Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

meetFEEL

คำว่า “ใจฟู” สะท้อนให้เห็นภาพความชื่นบานของหัวใจ เหมือนดอกไม้ที่ชูช่อรอรับสายฝนและแสงแดด อาการใจฟูเกิดขึ้นได้เมื่อพบเจอความรู้สึกดี ๆ เป็นพลังงานบางอย่างที่คอยกระตุ้นเรี่ยวแรงทางอารมณ์

อยากใจฟูให้ออกเดินทาง ไปค้นหาภาพความประทับใจในแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย ล่าสุดเราไปชะอำ ไปเติมความชุ่มฉ่ำให้หัวใจ เจอทะเลสดใส กับผู้คนที่เต็มไปด้วยความสุขในวันหยุดพักผ่อน จากนั้นก็เดินทางไปเที่ยวต่อในแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ รวมทั้งสถานที่ที่ยังไม่เคยไปมาก่อน (ทั้ง ๆ ที่อาจจะมีอยู่นานแล้ว)

[gallery columns="2" size="full" ids="33411,33410"] [caption id="attachment_33409" align="aligncenter" width="800"] นิติ วงษ์วิชาสวัสดิ์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเพชรบุรี[/caption]

วนอุทยานเขานางพันธุรัต มีเรื่องราวที่น่าสนใจหลากหลายแง่มุม  ทั้งในแง่ของวรรณคดีโบราณ ทั้งด้านธรณีวิทยา รวมทั้งประวัติศาสตร์อันเป็นที่มาของผืนป่าอันชุ่มเย็นในปัจจุบัน   [caption id="attachment_33350" align="aligncenter" width="800"] พัฒนพันธ์ เจือจันทร์ หัวหน้าโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพพื้นที่เขานางพันธุรัต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี[/caption] 1.ฟื้นผืนป่า ด้วยพระบารมี นับเป็นเรื่องราวที่สร้างความปลาบปลื้มให้ทุกคนเป็นอย่างมาก จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้เสด็จแปรพระราชฐานประทับที่วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี พ.ศ.2541 ในตอนนั้น ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้แม่ทัพภาคที่ 1 ฟื้นฟูบริเวณที่เกิดการถล่มของภูเขาแห่งนี้ และทำการอนุรักษ์พื้นที่ป่าให้เป็นมรดกของชาติ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงตำนานตามวรรณคดีไทย จากภูเขาหิน ที่ผ่านการใช้งานในอุตสาหกรรมจนทรุดโทรม มาสู่ผืนป่าที่ร่มเย็น ให้เราได้เข้ามาสัมผัสอย่างชื่นใจ และร่วมอนุรักษ์ไว้สืบไป 2.ตามรอยวรรณคดีโบราณ ตำนานนางพันธุรัต ชื่อของ “นางพันธุรัต”  เป็นที่คุ้นชินจากวรรณคดีเรื่อง “สังข์ทอง” เช่นเดียวกับชื่อของ “วนอุทยานเขานางพันธุรัต” ซึ่งมีที่มาจากวรรณคดีเรื่องนี้

ไม่ใช่ทะเล ไม่ใช่ภูเขา แต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเราและหลาย ๆ คนหลงรัก ด้วยความเรียบง่าย สบาย ๆ สไตล์สมุทรสงคราม “อัมพวา” จึงเป็นเป้าหมายในความคิดถึงอยู่เสมอ ขับรถไม่ไกล ไปแล้วมีที่เที่ยวที่กินเยอะมาก แต่ก็ได้บรรยากาศของการผ่อนคลาย ด้วยความร่มเย็นของสายน้ำและวิถีชีวิตของผู้คน วันหยุดที่ผ่านมา เราได้เดินทางไปอัมพวา แน่นอนว่า “ตลาดน้ำอัมพวา” คือเป้าหมาย แต่ก็มีสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ก่อนจะเข้าไปเดินตลาดกันในช่วงเย็น ๆ ส้มโอขาวใหญ่ GI ไม่จกตา อยากกินส้มโออร่อย ของดีที่แท้ทรู พร้อมกับการเรียนรู้สนุก ๆ ก็ต้องไปกันถึงสวน ทริปนี้เรามุ่งหน้าไปที่ “สวนพลอยสุภา” ต.บางสะแก อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ส้มโอเป็นผลไม้ที่มีให้กินทั้งปี มีให้เลือกหลายพันธุ์ หลายพื้นที่ เช่นเดียวกับที่นี่ ซึ่งมีส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ ที่ได้รับรองเป็นสินค้า GI หรือ  สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

สายฝนที่พร่างพรม กับสายลมที่โชยมา บอกให้เรารู้ว่า นี่คือช่วงเวลาแห่งความชุ่มชื่นเย็นใจ ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนมาไหน ก็จะพบกับต้นไม้ใบหญ้าเปล่งความเขียวขจี มองแล้วสบายตา สบายใจ ช่วยเยียวยาความอ่อนล้าได้เป็นอย่างดี มาตามเสียงเรียกร้องของหัวใจ ด้วยความคิดถึงธรรมชาติ คิดถึงมุมดี ๆ  คิดถึงวิถีอันเป็นเอกลักษณ์อีกมากมายของสองจังหวัดที่เชื่อมโยงการเดินทางได้แบบไม่สะดุด วันนี้เราเดินทางมากับทริป เมืองรอง ต้อง  “ออก”  เที่ยว เส้นทางกทม. - นครนายก-ปราจีนบุรี ซึ่งจัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน 1.ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 1 จ.นครนายก ไปล้างกรงเสือกันไหม หรือจะล้างกรงหมี ประสบการณ์ดี ๆ ที่หาได้ยาก ณ ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 1 จ.นครนายก  ซึ่งเป็นศูนย์ดูแลสัตว์ป่าทั้งที่ป่วย บาดเจ็บ

การลักลอบล่า ครอบครอง และซื้อขายสัตว์ป่า เป็นข่าวที่ทุกคนได้ยินกันมาตั้งแต่เล็กจนโต แม้ว่าจะมีการรณรงค์มาอย่างต่อเนื่อง แต่คดีเหล่านี้ก็ยังไม่เคยลดน้อยลงเลย สัตว์ป่าคุ้มครองบางตัวที่เคยถูกเลี้ยงในบ้าน เมื่อถึงวันที่ตัดสินใจเลิก  หรือดูแลไม่ไหว ก็มักจะเอาไปฝากไว้ที่วัด ใช้วิธีฟอกตัวเพื่อเลี่ยงกฎหมาย เป็นภาระของหลวงพ่อที่ต้องส่งต่อสัตว์เหล่านั้นไปให้ผู้ดูแล สัตว์บางชนิดเกิดมาจากแบบผิดกฎหมาย อย่างเสือโคร่งเบงกอล ที่ถูกเพาะเลี้ยงในเมืองไทยเพื่อส่งขายไปยังประเทศจีน สายพันธุ์ของพวกมันอาศัยอยู่แถบปากีสถานและบังคลาเทศ เมื่อจับกุมได้แล้วจะทำการส่งตัวกลับบ้านก็ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะถือว่าเป็นสัตว์เพาะเลี้ยง ไม่ใช่สัตว์ที่เกิดและเติบโตในป่าต้นกำเนิด ดิน น้ำ ลม ไฟ การมาเยือนครั้งนี้ ทำให้เห็นถึงความแตกต่าง หนึ่งในเจ้าแมวยักษ์ที่เคยเคร่งขรึมในวันก่อน วันนี้ช่างดูงุ่นง่าน หวาดระแวง ส่งสายตาดุดันพร้อมเสียงคำรามกึกก้องเป็นช่วง ๆ ทำเอาคนที่ยืนหน้ากรงสะดุ้งโหยงแทบทุกครั้ง ดิน น้ำ ลม ไฟ คือ ชื่อของเสือโคร่งเบงกอลทั้ง 4 ตัวที่ว่านั้น พวกมันเข้ามาอยู่ที่ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 1 จ.นครนายก เมื่อปี 2550

ฤดูที่แตกต่างนำพาให้เราได้มาพบกับความเปลี่ยนแปลง เพราะดอกไม้ในโลกใบนี้ ไม่ได้พร้อมใจกันอวดโฉม แต่จะเฝ้าคอยเวลาที่เหมาะสมของตัวเอง เกิดเป็นสีสันแห่งฤดูกาล รอให้เหล่านักเดินทางได้ตามหา หน้าฝนปีนี้อาจจะแปลกไปสักหน่อย ด้วยสภาพอากาศที่ผันผวนทำให้ฝนมาช้า และมาในปริมาณที่ไม่มากนัก ทำให้เจ้าหญิงแห่งฤดูกาลอย่าง “ดอกกระเจียว”​ ยังซ่อนตัวอยู่นาน เปิดเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวบาน เมื่อวันที่  13 มิถุนายน 2567 มีการแถลงข่าว “งานเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวบาน จังหวัดชัยภูมิ ประจำปี 2567”  ตอกย้ำภาพลักษณ์ ชัยภูมิ เมืองน่าเที่ยว

ตามปกติแล้วเวลาจะกินผักหรือผลไม้ ใคร ๆ  ก็ต้องการความสด ใหม่ หากได้เก็บจากต้นหมาด ๆ ก็ยิ่งดี แต่เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่สำหรับผลไม้แห่งความปรารถนาอันแรงกล้า “Passion Fruit” ที่ยืนยันมาแล้วว่า “ยิ่งเหี่ยวยิ่งอร่อย” Passion Fruit เสาวรส หรือ กะทกรก เป็นผลไม้ที่ไม่ได้ปลูกกันอย่างแพร่หลายนักในเมืองไทย เนื่องจากต้องใช้ดินที่มีความชุ่มชื้นแต่ก็ต้องระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดเพียงพอ พื้นที่สูงจึงมีความได้เปรียบ อีกทั้งเสาวรสที่เพาะพันธุ์ปลูกกันในเมืองไทย ก็มีรสชาติเปรี้ยวนำ บ้างก็ว่ายากต่อการเปิดใจ แม้จะรู้ดีว่าเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มากมาย แต่หลายคนก็ขอบายเพราะไม่ถูกใจในรสชาติ แต่เสาวรสในโลกนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ หนึ่งในประเทศที่มีการวิจัยและพัฒนาเสาวรสอย่างจริงจังก็คือ “ไต้หวัน” ถึงขั้นที่มีเสาวรสพันธุ์ “ไทนุง” ซึ่งใช้คำว่า Tai จาก Taiwan  ส่วน Nung เป็นภาษาจีนในไต้หวันหมายถึง “การเกษตร” เสาวรสพันธุ์ไทนุง จึงเป็นหน้าเป็นตาของการเกษตรไต้หวัน

จังหวัดร้อยเอ็ด เทศบาลตำบลพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขอเชิญเที่ยวงานประเพณีบุญบั้งไฟ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 20-22 มิถุนายน 2567 โดยในปีนี้ได้มีการอนุญาตให้จุดบั้งไฟสิบล้านได้ถึง 2 บั้ง รวมกับบั้งไฟขนาดเล็กอีกไม่น้อยกว่า 1,000 บั้ง สำหรับงานประเพณีบุญบั้งไฟของชาวพนมไพรมีมาแต่โบราณ โดยได้กำหนดการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟไว้เป็นการแน่นอน คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7 เป็นวันแห่บั้งไฟ และวันแรม 1 ค่ำเดือน 7 เป็นวันจุดบั้งไฟ ซึ่งถือเป็นการนัดหมายเป็นข้อตกลงร่วมกันทางประเพณี ที่ชาวอำเภอพนมไพรทุกคนได้ถือปฏิบัติการมาจนถึงปัจจุบัน โดยในวันนี้ของทุกปี ชาวอำเภอพนมไพรจะกลับมาร่วมงานประเพณีบุญบั้งไฟและถวายสักการะแด่องค์พระมหาธาตุวัดกลางอุดมเวทย์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง พี่น้องประชาชนจะได้แสดงความรัก ความสามัคคี ความพร้อมเพรียง การเสียสละ ในการร่วมแรงร่วมใจในการจัดงานได้อย่างยิ่งใหญ่ และในปีนี้นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัส และชื่นชมความสวยงามของประเพณีได้ตั้งแต่ วันพฤหัสบดี

ทีเส็บ ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยพันธมิตรภาครัฐและเอกชนภายในจังหวัดตราด จัดกิจกรรม CVTEC MICE BUSINESS ROADSHOW 2024 เปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวและการเดินทางรูปแบบใหม่ รวมทั้งการขยายตลาดไมซ์ในพื้นที่จังหวัดตราดเชื่อมโยงเส้นทาง CVTEC เมื่อวันที่ 5 – 8 มิถุนายน 2567 ณ จังหวัดตราด กิจกรรมในครั้งนี้ ได้เชิญผู้ประกอบการจากกัมพูชาและเวียดนาม ร่วมเดินทางโดยเรือโดยสารจากท่าเรือสีหนุวิว – มายังท่าเทียบเรือคลองใหญ่ เพื่อประเดิมเส้นทางนำร่องสู่การเดินเรือเชื่อมโยงเส้นทางตราด - สีหนุวิว - ฟูก๊วก พร้อมสร้างเครือข่ายและเจรจาจับคู่ทางธุรกิจกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและไมซ์บนเกาะช้างและหมู่เกาะเชื่อมโยง เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ทำตลาดร่วมกันในรูปแบบ 1 Marketing 3 Destination นอกจากนี้ยังได้เชิญผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานภาครัฐกัมพูชาและเวียดนาม เข้าร่วมประชุมนานาชาติ CVTEC ในการหารือขอตกลงร่วมในการเดินเรือเชื่อมโยงชายฝั่งทะเล 3

เรื่องเล่าที่ส่งผ่านเป็นบทเพลง ทำให้หลายคนรู้จักอำเภอ “แก่งคอย” จากเพลง “แร้งคอย” โดยคาราบาว แต่ “แร้งคอย” ในบทกวีที่ขับขาน จะเป็นเพียงตำนาน หรือเรื่องจริงที่เล่าต่อกันมาเนิ่นนาน หากพิจารณาถึงสภาพพื้นซึ่งเป็นกลุ่มป่าขนาดใหญ่ ในสมัยก่อนการเดินทางผ่าน “ดงพญาไฟ” (ดงพญาเย็น) จากภาคกลางสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย ๆ จะด้วยสภาพป่า การเผชิญหน้ากับสัตว์ร้ายหรือโจรที่ดักปล้นฆ่า ทำให้พื้นที่บริเวณนี้กลายเป็นสุสานที่มีฝูงอีแร้งมาเฝ้าคอยมื้ออาหารตามสัญชาติญาน ชวนให้จินตนาการถึงนาทีที่เวิ้งว้างในวันที่สงครามจบลง [caption id="attachment_32904" align="aligncenter" width="800"] แม่น้ำป่าสัก บริเวณ ต.หินซ้อน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี[/caption] ส่วนชื่อของ “แก่งคอย” ก็มีการอ้างอิงถึงที่มาคล้าย ๆ กัน แต่สาเหตุที่ต้องคอยนั้น เนื่องจากเกาะแก่งในแม่น้ำป่าสักช่วงฤดูแล้ง ทำให้การแล่นเรือเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องจอดคอยกันที่แก่งจนเป็นชื่อ “แก่งคอย” ภายหลังการก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทำให้มีการควบคุมระดับน้ำ หน้าแล้งก็ไม่แห้งเหือดจนต้องคอยกันอยู่ที่แก่งอีกต่อไป จากอดีตมาถึงปัจจุบัน ภาพของแก่งคอยค่อยข้างคอนทราสต์สูง

“ใจฟ้าฟาร์ม” เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ได้รับรางวัล Thailand Tourism Awards 2564 ปัจจุบันฟาร์มขนาดใหญ่แห่งนี้ได้พัฒนาต่อยอดสู่ “แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อสังคม” โดยมุ่งเน้นที่การส่งเสริมด้านกีฬาให้กับเยาวชน ในนามของ “ใจฟ้าอคาเดมี่” ซึ่งริเริ่มโดย “หลวงพ่ออลงกต” เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ หลวงพ่อท่านอยากสนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ปลูกฝังความรู้ความสามารถตั้งแต่เด็ก ๆ ให้เป็นทั้งคนดี คนเก่ง และมีวินัย โดยหวังว่าจะผลักดันให้มีอนาคตทีมชาติไทยที่ก้าวไกลถึงบอลโลก ปัจจุบัน “ใจฟ้าอคาเดมี่” อยู่ภายใต้การบริหารจัดการโดยมูลนิธิอาทรประชานาถ วัดพระบาทน้ำพุ ก่อตั้งโดยพระราชวิสุทธิประชานาถ หรือ หลวงพ่ออลงกต อาจารย์พิพัฒน์ บุญยกาญจนพล ผู้ดูแลโครงการมูลนิธิอาทรประชานาถ  เล่าว่า ที่นี่เปิดรับเด็ก ๆ ป.1 - ป.6 ที่สนใจในด้านกีฬา ให้เข้ามากินอยู่ และเข้ารับการศึกษาแบบครบวงจร พร้อมการฝึกทักษะฟุตบอล และระเบียบวินัยต่าง

“สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียวแห่งกรุงธนบุรี คนไทยรู้จักและซาบซึ้งในคุณงามความดีจากพระปรีชาสามารถอันสูงส่งจากหลาย ๆ เหตุการณ์ในอดีต โดยเฉพาะในสมัยที่แผ่นดินกรุงศรีถูกข้าศึกบุกทำลายเสียหายในปี พ.ศ.2310 จนกระทั่ง “สมเด็จพระเจ้าตากสิน” ได้นำทัพกอบกู้เอกราชบ้านเมืองกลับคืนมาได้ เมื่อครั้งอดีตทัพกู้ชาติของ “พระเจ้าตาก” ได้เดินทางผ่านหลายพื้นที่ในหลายจังหวัด  โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีสถานที่หลายแห่งอยู่ในเส้นทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า ผสานรากเหง้าแห่งความศรัทธา ชวนให้ตามรอยไปค้นหา พลาดไม่ได้กับสายมู กับการเดินสายขอพรพระเจ้าตาก ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ เปี่ยมด้วยความงดงามมาแต่โบราณ พระราชประวัติฉบับย่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า สิน ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นชิน เป็นบุตรของขุนพัฒน์ (นายหยง หรือ ไหฮอง แซ่อ๋อง บางตำราก็ว่า แซ่แต้) และ นางนกเอี้ยง (กรมพระเทพามาตย์) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ มีนาคม พ.ศ.

เชื่อว่าในทุกจังหวัดของประเทศไทย ย่อมมีวิถีการกินตามวิถีถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ เช่นเดียวกับจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีหลากมิติทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการกินจากต้นทางของวัตถุดิบ ลึกลงไปถึงที่มาของรสชาติ เมื่อปี 2564 เพชรบุรีได้รับการประกาศเป็น “เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร” โดยยูเนสโก ด้วยความแข็งแกร่งทางศิลปะวัฒนธรรม ควบคู่กับวิถีการกินอันโดดเด่น มีแหล่งกำเนิดรสชาติหลัก ๆ จนเรียกได้ว่า “เมือง 3 รส” เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทีเส็บ สำนักงานภาคกลาง นำคณะผู้บริหารสมาคมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์และการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ DMC และสื่อมวลชน ร่วมสำรวจและทดสอบเส้นทางไมซ์ ในกิจกรรม Media & Association Fam Trip - Meaningful Culinary Journey เปิดประสบการณ์ไมซ์เชื่อมกรุง สัมผัสเมืองเพชรระดับนานาชาติ  เป็นเวลา

ทีเส็บ สำนักฯ ภาคกลาง จัดกิจกรรมเส้นทางสายไมซ์ Meaningful Culinary Journey Gala Dinner – Chef’s Table ร่วมกับงานเทศกาลหุ่นเพชรบุรีเมืองหนัง Phetchaburi Harmony Puppet Festival 2024 ณ พระรามราชนิเวศน์ (พระราชวังบ้านปืน) จังหวัดเพชรบุรี ทีเส็บ สำนักฯ ภาคกลาง โดย ดร.สุรัชสานุ์ ทองมี ผู้อำนวยการสำนักฯ ภาคกลาง นำคณะผู้บริหารสมาคมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์และการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ DMC และสื่อมวลชน ร่วมสำรวจและทดสอบเส้นทางไมซ์ ในกิจกรรม Media & Association Fam Trip

อุณหภูมิเดือนเมษายน ทำเอาหลายคนแทบไม่อยากก้าวออกไปไหน แต่ถ้าจะเลือกเดินทางไป ที่เป็นเป้าหมายก็มักจะมุ่งหน้าลงทะเลหรือแหล่งที่มีธารน้ำไหลผ่าน จะมีใครอยากขึ้นเขาหรือเข้าป่า เพราะส่วนใหญ่คิดว่า ต้องรอฝนฟ้ามาเติมความชุ่มเย็น หรือไม่ก็รอลมหนาวพัดมาเชื้อเชิญกันก่อน เช้าตรู่ที่ป่าแก่งกระจาน ทำให้เราลืมไปเลยว่านี่คือหน้าร้อน เมื่อรถยนต์ 4WD ขับเคลื่อนเข้าไป ยิ่งไกล ยิ่งรับรู้ถึงความเย็นที่ค่อย ๆ แทรกซึมมากับสายลม นานแล้วที่ไม่ได้สัมผัสความสุขจากอุณหภูมิห้อง หัวใจจึงลิงโลด เรียกร้องให้เก็บเกี่ยวความทรงจำให้ได้มากที่สุด แม้ว่าจะมีเวลาที่จำกัดก็ตาม เราเดินทางสู่จังหวัดเพชรบุรี กับทริปพิเศษที่จัดขึ้นโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเพชรบุรี สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบุรี และสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) ทริปพิเศษกับขบวนรถไฟ KIHA 183 “นั่ง 4WD ไปห่มหมอก เที่ยวป่าต้นน้ำเขาพะเนินทุ่ง” จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 20-21 เมษายน 2567 ทริปนี้ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

แวะไปลพบุรีทีไร ก็ต้องนึกถึงความสดใสของชาวชุมชนไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ครั้งแรกประทับใจ ครั้งต่อไปไม่เคยผิดหวัง ด้วยบรรยากาศที่รายล้อมด้วยมิตรภาพและความเรียบง่าย มีชาวบ้านหลากรุ่นหลากวัยมาร่วมมือสร้างชุมชนเข้มแข็งคอยต้อนรับนักท่องเที่ยว แม้เวลาผันผ่านไป วิถีแห่งโลกสมัยคืบคลานเข้าไปแทบทุกที่ แต่ที่ชุมชนไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ก็มีมุมมองดี ๆ ในการสืบสานวิถีอันเป็นเอกลักษณ์ให้เราได้ร่วมชื่นชม และนี้คือ ของดีศรีไทยเบิ้ง ที่เราได้พบเจอมา 1.เรือนไทยเบิ้ง บ้านเก่าของชาวไทยเบิ้งส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง   ปัจจุบันสามารถเข้าชมแบบบ้านไทยเบิ้งได้ที่ “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง” ซึ่งเป็นเรือนฝาค้อ หลังคา ทรงจั่ว ใต้ถุนสูง จัดแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ใครไปใครมา ก็จะใช้บริเวณของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง เป็นสถานที่การจัดกิจกรรมต่าง ๆ 2.ขนมเบื้องไทยเบิ้ง “ขนมคนจน” เป็นชื่อเรียกของ “ขนมเบื้องไทยเบิ้ง”  ฟังชื่อแล้วน่าเอ็นดู แต่จริง ๆ เดิมทีต้องการสื่อสารว่า เป็นขนมใช้วัตถุดิบง่าย ๆ

เฮง ปัง ดัง รวย อลังการงานตรุษจีนปากน้ำโพ “108 ปี มหัศจรรย์สีสันแห่งศรัทธา” ฉลองปีมังกร กับความเป็นที่สุดแห่งสีสัน 12 วัน 12 คืน  3-14 กุมภาพันธ์ 2567 นายทวี เสริมภักดีกุล  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมด้วย, นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐนายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์, พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์, ประธานมูลนิธิส่งเสริมงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ, นางนภาพร ไกรพฤษะวัน ประธานคณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ปี 2566-2567 ร่วมกันจัดพิธีเปิดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ และงานฉลองเทศกาลตรุษจีนปากน้ำโพ “108 ปี มหัศจรรย์สีสันแห่งศรัทธา” ระหว่างวันที่ 3-14 กุมภาพันธ์ 2567 

เดือนแห่งความรัก กุมภาพันธ์นี้ ถือเป็นโอกาสดี ๆ ที่เราจะออกเดินทางด้วยหัวใจอันเบ่งบาน ในเส้นทาง “พรแห่งความรัก ดอกไม้แห่งศรัทธา” ที่จะชวนทุกคนออกไปท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เปิดมุมมองใหม่ในเมืองเก่าอยุธยา ที่หลายคนอาจจะไม่เคยสัมผัสมาก่อน เส้นทาง “พรแห่งความรัก ดอกไม้แห่งศรัทธา” เป็นไอเดียของ “เชฟลี พิจิกา โรจน์ศตพงศ์”  เจ้าของรายการ FoodHunter by Chef LeePijika ชวนทุกคนออกไปมูในเดือนหวาน ไหว้บูชา 5 วัด  สัมผัสกับความหมายดี ๆ ของความรักผ่านแง่มุมต่าง ๆ ใน อ.นครหลวง อ.พระนครศรีอยุธยา 1.ผูกมัดรอบล้อม (ใจ) พระธาตุวัดใหญ่เทพนิมิต “พระธาตุวัดใหญ่เทพนิมิต” เป็นอีกหนึ่งโบราณสถานอันทรงคุณค่า ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก สร้างขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อครั้งที่ชาวลาวเวียงถูกกวาดต้อนมายังลุ่มน้ำป่าสักในอดีต 

อาการของคนหลงราตรี เมื่อเจอบรรยากาศดี ๆ ก็มักจะไม่อยากเข้านอน อย่างการเดินทางล่าสุด ในเส้นทาง Fam Trip สำรวจเส้นทางท่องเที่ยวกับ ททท. ภูมิภาคภาคกลาง ก็อยากเกเรกันซะตั้งแต่คืนแรก เพราะค่ำคืนบนสวนผึ้ง จ.ราชบุรี ช่วงปลายมกราคม ยังมีไอเย็น ๆ ให้พอชื่นใจ แค่หลบจากฝุ่นกรุงเทพฯได้ ก็อยากจะซึมซับอากาศดี ๆ เก็บไว้เยอะ ๆ แต่เมื่อรู้ว่าเช้ามืดของวันพรุ่ง ต้องออกเดินทางกันตั้งแต่เช้า ก็จำยอมซุกหมอนกันแบบไม่ดึกจนเกินไป 6.15 น. เราเดินทางมาถึง “ตลาดโอ๊ะป่อย”​ แสงจากดวงไฟน้อย ๆ ยังทำงานท่ามกลางความสลัว แต่ก็เต็มไปด้วยสีสันของสิ่งที่เราคิดว่ามันคือ “ตุง” แบบทางเหนือ ซึ่งจริง ๆ มันเรียกว่า “คังด้ง” ในภาษากระเหรี่ยง แปลว่า

เดือนมกราคม หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านจะออกหาปูนาเพื่อนำมาปิ้ง เพราะในช่วงนี้ปูจะมีมันเต็มท้อง นำมาปิ้งย่างบนเตาถ่าน โรยเกลือนิดหน่อย พอให้กรอบเกรียวเคี้ยวได้ทั้งตัว จิ้มข้าวเหนียวกับมันปูตัวน้อย ๆ แกล้มส้มตำสักนิดสักหน่อย ก็เพลินมากแล้วสำหรับฤดูกาลนี้ “เพราะถ้ารอไปจนถึงหน้าฝน เป็นช่วงที่ปูตั้งท้องก็จะไม่มีมันปูอีกแล้ว” ตัวแทนจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์หนองคู-ศรีวิไล จ.มหาสารคาม ทำหน้าที่ปิ้งไป เล่าเรื่องไป คนเมืองยืนมุง มุ่งความสนใจไปที่เจ้าปูตัวน้อยที่เรียงกันอยู่เป็นตับ ขณะที่ชาวบ้านเคี้ยวเพลินหนุบหนับ ชวนให้ทุกคนลิ้มลอง ติดใจก็อุดหนุนกันได้ในราคาไม้ละ 30 บาท เป็นอีกสีสัน "งานสังคมสุขใจ” ซึ่งจัดมาเป็นปีที่ 9 แล้ว และในปีนี้ก็ยังคงสืบสานความสุขใจได้มากขึ้น เพราะนอกจากเรื่องของสุขภาพแล้ว เป้าหมายใหญ่ของสังคมสุขใจ และวิถีเกษตรอินทรีย์ คือการเคลื่อนไหวเพื่อโลกที่ดีขึ้น ภายใต้วิกฤตที่รบเร้าให้เราทุกคนต้องร่วมลงมือทำอะไรสักอย่าง นอกจากปูนาที่ชาวบ้านช่วยกันขุดหามาเสิร์ฟถึงที่แล้ว ยังมีของดี วิถีเด็ด จากเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศมาโชว์พลัง ทั้งของกิน ของใช้ ที่มีความน่าตื่นตาตื่นใจมากขึ้นทุกปี งานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 9