Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ใบโกงกางทอด Tag

อย่างแรกเลย หลังจากรู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหน เรามักจะถามกันว่า แล้วจะไปกินอะไร และนี่คือพลังของ Gastronomy Tourism เพราะการได้ลิ้มชิมรสเมนูเด็ดของเจ้าถิ่น คือความฟินระดับที่มิชลินไม่ต้องไกด์ เรื่องของอาหารเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เสมือนครัวของแต่ละบ้านย่อมมีจานอร่อยของตัวเอง จังหวัดตราด สุดเขตแดนตะวันออกของไทย เป็นอีกดินแดนแห่งความฝัน สวรรค์ของนักชิม จากวัตถุดิบและภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นอีกเสน่ห์ที่ชวนให้สัมผัส จนไม่อยากให้พลาด ปลาย่ำสวาท เมนูสุดต๊าซแห่งท้องทะเลตราด เพราะฟังแค่ชื่อก็น่าสนใจแล้ว สำหรับ “ปลาย่ำสวาท” จึงขอเลือกมาเป็นเบอร์ 1 ในดวงใจสำหรับการนำเสนอในครั้งนี้ ชื่อจริงของมันคือ “ปลากะรังจุดฟ้า” ดูแล้วงามตาน่าชม แต่พอได้ลิ้มลองก็ขอเปลี่ยนเป็น “น่ากิน” ด้วยแล้วกัน นี่คือปลาประจำถิ่นตราด ที่หารับประทานได้ยากในแหล่งอื่น เป็นปลาไทยเนื้อดี ทำเมนูไหนก็อร่อย โดยเฉพาะ  “ซาชิมิ” หรือ “ปลาดิบ” มีทั้งปลาธรรมชาติและแบบเลี้ยง ราคากิโลละเป็นพัน ที่มาของชื่อ “ปลาย่ำสวาท” มาจากลักษณะวงจรชีวิตของปลาชนิดนี้ ตัวแม่จะวางไข่ในทะเล

ธรรมชาติมีจังหวะของตัวมันเอง เหมือนเราเฝ้ารอชมหมอกในช่วงฤดูหนาว  หรือ พบกับสายน้ำตกที่ไหลเย็นในช่วงหน้าฝน เช่นเดียวกับการได้เห็นลานตะบูนในช่วงน้ำแห้ง เฉพาะเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีช่วงน้ำลงเพียง 2-3 วันเท่านั้น เที่ยวตราดบก หรือ เที่ยวตราดไม่ลงเกาะ มีหลายสถานที่ให้เลือกเที่ยวชม เช่นเดียวกับชุมชนบ้านท่าระแนะ ต.หนองคันทรง อ.เมือง จ.ตราด ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีความเข้มแข็งและสวยงาม มีผู้เข้ามาเที่ยวชม ศึกษาดูงานตลอดทั้งปี วันนี้ “สายชล สุเนตร” ผู้ใหญ่บ้านท่าระแนะ รับหน้าที่เป็นไกด์อารมณ์ดีพาเราเที่ยวชมความงดงามของธรรมชาติบ้านท่าระแนะ  ที่มีทั้งป่าลำพู ป่าโกงกาง ป่าจาก และป่าตะบูน อาศัยอยู่อย่างเป็นสัดส่วนในพื้นที่กว่า 2,500 ไร่ บริเวณปากอ่าวแม่น้ำตราด ในหมู่ 2 บ้านท่าระแนะ เป็นธรรมชาติที่สรรค์สร้างได้อย่างผู้กำกับมืออาชีพ ใช้เวลาไป-กลับและเที่ยวชมประมาณ 1 ชั่วโมง [caption id="attachment_21314" align="aligncenter"

ไม่ใช่เพียงแค่หน้าที่ที่ทำให้คนเรายังมีที่ยืน ที่อยู่ ที่อาศัย แต่วันนี้โลกรู้แล้วว่า ดิน คือ ที่พึ่งของคนทั้งโลก เพราะแม้แต่กองทัพยังต้องเดินด้วยท้อง ดังนั้นความมั่นคงของประเทศ ที่หลายคนมองว่าเป็นแค่เรื่องของการทหาร ก็ยังต้องพึ่งพาอาหาร ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศมีความมั่นคงสูง ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร แต่ในขณะเดียวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการเรื่องของดิน น้ำ ป่า เพราะหากใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง  อาจจะกลายเป็นการทำลายสิ่งที่มีค่าไปอย่างน่าเสียดาย หลายคนคงได้ทราบแล้วว่า ในวันดินโลก พ.ศ.2561 ในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การสหประชาชาติ (UN) มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันดินโลก เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชา และน้อมสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาดิน  รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพยากรดินเพื่อความมั่นคงทางอาหารโลกอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด ‘Be the solution to soil pollution’ เน้นเรื่องมลพิษทางดินซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร [caption