Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

meetTRIP

ขณะที่ก้าวเท้าอย่างช้า ๆ ไปตามเสียงระฆังที่ดังก้อง จากห้องหนึ่ง ไปอีกห้องหนึ่ง ความโล่งภายในใจ เป็นคลื่นในมวลกายที่สงบนิ่ง ราวกับไม่เคยเจอพายุมาก่อน การได้ชมภาพเขียนอันงดงาม พร้อมฟังเสียงบรรยายจากหูฟัง เป็นประสบการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน รู้สึกถึงพลังยินดีที่เต็มเปี่ยม เมื่อได้สัมผัสกับเรื่องราวในนิทรรศการ “การเดินทางของพระพุทธเจ้า” ที่ได้รับการออกแบบเป็นอุโมงค์เสมือนได้ย้อนเวลาไปยังสมัยพุทธกาล เมื่อ 2,500 ปีก่อน ที่นี่คือ “หอมนสิการ” ตั้งอยู่ที่ริมเขาพระพุทธบาทน้อย ต.สองคอน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี  แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ เกิดขึ้นตามดำริของ อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล ประธานมูลนิธิโนอิ้ง บุดด้า เพื่อการปกป้องพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหอประดิษฐานพระพุทธรูปพระบรมโลกนาถ พระบรมสารีริกธาตุ ภาพปักพระบรมโลกนาถ นิทรรศการร่วมสมัย จำลองมรรคาและคำสอนของพระบรมศาสดา เพื่อการสืบสานธรรมและปกป้องพระเกียรติพระบรมศาสดาและปลุกจิตสำนึกที่ดีงามให้แก่ปวงชน การก่อสร้างตกแต่งและจัดทำนิทรรศการด้านในใช้เวลา 5 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30

ทะเลภาคตะวันออกช่วงปลอดมรสุมผืนน้ำสีฟ้าจะมีความหวานละมุน มองแล้วชื่นสายตา อีกทั้งยังไม่ต้องออกเรือไปไกล หากนั่งสปีดโบ๊ทจากท่าเรืออ่าวมะขามป้อม แหลมแม่พิมพ์ จะใช้ประมาณ 15-20 นาทีเท่านั้นก็จะไปถึงหมู่เกาะมัน อันประกอบด้วยเกาะมันใน เป็นเกาะที่อยู่ใกล้ฝั่งที่สุด และมีขนาดใหญ่กว่ามันกลางและมันนอก ด้วยพื้นที่ 131 ไร่ เอกลักษณ์ที่สำคัญคือเป็นที่ตั้งของศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เกาะนี้ไม่มีที่พัก แต่สวยงามเหมาะกับการเที่ยวชม โดยเฉพาะช่วงที่มีทะเลแหวก ส่วนเกาะถัดไปคือ เกาะมันกลาง เกาะแห่งนี้ขึ้นชื่อเรื่องการเป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังน้ำตื้น ด้วยสภาพโขดหินที่กระจายตัวสลับกับชายหาดรอบเกาะ เกาะนี้มีที่พัก และมีทะเลแหวกน้อย ๆ เกาะถัดไปที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาเกาะมัน  คือ เกาะมันนอก มีพื้นที่ประมาณ 95 ไร่ มีที่พัก 1 แห่ง ด้วยความไกลจากฝั่งมากขึ้น ก็ทำให้ทะเลมีสีเขียวอมฟ้า และมีชายหาดที่สะอาดตา สวยงามและเป็นส่วนตัวเฉพาะผู้เข้าพักเท่านั้น ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน หมู่เกาะมัน จังหวัดระยอง ก็ยังคงเอกลักษณ์ของความเงียบสงบ ล่าสุดที่เกาะมันกลาง

จำนวนสัตว์ป่ากว่าพันชีวิต หากเปรียบเทียบกับเจ้าหน้าที่เพียง 19 คน ก็ถือว่าเป็นงานที่หนักพอดู แต่หากบอกว่าสัตว์เหล่านี้ล้วนมีปัญหา ไม่ว่าจะป่วย บาดเจ็บ พลัดพรากจากฝูง หรือเป็นของกลางจากการครอบครองอย่างผิดกฎหมาย อาจจะทำให้ภารกิจการดูแลสัตว์มีความยากขึ้นไปอีกขั้น นอกจากอุปสรรคในการพึ่งพาตัวเองแบบสัตว์ป่าแล้ว ยังมีปัญหาที่อาจจะตามมา เช่น พวกลิงทั้งหลาย ที่มาจากลพบุรี เจ้าพวกนี้แม้จะได้รับการดูแลรักษาจนหายดีแล้วก็ปล่อยกลับไปไม่ได้ เพราะอาจจะกลับไปป่วนผู้คนในเมืองตามที่มันคุ้นเคยมาก่อน ปัจจุบันลิงจึงเป็นสัตว์ที่มีจำนวนมากที่สุดในศูนย์ฯ  ประมาณ 700 กว่าตัวเลยทีเดียว สัตว์ที่เป็นขวัญใจของนักท่องเที่ยวก็คือ เสือโคร่ง ซึ่งมีอยู่ 7 ตัว เลี้ยงแบบแยกกรงขังเช่นเดียวกันหมี ซึ่งแต่ละกรงก็จะระบุชื่อเอาไว้  นอกจากนั้นก็มีกวาง นก นาก สุนัขจิ้งจอก ฯลฯ หากมองข้ามการดูแลรักษาไป ที่นี่ก็เหมือนสวนสัตว์ ทำให้มีผู้คนแวะเวียนเข้ามาเที่ยวชมอยู่เสมอ มาแล้วก็มักจะใช้โอกาสในการแบ่งปัน  เมตตาเพื่อนสัตว์โลกด้วยกัน ทั้งการบริจาคอาหารสัตว์ ทั้งพวกผัก ผลไม้ รวมทั้งเนื้อไก่สำหรับเสือ [gallery columns="2"

เรื่องยาก ๆ ต้องแก้ไขด้วยความเรียบง่าย น่าจะเป็นบทสรุปที่น่าฉุกคิด เกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่โลกเรากำลังเผชิญ แต่พอพูดถึงคำว่า “ภาวะโลกร้อน” หลายคนก็บอกว่าน่ากังวลนะ แต่จะทำยังไงกับมันดีล่ะ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคือหนทางของการคลี่คลายปัญหา แต่คำว่า “ปรับเปลี่ยน” ก็อาจจะดูยากไปสำหรับชีวิตมนุษย์ที่เดินทางผ่านโลกมาเพียงช่วงสั้น ๆ อีกทั้งหากการปรับเปลี่ยนนั้นดึงเอาความเคยชินไป การมีส่วนร่วมก็คงไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ มันอาจจะต้องใช้เวลาเหมือนการเยียวยาชนิดหนึ่ง ท่องเที่ยวยั่งยืน เศรษฐกิจดี โลกต้องดีด้วย การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในกิจกรรมแห่งความสุข แต่ขณะเดียวกันก็ถือเป็นการสื่อสารที่ทรงพลัง เพราะน้อยนักที่คนออกไปเที่ยวแล้วจะเก็บมันไว้คนเดียว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีนโยบายด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มุ่งการเติบโตที่สมดุลทั้งเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ด้วยการประสาน 3 พลังของเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และสิ่งที่ว่ามาทั้งหมดนี้จะเป็นตัวกำหนดเทรนด์การท่องเที่ยวที่เข้มข้นขึ้น เพื่อตอบรับกับกระแสโลก ภายใต้วิกฤตทางธรรมชาติที่น่าเป็นห่วงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ททท.ภูมิภาคภาคกลาง จัดกิจกรรมส่งเสริมท่องเที่ยวทางรถยนต์ BCG

การเปลี่ยนแปลงของอากาศ (Climate Change) น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หลังจากได้รับรู้ว่า ปีนี้แล้งเหลือเกิน แล้งจนน้ำตกที่เขาใหญ่แห้งหาย แต่ล่าสุดต้นไม้ใบหญ้าก็แตกกิ่งก้านใบ ทากก็เริ่มออกมาวาดลวยลาย ใครไปเดินป่าเขาใหญ่ตอนนี้ มั่นใจได้ว่าจะได้เจอ ไม่เฉพาะแต่ทากตัวน้อยเท่านั้น หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ “ชัยยา ห้วยหงส์ทอง” บอกว่า แม้ว่าหลายคนอยากจะสัมผัสใกล้ชิดกับธรรมชาติ  แต่จะอนุญาตให้กางเต้นท์เฉพาะบางจุด คือ ลานกางเต็นท์ลำตะคอง ซึ่งเป็นสนามหญ้าเปิดโล่งริมน้ำ มีเจ้าหน้าที่คอยสอดส่องดูแล หากย้อนไปเหตุการณ์ในอดีต มีคนที่นอนในเต็นท์แล้วช้างมาตะกุยเต็นท์จนร่างของเขาตกลงมาเป็นที่น่าสลด แต่นี่คือกฎข้อสำคัญในการมาเที่ยวเขาใหญ่ นอกจากการห้ามให้อาหารสัตว์อย่างเด็ดขาดแล้ว ก็อย่าเก็บผลไม้ไว้ในรถหรือในเต็นท์ เพราะนั่นหมายถึงการเรียกช้างเข้ามาหา หัวหน้าชัยยา เล่าต่อว่า ช้างเป็นหนึ่งในเจ้าบ้านบนเขาใหญ่ พวกมันอยากจะเดินไปไหนเวลาไหนก็ได้อย่างอิสระ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน หากมาพักค้างแรมบนเขาใหญ่ จึงไม่ควรออกไปเดินเล่นในช่วงมืด ๆ หากอยากดูสัตว์ก็ใช้บริการรถของเจ้าหน้าที่พาออกไปส่องสัตว์ในตอนกลางคืนได้  ปกติแล้วช้างบนเขาใหญ่เขาน่ารัก แต่ถ้ามีเป้าหมายหรือเครียดก็ต้องถอยให้เป็น ค่อย ๆ ถอยให้ห่าง ถ้าต้องวิ่งหนีก็อย่าวิ่งเป็นเส้นตรง ต้องวิ่งวน ๆ จะวนรอบรถ

หลังจาก “แห้ว” มีชื่อเรียกใหม่ว่า “สมหวัง” ดูเหมือนว่าภาพรวมต่าง ๆ ก็ดูดีตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าแค่เปลี่ยนชื่อแล้วจะมีความเปลี่ยนแปลง เพราะแห้ว ก็ยังเป็นแห้ว เป็นพืชที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า มีประโยชน์มากแค่ไหน ทั้งตัวผู้กิน ผู้ปลูก และวันนี้แห้วก็เป็นหนึ่งในขบวนการกู้โลกไปแล้ว รู้จักแห้วสุพรรณ GI พื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแหล่งปลูกแห้วคุณภาพของที่ได้ชื่อว่า มีหัวโต เติบโตได้ดีในพื้นที่นา เต็มไปด้วยคุณประโยชน์ มีไฟเบอร์สูง และแร่ธาตุต่าง ๆ เพราะปลูกในแหล่งที่ได้ชื่อว่ามีดิน ฟ้า อากาศ ที่เหมาะสำหรับการปลูกแห้ว เพียง 1 เดียวในเมืองไทย จนทำให้ “แห้วสุพรรณ” ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “สมหวังที่วังยาง” เป็นชื่อที่ทำให้หลายคนได้รู้จักเรื่องราวของแห้วมากขึ้น ทั้งจากการส่งเสริมและพัฒนา “แห้ว” ให้

ททท.ภาคกลาง ร่วมพันธมิตรเครือข่ายจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถยนต์ BCG Road Trip รักษ์โลกพลังงานใหม่  คาราวาน C2 Connect plus 2023' วันที่ 26-28 พ.ค. 2566  เส้นทาง กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี-กาญจนบุรี-เพชรบุรี-สมุทรสงคราม โดยมีพิธีปล่อยขบวน ณ บริเวณหน้าอาคารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานใหญ่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ  นางสาวสุรีพร พงษ์พานิช ผู้อำนวยการกองตลาดภาคกลาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดกิจกรรมและปล่อยขบวนคาราวานส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถยนต์ BCG Road Trip ในรูปแบบรักษ์โลกพลังงานใหม่ ภายใต้ชื่อ ‘คาราวาน C2 Connect Plus 2023’ เส้นทาง กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี-กาญจนบุรี-เพชรบุรี-สมุทรสงคราม

เป็นอีกจังหวัดที่ไปเมื่อไหร่ก็เป็นอันตกหลุมรักเหมือนเพิ่งได้พบเจอเสมอ ด้วยวิถีแห่งผู้คนและธรรมชาติที่เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ท่ามกลางบรรยากาศอันเงียบสงบ งดงามและลงตัวในแบบฉบับของตัวเอง ทำให้ “ชัยภูมิ” เป็นหนึ่งในกลางใจ เดินทางไปคราใดก็ยังรู้สึกดี ๆ เสมอ ต้นเดือนพฤษภาคมประเทศไทยยังอยู่ในฤดูร้อน ช่วงเวลาที่หลายคนบอกว่าอยากนอนตากแอร์อยู่บ้านมากกว่าจะออกไปไหน แต่กลับกลายเป็นว่า ไปเที่ยวชัยภูมิในครั้งนี้ มีแต่เรื่องราวชื่นตาชื่นใจ เป็นน้ำเย็นที่ราดรดความรุ่มร้อนให้ผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี จะมีที่ไหนบ้าง ไปดูกันเลย รับพลังแห่งความชื่นบาน ทุ่งบัวแดง บึงละหาน รับพลังยามเช้าอันงดงามที่บึงละหาน ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ อันดับ 3 ของประเทศไทย มีพื้นที่กว่า 18,000 ไร่ ครอบคลุมหลายตำบลในอำเภอจัตุรัส สะพานไม้ที่ทอดยาว 450 เมตร ถือเป็นแลนด์มาร์คของบึงละหาน ทุ่งบัวแดงที่บานสะพรั่งตั้งแต่ช่วงเช้าไปถึงยามสาย เป็นเวลาที่อันน่าชื่นตาชื่นใจ นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการล่องเรือชมความงดงามในบึงกว้าง ทั้งในยามเช้าและยามเย็น โดยเฉพาะในเช้าตรู่ของแต่ละวัน นกนาชนิดต่างออกมาหากินในอยู่ในบึง ขณะที่ชาวบ้านที่อาศัยความอุดมสมบูรณ์ของบึงละหาน ก็ออกเรือมาหาสัตว์น้ำไปกินไปขาย

ต้นเดือนพฤษภายังคงอยู่ในหน้าร้อน แต่สำหรับพื้นที่สูงซึ่งมีต้นไม้ปกคลุมอย่างหนาแน่น เมื่อตกกลางคืน เราสามารถนอนรับลมธรรมชาติในอุณภูมิที่เทียบเท่าการเปิดแอร์เลยก็ว่าได้ “ทุ่งกะมัง” อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ มีเนื้อที่ราว 5,000 ไร่ สภาพส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติ เป็นเนินสูงต่ำลดหลั่นกันไป เราเดินทางมาถึงทุ่งกะมังในช่วงเย็น ได้พบกับ “ต้นเหมือด” ต้นเดิมที่ยังคงยืนต้นตระหง่าน กิ่งก้านใบของมันชูช่อเป็นพุ่มทรงกลม เนี้ยบ… ราวกับว่ามีใครมาแอบตัดแต่งให้เป็นรูปทรงอยู่เสมอ ทางเดินเล็ก ๆ ที่ลัดเลาะเข้าไป ยังถือเป็นภาพคลาสสิคประจำทุ่งที่ทุกคนจำได้ เย็นวันนี้เหล่าเก้ง กวางและเนื้อทราย ออกมาหากินอยู่ในบริเวณทุ่งหญ้าในแอ่งกระทะ ลักษณะคล้ายกะละมัง อันเป็นที่มาของชื่อ “ทุ่งกะมัง” พวกมันยังคงใช้ชีวิตอย่างอิสระ เดินเล่น เล็มหญ้า หาอาหาร โดยไม่สนใจสายตาของผู้คนที่มองเข้ามา แต่ก็ทิ้งระยะห่างไว้ตามสัญชาตญาณ บ้างก็นั่งนิ่ง ได้แต่ใช้สายตาจดจ้องบรรดาผู้มาเยือนเอาไว้แบบไม่ลดละ ริ้วน้ำเคลื่อนไหวในแอ่งน้ำเล็ก ๆ กลางทุ่ง นับเป็นอีกความโชคดีที่วันนี้เราได้พบกับ “เป็ดก่า”

ธรรมชาติของดอกบัวจะเริ่มผลิบานตั้งแต่กลางดึก และจะสะพรั่งอย่างเต็มที่ตั้งแต่ช่วงเช้าไปถึงช่วงสาย แต่เราก็ไม่อาจตัดสินใจได้ว่าควรจะมาเที่ยวชมทุ่งบัวแดงบึงละหานในตอนไหน เพราะความเคลื่อนไหวของธรรมชาติ รวมทั้งวิถีของชาวบ้านในละแวก ไม่เคยหยุดนิ่ง ท่ามกลางความเงียบสงบของบึงขนาดใหญ่สุดลูกหูลูกตา ปริมาณพื้นที่กว่า 18,000 ไร่ สะพานไม้ที่ทอดยาวเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านและหน่วยงานในพื้นที่ โดยคนในชุมชนได้บริจาคไม้ในการก่อสร้างสะพาน ประกอบกับไม้หมอนที่ได้จากทางรถไฟเก่าที่ทาง อบจ. ได้สรรหามาใช้ เกิดเป็นสะพานไม้ความยาว 450 เมตร สวยงาม ทรงมนต์ขลัง เป็นแลนด์มาร์คกลางทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่อันดับ 3 ของประเทศไทย “ละหาน” แปลว่า “ห้วงน้ำ” บึงละหานตั้งอยู่ใน อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ กินพื้นที่หลายตำบล ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ จึงเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้านมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการทำประมงน้ำจืด รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม เหมาะกับการพักผ่อนตลอดทั้งวัน เช้าตรู่ที่บึงละหาน คือการรับพลังแห่งวันใหม่ จะชื่นชมแค่บริเวณริมบึง เดินเล่นบนสะพานไม้ หรือจะล่องเรือออกไปชมวิถีชีวิตของชาวประมงที่ตั้งตารอคอยด้วยความหวัง หลังจากที่วางเครื่องดักจับสัตว์น้ำไว้ทั้งคืน ตั้งแต่ตีห้าครึ่ง คือช่วงเวลาที่แสงแรกเริ่มทอประกาย เรือลำน้อย

การเดินทางจากภูเก็ตมายังกระบี่ ต้องใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง แต่หากนั่งเรือขนาดใหญ่ อย่างเรืออ่าวนางปริ๊นเซส จะประหยัดเวลาได้ครึ่งหนึ่ง นั่นเป็นเหตุผลแรกที่ทำให้กระบี่กำลังจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางเรือในอันดามัน ประกอบกับโครงการก่อสร้างและเชื่อมโยงเส้นทางการเดินทางทางเรือมายังกระบี่ ไม่ว่าจะเป็นการขยายเส้นทางเชื่อมโยงเส้นทางการเดินเรือเฟอรี่จากเกาะลังกาวี-เกาะหลีเป๊ะ มายังเกาะลันตา และการเปิดท่าเรือเฟอรี่ท่าเลน ก็จะทำให้ภาพของการเป็นฮับท่องเที่ยวทางเรือในทะเลอันดามัน มีความชัดเจนยิ่งขึ้น [caption id="attachment_30927" align="aligncenter" width="799"] บรรยากาศที่ท่าเรือหาดนพรัตน์ธารา[/caption] นอกจากนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของเมืองไทยที่นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จักกันดี และแม้ว่าเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ก็เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวเช่นกัน แต่พวกเขาก็คุ้นเคยกับการลงเรือจากภูเก็ตมายังเกาะพีพีมากกว่า [gallery columns="2" size="full" ids="30926,30925"] เรืออ่าวนางปริ๊นเซส 9 เป็นเรือ 3 ชั้นขนาดใหญ่ที่เข้ามาเสริมทัพการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวจากภูเก็ตมายังกระบี่ โดยปัจจุบันเส้นทางเดินเรือระหว่างภูเก็ตมายังอ่าวนาง จังหวัดกระบี่ จะแวะที่เกาะพีพีด้วย เมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ผ่านมา นายสมชาย หาญภักดีปฏิมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ พร้อมด้วย นายสมชาย ชมภูน้อย

สระแก้วเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในภาคตะวันออก และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากพื้นที่ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นที่ราบและที่ราบสูง รายล้อมด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่ เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ติดชายแดนไทย-กัมพูชา จึงมีคนหลายเชื้อชาติ ทั้งเขมร ญวน (เวียดนาม​) และลาว เข้ามาอาศัยอยู่ เราได้เดินทางสู่จังหวัดสระแก้วเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ได้ตื่นตาตื่นใจกับเรื่องราวอันหลากหลายแง่มุม ทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม และนี่คือ 12 เรื่องราวที่ชวนมอง ในเมืองรองที่ไม่เป็นสองรองใครแห่งนี้ 1.กราบหลวงปู่บุดดา ชมโบสถ์มหาอุต วัดป่าใต้พัฒนาราม อยู่ใน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว เป็นจุดแรกที่อยากแนะนำสำหรับการเริ่มต้นทริปเพื่อความเป็นสิริมงคล ชวนกันไปกราบไหว้ “หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร” พระเกจิอาวุโสที่มีความเมตตาธรรมบารมีสูงส่ง และมีชีวิตอยู่มาถึง 6 รัชกาล หรือ 6 แผ่นดิน มรณภาพเมื่อวันที่ 13

Amazing สระแก้ว 1 ปี มีเพียงครั้งเดียว ปรากฏการณ์แห่งความสุขแห่งรุ่งอรุณ "พระอาทิตย์ลอดซุ้มประตูปราสาทสด๊กก๊อกธม" นักท่องเที่ยวแห่ชมความงดงามอย่างคับคั่ง พร้อมร่วมพิธีสะเดาะเคราะห์สืบชะตา เสริมสิริมงคล ประกาศพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี เมื่อวันพุธที่ 22 มีนาคม 2566 เวลา 06:00 น. เชาวเนตร ยิ้มประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ให้เกียรติเป็นประธาน ร่วมด้วย วันดี เผื่อนอุดม อำนวยการท่องเที่ยวสำนักงานนครนายก นภสร พระยาลอ วัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการและบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว และประชาชน [gallery columns="2" size="full" ids="30714,30715"] [gallery columns="2" size="full" ids="30716,30717"] ในโอกาสนี้ได้เข้าร่วมการชมพระอาทิตย์ลอดซุ้มประตูปราสาทสด๊กก๊อกธม ทั้ง 5 บาน และพิธีสะเดาะเคราะห์สืบชะตา เพื่อความเป็นสิริมงคล

เคยได้ยินคนกรุงเก่าเล่าว่า สมัยก่อนเรือเป็นพาหนะหลักของคนอยุธยา เวลาล่องสวนกันก็จะพอมีเวลาทักทายถามสารทุกข์สุกดิบกันได้ เป็นชีวิตแบบช้า ๆ เนิบ ๆ ลมพัดโชย เย็นสบาย ฟังแล้วก็อยากจะย้อนไปดูให้เห็นกับตา ปัจจุบันการสัญจรทางน้ำของชาวอยุธยาก็ยังพอมีเรือพื้นบ้านให้เห็นอยู่บ้าง  แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรือแบบใช้เครื่องยนต์ที่วิ่งไวกว่า เป็น “วิถีชาวน้ำแห่งอยุธยา” ที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ก็ไม่ทิ้งรากเหง้าอันแข็งแกร่ง ที่คนกับสายน้ำยังคงผูกพันธ์กันเช่นเดิม อยุธยาในวันนี้ยังมีกลิ่นอายของวันวานให้ชวนกันไปชื่นชมเสมอ  เชื่อแน่ว่าเมื่อนึกถึงการไหว้พระเสริมสิริมงคล เราจะนึกถึงอยุธยา เช่นเดียวกับที่นึกว่า อยากถ่ายรูปย้อนยุค  อยากย้อนประวัติศาสตร์ อยากกินก๋วยเตี๋ยวเรือ อยากกินโรตีสายไหม อยากกินกุ้งแม่น้ำ อยากกินอาหารไทยโบราณ ฯลฯ เราก็จะนึกถึงอยุธยา ไม่นานมานี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหอการค้าไทย จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเส้นทางประวัติศาสตร์  สัมผัสเส้นทางวิถีแห่งสายน้ำ ณ พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 25 - 26

ต้นไม้ใหญ่อันแสนโดดเดี่ยว บนเกาะขนาดเล็กกลางทะเลตราด เรียกกันว่า “เกาะขายหัวเราะ” ที่อ้างอิงจากมุกตลกจากภาพเกาะร้างในหนังสือขายหัวเราะในอดีต ซึ่งมีลักษณะเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่มีเพียงมะพร้าว 1 ต้น มีพื้นที่พอให้นั่งได้เพียง 1-2 คนเท่านั้น มุกตลกในบรรยากาศต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปตามจินตนาการของผู้เขียน แต่ตัวเกาะก็ยังคงเอกลักษณ์ของต้นมะพร้าว 1 ต้นอยู่บนเกาะนั้นเสมอ [caption id="attachment_30266" align="aligncenter" width="799"] คนน่ารักระดับมิสแกรนด์ตราดมาเที่ยวเกาะขายหัวเราะ[/caption] 1-2 ปีมานี้ ชื่อ “เกาะขายหัวเราะ” ถูกปลุกขึ้นมาจนได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลายอีกครั้ง เกาะขายหัวเราะ จ.ตราด อยู่ใกล้กับเกาะนกในและเกาะนกนอก  ซึ่งเป็นเกาะขนาดเล็กที่สามารถเดินเชื่อมต่อไปยังเกาะขายหัวเราะได้ในยามน้ำลง สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเกาะหมากสามารถนั่งเรือจากแหลมสนไปยังเกาะขายหัวเราะภายในเวลา 30-40 นาทีโดยประมาณ [caption id="attachment_30258" align="aligncenter" width="799"] แหลมสน[/caption] ที่เกาะขายหัวเราะ แห่งนี้จะมีลักษณะพิเศษตามเวลาและฤดูกาล หากน้ำลงในปริมาณที่พอเหมาะก็จะมองเห็นเกาะขนาดเล็กที่มีโขดหินรายล้อม หากน้ำขึ้นมากก็จะปรากฏเพียงรากไม้

เพราะทุกสถานที่มีที่มา เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จึงเป็นสิ่งน่าค้นหา ชวนย้อนกาลเวลาไปกับแหล่งเที่ยวชมที่น่าสนใจในจังหวัดตราด ดินแดนแห่งท้องทะเล ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์แห่งวันวาน และแน่นอนว่า “สายมู” ต้องไม่พลาด สายมูหรือผู้ชื่นชอบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ขอแนะนำอีกสถานที่แห่งความงดงามและทรงคุณค่าในตัวเมืองตราด มาร่วมกันค้นพบเสน่ห์ที่ห้ามพลาดไปร่วมกัน เสริมพลังป้องภัยพาล ที่ศาลหลักเมืองตราด  “ศาลหลักเมืองตราด” เอกลักษณ์ที่แตกต่างจากศาลหลักเมืองอื่น ๆ เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามความเชื่อแบบจีน  เพื่อคุ้มครองเมืองตราดให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง ชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุข มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเก๋งจีน ศาลหลักเมืองเป็นดั่งศูนย์กลางเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปีจะมีการจัดงาน "วันงานพลีเมือง" ที่ชาวจีนเรียกกันว่า "วันเซี่ยกงแซยิด" ซึ่งหมายถึงวันเกิดของเจ้าพ่อหลักเมืองนั้นเอง ในอดีตเคยมีเรื่องน่ามหัศจรรย์ของหลักเมืองตราด ในสมัยที่ตกอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศส ชาวฝรั่งเศสสังเกตเห็นชาวเมืองตราดพากันเดินทางมากราบไหว้หลักเมืองอยู่เป็นประจำ จึงคิดให้คนไปถอนเสาหลักเมืองทิ้ง แต่ถอนเท่าไหร่ก็ถอนไม่ขึ้น ขุดเท่าไหร่ก็ขุดไม่ได้ แม้จะดึงเสาหลักเมืองด้วยแรงช้างสาร ก็ไม่สามารถดึงขึ้นมาได้ต่อมาในภายหลังชาวเมืองตราดจึงได้ทำการบูรณะหลักเมืองนี้ให้คงสภาพดี และเป็นที่สักการบูชาของชาวเมืองเสมอมา หากเดินทางมาจังหวัดตราด ขอชวนเข้ามากราบศาลหลักเมืองเพื่อเป็นสิริมงคล เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ช่วยเสริมพลังในการปกป้องภัยอันตราย

ความเข้มแข็งของชุมชน คือปัจจัยสำคัญของการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน ไม่ว่านโยบายภาครัฐหรือหน่วยงานใด ๆ จะประกาศออกมาเสียงดังแค่ไหน แต่หาก “คน” ซึ่งเป็นฟันเฟืองหลักไม่เห็นความสำคัญ มันก็เปล่าประโยชน์ โมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) เป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางธรรมชาติของโลก และการเรียกหาความเป็นธรรมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากผู้ผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ จนกลายเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย [gallery columns="2" size="full" ids="30152,30141"] จากการเดินทางที่ผ่านมาทำให้พบว่า ปัจจุบันมีกลุ่มหรือชุมชนเข้มแข็งร่วมผลักดันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือชุมชนน่ารัก ๆ อย่าง “วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านธรรมชาติล่าง” โดยมีศูนย์กลางการเรียนรู้อยู่ที่ “สุวรรณลักษณ์ รีสอร์ท” ที่พักกึ่งโฮมสเตย์ริมทะเลที่มีเอกลักษณ์จาก “หาดทรายแดง” มีวิวเกาะช้างอยู่เบื้องหน้า ด้านหลังมีเนินเขาเล็ก ๆ รายล้อมด้วยต้นไม้นานาพรรณ ปัจจุบัน “สมอร์ฮิลล์”

เกาะหมากเป็นสถานที่แรกของประเทศไทย ที่ได้รับการจัดอันดับจาก www.greenfestinations.org ให้เป็น Top 100 green destination ประจำปี 2565 ด้วยความร่วมแรงร่วมใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน นักท่องเที่ยว และเจ้าบ้าน ทำให้เกาะหมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ แหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ที่คุ้นหูกันว่า “เกาะหมากโลว์คาร์บอน” และนี่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่กิจกรรม “เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวหมู่เกาะและทะเลภาคตะวันออก” โดย ททท. ร่วมกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้มารวมตัวกันที่นี่ เพราะจะเป็นสัญญานที่บอกว่า จากนี้ไปการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวของทางภาคตะวันออก จะมีเกาะหมากเป็นโมเดลเพื่อความยั่งยืนเพื่อการขยายผลต่อไป [gallery columns="2" size="full" ids="30083,30084"] [caption id="attachment_30086" align="aligncenter" width="800"] มิสแกรนด์ตราด2023เข้าร่วมกิจกรรมตลอด 2 วันบนเกาะหมาก[/caption] โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายชำนาญวิทย์

สำหรับบางคน แค่ได้ขับรถออกไป ก็รู้สึกปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย หากเป็นเส้นทางสวย ๆ ในวันถนนโล่ง ๆ ด้วยละก็ อาจจะทำให้จุดหมายกลายเป็นเรื่องรอง ๆ ไปเลย เพราะเส้นทางที่ผ่านและพบเจอก็สำคัญเสมอในชีวิต กว่าจะไปถึงจุดที่วางไว้ เราต่างได้สัมผัสกับประสบการณ์หลากหลายรูปแบบ การขับรถเที่ยวจึงมีดีมากกว่าคำว่าอิสระในการแวะพักได้ตามใจ แต่เป็นการเก็บเกี่ยวสิ่งแปลกใหม่ หรืออาจจะแอบออกนอกเส้นทางบ้างจะเป็นไร ความสุขจากการเดินทางเกิดขึ้นกับเราอีกครั้ง กับคาราวาน C2 Connect Plus เปิดประสบการณ์อีกรูปแบบหนึ่งของการเดินทางท่องเที่ยว ด้วยการขับรถท่องเที่ยวในเส้นทางสวย ๆ จากภาคกลางสู่ภาคเหนือของประเทศไทย รีวิวนี้จะไม่เน้นเล่าเรื่องมากมาย อยากให้ภาพบรรยายตัวเองให้ได้มากที่สุด กราบพระพรหมเทวาลัย เสริมพลังใจก่อนเดินทาง คาราวาน C2 Connect Plus ออกเดินทางจากสำนักงาน ททท. ถ.เพชรบุรี  ตั้งแต่เจ็ดโมงเช้า ราวเก้าโมงก็ไปรวมตัวกันอีกครั้งที่ “พระพรหมเทวาลัย” จ.สิงห์บุรี  มีพื้นที่เป็นลานกว้างขวางอยู่ริมถนนสายเอเชียขาขึ้น สถานที่แห่งนี้มีพระพรหมองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยประดิษฐานอยู่

เด็ก ๆ ที่ปางปูเลาะยังเขินกล้องอยู่เลย นี่คือสิ่งที่เราอาจจะไม่เห็นได้ง่ายนักในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ที่มักจะคุ้นเคยกับแขกผู้มาเยือน และการเรียนรู้ที่จะผูกมิตรกับคนแปลกหน้าที่ผ่านไปผ่านมาอยู่เสมอ แต่เด็ก ๆ ที่บ้านปางปูเลาะไม่ได้เป็นเช่นนั้น แค่ถือกล้องเดินเข้าไปใกล้ ๆ พวกเขาก็เบือนหน้าหนี บ้างก็ซุกตัวโผเข้าหาแม่ [caption id="attachment_29962" align="aligncenter" width="798"] ถนนสวย ๆ ที่รถขับเข้าไปได้อย่างสะดวกสบาย แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวัง[/caption] แม้ว่าบ้านปางปูเลาะ จะอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองพะเยามากนัก แต่ด้วยระยะทางคดเคี้ยวไปตามถนนสายเล็ก ๆ ไต่ขึ้นดอยสูงราว 16 กิโลเมตร ก็นับเป็นสถานที่อันซ่อนเร้นอยู่พอสมควร สองข้างทางผ่านสวนลิ้นจี่ขนาดใหญ่ เริ่มขึ้นดอยก็เห็นไร่กาแฟ สองสิ่งนี้คือผลผลิตทางการเกษตรหลัก ๆ ของชาวบ้านปางปูเลาะ ได้ยินว่าช่วงเมษายน-พฤษภาคม จะมองเห็นทุ่งลิ้นจี่สีแดงเป็นวงกว้าง ฟังแล้วได้แต่นึกภาพตาม ชาวบ้านที่นี่คือชาวเมี่ยนหรือชาวเย้าจากจีนได้อพยพมาอยู่ในเมืองไทยกว่า 100 ปีมาแล้ว ดั้งเดิมหมู่บ้านแห่งนี้มีชื่อว่า “บ้านปู่ล่อ” ตามชื่อพ่อค้าชาวจีน ก่อนที่จะมาอาศัยในบ้านปางปูเลาะ ชาวไทยภูเขาเผ่าเมี่ยนกลุ่มนี้