Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

AmazingThailand Tag

เมื่อกล่าวถึง “แคมป์ปิง” (Camping) อดไม่ได้ที่จะพูดถึงคำว่า “แกลมปิ้ง” (Glamping) เทรนด์ท่องเที่ยวที่มีสไตล์ของผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติ  ชอบแสวงหาความแปลกใหม่ มีความย้อนแย้งที่นักการตลาดต้องทำความเข้าใจ เพราะพวกเขา “ชอบผจญภัย แต่ก็อยากได้ความสะดวกสบาย” โลกของแคมป์ปิ้งในปัจจุบัน ไม่ได้สมบุกสมบันแบบทหารออกลาดตระเวน แต่จะเต็มไปด้วยอุปกรณ์และข้าวของที่ช่วยอำนวยความสะดวก ที่มากกว่าเต็นท์ 1 หลัง หม้อสนาม 1 ใบ แบบแต่ก่อน แกลมปิง หรือ Glamping มาจากคำว่า ‘Camping’ บวก ‘Glamorous’ หมายถึงการท่องเที่ยวแคมป์ปิ้ง (Camping) แบบหรูหราหรือมีสไตล์ เป็น Niche Market หรือตลาดกลุ่มเฉพาะ ที่มีกำลังซื้อสูง และมีโอกาสในการขยายตัวของสินค้า และบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ซึ่งเราจะเห็นเทรนด์ของสายแคมป์กระจายตัวอย่างเห็นได้ชัดอยู่ทั่วประเทศ ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  ระบุว่า

เรื่องยาก ๆ ต้องแก้ไขด้วยความเรียบง่าย น่าจะเป็นบทสรุปที่น่าฉุกคิด เกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่โลกเรากำลังเผชิญ แต่พอพูดถึงคำว่า “ภาวะโลกร้อน” หลายคนก็บอกว่าน่ากังวลนะ แต่จะทำยังไงกับมันดีล่ะ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคือหนทางของการคลี่คลายปัญหา แต่คำว่า “ปรับเปลี่ยน” ก็อาจจะดูยากไปสำหรับชีวิตมนุษย์ที่เดินทางผ่านโลกมาเพียงช่วงสั้น ๆ อีกทั้งหากการปรับเปลี่ยนนั้นดึงเอาความเคยชินไป การมีส่วนร่วมก็คงไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ มันอาจจะต้องใช้เวลาเหมือนการเยียวยาชนิดหนึ่ง ท่องเที่ยวยั่งยืน เศรษฐกิจดี โลกต้องดีด้วย การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในกิจกรรมแห่งความสุข แต่ขณะเดียวกันก็ถือเป็นการสื่อสารที่ทรงพลัง เพราะน้อยนักที่คนออกไปเที่ยวแล้วจะเก็บมันไว้คนเดียว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีนโยบายด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มุ่งการเติบโตที่สมดุลทั้งเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ด้วยการประสาน 3 พลังของเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และสิ่งที่ว่ามาทั้งหมดนี้จะเป็นตัวกำหนดเทรนด์การท่องเที่ยวที่เข้มข้นขึ้น เพื่อตอบรับกับกระแสโลก ภายใต้วิกฤตทางธรรมชาติที่น่าเป็นห่วงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ททท.ภูมิภาคภาคกลาง จัดกิจกรรมส่งเสริมท่องเที่ยวทางรถยนต์ BCG

การเปลี่ยนแปลงของอากาศ (Climate Change) น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หลังจากได้รับรู้ว่า ปีนี้แล้งเหลือเกิน แล้งจนน้ำตกที่เขาใหญ่แห้งหาย แต่ล่าสุดต้นไม้ใบหญ้าก็แตกกิ่งก้านใบ ทากก็เริ่มออกมาวาดลวยลาย ใครไปเดินป่าเขาใหญ่ตอนนี้ มั่นใจได้ว่าจะได้เจอ ไม่เฉพาะแต่ทากตัวน้อยเท่านั้น หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ “ชัยยา ห้วยหงส์ทอง” บอกว่า แม้ว่าหลายคนอยากจะสัมผัสใกล้ชิดกับธรรมชาติ  แต่จะอนุญาตให้กางเต้นท์เฉพาะบางจุด คือ ลานกางเต็นท์ลำตะคอง ซึ่งเป็นสนามหญ้าเปิดโล่งริมน้ำ มีเจ้าหน้าที่คอยสอดส่องดูแล หากย้อนไปเหตุการณ์ในอดีต มีคนที่นอนในเต็นท์แล้วช้างมาตะกุยเต็นท์จนร่างของเขาตกลงมาเป็นที่น่าสลด แต่นี่คือกฎข้อสำคัญในการมาเที่ยวเขาใหญ่ นอกจากการห้ามให้อาหารสัตว์อย่างเด็ดขาดแล้ว ก็อย่าเก็บผลไม้ไว้ในรถหรือในเต็นท์ เพราะนั่นหมายถึงการเรียกช้างเข้ามาหา หัวหน้าชัยยา เล่าต่อว่า ช้างเป็นหนึ่งในเจ้าบ้านบนเขาใหญ่ พวกมันอยากจะเดินไปไหนเวลาไหนก็ได้อย่างอิสระ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน หากมาพักค้างแรมบนเขาใหญ่ จึงไม่ควรออกไปเดินเล่นในช่วงมืด ๆ หากอยากดูสัตว์ก็ใช้บริการรถของเจ้าหน้าที่พาออกไปส่องสัตว์ในตอนกลางคืนได้  ปกติแล้วช้างบนเขาใหญ่เขาน่ารัก แต่ถ้ามีเป้าหมายหรือเครียดก็ต้องถอยให้เป็น ค่อย ๆ ถอยให้ห่าง ถ้าต้องวิ่งหนีก็อย่าวิ่งเป็นเส้นตรง ต้องวิ่งวน ๆ จะวนรอบรถ

ททท.ภาคกลาง ร่วมพันธมิตรเครือข่ายจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถยนต์ BCG Road Trip รักษ์โลกพลังงานใหม่  คาราวาน C2 Connect plus 2023' วันที่ 26-28 พ.ค. 2566  เส้นทาง กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี-กาญจนบุรี-เพชรบุรี-สมุทรสงคราม โดยมีพิธีปล่อยขบวน ณ บริเวณหน้าอาคารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานใหญ่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ  นางสาวสุรีพร พงษ์พานิช ผู้อำนวยการกองตลาดภาคกลาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดกิจกรรมและปล่อยขบวนคาราวานส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถยนต์ BCG Road Trip ในรูปแบบรักษ์โลกพลังงานใหม่ ภายใต้ชื่อ ‘คาราวาน C2 Connect Plus 2023’ เส้นทาง กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี-กาญจนบุรี-เพชรบุรี-สมุทรสงคราม

ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ชุ่มน้ำ แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ทางธรรมชาติในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยคำว่า “พื้นที่ชุ่มน้ำ” (Wetland) หมายถึงพื้นที่ที่มีน้ำเป็นปัจจัยหลักในการควบคุมสภาพแวดล้อม หรือการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปแล้ว พื้นที่ชุ่มน้ำจะเกิดจากระดับน้ำใต้ดินที่อยู่ใกล้ผืนดินมาก ๆ ลักษณะจึงเป็นที่ราบลุ่ม ที่มีพื้นที่แฉะคล้ายน้ำท่วมขัง มีการไหลเวียนของน้ำตามฤดูกาล   โลกของเรามีพื้นที่ชุ่มน้ำรวมกันราว 10 ล้านตารางกิโลเมตร หรือราวร้อยละ 6 ของพื้นที่ผิวโลกทั้งหมด พื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งอาจเป็นเพียงพื้นที่ส่วนน้อยของโลก แต่ถือเป็นหนึ่งในระบบนิเวศที่มีสภาพแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก (ที่มา : https://ngthai.com/science/30325/wetland/) ด้วยลักษณะพิเศษที่มีความผสมผสานระหว่างผืนดินและน้ำ รวมทั้งลักษณะของน้ำที่มีได้ทั้ง น้ำจืด น้ำเค็ม หรือ น้ำกร่อย ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นบ้านที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย ด้วยความแปลกตาทางธรรมชาติทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำส่วนใหญ่ มีเสน่ห์และเอกลักษณ์เฉพาะตัว เหมาะแก่การเข้าชมเพื่อศึกษาธรรมชาติ และกลายเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจกันมาก เราเดินทางมาที่ “สวนพฤกษศาสตร์ระยอง” อีกครั้งที่ความอลังการซ่อนเร้นอยู่ในผืนน้ำและผืนป่าขนาดใหญ่  รวมพื้นที่กว่า 3,000 ไร่