Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ Tag

หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ร่วมกับ มูลนิธิบัวหลวง จัดโครงการประกวดศิลปิน “ดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑” ครั้งที่ ๑๑ ภายใต้หัวข้อ “ก้าวใหม่  :  ศิลปะไทยวิวัฒน์ ” เพื่อเปิดเวทีสร้างสรรค์ให้ศิลปินรุ่นใหม่มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง  [caption id="attachment_16985" align="aligncenter" width="800"] คุณหญิงชดช้อย  โสภณพนิช[/caption] คุณหญิงชดช้อย  โสภณพนิช  กรรมการมูลนิธิบัวหลวง และประธานโครงการดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑  เปิดเผยว่า  การจัดโครงการประกวดศิลปิน “ดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑” ครั้งที่ ๑๑ ภายใต้หัวข้อ “ก้าวใหม่  :  ศิลปะไทยวิวัฒน์ ” เพื่อเปิดเวทีสร้างสรรค์ให้ศิลปินรุ่นใหม่ แสดงออกถึงความสามารถ  จุดประกายความตื่นตัวการสร้างสรรค์งานศิลปะ ของศิลปินหนุ่มสาวรุ่นใหม่สู่สาธารณชน  มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง 

เรื่องชุ่มเย็นใจของคนหัวใจศิลป์มาถึงแล้ว เพราะในช่วงที่ประเทศไทย กำลังอบอวนไปกลิ่นไอของสุนทรียะของศิลปกรรม จากศิลปิน และผู้สนใจงานด้านศิลปะจากทั่วโลก ในงานเทศกาลศิลปะ “Biennale” ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในแวดวงศิลปะระดับนานาชาติ ที่มาจัดงานในประเทศไทยเป็นครั้งแรก   ในช่วงเดือนตุลาคม 2561 ถึง กุมภาพันธ์ 2562  โดยแบ่งเป็น 2 งาน  คือ Thailand Biennale 2018 และ Bangkok Art Biennale  มูลนิธิบัวหลวง จึงจัดงานนิทรรศการ “Beyond Artistic Boundary : ความงามข้ามขอบเขต” คู่ขนานไปพร้อมๆ กัน   นิทรรศการ “Beyond Artistic Boundary : ความงามข้ามขอบเขต”

ยูเครนเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนเหนือของทะเลดำและทะเลอะซอฟ ยูเครนเป็นประเทศที่มีอดีตอันรุ่งโรจน์ ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 9 อาณาจักรเคียฟรุสได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยมีเมืองหลวงชื่อ กรุงเคียฟ ซึ่งถือเป็นรัฐแห่งแรกในอาณาเขตปัจจุบันของยูเครน เนื่องจากมีประวัติอันยาวนานและเป็นแหล่งรวมขนาดใหญ่ของศิลปวัฒนธรรมของประเทศยูเครน ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความหลากหลาย สะท้อนผ่านศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรม อันเต็มเปี่ยมไปด้วยสีสันและเสน่ห์เฉพาะตัว   นับเป็นโอกาสที่ดีที่ MeetThinks มีโอกาสได้เข้าชมนิทรรศการ  “Diverse Ukraine” หรือ “ความหลากหลายแห่งยูเครน”  ซึ่งจัดโดย หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยความร่วมมือกับสถานทูตยูเครน ประจำประเทศไทย    [caption id="attachment_14987" align="aligncenter" width="800"] อันดรีย์ เบชตา (Mr. Andriy Beshta) เอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทย[/caption] นิทรรศการศิลปะ “Diverse Ukraine” นำเสนอถึงความหลากหลายของประเทศยูเครน ซึ่งในแต่ละภูมิภาคนั้นมีศิลปวัฒนธรรมเฉพาะตัว โดยนิทรรศการแสดงครั้งนี้  ผู้เข้าชมจะได้เห็นถึงความต่างทางวัฒนธรรม

End Cradit ของหนังแต่ละเรื่อง บอกเล่าถึงส่วนประกอบที่สร้างสรรค์ผลงานชิ้นหนึ่งขึ้นมา ซึ่งทุกวันนี้การทำ End Cradit ก็มีการนำเสนอที่น่าสนใจ เพื่อให้คนเบื้องหลังได้ปรากฏแก่สายตาของผู้ชมได้มากที่สุด จนกลายเป็นเสน่ห์ของหนังที่ทำให้เรายังคงนั่งชมแม้ว่าเรื่องราวจะจบไปแล้ว แล้วงานศิลปะภาพเหมือนสักชิ้นล่ะ End Cradit จะหมายถึงสิ่งใด แล้วจะแสดงอยู่ส่วนไหน เพราะสุดท้าย มีเพียงชื่อของศิลปินที่กำกับอยู่บนผลงาน เพราะคลุกคลีกับงานเบื้องหลังมานาน จึงเข้าใจถึงคุณค่าของคนเบื้องหลัง  “จื้อ-พรชัย สินนท์ภัทร” ศิลปินนักวาดภาพชั้นนำของบ้านเรา จึงตั้งใจสร้างผลงานที่แสดงถึงคุณค่าของคนเบื้องหลัง ผ่านผลงานชุด The Jigsaw of Beauty เราเจอพี่จื้อ ในงานนิทรรศการ “ลูกไม้ใต้ต้น” ที่กลุ่มศิษย์เก่าคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อเชิดชู อ.ลาวัณย์ อุปอินทร์ ศิลปินแห่งชาติผู้เป็นครูมาตลอดชีวิต โดยงานนี้ได้รวมผลงานนับ 200 ชิ้น จากศิลปินรับเชิญและคณะลูกศิษย์ จัดขึ้น ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

การได้ทำงานที่ชอบและถนัด ถือเป็นหนึ่งในแนวทางสร้างความสุขให้กับชีวิต แต่หากมีความชอบ แต่ยังไม่ถนัด การได้เรียนรู้ในสิ่งที่ชอบ แม้จะดูยาก ก็ยังเป็นอีกความสุขอยู่ดี เช่นเดียวกับการก้าวข้ามและพลิกผันครั้งสำคัญของอาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติที่โลดแล่นในวงการศิลปะไทยมากว่า 30 ปี มีผลงานเป็นที่ลือเลื่อง จนมาวันหนึ่ง ท่านก็คิดที่จะท้าทายตัวเอง ด้วยการออกจากสิ่งที่หลายคนอาจเรียกมันว่า Safe Zone ด้วยการพลิกโฉมรูปแบบงานศิลปะที่ถนัดมาทั้งชีวิต สู่การสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบใหม่ ที่ไม่เคยทำมาก่อน โดยใช้เวลาเกือบ 5 ปีกว่าจะออกมาเป็นผลงาน ภายใต้แนวคิด “Ready Myth” อวดโฉมให้ทุกคนได้ร่วมกันฉุกคิดในนิทรรศการ “PANYA  : READY MYTH DEMONCRACY” ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ใช่

สมัยเด็กๆ เวลาทำอะไรผิดสักอย่าง เราจะรู้สึกเศร้าใจเป็นอย่างมาก แค่ทำแจกันแตกไปใบหนึ่ง ก็สะเทือนใจอย่างหนัก แต่เมื่อโตมา จะแก้วแตก จานแตก หรือแจกันแบบเดิมแตก ก็เห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย แล้วถ้าเรื่องเล็กน้อยที่มองเห็นว่ามันไม่เป็นไรนั้น ก่อรวมตัวเข้าด้วยกัน จนสร้างผลกระทบในวงกว้างล่ะ นี่คือคำถามให้ได้ฉุกคิด ในประเด็นของสิ่งแวดล้อม ที่ อ.ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ ต้องการสื่อสารไปถึงผู้ชม  กับงานแสดงผลงานศิลปะ “PANYA: READY MYTH  DEMONCRAZY” ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในชั้นแรกของอาคาร เราพบกับกลุ่มแมงมุมยักษ์ขนาดใหญ่ เดาได้ว่าเป็นวัสดุที่มาจากรถยนต์หลายๆ ยี่ห้อต่าง มันคือผลงานที่ชื่อ ชื่อผลงาน “VW Spindler Cars”  หรือ ยานแมงมุม ซึ่งเป็นเทคนิคสื่อผสม แหงนมองขึ้นไปเห็นสายไฟขนาดใหญ่ห้อยอะไรโตงเตงลงมา แต่ก็ยังจับตาอยู่กับเจ้าแมงมุมเหล่านี้ การสร้างสรรค์งานชิ้นนี้