Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

Gastronomy Tourism Tag

อย่างแรกเลย หลังจากรู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหน เรามักจะถามกันว่า แล้วจะไปกินอะไร และนี่คือพลังของ Gastronomy Tourism เพราะการได้ลิ้มชิมรสเมนูเด็ดของเจ้าถิ่น คือความฟินระดับที่มิชลินไม่ต้องไกด์ เรื่องของอาหารเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เสมือนครัวของแต่ละบ้านย่อมมีจานอร่อยของตัวเอง จังหวัดตราด สุดเขตแดนตะวันออกของไทย เป็นอีกดินแดนแห่งความฝัน สวรรค์ของนักชิม จากวัตถุดิบและภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นอีกเสน่ห์ที่ชวนให้สัมผัส จนไม่อยากให้พลาด ปลาย่ำสวาท เมนูสุดต๊าซแห่งท้องทะเลตราด เพราะฟังแค่ชื่อก็น่าสนใจแล้ว สำหรับ “ปลาย่ำสวาท” จึงขอเลือกมาเป็นเบอร์ 1 ในดวงใจสำหรับการนำเสนอในครั้งนี้ ชื่อจริงของมันคือ “ปลากะรังจุดฟ้า” ดูแล้วงามตาน่าชม แต่พอได้ลิ้มลองก็ขอเปลี่ยนเป็น “น่ากิน” ด้วยแล้วกัน นี่คือปลาประจำถิ่นตราด ที่หารับประทานได้ยากในแหล่งอื่น เป็นปลาไทยเนื้อดี ทำเมนูไหนก็อร่อย โดยเฉพาะ  “ซาชิมิ” หรือ “ปลาดิบ” มีทั้งปลาธรรมชาติและแบบเลี้ยง ราคากิโลละเป็นพัน ที่มาของชื่อ “ปลาย่ำสวาท” มาจากลักษณะวงจรชีวิตของปลาชนิดนี้ ตัวแม่จะวางไข่ในทะเล

เรื่องเล่าขานตำนานแม่ม่ายเมืองลับแล ประกอบกับพื้นที่ตั้งในป่าดงดิบแสนไกล มีเทือกเขาล้อมรอบ ว่ากันว่าสมัยก่อนใครผ่านเข้ามาก็หลงทางกันเป็นว่าเล่น ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า อาชีพหลักของชาวลับแล ก็คือเกษตรกรรม โดยเฉพาะสวนผลไม้ ใครมาเห็นก็ประหลาดใจ จากการทำสวนผลไม้ที่ปลูกไล่ขึ้นไปตามแนวเขาอันสูงชัน จะปลูกว่ายากแล้ว ถึงขนาดต้องใช้หนังสติ๊กยิงยิงเม็ดทุเรียนขึ้นไปเขา รอฝนรอฟ้าใช้เวลา 6 ปี ก็ได้ผล ถึงเวลาเก็บก็ยิ่งยากกว่า เพราะทุเรียนเป็นผลไม้มีหนาม ลูกสองลูกก็ยังพอทน แต่ถ้าต้องขนกันทั้งสวน ฟังดูแล้วน่าลำบาก ต้องอาศัยการโยงสลิง ชักรอกข้ามเขากันวุ่นวาย แต่กลายเป็นปกติวิถีของคนที่นี่ ถ้าจะหาคนขับมอเตอร์ไซด์วิบากเก่งๆ ก็น่าจะลองมาดูที่ลับแล เพราะชาวสวนที่ควบสองล้อขึ้นลงภูเขากันเป็นประจำ คันหนึ่งต้องบรรทุกทุเรียนเป็นร้อยกิโลเลยทีเดียว ทุเรียน “หลงลับแล” และ “หลินลับแล” เป็นทุเรียนสายพันธุ์เฉพาะของที่นี่ ขนาดลูกไม่ใหญ่ รสชาติหวานเป็นเอกลักษณ์ จนได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้า GI (Geographical Indications) หรือ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อปี

ด้วยประสบการณ์ที่เคยคลุกคลีกับเพื่อนๆ ชาวไทยมุสลิม จึงทำให้เราได้รู้จักภาษามลายูท้องถิ่นที่ใช้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาบ้าง ที่เรียกกันว่าภาษา “ยาวี”  ซึ่งเป็นภาษามลายูที่ไม่เป็นทางการ ใช้พูด แต่ไม่ใช้เขียน  มีคำง่ายๆ พื้นฐานให้เรียนรู้ จำได้ไม่ยาก เช่นเดียวกับคำที่จำได้ดีอย่างคำว่า “ซือดะห์” (ออกเสียงว่า ซือ-ด๊ะ) ที่แปลว่า “อร่อย” ซึ่งใช้ในชีวิตประจำวัน และได้ยินบ่อยๆ ในโฆษณาอาหารของมุสลิม ที่บอกว่า “ซือดะห์ ซูโงะ” หรือ  อร่อยจริงๆ  อร่อยมากๆ ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามในแถบจังหวัด ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสงขลา ในบางพื้นที่เท่านั้นที่จะพูดยาวี ขณะที่จังหวัดสตูล ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม ก็ไม่ได้ใช้ภาษานี้ แต่มาถึงสตูลในครั้งนี้ ได้คลุกคลีกับชุมชนชาวไทยมุสลิมจนเกิดความประทับใจ จากเอกลักษณ์อาหารท้องถิ่นที่น่าสนใจ  ทำให้คิดถึงเพื่อนๆ ที่เคยรู้จักและผูกพัน จึงอยากใช้คำว่า