Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ข้าวแช่ Tag

ตอนที่ยังไม่มีตู้เย็น คนสมัยก่อนทำอย่างไรถึงจะได้กินน้ำเย็นชื่นใจ นอกจากน้ำจากแหล่งธรรมชาติ หรือน้ำบ่อ ยังมีน้ำฝน ที่คนในอดีตพึ่งพาอาศัย เมื่อได้ยินเรื่องราวของ “ข้าวแช่” จึงทำให้ภาพของการทำน้ำเย็นชัดขึ้น เพราะยังทันสมัยที่บ้านแต่ละหลังมีโอ่งหรือตุ่มใส่น้ำแล้วปิดฝาไว้ ตักขึ้นมากินที่ไร ก็ชื่นใจ ด้วยความเย็นกำลังดี อาจจะประกอบกับตัวบ้านส่วนใหญ่ที่โปร่งโล่งสบายมีต้นไม้ล้อมรอบ อุณหภูมิของโอ่งดินจึงเก็บความเย็นได้ดี เพราะในสมัยก่อนยังไม่มีตู้เย็น การทำข้าวแช่ ซึ่งเป็นเมนูคลายร้อน จึงต้องหาวิธีการทำให้ตัวน้ำนั้นทั้งเย็นและหอม ด้วยการใส่ไว้ในหม้อดินเผา “ข้าวแช่” เป็นอาหารว่างที่มีเอกลักษณ์ชัดเจนว่า จะทำขึ้นในช่วงฤดูร้อนเท่านั้น และใช่ว่าใครๆ คิดจะทำก็สามารถรังสรรค์ขึ้นมาได้ทันที นอกจากกระบวนการที่ซับซ้อน จากเครื่องเคียงอย่างน้อย 5 ชนิด การหุงข้าวให้พอดี การทำน้ำอบควันเทียนให้หอม อีกทั้งยังมีขั้นตอนการกินที่มีลักษณะเฉพาะ จึงเป็นอาหารชาววังที่ไม่ได้ทำกินอย่างแพร่หลาย แต่ก็หารับประทานได้ในทุกปี  “ข้าวแช่” เป็นอาหารของชาวมอญ ซึ่งในอดีตชาวมอญนิยมทำเพื่อถวายเทพยดาและพระสงฆ์ ในช่วงวันสงกรานต์ [caption id="attachment_22909" align="aligncenter" width="800"] เชฟบังอร มาลาเล็ก[/caption] “เชฟบังอร มาลาเล็ก” หัวหน้าครัวไทย

“ข้าวแช่” อาจจะไม่ใช่อาหารไทยมาตั้งแต่กำเนิด แต่ก็เป็นเมนูอันบรรเจิดของคนไทยมาตั้งแต่โบราณ เป็นอาหารประจำฤดูกาลที่สร้างสีสันและความชื่นใจให้กับผู้ที่ได้สัมผัส ทั้งการมองเห็นด้วยสายตา สูดกลิ่นหอมชื่นใจ รสชาติยังไม่เหมือนอาหารชนิดไหน กินแล้วพาให้กาย-ใจเย็นขึ้น “ข้าวแช่” เป็นตำรับอาหารพื้นบ้านชาวมอญ  เมนูประจำหน้าร้อน  ที่เรียกตามภาษามอญว่า "เปิงด๊าดจ์"  ซึ่ง "เปิง" แปลว่า "ข้าว" และ "ด๊าดจ์" แปลว่า "น้ำ"  ดังนั้น "เปิงด๊าดจ์" จึงมีความหมายว่า "ข้าวน้ำ"  นิยมทำขึ้นเพื่อถวายทวยเทพในเทศกาลตรุษสงกรานต์ โดยทำถวายแด่พระสงฆ์ และนำไปให้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ในสมัยก่อนคนไทยและคนมอญมีการเชื่อมสัมพันธ์กัน จนเมื่อครั้งที่สตรีชาวมอญได้เข้ารับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมหม่อมห้ามของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน จึงได้ปรุงข้าวแช่เพื่อถวาย ต่อมา ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ ผู้ที่เคยทำงานห้องเครื่องต้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้นำข้าวแช่ออกมาแนะนำจนเป็นที่แพร่หลาย และมีสูตรการทำที่แตกต่างกันไปตามแบบฉบับของแต่ละคนแต่ก็ยังเค้าโครงของข้าวแช่แบบดั้งเดิมเอาไว้ วิธีการทำข้าวแช่ เต็มไปด้วยความพิถีพิถัน ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ จากการพูดคุยกับ

ห้องอาหาร อัพ แอนด์ อะบัฟ  (Up & Above restaurant) โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ (The Okura Prestige Bangkok) ชวนทุกท่านมาลิ้มลอง “ข้าวแช่ชาววัง” สูตรต้นตำรับ ให้บริการเป็นพิเศษตลอดเดือนเมษายน 2563 เท่านั้น ข้าวแช่ เมนูตำรับไทยชาววังที่นิยมรับประทานกันในช่วงเดือนเมษายนเพื่อคลายร้อนมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ห้องอาหาร อัพ แอนด์ อะบัฟ  จึงมีข้าวแช่ให้บริการเป็นประจำทุกปี ประกอบไปด้วยข้าวหอมมะลิคุณภาพดีหุงสุกใหม่แช่ในน้ำลอยดอกไม้ไทยหลายชนิดหอมเย็นชื่นใจ จัดเป็นสำรับอย่างสวยงามให้บริการคู่กับเครื่องเคียงที่คุณโปรณปรานหลายชนิดที่ล้วนปรุงอย่างพิถีพิถัน อาทิ ลูกกะปิทอด ปลายี่สกผัดน้ำตาล ไชโป๊วผัดหวานกับหอมเจียว เนื้อและหมูหวานฝอย และพริกหยวกไส้หมูสับ “ข้าวแช่ชาววัง” สูตรต้นตำรับ ราคาชุดละ 490++

เมื่อถึงหน้าร้อน นอกจากจะมีประเพณีสงกรานต์ เทศกาลสาดน้ำให้คลายร้อนแล้ว ยังมีมนต์เสน่ห์คลายร้อนอีกอย่างคือ “ข้าวแช่” ตำรับอาหารโบราณ ที่ทำให้หน้าร้อนในเดือนเมษายนผ่อนคลายหายเป็นปลิดทิ้งได้ดีทีเดียว ข้าวแช่ เป็นข้าวสุกขัดยางแช่น้ำเย็นซึ่งมักเป็นน้ำดอกไม้ แล้วกินกับเครื่องเคียง เช่น ลูกกะปิ พริกหยวกสอดไส้ เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน หัวหอมสอดไส้ ผักกาดเค็มผัดหวาน ปลาแห้ง และเครื่องผัดหวานต่าง ๆ นิยมรับประทานในหน้าร้อน ปัจจุบันอาจใส่น้ำแข็งในข้าวแช่ด้วย เชื่อกันว่า ข้าวแช่เดิมเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวมอญ โดยชาวมอญจะเรียกว่า “เปิงด๊าดจ์”  ซึ่ง “เปิง” แปลว่า“ข้าว” และ “ด๊าดจ์” แปลว่า “น้ำ” “เปิงด๊าดจ์” จึงมีความหมายว่า “ข้าวน้ำ” นิยมทำสังเวยเทวดาในตรุษสงกรานต์ ต่อมาชาววังนำไปปรับปรุงเรียกว่า “ข้าวแช่เสวย” หรือ “ข้าวแช่ชาววัง” เมื่อสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2453 แล้ว ข้าวแช่ได้รับการเผยแพร่ออกไปนอกวังและเป็นที่นิยมอย่างยิ่ง ความอร่อยของข้าวแช่นอกจากความเย็น หวาน หอม ดับร้อนของข้าวแช่น้ำแล้ว เครื่องเคียงก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเพิ่มความอร่อยให้กับข้าวแช่ เครื่องเคียงข้าวแช่ ลูกกะปิ ประกอบด้วยปลาช่อนย่าง, ตะไคร้, กระชาย, หัวหอม, กะปิ, หัวกะทิ