Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

meetthinks

บริเวณเกาะเทโพ ซึ่งมีแม่น้ำสะแกกรังไหลเวียนมาบรรจบกัน เป็นเกาะน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ปัจจุบันเป็นแหล่งเกษตรกรรม รวมทั้งการเลี้ยงปลากระชัง อย่างปลาแรด ที่ได้มีการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ว่า เป็นปลาแรด GI หนึ่งเดียวในเมืองไทย เลี้ยงที่ไหนก็ไม่เหมือนที่นี่ “วันเพ็ญ นาทอง” ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาแรดลุ่มน้ำสะแกกรัง ต.ท่าซุง เล่าวว่า ทางกลุ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2540 มีสมาชิกทั้งหมด 85 ราย  ในช่วงแรกร่วมกันแชร์ความรู้เรื่องการเลี้ยง และแก้ปัญหาทางการตลาด เนื่องจากแต่ก่อนมีพ่อค้าคนกลางมารับปลาไปขาย โดนกดราคาจนแทบไม่ได้อะไร ทางกลุ่มจึงจับมือกันเปิดตลาดปลาสดขายกันเอง หลัก ๆ คือที่ตลาดมโนรมณ์ จ.ชัยนาท นอกจากได้ราคาดีแล้ว ยังขายดีขึ้น จากวันละ 20 กิโลกรัม เป็น  300-400 กิโลกรัมในทุกเช้า และจุดขายสำคัญก็คือ “ปลาแรด GI”

ชาวเมืองอุทัยธานี และนักท่องเที่ยวที่มาเยือนอุทัยธานี ต่างมองหาร้านอาหารบรรยากาศดี ๆ เพื่อจะสัมผัสกับบรรยากาศแห่งสายน้ำ ในตัวเมืองอุทัย บนเกาะเทโพ เกาะน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีร้านอาหารริมน้ำเรียงรายให้เลือกอิ่มอร่อยในบรรยากาศเป็นกันเอง รับรองความสดของปลาแม่น้ำ โดยเฉพาะปลาแรด GI ที่เลี้ยงในกระชังในแม่น้ำสะแกกรัง “ร้านป้าสำราญ” เป็นอีกร้านดังที่หลายคนไว้วางใจเมื่อมองหาร้านอาหารในตัวเมืองอุทัยธานี ร้านนี้มีเมนูปลาให้เลือกเยอะมาก ๆ รวมทั้งอาหารพื้นบ้านอีกหลายชนิด แถมยังเป็นร้านที่บริการดี รวดเร็วทันใจ อาหารออกไว แม้คนจะเยอะแค่ไหน ป้าก็เดินเสิร์ฟไป ทักทายไป ถามไถ่แบบไม่ให้ต้องรออย่างไร้จุดหมาย เมนูไฮไลต์วันนี้ เป็น “ปลาแรดสมุนไพร” ที่ใช้เนื้อปลาแรดทอด มาปรุงรสกับน้ำยำสมุนไพร ทั้งพริก ขิง หอม มะนาว รสชาติจี๊ดจ๊าดกำลังดี หรือจะเป็น “ปลาแรดทอดกระเทียม” เมนูอร่อยของทั้งครอบครัว กินคู่กับน้ำจิ้มซีฟู้ดสุดแซ่บ ส่วนเมนูอื่น ๆ ก็อร่อยไม่แพ้กัน จากการสอบถาม

คำว่า “อุทัยธานี” เดิมสะกดว่า “อุไทยธานี” เป็นจังหวัดที่ยังคงวิถีเรียบง่าย สงบนิ่ง เสน่ห์แห่งวันวานของอุทัยธานี นอกเหนือจากวิถีชีวิตที่สะท้อนจากผู้คนแล้ว สถาปัตยกรรมอันเก่าแก่ในตัวเมืองอุทัย ยังปรากฏความงดงามข้ามกาลเวลาอยู่หลายจุด เช่นเดียวกับที่นี่  “อุไทย เฮอริเทจ” (Uthai Heritage Hotel) ป้ายหน้าทางเข้าระบุชื่อ “โรงเรียนอุทัยวิทยาลัย” ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนแห่งแรกในตัวเมืองอุทัยธานี ที่มีอายุกว่า 70 ปี เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เจ้าของเดิมได้ยกเลิกกิจการโรงเรียนและขายให้กับ “นายห้างควร พรพิบูลย์” ซึ่งท่านได้ซื้อและเก็บรักษาไว้ ตกทอดมาถึงรุ่น  “ทพ.กฤตพล พรพิบูลย์” ที่อยากสานต่ออดีตอันน่าจดจำนี้ไว้ ด้วยการสร้างสรรค์ที่พักในสไตล์บูติกโฮเทล ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างเดิมให้สวยงามอย่างมีสไตล์ เหมาะกับการพักผ่อนแบบสโลว์ไลฟ์ ในกลิ่นอายวินเทจ [gallery columns="2" size="full" ids="28973,28974,28981,28980"] “โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่ดำเนินกิจการมาก่อน หลังจากเลิกกิจการไปก็ทิ้งตึกร้างไว้ 1 อาคาร

ยามเช้าที่สดใสใน อ.ทับทัน จ.อุทัยธานี เราตื่นมารับอรุณบนเส้นทางแห่งความเขียวชอุ่ม จากทุ่งนาและสวนเกษตร ใกล้กับเขตผืนป่าใหญ่ [caption id="attachment_28941" align="aligncenter" width="800"] ราชันย์ ชาติสุทธิ[/caption] “ราชันย์ ชาติสุทธิ”  โรงแรมสวนเกษตรอินทรีรีสอร์ต ทับทัน เล่าด้วยรอยยิ้มว่า “สวนเกษตรอินทรีย์ รีสอร์ท” มีพื้นที่ทั้งหมด 26 ไร่  เป็นโรงแรมสไตล์ลอฟท์เข้ากับธรรมชาติ 22 ห้อง รวมทั้งมีสระว่ายน้ำแบบสระเกลือ ผู้ที่เข้าพักจะได้อยู่กับธรรมชาติ รายล้อมด้วยทุ่งนา ป่ามะพร้าว และ ผลไม้ต่าง ๆ  รวมทั้งปศุสัตว์มีไข่ไก่ไว้บริการ ที่นี่จะมีการทำนา และมีเครื่องสีข้าว ตอนเช้ามีข้าวต้มได้จากนาข้าวซึ่งมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์  ตอนค่ำประมาณหนึ่งทุ่ม ก็จะพบกับน้องหิ่งห้อยแสนสวยโชว์ตัวทุก ๆ วัน [gallery columns="2"

ป้าเนาว์-เนาวรัตน์ สมัครเขตรการ เป็นอีกคนหนึ่งที่หลงรักแคคตัสและบอนสี เธอใช้เวลาสะสมจริงจังมาประมาณ 5 ปี จนวันนี้ที่ “บ้านไร่วรัญญ์รัช” มีโรงเรือนแคคตัสขนาดใหญ่ 2 หลัง รวมกว่า 100 ชนิด เป็นอาณาจักรแห่งความสุขของป้าเนาว์ ที่พร้อมแบ่งปันให้ทุกคนมาเรียนรู้ ป้าเนาว์ เล่าว่า แรงบันดาลใจที่มาทำรีสอร์ตแห่งนี้ คือ การนำความชอบเรื่องแคคตัสและบอนสี มาสอนชาวนาให้หันมาปลูกเป็นอาชีพเสริม และเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ผู้สนใจเข้ามาศึกษาได้ ท่ามกลางไร่นาสวนผสม เลี้ยงปลา ปลูกผักปลอดสารเคมี มีทั้งที่พัก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และสวนไม้ประดับให้เข้าชม เป็นจุดท่องเที่ยวใน อ.ทับทัน ที่เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ [gallery columns="2" size="full" ids="28924,28925,28926,28927"] [gallery columns="2" size="full" ids="28930,28929"] “ใครที่สนใจทั้งส่วนตัวหรือหมู่คณะก็เข้ามาได้ เราจะสอนวิธีปลูก วิธีแยกพันธุ์

เมื่อเข้าสู่ อ.ลานสัก สิ่งแรกที่เราจะเห็นคือแนวต้นสักที่เรียงรายตลอดสองข้างทาง บ่งบอกถึงความเป็นลานสักได้อย่างชัดเจน ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่าและภูเขา พร้อมบรรยากาศอันเขียวขจี  อำเภอลานสักจึงมีแหล่งท่องเที่ยวอันมีเอกลักษณ์ บ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดอากาศอันแสนบริสุทธิ์ รอให้ทุกคนเข้ามากางแขนสูดลมหายใจรับพลังแห่งธรรมชาติ [caption id="attachment_28902" align="aligncenter" width="800"] ภูเขาหินขนาดใหญ่ ซ่อนความงดงามของ "หุบป่าตาด" ไว้ด้านใน[/caption] “หุบป่าตาด” เป็นแหล่งอันซีนในเมืองไทย ที่ถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ.2522 โดย พระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง ก่อนหน้านี้ยังต้องปีนป่ายหน้าผาเข้าไปในหุบ แต่ได้รับการพัฒนาทำทางเดินเข้าที่สะดวกมากยิ่งขึ้น จากสภาพป่าที่เต็มไปด้วยต้นตาด ไม้ดึกดำบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม ด้วยลักษณะของป่าที่ซ่อนอยู่ในหุบเขาอันลึกลับ จึงเรียกที่นี่ว่า “หุบป่าตาด” ก่อนที่จะเดินเข้าสู่หุบป่าตาด เราจะมองเห็นภูเขาลูกใหญ่ตั้งตระหง่านเรียงราย เป็นโลกอีกใบที่น่าอัศจรรย์ และตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่าเมื่อได้เดินฝ่าความมืดลอดถ้ำเข้าไป เป็นระยะทางสั้น ๆ ที่น่าประหลาดใจ เพราะหลุดจากถ้ำมาก็จะเจอกับป้าขนาดใหญ่ซ่อนไว้ในหุบ ที่ซ่อนตัวลึกลงไปอีก  จากนั้นก็ลัดเลาะแนวป่าไปถึงโถงถ้ำขนาดใหญ่ ที่มีหินงอกหินย้อย และหินปูนขนาดมหึมา รายล้อมด้วยต้นไม้ใบยักษ์

ความรักความผูกพันที่  “จอมขวัญใจ มานารส” มีให้กับลูกชายทั้งสองคน เป็นสิ่งที่ “บลูเรย์” และ “พิกเซล” ต่างซาบซึ้งอยู่แก่ใจ คำว่า “ลูกรัก” ที่พ่อมักจะเรียกหาอยู่ทุกเวลา ทำให้เด็ก ๆ จำมันได้อย่างขึ้นใจ เมื่อเข้ามาปักหลักใน ต.คอกควาย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี สิ่งที่พ่อถามลูก ๆ ว่า จะใช้ชื่อไร่ซึ่งเป็นบ้านพักของครอบครัวว่าอย่างไร เจ้าตัวเล็ก “พิกเซล” ก็ตอบอย่างฉับไวว่า “ไร่ลูกรักของพ่อ” ไร่ลูกรักของพ่อ ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันแสนอบอุ่น มีภูเขารายล้อม มีลำธารไหลผ่าน มีทุ่งกว้างให้พักสายตา เด็ก ๆ จะได้ใช้เวลาไปกับโลกกลางแจ้ง ท่ามกลางไอดิน กลิ่นหญ้า ได้อยู่กับธรรมชาติ ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง อย่างที่ “จอม” ตั้งใจไว้ “ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะทำเป็นที่พักให้คนมาพัก

ฝายกั้นน้ำปางสวรรค์ เคยเป็นฝายกั้นน้ำธรรมดา ที่ผู้คนเดินทางข้ามผ่านไปมาจนชินตา แต่แล้วเหล่าสายตาของผู้มองหาความแตกต่างก็ได้สร้างจุดเช็คอินที่ขึ้นชื่ออีกมุมหนึ่งของอุทัยธานีขึ้นมา ฝายปูนกั้นน้ำแห่งนี้ ก่อสร้างขึ้นเพื่อชะลอการไหลของน้ำ เพื่อให้ชาวบ้านมีน้ำใช้ในการเกษตร ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งอันเขียวขจี มีฉากหลังเป็นภูเขาอยู่ไกล ๆ ในช่วงหน้าฝนที่มีปริมาณน้ำมากจนเอ่อล้น เกิดเป็นม่านน้ำตกเล็ก ๆ ไหลลงมาจากทั้งสองฝั่งของฝายกั้นน้ำ สามารถลงไปเพื่อเล่นน้ำหรือถ่ายรูปได้ บริเวณฝายมีตลาดนัดชุมชนเล็ก ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้อุดหนุนสินค้าจากชาวบ้าน นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเก๋ของอุทัย ที่ใครก็อยากไปสัมผัส อุทัยธานี ยังมีของดีอีกมาก กับหลากมุมมองสดใส ท่ามกลางความเขียวขจีทั้งด้านพื้นที่และในใจผู้คน ติดตามชมเรื่องราวในเส้นทาง "อยู่ดี Green ดี เที่ยวอุทัยธานี" ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=oz3p4FCJzbQ

ได้ฟังเรื่องราวแล้วน่าใจหาย แต่สิ่งที่หลงเหลือไว้ยังคงน่ายินดียิ่ง ใครที่เดินทางมา อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี คงเคยได้ยินชื่อเสียงของ “ต้นไม้ยักษ์” หรือต้นผึ้งขนาดใหญ่ คุณทวดแห่งผืนป่าท่ามกลางป่าหมากอันกว้างใหญ่ อายุราว 300-400 ปี ขนาด 40 คนโอบ เป็นมรดกของผืนป่า ที่ยังคงยืนต้นตระหง่าน รอให้ทุกคนมาสัมผัส  รับพลังแห่งธรรมชาติ เดิมทีต้นไม้ยักษ์ต้นนี้ เคยถูกทาบทามซื้อขายจากพ่อค้า เพื่อจะนำไปผลิตเป็นก้านไม้ขีดและไม้ไอศกรีม เข้าใจว่าสมัยก่อน เมืองไทย โดยเฉพาะอุทัยธานี มีผืนป่าขนาดใหญ่ มีต้นไม้อยู่มากมาย ในตอนนั้นการตัดต้นไม้ คงไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร โชคดีที่ต้นไม้ยักษ์ต้นนี้ยังคงรอดปลอดภัยมาถึงปัจจุบัน โดยได้รับการดูแลจาก “นายเฮียง ชาวป่า” ผู้อนุรักษ์ต้นไม้ยักษ์ต้นนี้เอาไว้ ภายใต้บรรยากาศที่เป็นระเบียบเรียบร้อยสะอาดตา สามารถเดินเท้าหรือปั่นจักรยานเข้าไปชมต้นไม้ยักษ์ได้ พร้อมอุดหนุนสินค้าจากชุมชนที่ตลาดต้นไม้ยักษ์บริเวณหน้าทางเข้า ต้นไม้ยักษ์ ยืนต้นอยู่ท่ามกลางป่าหมากขนาดกว้างใหญ่ เมื่อเข้ามาแล้วจะรู้สึกได้ถึงพลังและคุณค่า เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่สอดแทรกจิตสำนึกการอนุรักษ์ป่าไม้ เป็นอีกมุมใน อ.บ้านไร่

ที่หมู่บ้านสะนำ อันเป็นถิ่นอาศัยชาวลาวครั่ง ที่อพบพมาจากทางฝั่งลาวในอดีต ท่ามกลางชีวิตความเป็นอยู่ที่ยังคงวิถีดั้งเดิม ผสมผสานกลิ่นอายแบบไทย-ลาว ด้วยสำเนียงภาษาอีสานแบบเนิบช้าได้อย่างน่ารัก เสน่ห์ความอยู่ดีกินดีแบบฉบับสำนำสไตล์ คือ การกินอยู่กับธรรมชาติ มีเมนูเรียบง่ายคู่ครัวอย่างน้ำพริก หรือ “แจ่ว” เป็นภูมิปัญญาอาหารที่ทำกินกันมาเนิ่นนาน และมีการพลิกแพลงสูตรจากวัตถุดิบที่หลากหลายใกล้ตัว จนได้ชื่อว่า “แจ่ว100สำรับ” ซึ่งใครจะแวะมาชิม มาลิ้มรสความแซ่บแบบฉบับลาวครั่งก็ยินดี [caption id="attachment_28854" align="aligncenter" width="800"] จำรัส ทาบ้านฆ้อง[/caption] “จำรัส ทาบ้านฆ้อง”  ชาวบ้านชุมชนลาวครั่งบ้านสะนำ เล่าว่า แจ่วแต่ละสูตรจะมีพื้นฐานวัตถุดิบที่ใกล้เคียงกัน คือ หอม กระเทียม พริกขี้หนูสด ที่มักจะนำมาคั่วเพื่อให้ความร้อนเร่งกลิ่นหอม ก่อนจะนำไปโขลกรวมกันเป็นแจ่ว ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือน้ำปลาร้า อาทิ “แจ่วมะเขือด้าน” ที่จะใช้มะเขือเจ้าพระยาลูกใหญ่ ๆ มาย่างบนเตาถ่านแล้วนำไปโขลก ก่อนจะนำไปผสมกับเครื่องปรุงที่เตรียมไว้

เมื่อสายฝนโปรยมา ก็ถึงเวลาที่ผักจากป่าจะผลิยอด ชาวบ้านในละแวกก็ออกเดินเท้าเข้าป่าไปเก็บหามาปรุงอาหาร และผักหน้าฝนที่หลายคนรอคอยก็คือ “ผักกูด” เดิมทีผักกูดใน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี เป็นผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  พบได้ตามป่าเขตป่าทั่วไปที่มีความชื้นสูง ปัจจุบันชาวบ้านห้วยป่าปก บ้านไร่ ได้นำมาปลูกและจำหน่าย ร้านอาหารต่าง ๆ ก็นำไปประกอบอาหารเป็นผักกูดผัดน้ำมันหอย หรือ ยำผักกูด บ้างก็นำไปกินกันน้ำพริก เป็นผักยอดเขียวที่มีความกรอบ มัน มีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่แน่ ๆ คือ เป็นผักที่ปลอดสารเคมี เพราะผักกูดเป็นผักที่ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงมารบกวน เกษตรกรจึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีใด ๆ ในการดูแล จากผักกูดพื้นบ้าน สู่เมนูพื้นถิ่น ในวันนี้ ที่ อ.บ้านไร่ มีการผสมผสานเมนูท้องถิ่นประยุกต์ เป็น “พิซซ่าหน้าผักกูด” เรียกได้ว่าสร้างจุดขาย ขยายความนิยมในการตัวผักกูดไปสู่คนรุ่นใหม่และชาวต่างชาติได้มากขึ้น [caption id="attachment_28842" align="aligncenter" width="799"]

“ตลาดซาวไฮ่” แหล่งรวมคนมีใจแบบฉบับบ้านไร่อุทัยธานี เป็นตลาดที่ชาวบ้านทุกคนมีส่วนร่วม ตั้งใจนำเสนอวิถีชีวิตแบบเกษตรพื้นบ้าน อาหารท้องถิ่น พืชผักปลอดสารพิษ แหล่งรวมของกินของใช้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อเข้าสู่ตัวตลาด จะได้ยินเสียงดนตรีที่ไพเราะก้องกังวาน ผลงานจากศิลปิน "ซุมข้าวแลง" ที่ช่วยเพิ่มบรรยากาศแห่งความผ่อนคลายภายใต้ร่มไม้ครึ้ม ชาวบ้านส่วนใหญ่พร้อมใจกันใช้ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ พร้อมนำเสนอผัก ผลไม้ ผลิตผลจากชุมชน วางขายกันแบบเล็ก ๆ น้อย สบาย ๆ ตามผลผลิตที่มีในสวนในไร่ รวมทั้งเมนูจากวัตถุดิบปลอดสารพิษ จากผลผลิตจากในชุมชน อาทิ ทอดมันหัวปลี ที่ใช้กาบของหัวปลีมาเป็นภาชนะ ดูแล้วน่ารัก น่าซื้อหา แถมรสชาติยังโดนใจ เมนูก๋วยเตี๋ยวผักกูด ที่นำวัตถุดิบท้องถิ่นอย่างผักกูดมาผสมผสานเป็นเมนูอร่อย หรือจะเป็นข้าวยำสมุนไพร ที่ครบเครื่องด้วยสมุนไพรปลอดสารพิษนานาชนิด เป็นต้น [gallery columns="2" size="full" ids="28829,28828"] ด้านของใช้ก็มีผ้าย้อมสีธรรมชาติ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง พร้อมทั้งผ้าทอบ้านไร่อันสวยงาม ตลาดมีขนาดใหญ่กำลังดี มีโต๊ะเก้าอี้ให้นั่งพักท่ามกลางความร่มรื่น

ท้องทะเลกว้างไกลสุดสายตา พาให้เรารู้สึกโปร่ง โล่ง สบาย  ได้ย่ำเท้าบนชายหาดสีขาวนวล ท่ามกลางบรรยากาศที่ชวนให้ผ่อนคลาย ใครหลายคนจึงตกหลุมรักทะเลแบบหัวปักหัวปำ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ ก็คิดถึงทะเลอยู่เสมอ อย่างที่จังหวัดชุมพร ประตูสู่ภาคใต้ เมืองที่หลายคนอาจมองผ่าน แต่เต็มไปด้วยความชื่นบาน จนอยากจะหยุดเวลาไว้นาน ๆ โครงการ “Refresh life

ไม่ง่ายนักหากจะหาที่พักติดทะเลและแม่น้ำในที่เดียวกัน จึงต้องใช้คำว่า “Amazing “ ได้เลยสำหรับทำเลของ  “โรงแรมฟอร์จูน แสงจันทร์บีช ระยอง” (Fortune Saengchan Beach Hotel)  ริมชายหาดแสงจันทร์ โดยตัวโรงแรมตั้งอยู่บริเวณชายหาด กึ่งกลางระหว่าง ทะเล และ แม่น้ำ ที่ขนานกันไปเป็นทางยาว หาดแสงจันทร์เป็นชายหาดอันเงียบสงบ แค่เพียงข้ามถนนก็ได้เล่นน้ำได้เหมือนหาดส่วนตัว แต่ก็สะดวกสบาย เพราะไม่ไกลจากตัวเมือง ในละแวกยังมีร้านค้า ร้านอาหารมากมาย เพราะหาดแสงจันทร์ จะอยู่ระหว่างหาดแหลมเจริญ และ หาดสุชาดา ซึ่งมีมุมชิลเยอะมาก แต่ชิลแค่ไหน ก็ยังผสมผสานกลมกลืนกับความเป็นพื้นบ้านของชุมชนชาวประมงชายฝั่งได้อย่างงดงาม ใครชอบถ่ายรูปแนววิถีชีวิตมีมุมให้เลือกแชะกันทั้งวัน “ฟอร์จูน แสงจันทร์บีช ระยอง” ที่พักติดชายหาดในตัวเมืองระยอง เป็นโรงแรมสไตล์โมเดิร์นสูง 7 ชั้น ตั้งอยู่ริมหาดแสงจันทร์ มีห้องพักแบบต่าง

สีเขียวเป็นสีที่มองเห็นแล้วสบายตา วันที่ผ่านการทำงานอย่างเหนื่อยล้าอยู่กับหน้าจอ เราจึงอยากพักสายตาเพื่อมองหาความเขียวขจีของต้นไม้ใบหญ้า ไม่ว่าจะอยู่ในกระถางเล็ก ๆ บนโต๊ะทำงาน หรือจะมองออกนอกหน้าต่าง แต่จะดีแค่ไหน หากได้เดินทางออกไปในที่โล่งกว้าง ผ่านถนนหนทางที่เต็มไปด้วยความเขียวขจี ได้ซึมซับรับพลังบวกท่ามกลางขุนเขา ให้เหล่าต้นไม้ใบหญ้าได้ส่งพลังธรรมชาติเพื่อฟื้นฟูกาย-ใจ ให้สดใสยิ่งกว่าเดิม โครงการ “Refresh life

CEA เร่งเครื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ชูกลยุทธ์ Soft Power ส่ง DNA ชาติไทย เฉิดฉายในตลาดโลก มุ่งสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ เดินหน้าพัฒนาพื้นที่และบุคลากร เพิ่มขีดความสามารถ เฟ้นหาตลาดเป้าหมาย สานพลังเชื่อมต่อโมเดล BCG ของรัฐบาล เผยอุตสาหกรรมคอนเทนต์ขึ้นแท่นดาวเด่น ด้านธุรกิจเกม-อีสปอร์ตยังสดใส พร้อมผนึกกำลังทุกภาคส่วนร่วมผลักดัน Soft Power ไทยหนุนแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืน ดร.ชาคริต  พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เปิดเผยว่า CEA ถือเป็นองค์กรหลักที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ทั้ง 15 สาขา โดยปัจจุบัน CEA ได้เร่งเดินหน้าการผลักดันยุทธศาสตร์ “Soft Power” หลังรัฐบาลประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศด้วย

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จับมือบริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้นำกลุ่มบริษัทพลังงานครบวงจรระดับภูมิภาค และบริษัท เทสท์อิงค์ เอเชีย จำกัด เดินหน้าในการผลักดัน Soft Power อาหารไทยในมิติแห่งความเป็นยา  จัดงาน “Thai Taste Therapy Challenge by Worldgas ครั้งที่ 2” พร้อมพัฒนาศักยภาพ และทักษะของบุคลากรควบคู่การเชิดชูมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สานต่อความสำเร็จจากการแข่งขันในปีแรก  ชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า “กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริม การพัฒนาและเผยแพร่ภูมิปัญญาวัฒนธรรมผ่านแรงขับเคลื่อน Soft Power เพื่อชูความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก ซึ่งอาหารไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศ ที่ประกอบด้วยรูป รส

เราคุ้นเคยกับคำว่า “ผีเสื้อและดอกไม้” มักจะเป็นของที่อยู่คู่กันจนแทบจะแยกกันไม่ได้ เพราะต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ด้านผีเสื้อนั้นไม้รู้ว่ามาดมดอมความหอมด้วยหรือไม่ แต่น้ำหวานของดอกไม้เป็นอาหารของพวกมัน แต่นอกจากน้ำหวานจากดอกไม้แล้วเหล่าผีเสื้อก็ต้องการแร่ธาตุอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ตามพื้นดินหรือแอ่งน้ำ ซึ่งมีทั้งซากพืชซากสัตว์ หรือมูลและปัสสาวะของสัตว์ต่าง ๆ จึงเป็นแหล่งอาหารชั้นเลิศของบรรดาผีเสื้อ โดยเฉพาะผีเสื้อตัวผู้ ที่ต้องการธาตุอาหารเหล่านั้นไปสร้างเสปิร์มและกลิ่นหอมเพื่อดึงดูดผีเสื้อตัวเมีย เมื่อมีผีเสื้อมารวมตัวกันมาก ๆ จึงเรียกว่า “โป่งผีเสื้อ” [caption id="attachment_28620" align="aligncenter" width="799"] ผีเสื้อสะพายฟ้า[/caption] พื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์ของอุทยานแห่งชาติปางสีดา ถือว่าเป็นแหล่งดูผีเสื้อแห่งผืนป่าตะวันออกของประเทศไทย  ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็น “ดินแดนผีเสื้อผืนป่าตะวันออกของประเทศไทย” ภายใต้ชื่อ “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่” บริเวณอุทยานและพื้นป่าใกล้เคียง ที่มีผีเสื้อมากกว่า 500 สายพันธุ์ [caption id="attachment_28617" align="aligncenter" width="799"] ผีเสื้อหางติ่งสะพายขาว[/caption] ฟังอย่างนี้แล้วก็นึกถึงภาพเหล่าผีเสื้อที่โบยบินอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ เหมือนมีงานมหกรรมอะไรสักอย่าง แต่ใช่ว่าทุกครั้งหรือทุกช่วงเวลาจะได้เห็นภาพประทับใจเหล่านั้น [caption id="attachment_28616" align="aligncenter" width="800"]

เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า ความงดงามด้านศิลปะวัฒนธรรม บวกกับความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ จากสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นที่ราบถึงที่ราบสูง รายล้อมด้วยภูเขาสลับซับซ้อน ส่งผลให้ดินแดนทางภาคตะวันออกที่มีอาณาเขตติดชายแดนไทย-กัมพูชา อย่างจังหวัดสระแก้ว มีความหลากหลายทางด้านการท่องเที่ยว เหมาะแก่การศึกษาเที่ยวชมตลอดทั้งปี การค้าชายแดนถือเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดสระแก้ว เช่นเดียวกับภาคการเกษตร ขณะที่ด้านการท่องเที่ยวนับว่ามีศักยภาพมาก จากความงดงามในมิติที่หลากหลาย เป็นอีกแนวทางในการผลักดันเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสามารถกระจายรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุด สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) ร่วมกับ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสระแก้ว และ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว นำคณะสื่อมวลชนสำรวจแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว นายกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) เปิดเผยว่า การเดินทางในครั้งนี้ สธทท. ได้นำคณะสื่อมวลชนสำรวจแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว ตามคำเชิญของ นายสานนท์ เพ็ญแสง ผอ.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสระแก้ว นางราตรี แสงรุ่งเรือง ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว และ นางสาวรุ่งนภา