Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ Tag

CEA เร่งเครื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ชูกลยุทธ์ Soft Power ส่ง DNA ชาติไทย เฉิดฉายในตลาดโลก มุ่งสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ เดินหน้าพัฒนาพื้นที่และบุคลากร เพิ่มขีดความสามารถ เฟ้นหาตลาดเป้าหมาย สานพลังเชื่อมต่อโมเดล BCG ของรัฐบาล เผยอุตสาหกรรมคอนเทนต์ขึ้นแท่นดาวเด่น ด้านธุรกิจเกม-อีสปอร์ตยังสดใส พร้อมผนึกกำลังทุกภาคส่วนร่วมผลักดัน Soft Power ไทยหนุนแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืน ดร.ชาคริต  พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เปิดเผยว่า CEA ถือเป็นองค์กรหลักที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ทั้ง 15 สาขา โดยปัจจุบัน CEA ได้เร่งเดินหน้าการผลักดันยุทธศาสตร์ “Soft Power” หลังรัฐบาลประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศด้วย

การเกิดขึ้นของตลาด NFT (Non-fungible Token) กำลังจะพลิกโฉมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั่วโลก และถือเป็นโอกาสใหม่ของนักสร้างสรรค์ไทยและอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในการก้าวสู่ “ตลาดศิลปะดิจิทัล” หรือ “ตลาด NFT” ด้วยการแปลงผลงานของตนเองให้เป็นรูปแบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้จากการขาย NFT กับศิลปะในยุคดิจิทัล NFT คือ สินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่สามารถทำซ้ำหรือดัดแปลง ซึ่งจะบันทึกอยู่ในระบบบล็อกเชน (Blockchain) ที่มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบสิทธิ์ความเป็นเจ้าของได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ดังนั้น นักสร้างสรรค์สามารถแปลงผลงานของตนเอง อาทิ งานศิลปะ เพลง ภาพยนตร์ ข้อความ วิดีโอ รูปภาพ หรือสินทรัพย์ทางกายภาพอื่น ๆ (Physical Asset) มาเป็นรูปแบบดิจิทัล พร้อมกับสร้างรายได้จากค่าลิขสิทธิ์ (Royalty Payments) จากการแปลงผลงานของตนเองเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อรักษาความเป็นต้นฉบับ สร้างสภาพคล่องให้กับผลงาน โดยช่วงไตรมาสแรกของปี 2564

ความท้าทายของประเทศไทยในการก้าวสู่  ศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางวิวัฒนาการของประชาคมโลก มีประเด็นสำคัญหลายด้านที่ต้องนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา เพื่อมุ่งหน้าเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายการเติบโตทาง GDP ให้อยู่ที่ระดับ 7-8% เหมือนเช่นในอดีต เป็นที่มาของการปฏิรูปหน่วยงานด้านอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมให้กับประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ลบคำว่า “งานวิจัยบนหิ้ง” สู่การพัฒนาและต่อยอดทางนวัตกรรมที่สร้างผลประโยชน์แบบองค์รวมให้กับประเทศ ดังนั้น จึงมีการจัดตั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว.อย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 โดยรวมหน่วยงานอุดมศึกษากับหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศทั้งหมดมาอยู่ภายใต้กระทรวงเดียวกัน ล่าสุด  มีการจัดการจัดงาน “การประชุมชี้แจงระบบ แผน และแนวทางการจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ระหว่างวันที่