Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

เกษตรอินทรีย์ Tag

แม้ว่าทุกวันนี้ “สังคมเกษตรอินทรีย์” ในประเทศไทย จะขยายวงกว้างมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็น “ตลาดแมส” ทำให้สินค้าออร์แกนิค ยังคงจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้รักสุขภาพเท่านั้น เป็นเรื่องน่าเสียดาย เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม เราทำนาทำไร่ ปลูกผักผลไม้กินเองมาอย่างยาวนาน แถมยังเหลือเผื่อขายทั้งในและต่างประเทศ แต่ด้วยความจำเป็นทางด้านการตลาด หรือจะด้วยกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนของเกษตรอินทรีย์ ทำให้ทางเลือกของการใช้สารเคมียังคงเป็นไป ท่ามกลางความน่าฉงนว่า เราไม่ได้ปลูกสิ่งที่ควรกิน แล้วแต่ละวัน เรากำลังกินอะไรเข้าไป การจะทำให้สังคมเกษตรอินทรีย์ขยายตัวทั้งระบบ จึงต้องอาศัยทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ ว่ากันตั้งแต่เกษตรกร คนกลาง และผู้บริโภค โดยเฉพาะปลายน้ำ หากมีเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ต้นทางที่เป็นผู้ผลิต ก็จะขยายตัวได้โดยอัตโนมัติ จะเป็นอย่างไร หากผู้บริโภคส่วนใหญ่ เรียกร้องหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสังคม หลายปีที่ผ่านมา “สามพรานโมเดล” จากสวนสามพราน ได้ปูทางให้กับเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มาได้ระดับหนึ่งแล้ว สิ่งที่ต้องลุยต่อนอกจากนี้ คือการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ การหาเครือข่ายเพื่อผนึกกำลังให้เข้มแข็งขึ้น รวมทั้งการขยายตลาดให้ซื้อง่ายขายคล่อง

ขึ้นชื่อว่าเกษตรอินทรีย์ นอกจากจะดีต่อกาย ดีต่อใจ ยังสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกหลายมิติ นอกจากผลผลิตที่ขายได้ราคาแล้ว เรื่องราวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของคนทั่วโลก ไม่เพียงแต่อาหารการกินเท่านั้น เพราะวันนี้แหล่งท่องเที่ยวที่นำเสนอความเป็นมิตรต่อสิ่งรอบข้าง กลายเป็นเป้าหมายที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว แม้จะว่าจะต้องดั้นด้นค้นหาก็อยากไปเจอไปหากันสักครั้ง [caption id="attachment_22363" align="aligncenter" width="800"] อภิเชต แสงเมล์[/caption] “เราอยากให้ลูกค้าได้รับประทานของดี คุณภาพ ในบรรยากาศที่ร่มรื่น”  หนึ่ง-อภิเชต แสงเมล์ เจ้าของ “คาเฟ่สวนมะพร้าว ป้าสม” แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่ ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร บอกกับเรา “คาเฟ่สวนมะพร้าว ป้าสม” เดิมก็คือ “สวนป้าสม” ซึ่งเป็นคุณแม่ของคุณหนึ่ง โดยได้ปรับพื้นที่จากสวนเกษตรอินทรีย์ขนาด 14 ไร่ มาเป็นร้านอาหารเล็กๆ ริมบึงน้อยๆ ซึ่งเชื่อมกับท้องร่องของสวนผลไม้ เปิดให้ลูกค้าเข้ามาจิบกาแฟและเครื่องดื่มต่างๆ

บนเส้นทางกว่า 50 ปีของสวนสามพราน ผ่านเรื่องราวจากรุ่นสู่รุ่น จนถือได้ว่าวันนี้ ดินแดนแห่งนี้ได้สร้างโมเดลธุรกิจที่เกื้อกูลสังคม ด้วยการทำเป็นตัวอย่าง สร้างการรับรู้ และเชื่อมโยงห่วงโซ่อินทรีย์ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ภายใต้ “สามพรานโมเดล” ที่ดำเนินมากว่า 10 ปี ถือเป็นการออกจาก Comfort Zone

นอกจาก “นาปรัง” และ “นาปี” ที่บ่งบอกฤดูกาลและลักษณะของการปลูกข้าวแล้ว หลายคนแทบไม่รู้จัก และอาจจะไม่เคยได้ยินเรื่องของการทำ “นาขาวัง” มาก่อน แต่หากใครที่เคยรู้เคยเห็นว่า บนเกาะกลางทะเล หรือ พื้นที่ติดทะเล ก็สามารถทำนาได้ เรื่องของ “นาขาวัง” ก็อาจจะอยู่ในทำนองที่คล้ายคลึงกัน เพราะการทำ “นาขาวัง” เป็นรูปแบบการทำนาในระบบนิเวศ 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เรียนรู้กลไกธรรมชาติของน้ำขึ้น น้ำลง เมื่อถึงหน้าฝนมีน้ำมีท่าก็ทำนาตามปกติ  ส่วนในฤดูแล้งก็จะปล่อยน้ำเค็มให้ไหลเข้ามาในนาเพื่อเลี้ยงกุ้ง หอย ปู ปลา ส่วนคำว่า “ขาวัง” คือ ลุ่มน้ำบางปะกง  เป็นภูมิปัญญาในการจัดการน้ำของชาวนา สำหรับการทำนาขาวัง อาจจะไม่รู้จักกันเป็นที่แพร่หลายมากนัก เพราะปัจจุบันเหลือพื้นที่ทำนาขาวังเพียงแค่ที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

“คนชัยภูมิต้องมีเมียเป็นของตัวเอง ไม่ต้องไปแย่งกับใคร” คำเปรียบเปรยที่แสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาตัวเอง ซึ่ง “อ.ยักษ์-ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร” นายกสมาคมดินโลก และที่ปรึกษามูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้เล่าให้ฟัง ในโอกาสที่ได้ร่วมลงพื้นที่กิจกรรม “เอามื้อสามัคคี”  โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปีที่ 8  ณ ศูนย์ปราชญ์ศาสตร์พอเพียง บอกเล่าก้าวตาม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ “คำว่า ชัยภูมิ ก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นพื้นที่สำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในทุกมิติ” อาจารย์ยักษ์ย้ำ เพราะจังหวัดชัยภูมิ มีป่าต้นน้ำอยู่กว่า 7 ล้านไร่ เป็นป่าต้นน้ำซึ่งถือเป็น “ธนาคารน้ำของภาคอีสาน” ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด สู่ อ.วารินชำราบ ซึ่งชื่อก็บอกแล้วว่า “วาริน” หมายถึง “น้ำ” “ชำราบ” หมายถึง