Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

พฤษภาคม 2023

หลังจาก “แห้ว” มีชื่อเรียกใหม่ว่า “สมหวัง” ดูเหมือนว่าภาพรวมต่าง ๆ ก็ดูดีตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าแค่เปลี่ยนชื่อแล้วจะมีความเปลี่ยนแปลง เพราะแห้ว ก็ยังเป็นแห้ว เป็นพืชที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า มีประโยชน์มากแค่ไหน ทั้งตัวผู้กิน ผู้ปลูก และวันนี้แห้วก็เป็นหนึ่งในขบวนการกู้โลกไปแล้ว รู้จักแห้วสุพรรณ GI พื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแหล่งปลูกแห้วคุณภาพของที่ได้ชื่อว่า มีหัวโต เติบโตได้ดีในพื้นที่นา เต็มไปด้วยคุณประโยชน์ มีไฟเบอร์สูง และแร่ธาตุต่าง ๆ เพราะปลูกในแหล่งที่ได้ชื่อว่ามีดิน ฟ้า อากาศ ที่เหมาะสำหรับการปลูกแห้ว เพียง 1 เดียวในเมืองไทย จนทำให้ “แห้วสุพรรณ” ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “สมหวังที่วังยาง” เป็นชื่อที่ทำให้หลายคนได้รู้จักเรื่องราวของแห้วมากขึ้น ทั้งจากการส่งเสริมและพัฒนา “แห้ว” ให้

ททท.ภาคกลาง ร่วมพันธมิตรเครือข่ายจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถยนต์ BCG Road Trip รักษ์โลกพลังงานใหม่  คาราวาน C2 Connect plus 2023' วันที่ 26-28 พ.ค. 2566  เส้นทาง กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี-กาญจนบุรี-เพชรบุรี-สมุทรสงคราม โดยมีพิธีปล่อยขบวน ณ บริเวณหน้าอาคารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานใหญ่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ  นางสาวสุรีพร พงษ์พานิช ผู้อำนวยการกองตลาดภาคกลาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดกิจกรรมและปล่อยขบวนคาราวานส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถยนต์ BCG Road Trip ในรูปแบบรักษ์โลกพลังงานใหม่ ภายใต้ชื่อ ‘คาราวาน C2 Connect Plus 2023’ เส้นทาง กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี-กาญจนบุรี-เพชรบุรี-สมุทรสงคราม

เป็นอีกจังหวัดที่ไปเมื่อไหร่ก็เป็นอันตกหลุมรักเหมือนเพิ่งได้พบเจอเสมอ ด้วยวิถีแห่งผู้คนและธรรมชาติที่เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ท่ามกลางบรรยากาศอันเงียบสงบ งดงามและลงตัวในแบบฉบับของตัวเอง ทำให้ “ชัยภูมิ” เป็นหนึ่งในกลางใจ เดินทางไปคราใดก็ยังรู้สึกดี ๆ เสมอ ต้นเดือนพฤษภาคมประเทศไทยยังอยู่ในฤดูร้อน ช่วงเวลาที่หลายคนบอกว่าอยากนอนตากแอร์อยู่บ้านมากกว่าจะออกไปไหน แต่กลับกลายเป็นว่า ไปเที่ยวชัยภูมิในครั้งนี้ มีแต่เรื่องราวชื่นตาชื่นใจ เป็นน้ำเย็นที่ราดรดความรุ่มร้อนให้ผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี จะมีที่ไหนบ้าง ไปดูกันเลย รับพลังแห่งความชื่นบาน ทุ่งบัวแดง บึงละหาน รับพลังยามเช้าอันงดงามที่บึงละหาน ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ อันดับ 3 ของประเทศไทย มีพื้นที่กว่า 18,000 ไร่ ครอบคลุมหลายตำบลในอำเภอจัตุรัส สะพานไม้ที่ทอดยาว 450 เมตร ถือเป็นแลนด์มาร์คของบึงละหาน ทุ่งบัวแดงที่บานสะพรั่งตั้งแต่ช่วงเช้าไปถึงยามสาย เป็นเวลาที่อันน่าชื่นตาชื่นใจ นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการล่องเรือชมความงดงามในบึงกว้าง ทั้งในยามเช้าและยามเย็น โดยเฉพาะในเช้าตรู่ของแต่ละวัน นกนาชนิดต่างออกมาหากินในอยู่ในบึง ขณะที่ชาวบ้านที่อาศัยความอุดมสมบูรณ์ของบึงละหาน ก็ออกเรือมาหาสัตว์น้ำไปกินไปขาย

ต้นเดือนพฤษภายังคงอยู่ในหน้าร้อน แต่สำหรับพื้นที่สูงซึ่งมีต้นไม้ปกคลุมอย่างหนาแน่น เมื่อตกกลางคืน เราสามารถนอนรับลมธรรมชาติในอุณภูมิที่เทียบเท่าการเปิดแอร์เลยก็ว่าได้ “ทุ่งกะมัง” อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ มีเนื้อที่ราว 5,000 ไร่ สภาพส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติ เป็นเนินสูงต่ำลดหลั่นกันไป เราเดินทางมาถึงทุ่งกะมังในช่วงเย็น ได้พบกับ “ต้นเหมือด” ต้นเดิมที่ยังคงยืนต้นตระหง่าน กิ่งก้านใบของมันชูช่อเป็นพุ่มทรงกลม เนี้ยบ… ราวกับว่ามีใครมาแอบตัดแต่งให้เป็นรูปทรงอยู่เสมอ ทางเดินเล็ก ๆ ที่ลัดเลาะเข้าไป ยังถือเป็นภาพคลาสสิคประจำทุ่งที่ทุกคนจำได้ เย็นวันนี้เหล่าเก้ง กวางและเนื้อทราย ออกมาหากินอยู่ในบริเวณทุ่งหญ้าในแอ่งกระทะ ลักษณะคล้ายกะละมัง อันเป็นที่มาของชื่อ “ทุ่งกะมัง” พวกมันยังคงใช้ชีวิตอย่างอิสระ เดินเล่น เล็มหญ้า หาอาหาร โดยไม่สนใจสายตาของผู้คนที่มองเข้ามา แต่ก็ทิ้งระยะห่างไว้ตามสัญชาตญาณ บ้างก็นั่งนิ่ง ได้แต่ใช้สายตาจดจ้องบรรดาผู้มาเยือนเอาไว้แบบไม่ลดละ ริ้วน้ำเคลื่อนไหวในแอ่งน้ำเล็ก ๆ กลางทุ่ง นับเป็นอีกความโชคดีที่วันนี้เราได้พบกับ “เป็ดก่า”

ธรรมชาติของดอกบัวจะเริ่มผลิบานตั้งแต่กลางดึก และจะสะพรั่งอย่างเต็มที่ตั้งแต่ช่วงเช้าไปถึงช่วงสาย แต่เราก็ไม่อาจตัดสินใจได้ว่าควรจะมาเที่ยวชมทุ่งบัวแดงบึงละหานในตอนไหน เพราะความเคลื่อนไหวของธรรมชาติ รวมทั้งวิถีของชาวบ้านในละแวก ไม่เคยหยุดนิ่ง ท่ามกลางความเงียบสงบของบึงขนาดใหญ่สุดลูกหูลูกตา ปริมาณพื้นที่กว่า 18,000 ไร่ สะพานไม้ที่ทอดยาวเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านและหน่วยงานในพื้นที่ โดยคนในชุมชนได้บริจาคไม้ในการก่อสร้างสะพาน ประกอบกับไม้หมอนที่ได้จากทางรถไฟเก่าที่ทาง อบจ. ได้สรรหามาใช้ เกิดเป็นสะพานไม้ความยาว 450 เมตร สวยงาม ทรงมนต์ขลัง เป็นแลนด์มาร์คกลางทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่อันดับ 3 ของประเทศไทย “ละหาน” แปลว่า “ห้วงน้ำ” บึงละหานตั้งอยู่ใน อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ กินพื้นที่หลายตำบล ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ จึงเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้านมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการทำประมงน้ำจืด รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม เหมาะกับการพักผ่อนตลอดทั้งวัน เช้าตรู่ที่บึงละหาน คือการรับพลังแห่งวันใหม่ จะชื่นชมแค่บริเวณริมบึง เดินเล่นบนสะพานไม้ หรือจะล่องเรือออกไปชมวิถีชีวิตของชาวประมงที่ตั้งตารอคอยด้วยความหวัง หลังจากที่วางเครื่องดักจับสัตว์น้ำไว้ทั้งคืน ตั้งแต่ตีห้าครึ่ง คือช่วงเวลาที่แสงแรกเริ่มทอประกาย เรือลำน้อย

บึงละหาน อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ เป็นบึงขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย มีพื้นที่รอบบึงกว้างกว่า 18,500 ไร่ และมีพันธุ์ปลานานาชนิดอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปลาตะเพียน ปลาตอง ปลาฉลาด ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาแรด ปลาเนื้ออ่อน ปลากราย ฯลฯ ชาวบ้านในบริเวณนี้จึงอาศัยบึงแห่งนี้ในการทำประมงน้ำจืด นอกจากปลาสด ๆ จากบึงแล้ว ที่บ้านดอนละนาม ต.ละหาน อ.จัตุรัส ยังมีภูมิปัญญาที่สืบสานกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย เป็นการแปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านได้รวมตัวกันเป็น “กลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำดอนละนาม” ผลิตสินค้าชุมชนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชัยภูมิ [caption id="attachment_31043" align="aligncenter" width="800"] แม่ประนอมโชว์ปลากรายตัวใหญ่[/caption] วันนี้เราได้เจอกับ แม่ประนอม-ประนอม นามนภาวรรณ ประธานกลุ่มฯ พร้อมปลาหลากหลายพันธุ์ ที่เตรียมสาธิตการแปรรูปปลาให้ทุกคนได้ชม และชิมเมนูเด็ดประจำถิ่น

หมิว สิริลภัส เปลี่ยนที่ทำงานจากการออกกองถ่าย เป็นลงพื้นที่หาเสียงแบบลูกทุ่ง ไม่เน้นยุทธวิธี ไม่มียุทธศาสตร์ มีเพียงทีมตัวจี๊ด และความหวังที่จะเป็นตัวแทนของประชาชน เพื่อจะนำเอาคำพูดของพวกเขาเข้าไปพูดในสภา จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ขณะเป็นดารา นักแสดง ทำให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าทัน ไม่เท่ากัน ทำให้อยากปรับโครงสร้างของสังคม เปลี่ยนนักการเมืองเป็นผู้รับใช้ของประชาชน อย่างแท้จริง ด้วยความเชื่อมั่นว่า ทุกคนมีส่วนร่วมได้ ขอเพียงให้เริ่ม