Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

มกราคม 2023

กว่า 10 ปีจากการสร้างสรรค์ในเส้นทาง “สามพรานโมเดล” แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า โลกเราดีขึ้นได้ด้วยสังคมสุขใจ พลังเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ที่ดีต่อเรา ดีต่อโลก สร้างความเข้มแข็งทั้งกายใจให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งขยายภาพ “เศรษฐกิจสีเขียว” ให้ชัดเจน ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังเป็นความหวังของโลกในวันนี้และในอนาคต หากเดินทางไปเที่ยวหรือผ่านไปสวนสามพราน ในทุกวันเสาร์-อาทิตย์ อาจจะเคยแวะชม ชิม ช้อป กันที่ “ตลาดสุขใจ” ตลาดน่ารัก ๆ รวมของกินของใช้จากเกษตรอินทรีย์ที่ดีต่อใจ โดยแต่ละปีก็จะมีการจัดงานใหญ่ เพื่อแสดงพลังเครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์จากทั่วประเทศ จึงเป็นงานที่หลายคนเฝ้ารอ เพราะจะมีของดีที่มั่นใจได้มาให้เราได้เลือกสรร ถือเป็นอีกงานที่คนรักสุขภาพ รักธรรมชาติ รักสังคม รักสิ่งแวดล้อม ได้มาพบเจอกัน หลังจากโควิด 19 ผ่านไป ความสุขที่หลายคนรอคอยก็กลับมาอีกครั้ง กับ “งานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 8”  ซึ่งเป็นการรวมพลังของ มูลนิธิสังคมสุขใจ

คอลัมน์ เซาะร่องเสียง โดย นกป่า อุษาคเณย์ ตอนที่ตั้งวง Pussy Riot เมื่อปี ค.ศ.2011 สมาชิกในวงมีทั้งสิ้น 11 คน ทั้งหมดเป็นผู้หญิง สวมโม่งหลากสี เล่นดนตรี Punk Rock กีตาร์ ไมโครโฟน เบส และตู้แอมป์ เครื่องดนตรีน้อยชิ้น ท่วงทำนองที่เรียบง่าย ทว่าเร่าร้อน กระแทกอารมณ์ตามสไตล์ Punk บทเพลงเนื้อหาต่อต้านรัฐบาล โดยเฉพาะ Vladimir Putin ประธานาธิบดีรัสเซีย แต่หลังจากที่ Maria Vladimirovna Alyokhina (MASHA) และ Nadezhda Andreyevna Tolokonnikova (NADIA) รวมถึง Yekaterina

ต้นไม้ใหญ่อันแสนโดดเดี่ยว บนเกาะขนาดเล็กกลางทะเลตราด เรียกกันว่า “เกาะขายหัวเราะ” ที่อ้างอิงจากมุกตลกจากภาพเกาะร้างในหนังสือขายหัวเราะในอดีต ซึ่งมีลักษณะเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่มีเพียงมะพร้าว 1 ต้น มีพื้นที่พอให้นั่งได้เพียง 1-2 คนเท่านั้น มุกตลกในบรรยากาศต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปตามจินตนาการของผู้เขียน แต่ตัวเกาะก็ยังคงเอกลักษณ์ของต้นมะพร้าว 1 ต้นอยู่บนเกาะนั้นเสมอ [caption id="attachment_30266" align="aligncenter" width="799"] คนน่ารักระดับมิสแกรนด์ตราดมาเที่ยวเกาะขายหัวเราะ[/caption] 1-2 ปีมานี้ ชื่อ “เกาะขายหัวเราะ” ถูกปลุกขึ้นมาจนได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลายอีกครั้ง เกาะขายหัวเราะ จ.ตราด อยู่ใกล้กับเกาะนกในและเกาะนกนอก  ซึ่งเป็นเกาะขนาดเล็กที่สามารถเดินเชื่อมต่อไปยังเกาะขายหัวเราะได้ในยามน้ำลง สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเกาะหมากสามารถนั่งเรือจากแหลมสนไปยังเกาะขายหัวเราะภายในเวลา 30-40 นาทีโดยประมาณ [caption id="attachment_30258" align="aligncenter" width="799"] แหลมสน[/caption] ที่เกาะขายหัวเราะ แห่งนี้จะมีลักษณะพิเศษตามเวลาและฤดูกาล หากน้ำลงในปริมาณที่พอเหมาะก็จะมองเห็นเกาะขนาดเล็กที่มีโขดหินรายล้อม หากน้ำขึ้นมากก็จะปรากฏเพียงรากไม้

เพราะทุกสถานที่มีที่มา เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จึงเป็นสิ่งน่าค้นหา ชวนย้อนกาลเวลาไปกับแหล่งเที่ยวชมที่น่าสนใจในจังหวัดตราด ดินแดนแห่งท้องทะเล ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์แห่งวันวาน และแน่นอนว่า “สายมู” ต้องไม่พลาด สายมูหรือผู้ชื่นชอบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ขอแนะนำอีกสถานที่แห่งความงดงามและทรงคุณค่าในตัวเมืองตราด มาร่วมกันค้นพบเสน่ห์ที่ห้ามพลาดไปร่วมกัน เสริมพลังป้องภัยพาล ที่ศาลหลักเมืองตราด  “ศาลหลักเมืองตราด” เอกลักษณ์ที่แตกต่างจากศาลหลักเมืองอื่น ๆ เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามความเชื่อแบบจีน  เพื่อคุ้มครองเมืองตราดให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง ชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุข มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเก๋งจีน ศาลหลักเมืองเป็นดั่งศูนย์กลางเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปีจะมีการจัดงาน "วันงานพลีเมือง" ที่ชาวจีนเรียกกันว่า "วันเซี่ยกงแซยิด" ซึ่งหมายถึงวันเกิดของเจ้าพ่อหลักเมืองนั้นเอง ในอดีตเคยมีเรื่องน่ามหัศจรรย์ของหลักเมืองตราด ในสมัยที่ตกอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศส ชาวฝรั่งเศสสังเกตเห็นชาวเมืองตราดพากันเดินทางมากราบไหว้หลักเมืองอยู่เป็นประจำ จึงคิดให้คนไปถอนเสาหลักเมืองทิ้ง แต่ถอนเท่าไหร่ก็ถอนไม่ขึ้น ขุดเท่าไหร่ก็ขุดไม่ได้ แม้จะดึงเสาหลักเมืองด้วยแรงช้างสาร ก็ไม่สามารถดึงขึ้นมาได้ต่อมาในภายหลังชาวเมืองตราดจึงได้ทำการบูรณะหลักเมืองนี้ให้คงสภาพดี และเป็นที่สักการบูชาของชาวเมืองเสมอมา หากเดินทางมาจังหวัดตราด ขอชวนเข้ามากราบศาลหลักเมืองเพื่อเป็นสิริมงคล เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ช่วยเสริมพลังในการปกป้องภัยอันตราย

ความเข้มแข็งของชุมชน คือปัจจัยสำคัญของการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน ไม่ว่านโยบายภาครัฐหรือหน่วยงานใด ๆ จะประกาศออกมาเสียงดังแค่ไหน แต่หาก “คน” ซึ่งเป็นฟันเฟืองหลักไม่เห็นความสำคัญ มันก็เปล่าประโยชน์ โมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) เป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางธรรมชาติของโลก และการเรียกหาความเป็นธรรมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากผู้ผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ จนกลายเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย [gallery columns="2" size="full" ids="30152,30141"] จากการเดินทางที่ผ่านมาทำให้พบว่า ปัจจุบันมีกลุ่มหรือชุมชนเข้มแข็งร่วมผลักดันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือชุมชนน่ารัก ๆ อย่าง “วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านธรรมชาติล่าง” โดยมีศูนย์กลางการเรียนรู้อยู่ที่ “สุวรรณลักษณ์ รีสอร์ท” ที่พักกึ่งโฮมสเตย์ริมทะเลที่มีเอกลักษณ์จาก “หาดทรายแดง” มีวิวเกาะช้างอยู่เบื้องหน้า ด้านหลังมีเนินเขาเล็ก ๆ รายล้อมด้วยต้นไม้นานาพรรณ ปัจจุบัน “สมอร์ฮิลล์”

อย่างแรกเลย หลังจากรู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหน เรามักจะถามกันว่า แล้วจะไปกินอะไร และนี่คือพลังของ Gastronomy Tourism เพราะการได้ลิ้มชิมรสเมนูเด็ดของเจ้าถิ่น คือความฟินระดับที่มิชลินไม่ต้องไกด์ เรื่องของอาหารเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เสมือนครัวของแต่ละบ้านย่อมมีจานอร่อยของตัวเอง จังหวัดตราด สุดเขตแดนตะวันออกของไทย เป็นอีกดินแดนแห่งความฝัน สวรรค์ของนักชิม จากวัตถุดิบและภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นอีกเสน่ห์ที่ชวนให้สัมผัส จนไม่อยากให้พลาด ปลาย่ำสวาท เมนูสุดต๊าซแห่งท้องทะเลตราด เพราะฟังแค่ชื่อก็น่าสนใจแล้ว สำหรับ “ปลาย่ำสวาท” จึงขอเลือกมาเป็นเบอร์ 1 ในดวงใจสำหรับการนำเสนอในครั้งนี้ ชื่อจริงของมันคือ “ปลากะรังจุดฟ้า” ดูแล้วงามตาน่าชม แต่พอได้ลิ้มลองก็ขอเปลี่ยนเป็น “น่ากิน” ด้วยแล้วกัน นี่คือปลาประจำถิ่นตราด ที่หารับประทานได้ยากในแหล่งอื่น เป็นปลาไทยเนื้อดี ทำเมนูไหนก็อร่อย โดยเฉพาะ  “ซาชิมิ” หรือ “ปลาดิบ” มีทั้งปลาธรรมชาติและแบบเลี้ยง ราคากิโลละเป็นพัน ที่มาของชื่อ “ปลาย่ำสวาท” มาจากลักษณะวงจรชีวิตของปลาชนิดนี้ ตัวแม่จะวางไข่ในทะเล

เกาะหมากเป็นสถานที่แรกของประเทศไทย ที่ได้รับการจัดอันดับจาก www.greenfestinations.org ให้เป็น Top 100 green destination ประจำปี 2565 ด้วยความร่วมแรงร่วมใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน นักท่องเที่ยว และเจ้าบ้าน ทำให้เกาะหมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ แหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ที่คุ้นหูกันว่า “เกาะหมากโลว์คาร์บอน” และนี่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่กิจกรรม “เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวหมู่เกาะและทะเลภาคตะวันออก” โดย ททท. ร่วมกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้มารวมตัวกันที่นี่ เพราะจะเป็นสัญญานที่บอกว่า จากนี้ไปการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวของทางภาคตะวันออก จะมีเกาะหมากเป็นโมเดลเพื่อความยั่งยืนเพื่อการขยายผลต่อไป [gallery columns="2" size="full" ids="30083,30084"] [caption id="attachment_30086" align="aligncenter" width="800"] มิสแกรนด์ตราด2023เข้าร่วมกิจกรรมตลอด 2 วันบนเกาะหมาก[/caption] โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายชำนาญวิทย์

สำหรับบางคน แค่ได้ขับรถออกไป ก็รู้สึกปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย หากเป็นเส้นทางสวย ๆ ในวันถนนโล่ง ๆ ด้วยละก็ อาจจะทำให้จุดหมายกลายเป็นเรื่องรอง ๆ ไปเลย เพราะเส้นทางที่ผ่านและพบเจอก็สำคัญเสมอในชีวิต กว่าจะไปถึงจุดที่วางไว้ เราต่างได้สัมผัสกับประสบการณ์หลากหลายรูปแบบ การขับรถเที่ยวจึงมีดีมากกว่าคำว่าอิสระในการแวะพักได้ตามใจ แต่เป็นการเก็บเกี่ยวสิ่งแปลกใหม่ หรืออาจจะแอบออกนอกเส้นทางบ้างจะเป็นไร ความสุขจากการเดินทางเกิดขึ้นกับเราอีกครั้ง กับคาราวาน C2 Connect Plus เปิดประสบการณ์อีกรูปแบบหนึ่งของการเดินทางท่องเที่ยว ด้วยการขับรถท่องเที่ยวในเส้นทางสวย ๆ จากภาคกลางสู่ภาคเหนือของประเทศไทย รีวิวนี้จะไม่เน้นเล่าเรื่องมากมาย อยากให้ภาพบรรยายตัวเองให้ได้มากที่สุด กราบพระพรหมเทวาลัย เสริมพลังใจก่อนเดินทาง คาราวาน C2 Connect Plus ออกเดินทางจากสำนักงาน ททท. ถ.เพชรบุรี  ตั้งแต่เจ็ดโมงเช้า ราวเก้าโมงก็ไปรวมตัวกันอีกครั้งที่ “พระพรหมเทวาลัย” จ.สิงห์บุรี  มีพื้นที่เป็นลานกว้างขวางอยู่ริมถนนสายเอเชียขาขึ้น สถานที่แห่งนี้มีพระพรหมองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยประดิษฐานอยู่

เด็ก ๆ ที่ปางปูเลาะยังเขินกล้องอยู่เลย นี่คือสิ่งที่เราอาจจะไม่เห็นได้ง่ายนักในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ที่มักจะคุ้นเคยกับแขกผู้มาเยือน และการเรียนรู้ที่จะผูกมิตรกับคนแปลกหน้าที่ผ่านไปผ่านมาอยู่เสมอ แต่เด็ก ๆ ที่บ้านปางปูเลาะไม่ได้เป็นเช่นนั้น แค่ถือกล้องเดินเข้าไปใกล้ ๆ พวกเขาก็เบือนหน้าหนี บ้างก็ซุกตัวโผเข้าหาแม่ [caption id="attachment_29962" align="aligncenter" width="798"] ถนนสวย ๆ ที่รถขับเข้าไปได้อย่างสะดวกสบาย แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวัง[/caption] แม้ว่าบ้านปางปูเลาะ จะอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองพะเยามากนัก แต่ด้วยระยะทางคดเคี้ยวไปตามถนนสายเล็ก ๆ ไต่ขึ้นดอยสูงราว 16 กิโลเมตร ก็นับเป็นสถานที่อันซ่อนเร้นอยู่พอสมควร สองข้างทางผ่านสวนลิ้นจี่ขนาดใหญ่ เริ่มขึ้นดอยก็เห็นไร่กาแฟ สองสิ่งนี้คือผลผลิตทางการเกษตรหลัก ๆ ของชาวบ้านปางปูเลาะ ได้ยินว่าช่วงเมษายน-พฤษภาคม จะมองเห็นทุ่งลิ้นจี่สีแดงเป็นวงกว้าง ฟังแล้วได้แต่นึกภาพตาม ชาวบ้านที่นี่คือชาวเมี่ยนหรือชาวเย้าจากจีนได้อพยพมาอยู่ในเมืองไทยกว่า 100 ปีมาแล้ว ดั้งเดิมหมู่บ้านแห่งนี้มีชื่อว่า “บ้านปู่ล่อ” ตามชื่อพ่อค้าชาวจีน ก่อนที่จะมาอาศัยในบ้านปางปูเลาะ ชาวไทยภูเขาเผ่าเมี่ยนกลุ่มนี้

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สร้างความสุขและความหวังสู่หัวใจคนไทยรับศักราชใหม่ ด้วยกิจกรรม “Amazing Thailand Countdown 2023” ชูคอนเซปต์ “รุ่งอรุณแห่งศรัทธา ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2566" ณ ท่าวัดโพธิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร  ประกาศความงดงามผ่านแลนด์มาร์กสำคัญ “พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร”   นายยุทธศักดิ์  สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2566 ททท. ได้กำหนดจัดงาน Amazing Thailand Countdown 2023 ณ ท่าวัดโพธิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ภายใต้แนวคิด “รุ่งอรุณแห่งศรัทธา