Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ครูศิลป์ของแผ่นดิน Tag

“คร่ำ” งานหัตถศิลป์ชั้นสูงที่หาชมได้ยาก และอาจจะอยู่ห่างไกลจากชีวิตประจำวันของคนทั้งไป จนทำให้หลายคน โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ ไม่รู้จักคร่ำ งาน “คร่ำ” เป็นการตกแต่งลวดลายบนพื้นโลหะประเภทเหล็กโดยใช้เครื่องมือสกัดให้เป็นลวดลายบนพื้นโลหะต่างชนิด เช่น เงิน ทอง นากลงไปแล้วขัด หรือที่ศัพท์ช่างเรียกว่า กวดผิวให้เรียบจะเกิดลวดลายจากสีของโลหะที่ต่างกัน ตามลวดลายที่สลักและฝังโลหะไว้ ลงบนผิวหน้าของเครื่องใช้ที่ทาด้วยเหล็ก หากใช้เส้นเงินฝังเรียก คร่ำเงิน หากใช้เส้นทองฝังเรียก คร่ำทอง หากใช้เส้นนากฝังเรียก คร่ำนาก โดยจะต้องทำให้ผิวเหล็กเกิดเป็นรอยที่ละเอียดด้วยการใช้เหล็กสกัดที่คมบางแต่แข็งแกร่งตีสับลายตัดกันไปมาบนผิวโลหะให้เกิดความขรุขระ จากนั้นจึงใช้เส้นทองหรือเส้นเงิน หรือเส้นนากตอกให้ติดเป็นลวดลายวิจิตรงดงามตามที่ต้องการ ประเภทเครื่องใช้ที่จะตกแต่งใช้วิธีคร่ำ ต้องเป็นของที่ทามาจากเหล็ก เช่น ตะบันหมาก กรรไกรหนีบหมาก หัวไม้เท้า กรรไกรตัดผม ไปจนถึงเครื่องราชูปโภค เครื่องเหล็กซึ่งนิยมตกแต่งลวดลายด้วย การคร่ำเงิน คร่ำทอง หรือคร่ำนาก มักเป็นเครื่องราชศัสตราวุธ เช่น พระแสงดาบ พระแสงหอก พระแสงง้าว

“เครื่องลงยาสี” นับเป็นศิลปะที่นิยมใช้บนเครื่องใช้ เครื่องประดับ ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ไทย ภูมิปัญญา อันเป็นเสน่ห์ของการลงยาสี ที่มีความละเอียดอ่อน ต้องใช้ความอดทน ความเพียรในขั้นตอนการทำ ที่ไม่อาจทดแทนได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ กว่าจะได้เป็นชิ้นงานที่ขับลวดลายของโลหะได้สีสันที่สดสวยด้วยยาสีหลากสี ที่ในปัจจุบันคงเหลือช่างศิลป์มีประสบการณ์การลงยาสีแบบโบราณด้วยการใช้ความร้อน หรือที่เรียกว่าการลงยาสีร้อน เพียงไม่กี่คนในประเทศไทย [caption id="attachment_14371" align="aligncenter" width="394"] นางอัมพวัน พิชาลัย[/caption] นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT กล่าวว่า เครื่องลงยาสีโบราณเป็นงานเชิงช่างที่แสดงถึงศิลปะบนเครื่องใช้เครื่องประดับ มีความวิจิตรของลวดลายที่แต่งแต้มด้วยยาสีหลากสีสัน เป็นงานศิลปะหัตถกรรมที่มีมานับแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาสืบทอดกันมาหลายร้อยปี SACICT จึงส่งเสริม อนุรักษ์ และให้ความสำคัญกับงานศิลปะเครื่องลงยางสีโบราณนี้อย่างมาก เพื่อมิให้มรดกศิลปวัฒนธรรมของประเทศสูญหาย ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ทางการตลาดหัตถศิลป์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ตลาดหัตถศิลป์เครื่องลงยาสีโบราณของไทยเป็นที่รู้จัก ชื่นชอบ และนิยมใช้ทั้งคนไทยและนานาประเทศ [caption id="attachment_14361" align="aligncenter" width="400"] คุณแม่บุญมี

นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวไทย ที่มีเอกลักษณ์ของงานศิลปกรรมอันวิจิตร สะท้อนภูมิปัญญาจากฝีมืออันประณีต และยังคงสืบสาน ต่อยอด เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา เพื่อให้ผลงานอันทรงคุณค่ายังคงอยู่สืบไป ล่าสุด มีการจัดงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 9” ขึ้นในวันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT และภายในงานนี้มีการมอบรางวัลเพื่อเชิดชู ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปะหัตกรรม และ ทายาทช่างศิลปะหัตกรรม ซึ่งเรามีตัวอย่างของผู้ที่ได้รับรางวัลในแต่ละประเภทมาให้ชมกันพอหอมปากหอมคอ แต่หากใครได้ไปชมในงานจะรู้ว่ายังมีผลงานอันทรงคุณค่าระดับสุดยอดอีกเพียบ รางวัลครูศิลป์ของแผ่นดิน 2561 ครูบัวไหล คณะปัญญา อายุ 88 ปี เชียงใหม่ ประเภทเครื่องกระดาษ “งานหัตถกรรมโคมล้านนา” ผู้สั่งสมภูมิปัญญาและประสบการณ์การทำโคมล้านนามานานกว่า 76 ปี ด้วยฝีมือการใช้กรรไกรเพียงด้ามเดียวตัดกระดาษเป็นลวดลายที่ละเอียดและคมชัด จนได้รับการกล่าวขานและยอมรับว่าเป็น “แม่ครูแห่งการทำโคมล้านนา” ครูบัวเลิศ