Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

อพท. ผนึก 5 มหาวิทยาลัย หนุนมาตรฐานสากล เที่ยวชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

อพท. จับมือ 5 สถาบันการศึกษา สานพลังพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา หวังยกระดับการบริหารจัดการพื้นที่สู่เกณฑ์มาตรฐานสากล GSTC UCCN และ CBT Thailand ชูจุดขายวิถีชีวิตและวัฒนธรรม หนุนศักยภาพ เมืองเก่าเกาะหมากปากประควนเคร็ง ขึ้นแท่นต้นแบบสายกรีน ส่วนสายมูชูเส้นทางเที่ยวชุมชนตามรอยหลวงพ่อทวด  ตั้งเป้าปี 2570 กระจายรายได้เพิ่ม 20% ในพื้นที่พิเศษ 3 จังหวัด

 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ร่วมกับ 5 สถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ, รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อุดร นามเสน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เข้าร่วมลงนาม ณ ลากูน่า แกรนด์ โฮเทล แอนด์ สปา จ.สงขลา เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการสร้างกลไกการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้กับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สถาบันวิชาการ องค์กรชุมชน และองค์กรภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2567- พ.ศ. 2570)

วัตถุประสงของความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามแนวทางของ  สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council) และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมกันให้ครอบคลุมรายละเอียดตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC) การร่วมกันขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาเมืองที่มีศักยภาพสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network : UCCN)

และกำหนดบทบาทหน้าที่ร่วมกันให้ครอบคลุมรายละเอียดตามใบสมัครของยูเนสโก รวมถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและกำหนดบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกันให้ครอบคลุมตามแนวทางมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT Thailand)

 สำหรับพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ครอบคลุมพื้นที่ใน 15 อำเภอของ 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสงขลารวม 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสงขลา ระโนด สทิงพระ กระแสสินธุ์ สิงหนคร หาดใหญ่ ควนเนียง และบางกล่ำ จังหวัดพัทลุง รวม 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง ปากพะยูน บางแก้ว เขาชัยสน และควนขนุน จังหวัดนครศรีธรรมราช รวม 2 อำเภอ อำเภอชะอวด และอำเภอหัวไทร

ปัจจุบันอยู่ในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ระยะ 5 ปี มีเป้าหมายยกระดับเมืองที่มีความพร้อมให้เข้าสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก และส่งเสริมให้แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่มีการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนำไปสู่การเสนอเข้ารับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ Green Destinations Top 100 Storie

นาวาอากาศเอก อธิคุณ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนโลก Green Destination Top 100 Stories แล้ว คือ เกาะหมาก จ.ตราด เมืองเก่าสุโขทัย จ.สุโขทัย  ในเวียง จ.น่าน และเชียงคาน จ.เลย

สำหรับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่มีความพร้อมในการผลักดันสู่มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวยืน 100 แห่งของโลกได้ 4 แห่งแรก คือ ย่านเมืองเก่าสงขลา อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง บ้านปากประ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง และ ควนเคร็ง ต.เคร็ง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช โดยคาดว่าจะส่งเสริมและผลักดันให้เข้าสู่มาตรฐานภายในปี 2567 และจะเป็นต้นแบบสำหรับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาต่อไป

ทั้งนี้ เส้นทางท่องเที่ยวตามรอยหลวงปู่ทวด เช่น วัดต้นเลียบ วัดดีหลวง วัดพะโคะ ในจังหวัดสงขลา เป็นอีกพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน โดยจะให้ความรู้ความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมของเจ้าบ้าน รวมทั้งการใช้กลยุทธ์ Story Telling ในการเล่าเรื่อง  เพื่อตอบรับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวสายมูทั้งชาวไทยและต่างชาติ

สำหรับเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ในระยะ 5 ปี หรือภายในปี 2570 คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวและการกระจายรายได้ในพื้นที่พิเศษ 15 อำเภอ ใน 3 จังหวัด เพิ่มขึ้น 20% 

Post a comment

2 × 3 =