Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

การออกแบบเครื่องประดับ Tag

โควิด-19 เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนเราอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  แต่เราทุกคนต้องอยู่กับความเปลี่ยนแปลงนั้นให้ได้ อุตสาหกรรมเครื่องประดับ เป็นหนึ่งในแวดวงที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 เนื่องจากกิจกรรมทางสังคมที่ลดลง ทำให้การใช้เครื่องประดับมีบทบาทน้อยลงตามไปด้วย นอกจากนั้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตในครั้งนี้ ทำให้ผู้บริโภคต้องทบทวนการจับจ่าย นอกจากสินค้าจำเป็นพื้นฐานในชีวิตแล้ว เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนถามหา แต่จะทำอย่างไร ให้สุชภาพกับเครื่องประดับ เดินไปในทิศทางเดียวกันได้ ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดตัวเครื่องประดับ ที่ตอบโจทย์ทั้งทางด้านความสวยงามและด้านสุขภาพ นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้มอบนโยบายในปีงบประมาณ 2564 ให้สถาบัน เร่งผลักดันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในทุกมิติ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมทั้งกระตุ้นความต้องการในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค และการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในฐานะการเป็นศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของโลก ซึ่งโครงการเครื่องประดับเพื่อสุขภาพ ถือได้ว่าเป็น หนึ่งในโครงการที่ได้มอบหมายให้กับสถาบันบูรณาการร่วมกับสถาบันการศึกษา อย่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อนำงานวิจัยและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ มาสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมเครื่องประดับ

ความคุ้มค่าในการลงทุน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการเลือกซื้อเครื่องประดับในปัจจุบัน ดังนั้นการออกแบบเครื่องประดับที่สามารถตอบโจทย์ในข้อนี้ได้ก็จะสร้างโอกาสในการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น เช่นเดียวกับผลงาน The power of gems โดยคุณจิรวัฒน์ สมเสนาะ นักออกแบบเครื่องประดับที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดในโครงการประกวดออกแบบเครื่องประดับ (GIT’s World Jewelry Design Awards) ประเภทเครื่องประดับสำหรับในหัวข้อเครื่องประดับที่ใช้พลอยทับทิม (สีแดง) และ/หรือ พลอยไพลิน (สีน้ำเงิน) หรือ พลอยเฉดสีที่ใกล้เคียง The power of gems มีความโดดเด่นของการออกแบบที่ผสมผสานความงดงามของพลอยสีแดง และไพลินสีน้ำเงิน เป็นชุดสร้อยพร้อมจี้ ต่างหู และแหวน ที่สะท้อนความหรูหราน่าหลงใหลแฝงเอกลักษณ์ความเป็นไทยไว้อย่างน่าชื่นชม พร้อมการออกแบบเพื่อตอบสนองการใช้งานหลายรูปแบบ โดยผลงานชุดนี้สามารถถอดชิ้นงานเครื่องประดับออกมาสวมใส่ได้ถึง 8 แบบ อาทิ ตัวสร้อยที่ถอดมาเป็นเข็มขัดหรือพู่ที่ถอดออกมาเป็นสร้อยได้อีกแบบ ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องประดับโบราณ ทรงพุ่มดอกพิกุล เป็นดอกซ้อนกัน ลดหลั่นกัน

อย่างที่ทราบกันดีว่า อัญมณีและเครื่องประดับเป็นสมบัติล้ำค่าที่มีประวัติศาสตร์คู่กับมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน ดังนั้น จึงสิ่งที่เรียกว่า "สมบัติอันล้ำค่า" นอกเหนือจากมูลค่าแล้ว ยังหมายถึงรากเหง้าของมนุษย์ในแต่ละพื้นถิ่น ที่ได้ถ่ายทอดศิลปะ ความเชื่อ และวัฒนธรรม  ส่งผ่านเครื่องประดับแต่ละชิ้น เป็น "สมบัติระดับระดับชาติ" จากภูมิปัญญาของช่างฝีมือไทย ไม่เพียงแต่การเป็นฐานการผลิตที่มีช่างฝีมือระดับมือทองอยู่มาก แต่ยังลงลึกไปถึงรากเหง้าที่แตกต่างกัน อันเป็นเสน่ห์อันลึกซึ้งของเมืองไทย [caption id="attachment_18292" align="aligncenter" width="900"] ladycrystal : พังงา[/caption] ล่าสุด meetThinks ได้เข้าชมผลงานเครื่องประดับจากการออกแบบของแต่ละท้องถิ่นในเมืองไทย ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับส่วนภูมิภาค  โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ภายใต้ระยะเวลาดำเนินงานราว 2 ปี รวม 15 จังหวัด และได้นำผลงานเหล่านี้ มาจัดแสดงโชว์ในงาน Bangkok Gems

งานแฮนเมดได้ชื่อว่า เป็นชิ้นเดียวในโลก เพราะแม้ว่าจะทำขึ้นใหม่ ในแบบเดียวกัน ลายเดียวกัน แต่มันก็ไม่อาจจะเหมือนกันเป๊ะ นับเป็นผลงานชิ้นเล็กๆ ที่ดึงดูดสายตาให้ปรี่เข้าไปหา กับลวดลายหลากหลายแบบที่นำมาทำเป็นจี้สร้อยคอพร้อมต่างหู ภายใต้แบรนด์ PITA พอได้รู้ว่ายังมีผลงานที่ออกแบบมาแล้วนับพันลาย และอยู่ในรูปแบบของจี้และต่างหูเท่านั้น ฟังแล้วก็ว้าวเบาๆ     PITA เป็นแบรนด์เครื่องประดับ ย้ำว่าเฉพาะจี้สร้อยคอและต่างหูเท่านั้น เป็นผลติภัณฑ์เซรามิกที่มาจากจังหวัดลำปาง โดยสานต่อจากธุรกิจครอบครัวที่มีอายุกว่า 40 ปี  ซึ่งเป็นโรงงานเซรามิค จำพวก แจกัน จานชาม ตุ๊กตา แบบที่เห็นได้โดยทั่วไป เมื่อ 20 ที่แล้ว "ณภัทร โชติพฤกษ์ชูกุล" ได้ต่อยอดธุรกิจครอบครัว ด้วยการนำกระบวนการของเซรามิกมาทำเป็นเครื่องประดับ ภายใต้แบรนด์ “PITA”     เธอไม่ได้เรียนจบด้านศิลปะ แต่มาจากสายสิ่งแวดล้อม แต่ด้วยการศึกษางานออกแบบทั้งในและต่างประเทศ มีการติดตามเทรนด์เครื่องประดับทุกปี ทำให้ลวดลายของ PITA มีนับพันแบบ