการเรียกหาความเป็นธรรมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากผู้ผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ จนกลายเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย [gallery columns="2" size="full" ids="30152,30141"] จากการเดินทางที่ผ่านมาทำให้พบว่า ปัจจุบันมีกลุ่มหรือชุมชนเข้มแข็งร่วมผลักดันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือชุมชนน่ารัก ๆ อย่าง “วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านธรรมชาติล่าง” โดยมีศูนย์กลางการเรียนรู้อยู่ที่ “สุวรรณลักษณ์ รีสอร์ท” ที่พักกึ่งโฮมสเตย์ริมทะเลที่มีเอกลักษณ์จาก “หาดทรายแดง” มีวิวเกาะช้างอยู่เบื้องหน้า ด้านหลังมีเนินเขาเล็ก ๆ รายล้อมด้วยต้นไม้นานาพรรณ ปัจจุบัน “สมอร์ฮิลล์”

อย่างแรกเลย หลังจากรู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหน เรามักจะถามกันว่า แล้วจะไปกินอะไร และนี่คือพลังของ Gastronomy Tourism เพราะการได้ลิ้มชิมรสเมนูเด็ดของเจ้าถิ่น คือความฟินระดับที่มิชลินไม่ต้องไกด์ เรื่องของอาหารเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เสมือนครัวของแต่ละบ้านย่อมมีจานอร่อยของตัวเอง จังหวัดตราด สุดเขตแดนตะวันออกของไทย เป็นอีกดินแดนแห่งความฝัน สวรรค์ของนักชิม จากวัตถุดิบและภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นอีกเสน่ห์ที่ชวนให้สัมผัส จนไม่อยากให้พลาด ปลาย่ำสวาท เมนูสุดต๊าซแห่งท้องทะเลตราด เพราะฟังแค่ชื่อก็น่าสนใจแล้ว สำหรับ “ปลาย่ำสวาท” จึงขอเลือกมาเป็นเบอร์ 1 ในดวงใจสำหรับการนำเสนอในครั้งนี้ ชื่อจริงของมันคือ “ปลากะรังจุดฟ้า” ดูแล้วงามตาน่าชม แต่พอได้ลิ้มลองก็ขอเปลี่ยนเป็น “น่ากิน” ด้วยแล้วกัน นี่คือปลาประจำถิ่นตราด ที่หารับประทานได้ยากในแหล่งอื่น เป็นปลาไทยเนื้อดี ทำเมนูไหนก็อร่อย โดยเฉพาะ  “ซาชิมิ” หรือ “ปลาดิบ” มีทั้งปลาธรรมชาติและแบบเลี้ยง ราคากิโลละเป็นพัน ที่มาของชื่อ “ปลาย่ำสวาท” มาจากลักษณะวงจรชีวิตของปลาชนิดนี้ ตัวแม่จะวางไข่ในทะเล

เกาะหมากเป็นสถานที่แรกของประเทศไทย ที่ได้รับการจัดอันดับจาก www.greenfestinations.org ให้เป็น Top 100 green destination ประจำปี 2565 ด้วยความร่วมแรงร่วมใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน นักท่องเที่ยว และเจ้าบ้าน ทำให้เกาะหมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ แหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ที่คุ้นหูกันว่า “เกาะหมากโลว์คาร์บอน” และนี่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่กิจกรรม “เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวหมู่เกาะและทะเลภาคตะวันออก” โดย ททท. ร่วมกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้มารวมตัวกันที่นี่ เพราะจะเป็นสัญญานที่บอกว่า จากนี้ไปการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวของทางภาคตะวันออก จะมีเกาะหมากเป็นโมเดลเพื่อความยั่งยืนเพื่อการขยายผลต่อไป [gallery columns="2" size="full" ids="30083,30084"] [caption id="attachment_30086" align="aligncenter" width="800"] มิสแกรนด์ตราด2023เข้าร่วมกิจกรรมตลอด 2 วันบนเกาะหมาก[/caption] โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายชำนาญวิทย์

สำหรับบางคน แค่ได้ขับรถออกไป ก็รู้สึกปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย หากเป็นเส้นทางสวย ๆ ในวันถนนโล่ง ๆ ด้วยละก็ อาจจะทำให้จุดหมายกลายเป็นเรื่องรอง ๆ ไปเลย เพราะเส้นทางที่ผ่านและพบเจอก็สำคัญเสมอในชีวิต กว่าจะไปถึงจุดที่วางไว้ เราต่างได้สัมผัสกับประสบการณ์หลากหลายรูปแบบ การขับรถเที่ยวจึงมีดีมากกว่าคำว่าอิสระในการแวะพักได้ตามใจ แต่เป็นการเก็บเกี่ยวสิ่งแปลกใหม่ หรืออาจจะแอบออกนอกเส้นทางบ้างจะเป็นไร ความสุขจากการเดินทางเกิดขึ้นกับเราอีกครั้ง กับคาราวาน C2 Connect Plus เปิดประสบการณ์อีกรูปแบบหนึ่งของการเดินทางท่องเที่ยว ด้วยการขับรถท่องเที่ยวในเส้นทางสวย ๆ จากภาคกลางสู่ภาคเหนือของประเทศไทย รีวิวนี้จะไม่เน้นเล่าเรื่องมากมาย อยากให้ภาพบรรยายตัวเองให้ได้มากที่สุด กราบพระพรหมเทวาลัย เสริมพลังใจก่อนเดินทาง คาราวาน C2 Connect Plus ออกเดินทางจากสำนักงาน ททท. ถ.เพชรบุรี  ตั้งแต่เจ็ดโมงเช้า ราวเก้าโมงก็ไปรวมตัวกันอีกครั้งที่ “พระพรหมเทวาลัย” จ.สิงห์บุรี  มีพื้นที่เป็นลานกว้างขวางอยู่ริมถนนสายเอเชียขาขึ้น สถานที่แห่งนี้มีพระพรหมองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยประดิษฐานอยู่

airasia food แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ ตอกย้ำความเป็นผู้นำ Food delivery เจ้าแรกและเจ้าเดียวที่ส่งตรงเสิร์ฟความอร่อยจากร้านอาหารชื่อดังระดับตำนานในจังหวัดภูเก็ต ถึงบ้านลูกค้าในกรุงเทพฯและนนทบุรี ผ่านบริการ “บินตรงส่งความอร่อย” (Food -Inter city) ด้วยการต่อยอดความสำเร็จโดยการเพิ่มร้าน 'โกเบนซ์' ข้าวต้มแห้งชื่อดังระดับตำนานแห่งเมืองภูเก็ต ให้นักชิมสามารถลิ้มชิมรสข้าวต้มแห้งระดับตำนานเพียงปลายนิ้วผ่านแอปพลิเคชั่น airasia Super App นางสาวณัฏฐิณี ตะวันชุลี ผู้อำนวยการใหญ่ airasia Super App ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “airasia food ตอกย้ำความเป็นผู้นำในบริการ Food delivery เจ้าแรกและเจ้าเดียวที่จัดส่งอาหารด้วยเครื่องบินของแอร์เอเชียผ่านบริการ “บินตรงส่งความอร่อย” ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้ให้บริการร้านอาหารชื่อดังในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ ร้านตู้กับข้าว ร้านวันจันทร์ ร้านกันเอง ร้านกินดี

เอื้อพันธ์ ศรีสุนทร รางวัล “มิชลินไกด์” 2023 สำหรับร้านอาหารที่ได้ 2 ดาวมิชลิน มี 6 ร้าน (ที่ยังรักษาดาวไว้ได้) และปีนี้ร้านที่ได้ 1 ดาวมิชลินปีแรกมี 5 ร้าน, ดาวมิชลินรักษ์โลก 3 ร้าน มิชลินไกด์ ไทยแลนด์ ประกาศผลรางวัลมิชลิน 2023 สำหรับร้านอาหารที่ได้ 2 ดาวมิชลิน ยังคงมีรายชื่อและจำนวนเท่าเดิม 6 ร้าน (ทุกร้านเป็นร้านที่รักษาสถานะ 2 ดาวมิชลินเอาไว้ได้) ได้แก่ Chef’s Table, Le Normandie, Mezzaluna, R-Haan (อาหาร), Sorn (ศรณ์) และ Sühring (ซูริง)  ปีนี้พิเศษที่เพิ่ม ดาวมิชลินรักษ์โลก หรือ มิชลิน กรีนสตาร์

รายการแข่งขันมวย THAI FIGHT ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ในแวดวงกีฬาในประเทศไทย นอกจากการยกระดับมวยไทยสู่การยอมรับในระดับสากล สามารถดึงดูดผู้คนให้หันมาสนใจในศิลปะการต่อสู่ของมวยไทยแล้ว ยังพลิกสถานการณ์ในวงการสื่อโฆษณาสำหรับรายการมวยทางทีวี ที่เคยตกต่ำมากว่า 30 ปี จากค่าโฆษณาเพียง 7,000-8,000 บาทต่อนาที เพิ่มสูงเป็น 450,000 บาท เปลี่ยนภาพลักษณ์จากสปอนเซอร์หลักที่เคยเป็นสินค้าทางการเกษตร  สู่แบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็น  ช้าง โออาร์ อีซูซุ  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  ฯลฯ ยกระดับค่าตัวนักมวยจาก 7,000-8,000 บาทสู่หลักล้านต่อไฟท์ พลิกโฉมวงการมวยไทยสู่สากล [caption id="attachment_29487" align="aligncenter" width="379"] นพพร วาทิน[/caption] THAI FIGHT คือ เวทีการแข่งขันมวยไทยภายใต้การบริหารงานของ “นพพร วาทิน” ผู้สร้างตำนานศิลปะการต่อสู้ของมวยไทย และสร้างประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ให้กับวงการมวยไทยด้วยสถิติผู้ชมในสนามมากกว่า 80,000