Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

meetFEEL

ป้าเนาว์-เนาวรัตน์ สมัครเขตรการ เป็นอีกคนหนึ่งที่หลงรักแคคตัสและบอนสี เธอใช้เวลาสะสมจริงจังมาประมาณ 5 ปี จนวันนี้ที่ “บ้านไร่วรัญญ์รัช” มีโรงเรือนแคคตัสขนาดใหญ่ 2 หลัง รวมกว่า 100 ชนิด เป็นอาณาจักรแห่งความสุขของป้าเนาว์ ที่พร้อมแบ่งปันให้ทุกคนมาเรียนรู้ ป้าเนาว์ เล่าว่า แรงบันดาลใจที่มาทำรีสอร์ตแห่งนี้ คือ การนำความชอบเรื่องแคคตัสและบอนสี มาสอนชาวนาให้หันมาปลูกเป็นอาชีพเสริม และเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ผู้สนใจเข้ามาศึกษาได้ ท่ามกลางไร่นาสวนผสม เลี้ยงปลา ปลูกผักปลอดสารเคมี มีทั้งที่พัก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และสวนไม้ประดับให้เข้าชม เป็นจุดท่องเที่ยวใน อ.ทับทัน ที่เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ [gallery columns="2" size="full" ids="28924,28925,28926,28927"] [gallery columns="2" size="full" ids="28930,28929"] “ใครที่สนใจทั้งส่วนตัวหรือหมู่คณะก็เข้ามาได้ เราจะสอนวิธีปลูก วิธีแยกพันธุ์

เมื่อเข้าสู่ อ.ลานสัก สิ่งแรกที่เราจะเห็นคือแนวต้นสักที่เรียงรายตลอดสองข้างทาง บ่งบอกถึงความเป็นลานสักได้อย่างชัดเจน ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่าและภูเขา พร้อมบรรยากาศอันเขียวขจี  อำเภอลานสักจึงมีแหล่งท่องเที่ยวอันมีเอกลักษณ์ บ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดอากาศอันแสนบริสุทธิ์ รอให้ทุกคนเข้ามากางแขนสูดลมหายใจรับพลังแห่งธรรมชาติ [caption id="attachment_28902" align="aligncenter" width="800"] ภูเขาหินขนาดใหญ่ ซ่อนความงดงามของ "หุบป่าตาด" ไว้ด้านใน[/caption] “หุบป่าตาด” เป็นแหล่งอันซีนในเมืองไทย ที่ถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ.2522 โดย พระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง ก่อนหน้านี้ยังต้องปีนป่ายหน้าผาเข้าไปในหุบ แต่ได้รับการพัฒนาทำทางเดินเข้าที่สะดวกมากยิ่งขึ้น จากสภาพป่าที่เต็มไปด้วยต้นตาด ไม้ดึกดำบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม ด้วยลักษณะของป่าที่ซ่อนอยู่ในหุบเขาอันลึกลับ จึงเรียกที่นี่ว่า “หุบป่าตาด” ก่อนที่จะเดินเข้าสู่หุบป่าตาด เราจะมองเห็นภูเขาลูกใหญ่ตั้งตระหง่านเรียงราย เป็นโลกอีกใบที่น่าอัศจรรย์ และตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่าเมื่อได้เดินฝ่าความมืดลอดถ้ำเข้าไป เป็นระยะทางสั้น ๆ ที่น่าประหลาดใจ เพราะหลุดจากถ้ำมาก็จะเจอกับป้าขนาดใหญ่ซ่อนไว้ในหุบ ที่ซ่อนตัวลึกลงไปอีก  จากนั้นก็ลัดเลาะแนวป่าไปถึงโถงถ้ำขนาดใหญ่ ที่มีหินงอกหินย้อย และหินปูนขนาดมหึมา รายล้อมด้วยต้นไม้ใบยักษ์

ความรักความผูกพันที่  “จอมขวัญใจ มานารส” มีให้กับลูกชายทั้งสองคน เป็นสิ่งที่ “บลูเรย์” และ “พิกเซล” ต่างซาบซึ้งอยู่แก่ใจ คำว่า “ลูกรัก” ที่พ่อมักจะเรียกหาอยู่ทุกเวลา ทำให้เด็ก ๆ จำมันได้อย่างขึ้นใจ เมื่อเข้ามาปักหลักใน ต.คอกควาย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี สิ่งที่พ่อถามลูก ๆ ว่า จะใช้ชื่อไร่ซึ่งเป็นบ้านพักของครอบครัวว่าอย่างไร เจ้าตัวเล็ก “พิกเซล” ก็ตอบอย่างฉับไวว่า “ไร่ลูกรักของพ่อ” ไร่ลูกรักของพ่อ ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันแสนอบอุ่น มีภูเขารายล้อม มีลำธารไหลผ่าน มีทุ่งกว้างให้พักสายตา เด็ก ๆ จะได้ใช้เวลาไปกับโลกกลางแจ้ง ท่ามกลางไอดิน กลิ่นหญ้า ได้อยู่กับธรรมชาติ ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง อย่างที่ “จอม” ตั้งใจไว้ “ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะทำเป็นที่พักให้คนมาพัก

ฝายกั้นน้ำปางสวรรค์ เคยเป็นฝายกั้นน้ำธรรมดา ที่ผู้คนเดินทางข้ามผ่านไปมาจนชินตา แต่แล้วเหล่าสายตาของผู้มองหาความแตกต่างก็ได้สร้างจุดเช็คอินที่ขึ้นชื่ออีกมุมหนึ่งของอุทัยธานีขึ้นมา ฝายปูนกั้นน้ำแห่งนี้ ก่อสร้างขึ้นเพื่อชะลอการไหลของน้ำ เพื่อให้ชาวบ้านมีน้ำใช้ในการเกษตร ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งอันเขียวขจี มีฉากหลังเป็นภูเขาอยู่ไกล ๆ ในช่วงหน้าฝนที่มีปริมาณน้ำมากจนเอ่อล้น เกิดเป็นม่านน้ำตกเล็ก ๆ ไหลลงมาจากทั้งสองฝั่งของฝายกั้นน้ำ สามารถลงไปเพื่อเล่นน้ำหรือถ่ายรูปได้ บริเวณฝายมีตลาดนัดชุมชนเล็ก ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้อุดหนุนสินค้าจากชาวบ้าน นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเก๋ของอุทัย ที่ใครก็อยากไปสัมผัส อุทัยธานี ยังมีของดีอีกมาก กับหลากมุมมองสดใส ท่ามกลางความเขียวขจีทั้งด้านพื้นที่และในใจผู้คน ติดตามชมเรื่องราวในเส้นทาง "อยู่ดี Green ดี เที่ยวอุทัยธานี" ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=oz3p4FCJzbQ

ที่หมู่บ้านสะนำ อันเป็นถิ่นอาศัยชาวลาวครั่ง ที่อพบพมาจากทางฝั่งลาวในอดีต ท่ามกลางชีวิตความเป็นอยู่ที่ยังคงวิถีดั้งเดิม ผสมผสานกลิ่นอายแบบไทย-ลาว ด้วยสำเนียงภาษาอีสานแบบเนิบช้าได้อย่างน่ารัก เสน่ห์ความอยู่ดีกินดีแบบฉบับสำนำสไตล์ คือ การกินอยู่กับธรรมชาติ มีเมนูเรียบง่ายคู่ครัวอย่างน้ำพริก หรือ “แจ่ว” เป็นภูมิปัญญาอาหารที่ทำกินกันมาเนิ่นนาน และมีการพลิกแพลงสูตรจากวัตถุดิบที่หลากหลายใกล้ตัว จนได้ชื่อว่า “แจ่ว100สำรับ” ซึ่งใครจะแวะมาชิม มาลิ้มรสความแซ่บแบบฉบับลาวครั่งก็ยินดี [caption id="attachment_28854" align="aligncenter" width="800"] จำรัส ทาบ้านฆ้อง[/caption] “จำรัส ทาบ้านฆ้อง”  ชาวบ้านชุมชนลาวครั่งบ้านสะนำ เล่าว่า แจ่วแต่ละสูตรจะมีพื้นฐานวัตถุดิบที่ใกล้เคียงกัน คือ หอม กระเทียม พริกขี้หนูสด ที่มักจะนำมาคั่วเพื่อให้ความร้อนเร่งกลิ่นหอม ก่อนจะนำไปโขลกรวมกันเป็นแจ่ว ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือน้ำปลาร้า อาทิ “แจ่วมะเขือด้าน” ที่จะใช้มะเขือเจ้าพระยาลูกใหญ่ ๆ มาย่างบนเตาถ่านแล้วนำไปโขลก ก่อนจะนำไปผสมกับเครื่องปรุงที่เตรียมไว้

เมื่อสายฝนโปรยมา ก็ถึงเวลาที่ผักจากป่าจะผลิยอด ชาวบ้านในละแวกก็ออกเดินเท้าเข้าป่าไปเก็บหามาปรุงอาหาร และผักหน้าฝนที่หลายคนรอคอยก็คือ “ผักกูด” เดิมทีผักกูดใน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี เป็นผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  พบได้ตามป่าเขตป่าทั่วไปที่มีความชื้นสูง ปัจจุบันชาวบ้านห้วยป่าปก บ้านไร่ ได้นำมาปลูกและจำหน่าย ร้านอาหารต่าง ๆ ก็นำไปประกอบอาหารเป็นผักกูดผัดน้ำมันหอย หรือ ยำผักกูด บ้างก็นำไปกินกันน้ำพริก เป็นผักยอดเขียวที่มีความกรอบ มัน มีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่แน่ ๆ คือ เป็นผักที่ปลอดสารเคมี เพราะผักกูดเป็นผักที่ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงมารบกวน เกษตรกรจึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีใด ๆ ในการดูแล จากผักกูดพื้นบ้าน สู่เมนูพื้นถิ่น ในวันนี้ ที่ อ.บ้านไร่ มีการผสมผสานเมนูท้องถิ่นประยุกต์ เป็น “พิซซ่าหน้าผักกูด” เรียกได้ว่าสร้างจุดขาย ขยายความนิยมในการตัวผักกูดไปสู่คนรุ่นใหม่และชาวต่างชาติได้มากขึ้น [caption id="attachment_28842" align="aligncenter" width="799"]

“ตลาดซาวไฮ่” แหล่งรวมคนมีใจแบบฉบับบ้านไร่อุทัยธานี เป็นตลาดที่ชาวบ้านทุกคนมีส่วนร่วม ตั้งใจนำเสนอวิถีชีวิตแบบเกษตรพื้นบ้าน อาหารท้องถิ่น พืชผักปลอดสารพิษ แหล่งรวมของกินของใช้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อเข้าสู่ตัวตลาด จะได้ยินเสียงดนตรีที่ไพเราะก้องกังวาน ผลงานจากศิลปิน "ซุมข้าวแลง" ที่ช่วยเพิ่มบรรยากาศแห่งความผ่อนคลายภายใต้ร่มไม้ครึ้ม ชาวบ้านส่วนใหญ่พร้อมใจกันใช้ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ พร้อมนำเสนอผัก ผลไม้ ผลิตผลจากชุมชน วางขายกันแบบเล็ก ๆ น้อย สบาย ๆ ตามผลผลิตที่มีในสวนในไร่ รวมทั้งเมนูจากวัตถุดิบปลอดสารพิษ จากผลผลิตจากในชุมชน อาทิ ทอดมันหัวปลี ที่ใช้กาบของหัวปลีมาเป็นภาชนะ ดูแล้วน่ารัก น่าซื้อหา แถมรสชาติยังโดนใจ เมนูก๋วยเตี๋ยวผักกูด ที่นำวัตถุดิบท้องถิ่นอย่างผักกูดมาผสมผสานเป็นเมนูอร่อย หรือจะเป็นข้าวยำสมุนไพร ที่ครบเครื่องด้วยสมุนไพรปลอดสารพิษนานาชนิด เป็นต้น [gallery columns="2" size="full" ids="28829,28828"] ด้านของใช้ก็มีผ้าย้อมสีธรรมชาติ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง พร้อมทั้งผ้าทอบ้านไร่อันสวยงาม ตลาดมีขนาดใหญ่กำลังดี มีโต๊ะเก้าอี้ให้นั่งพักท่ามกลางความร่มรื่น

ท้องทะเลกว้างไกลสุดสายตา พาให้เรารู้สึกโปร่ง โล่ง สบาย  ได้ย่ำเท้าบนชายหาดสีขาวนวล ท่ามกลางบรรยากาศที่ชวนให้ผ่อนคลาย ใครหลายคนจึงตกหลุมรักทะเลแบบหัวปักหัวปำ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ ก็คิดถึงทะเลอยู่เสมอ อย่างที่จังหวัดชุมพร ประตูสู่ภาคใต้ เมืองที่หลายคนอาจมองผ่าน แต่เต็มไปด้วยความชื่นบาน จนอยากจะหยุดเวลาไว้นาน ๆ โครงการ “Refresh life

ไม่ง่ายนักหากจะหาที่พักติดทะเลและแม่น้ำในที่เดียวกัน จึงต้องใช้คำว่า “Amazing “ ได้เลยสำหรับทำเลของ  “โรงแรมฟอร์จูน แสงจันทร์บีช ระยอง” (Fortune Saengchan Beach Hotel)  ริมชายหาดแสงจันทร์ โดยตัวโรงแรมตั้งอยู่บริเวณชายหาด กึ่งกลางระหว่าง ทะเล และ แม่น้ำ ที่ขนานกันไปเป็นทางยาว หาดแสงจันทร์เป็นชายหาดอันเงียบสงบ แค่เพียงข้ามถนนก็ได้เล่นน้ำได้เหมือนหาดส่วนตัว แต่ก็สะดวกสบาย เพราะไม่ไกลจากตัวเมือง ในละแวกยังมีร้านค้า ร้านอาหารมากมาย เพราะหาดแสงจันทร์ จะอยู่ระหว่างหาดแหลมเจริญ และ หาดสุชาดา ซึ่งมีมุมชิลเยอะมาก แต่ชิลแค่ไหน ก็ยังผสมผสานกลมกลืนกับความเป็นพื้นบ้านของชุมชนชาวประมงชายฝั่งได้อย่างงดงาม ใครชอบถ่ายรูปแนววิถีชีวิตมีมุมให้เลือกแชะกันทั้งวัน “ฟอร์จูน แสงจันทร์บีช ระยอง” ที่พักติดชายหาดในตัวเมืองระยอง เป็นโรงแรมสไตล์โมเดิร์นสูง 7 ชั้น ตั้งอยู่ริมหาดแสงจันทร์ มีห้องพักแบบต่าง

สีเขียวเป็นสีที่มองเห็นแล้วสบายตา วันที่ผ่านการทำงานอย่างเหนื่อยล้าอยู่กับหน้าจอ เราจึงอยากพักสายตาเพื่อมองหาความเขียวขจีของต้นไม้ใบหญ้า ไม่ว่าจะอยู่ในกระถางเล็ก ๆ บนโต๊ะทำงาน หรือจะมองออกนอกหน้าต่าง แต่จะดีแค่ไหน หากได้เดินทางออกไปในที่โล่งกว้าง ผ่านถนนหนทางที่เต็มไปด้วยความเขียวขจี ได้ซึมซับรับพลังบวกท่ามกลางขุนเขา ให้เหล่าต้นไม้ใบหญ้าได้ส่งพลังธรรมชาติเพื่อฟื้นฟูกาย-ใจ ให้สดใสยิ่งกว่าเดิม โครงการ “Refresh life

เราคุ้นเคยกับคำว่า “ผีเสื้อและดอกไม้” มักจะเป็นของที่อยู่คู่กันจนแทบจะแยกกันไม่ได้ เพราะต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ด้านผีเสื้อนั้นไม้รู้ว่ามาดมดอมความหอมด้วยหรือไม่ แต่น้ำหวานของดอกไม้เป็นอาหารของพวกมัน แต่นอกจากน้ำหวานจากดอกไม้แล้วเหล่าผีเสื้อก็ต้องการแร่ธาตุอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ตามพื้นดินหรือแอ่งน้ำ ซึ่งมีทั้งซากพืชซากสัตว์ หรือมูลและปัสสาวะของสัตว์ต่าง ๆ จึงเป็นแหล่งอาหารชั้นเลิศของบรรดาผีเสื้อ โดยเฉพาะผีเสื้อตัวผู้ ที่ต้องการธาตุอาหารเหล่านั้นไปสร้างเสปิร์มและกลิ่นหอมเพื่อดึงดูดผีเสื้อตัวเมีย เมื่อมีผีเสื้อมารวมตัวกันมาก ๆ จึงเรียกว่า “โป่งผีเสื้อ” [caption id="attachment_28620" align="aligncenter" width="799"] ผีเสื้อสะพายฟ้า[/caption] พื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์ของอุทยานแห่งชาติปางสีดา ถือว่าเป็นแหล่งดูผีเสื้อแห่งผืนป่าตะวันออกของประเทศไทย  ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็น “ดินแดนผีเสื้อผืนป่าตะวันออกของประเทศไทย” ภายใต้ชื่อ “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่” บริเวณอุทยานและพื้นป่าใกล้เคียง ที่มีผีเสื้อมากกว่า 500 สายพันธุ์ [caption id="attachment_28617" align="aligncenter" width="799"] ผีเสื้อหางติ่งสะพายขาว[/caption] ฟังอย่างนี้แล้วก็นึกถึงภาพเหล่าผีเสื้อที่โบยบินอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ เหมือนมีงานมหกรรมอะไรสักอย่าง แต่ใช่ว่าทุกครั้งหรือทุกช่วงเวลาจะได้เห็นภาพประทับใจเหล่านั้น [caption id="attachment_28616" align="aligncenter" width="800"]

เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า ความงดงามด้านศิลปะวัฒนธรรม บวกกับความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ จากสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นที่ราบถึงที่ราบสูง รายล้อมด้วยภูเขาสลับซับซ้อน ส่งผลให้ดินแดนทางภาคตะวันออกที่มีอาณาเขตติดชายแดนไทย-กัมพูชา อย่างจังหวัดสระแก้ว มีความหลากหลายทางด้านการท่องเที่ยว เหมาะแก่การศึกษาเที่ยวชมตลอดทั้งปี การค้าชายแดนถือเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดสระแก้ว เช่นเดียวกับภาคการเกษตร ขณะที่ด้านการท่องเที่ยวนับว่ามีศักยภาพมาก จากความงดงามในมิติที่หลากหลาย เป็นอีกแนวทางในการผลักดันเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสามารถกระจายรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุด สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) ร่วมกับ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสระแก้ว และ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว นำคณะสื่อมวลชนสำรวจแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว นายกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) เปิดเผยว่า การเดินทางในครั้งนี้ สธทท. ได้นำคณะสื่อมวลชนสำรวจแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว ตามคำเชิญของ นายสานนท์ เพ็ญแสง ผอ.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสระแก้ว นางราตรี แสงรุ่งเรือง ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว และ นางสาวรุ่งนภา

ปากช่อง-เขาใหญ่ เที่ยวได้ทั้งปี ใช้เวลาขับรถจากกรุงเทพฯ เพียงไม่นานก็หลุดออกจากป่าคอนกรีตเข้าสู่อ้อมอกของขุนเขา รายล้อมด้วยธรรมชาติอันแสนสดชื่น  การได้พักผ่อนอยู่ท่ามกลางอากาศดี ๆ เป็นรางวัลที่สามารถมอบให้กับตัวเองได้ไม่ยาก เพราะเขาใหญ่มีที่พักให้เลือกมากมาย หนึ่งในพี่พักดีมีมาตรฐาน พื้นที่กว้างขวาง สะอาดสะอ้าน สะดวกสบาย คือ โรงแรม ฟอร์จูน คอร์ทยาร์ด เขาใหญ่ ที่หลายคนได้เข้าพักแล้วติดใจ ในราคาที่จับต้องได้ไม่ยาก โรงแรม ฟอร์จูน คอร์ทยาร์ด เขาใหญ่ เป็นอาคารสูง 7 ชั้น ที่พักสวยบนเขาใหญ่ สไตล์อังกฤษร่วมสมัย อยู่ติดถนนธนะรัชต์ มีห้องพักรวม 62 ห้อง แต่ละห้องกว้าง 35-65 ตารางเมตร มีทั้งห้องเตียงเดี่ยวและเตียงคู่ มีมุมนั่งเล่นน่ารักๆ อยู่ติดกับระเบียงทุกห้อง มีโต๊ะเก้าอี้สำหรับนั่งรับประทานอาหารหรือนั่งทำงานได้  มีไวไฟ พร้อมปลั๊กไฟที่กระจายตัวอยู่ในทุกจุด ห้องพักมีความสะอาด

คนเราทำงานหนัก เพื่อมุ่งหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้น หากเป็นในอดีต “ชีวิตที่ดี” อาจจะประกอบด้วยความมีอยู่ มีกิน มีใช้ มีเก็บ ซึ่งผูกทุกอย่างไว้กับตัวเงิน แต่วันนี้ เป้าหมายของคนเราเปลี่ยนไป เราโหยหาธรรมชาติ โหยหาความมั่นใจจากการกินอยู่อาศัย เป็นความมั่นคงและปลอดภัยที่มีผลต่อคำว่า “คุณภาพชีวิตที่ดี” สถานการณ์โควิด-19 สะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนต้องการ “ความมั่นคงด้านอาหาร” ที่มีทั้ง “อำนาจ” จากความเป็นเจ้าของ โดยไม่ต้องซื้อหา และ “ความมั่นใจ” ในความปลอดภัย ที่ดูแลควบคุมเองได้ "วิถีเกษตร" กลายเป็นสาระที่คนเราเก็บกลับมาคิดอย่างจริงจัง และถ้ามันสร้างเงินสร้างงานได้ในเวลาเดียวกัน ก็ยิ่งสมบูรณ์ สวนเอเดน สวนทุเรียน GI ปากช่องเขาใหญ่ Meetthinks ได้ใช้เวลาสั้น ๆ หลังจากเดินทางมายัง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ด้วยภารกิจร่วมงาน “เทศกาลทุเรียน GI

บรรดามหาเศรษฐีของเมืองไทย เลือกเขาใหญ่เป็นสถานที่ลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ทั้งเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ และการปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัยส่วนตัว เพราะที่นี่คือดินแดนแห่งมรดกโลก ที่มีสภาพอากาศที่ดีมาก ใครมาเยือนเขาใหญ่ก็สัมผัสได้ถึงอากาศที่เย็นสบาย สูดลมหายใจได้อย่างสดชื่น ที่อยู่ ที่กิน ที่เที่ยวบนเขาใหญ่ ก็มีความสวยงาม ครบเครื่องครบครัน เป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างบรรยากาศแห่งขุนเขากับความสะดวกสบาย [caption id="attachment_28361" align="aligncenter" width="800"] นพลักษณ์ ทัศน์ธนาวัฒน์[/caption] ประมาณ 20 ปีที่แล้ว “นพลักษณ์ ทัศน์ธนาวัฒน์” หรือ คุณนิ่ม สาวเหนือชาวลำปาง อดีตเคยอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย ก่อนจะย้ายมาปักหลักที่กรุงเทพ และทำงานอยู่ในธุรกิจแบงก์ จนลาออกมาช่วยธุรกิจสิ่งพิมพ์และโฆษณาของครอบครัว จนวันหนึ่ง เธอต้องการมองหาบ้านหลังเล็ก ๆ สำหรับการอยู่อาศัยอย่างมีคุณภาพ ในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ เธอจึงเลือกเขาใหญ่เป็นเป้าหมาย เมื่อเริ่มลงหลักปักฐาน จึงมองหาธุรกิจเล็ก ๆ บนเขาใหญ่ เป็นที่มาของ ร้านอาหาร

หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า ในเขตอำเภอปากช่อง เป็นแหล่งเกษตรกรรมอันอุดมสมบูรณ์ สามารถเพาะปลูกพืชผักผลไม้ได้อร่อยหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ “ทุเรียน” ซึ่งมีพื้นที่ปลูกรวมกว่า 10,000 ไร่ แต่ทุเรียนปากช่อง ไม่ได้มีดีแค่ความอร่อย จากการร่วมแรงร่วมใจของเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันผลักดันทุเรียนปากช่องให้มีคุณภาพ จากเอกลักษณ์ที่แตกต่างไม่เหมือนใคร เพราะปลูกในพื้นที่ดินภูเขาไฟ ท่ามกลางหุบเขาอันบริสุทธิ์ ดินดี น้ำดี และได้รับการดูแลที่ดี ล่าสุดทุเรียนปากช่อง ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI (Geographical Indications) ในนามของ “ทุเรียนปากช่องเขาใหญ่”  ภายใต้สโลแกน “เนื้อแห้ง เนียนนุ่ม ละมุนลิ้น กลิ่นไม่แรง” และได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ "เทศกาลทุเรียน GI ปากช่องเขาใหญ่” ไปเมื่อวันที่ 15-16 กรกฎคม 2565

“ผมมีแนวความคิดว่าจะผลักดันทุเรียนปากช่องให้โด่งดังเหมือนทางนนทบุรี  ที่ครั้งหนึ่งเคยประมูลกันลูกละ 8 แสนบาท” พี่มาโนช "มาโนช รูปสมดี" เจ้าของสวนอัมพร  เล่าให้ meetThinks ฟัง นับเป็นความท้าทายก้าวต่อไป หลังจากใช้เวลา 2 ปีในการขอรับรองตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI กับเส้นทางที่ยังต้องต่อสู้กับปัญหาอีกมากมาย เพราะทุเรียนเป็นพืชที่ดูแลยาก ว่ากันว่าต้องเอาใจกันเหมือนเด็กแบเบาะ เป็นผลไม้ที่ปลูกแล้วก็ต้องปลูกซ่อมกันแทบทุกปี ไม่มีคำว่ากินยาว เหมือนไม้ผลอื่น ๆ แถมราคายังนับว่าเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับการควบคุมต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น [caption id="attachment_28284" align="aligncenter" width="799"] มาโนช รูปสมดี[/caption] 40 ปี ทุเรียนปากช่อง สู่การขึ้นทะเบียน GI ในฐานะประธานวิสาหกิจชุมชนทุเรียนและพืชสวน อ.ปากช่อง พี่มาโนชได้ทุ่มเทในการปลุกปั้นฟันฝ่า โดยอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุเรียนและพืชสวน อำเภอปากช่อง และวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคลองม่วง ปากช่อง พร้อมด้วยอาจารย์

Airbnb เปิดตัว OMG! Fund เงินทุนสำหรับที่พักสุดว้าว! มูลค่า 10 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 353 ล้านบาท พร้อมมอบให้กับเจ้าของไอเดียที่พักแปลกใหม่ 100 คนทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบ สถาปนิก นัก DIY และนักสร้างสรรค์ทั้งมืออาชีพและมือใหม่ เพื่อก่อร่างไอเดียที่พักเจ๋ง ๆ ให้เป็นจริง ในแบบต่าง ๆ อย่าง บ้านรองเท้าบูท บ้าน UFO หรือ บ้านมันฝรั่งยักษ์ ผู้ที่สนใจสามารถนำเสนอไอเดียที่พักสุดเจ๋งได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยเปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ถึง 23 กรกฎาคม 2565 เวลา 22:59 น. (เวลาประเทศไทย) สามารถส่งใบสมัครที่

ฤดูกาลที่แตกต่าง เป็นอีกเหตุผลที่คนเราเลือกออกเดินทาง แม้ว่าไฮซีซั่นของแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่ง จะเผยโฉมสุดแจ่มของสถานที่นั้น แต่มันก็ไม่ใช่บทสรุปของทุกอย่างหรอกนะ 8 มิถุนายน ท่าเรือปากบารา สตูล ท่าเรือปากบารา ในช่วงเข้าสู่โลซีซัน หรือกำลังเข้าช่วงมรสุมของทะเลใต้ เป็นต้นฤดูฝนที่เริ่มแสดงให้เห็นว่า ฤดูกาลมีผลมากต่อการตัดสินใจ [caption id="attachment_27922" align="aligncenter" width="800"] ห้องขายดี วิวสวย ที่ The Cliff หลีเป๊ะ[/caption] เราวางแผนเดินทางท่องเที่ยวเกาะหลีเป๊ะเมื่อปลายพฤษภาคม เลือกจองแพ็กเกจของ The Cliff Lipe ห้องแบบ Jacuzzi Panorama Ocean View โปรโมชั่น 16,990- สำหรับ 2 ท่าน (3 Days 2 Nights) ราคารวมค่ารถตู้ไป-กลับ

คงเคยได้ยินว่าคนเรามีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ และธรรมชาติก็มีกลิ่นหอมในตัวของมันเองด้วย หากไม่รวมพวกดอกไม้ใบหญ้าหรือพืชสมุนไพรเขียว ๆ แล้วละก็ ยังมีอีกกลิ่นที่หลายคนหลงใหล แต่ไม่รู้ว่าใครจะนำกลิ่นเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างไร นอกจากจะปล่อยให้มันหอมอยู่ในจังหวะและโอกาสของมันเอง ฝนแรกในบางเวลา หรือจะเป็นสายฝนที่โชยมาหลังแดดจ้า จะสะท้อนกลิ่นไอบาง ๆ จากผืนดิน ซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลบางอย่าง เคยอ่านเจอว่าหลายคนที่ได้กลิ่นไอดินหลังฝน จะรู้สึกแช่มชื่น บ้างก็มีความอยากอาหาร ขณะที่ไม่รู้ว่า จะมีใครนำกลิ่นไอดินไปใช้ได้อย่างไร ก็เลื่อนไปเจอข้อมูลจาก BBC Thai ระบุว่า “จีโอมิน” (geosmin) คือโมเลกุลของแบคทีเรียในดิน ที่จะลอยขึ้นไปบนอากาศเมื่อมีหยดน้ำโปรยมา  นักวิทยาศาสตร์ยังระบุว่า มนุษย์จะรับรู้กลิ่นนี้ได้ดีมากยิ่งกว่าสัตว์ด้วยซ้ำ และในเชิงพาณิชย์ “กลิ่นหอมแห่งพสุธา” เป็นกลิ่นหอมที่สกัดจากไอดิน เกิดขึ้นมาแล้วที่อินเดียเมื่อปี 1960 และได้กลายเป็นสูตรหนึ่งของน้ำหอม เรื่องราวนี้สามารถอ่านได้ในเว็บไซต์ของ BBC [caption id="attachment_27828" align="aligncenter" width="800"] มุมมองจากทางทางเข้าด้านหน้า[/caption] [caption id="attachment_27824" align="aligncenter"