Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

เมื่อปีใหม่เวียนมาถึง เสียงเพลง “สุนทราภรณ์” จะหวนกลับมาอีกครา

คอลัมน์: เซาะร่องเสียง
โดย นกป่า อุษาคเณย์

“…เก่าไปใหม่มา ทิวาวิภามาแล้วเลื่อมลาย

เพริศพรพร่างพราย

ฟ้าโปรยผันปรายปีใหม่กรายเยือนขวัญ

เก่าไปใหม่มา เพื่อนเอ๋ยเพื่อนมาชื่นตาหากัน

ร่วมฉลองปีทองปีเงิน ส่งสรรเสริญเจริญพรพลัน

ต่างอภิวันท์แล้วอภินันท์ขวัญดวงจิตระริน

เก่าไปใหม่มา ทิวาวิภามาแล้วเลื่อมลาย

เพริศพรพร่างพราย

ฟ้าโปรยผันปรายปีใหม่กรายเยือนขวัญ

เก่าไปใหม่มา เพื่อนเอ๋ยเพื่อนมาชื่นตาหากัน

ร่วมฉลองปีทองปีเงิน ส่งสรรเสริญเจริญพรพลัน

ต่างอภิวันท์แล้วอภินันท์ขวัญดวงจิตระริน

ไชโย ไชโย

ไชโยให้สรวงยิน ไชโยให้สรวงยิน

รักกันให้โสภิน รักกันให้โสภิน

เล้าโลมดินฟ้าใหม่

ไชโย ไชโย

ไชโยให้สรวงยิน ไชโยให้สรวงยิน

รักกันให้โสภิน รักกันให้โสภิน

เล้าโลมดินฟ้าใหม่

เก่าไปใหม่มา ทิวาวิภามาแล้วเลื่อมลาย

เพริศพรพร่างพราย

ฟ้าโปรยผันปรายปีใหม่กรายเยือนขวัญ

เก่าไปใหม่มา เพื่อนเอ๋ยเพื่อนมาชื่นตาหากัน

ร่วมฉลองปีทองปีเงิน ส่งสรรเสริญเจริญพรพลัน

ต่างอภิวันท์แล้วอภินันท์ขวัญดวงจิตระริน

ไชโย ไชโย

ไชโยให้สรวงยิน ไชโยให้สรวงยิน

รักกันให้โสภิน รักกันให้โสภิน

เล้าโลมดินฟ้าใหม่

ไชโย ไชโย

ไชโยให้สรวงยิน ไชโยให้สรวงยิน

รักกันให้โสภิน รักกันให้โสภิน

เล้าโลมดินฟ้าใหม่

เก่าไปใหม่มา ทิวาวิภามาแล้วเลื่อมลาย

เพริศพรพร่างพราย

ฟ้าโปรยผันปรายปีใหม่กรายเยือนขวัญ

เก่าไปใหม่มา เพื่อนเอ๋ยเพื่อนมาชื่นตาหากัน

ร่วมฉลองปีทองปีเงิน ส่งสรรเสริญเจริญพรพลัน

ต่างอภิวันท์แล้วอภินันท์ขวัญดวงจิตระริน

ไชโย ไชโย

ไชโยให้สรวงยิน ไชโยให้สรวงยิน

รักกันให้โสภิน รักกันให้โสภิน

เล้าโลมดินฟ้าใหม่

ไชโย ไชโย

ไชโยให้สรวงยิน ไชโยให้สรวงยิน

รักกันให้โสภิน รักกันให้โสภิน

เล้าโลมดินฟ้าใหม่…”

https://www.youtube.com/watch?v=QfU2lwmClwk

ขอถือโอกาสนี้ กล่าวคำว่า “สวัสดีปีใหม่” แด่แฟนพันธุ์แท้ MeetThinks ทุกท่านครับ

“…สวัสดีปีใหม่แล้ว ผองไทยจงแคล้วปวงภัย

ช่วยกันรับขวัญปีใหม่ เถลิงฤทัยไว้มั่น

สุขศรีปีใหม่หมาย สุขใจและกายรวมกัน

สำราญสำเริงบันเทิงมั่น สุขสันต์ยิ้มกันไว้ก่อน

สิ่งที่ล่วงแล้วให้แล้วกันไป อย่าได้ผูกใจอาวรณ์

จับมือกันไว้อวยชัยอวยพร สุขสโมสรเริงรมย์

ความพลั้งพลาดล่วงเกิน อย่าหมางเมินระทม

รวมน้ำใจให้เกลียวกลม จงถืออารมณ์อภัย

สวัสดีปีใหม่แล้ว ผองไทยจงแคล้วปวงภัย

ช่วยกันรับขวัญปีใหม่ เถลิงฤทัยไว้มั่น

สุขศรีปีใหม่หมาย สุขใจและกายรวมกัน

สำราญสำเริงบันเทิงมั่น สุขสันต์ยิ้มกันไว้ก่อน

แย้มยิ้มยินดีปรีดิ์เปรม สุขเกษมเปรมใจ

เรามาตั้งต้น ชีวิตกันใหม่ เราผูกใจไว้ไมตรี

ประสานน้ำใจเราไม่ให้ระคาง ตั้งต้น ทุกทางอย่างดี

มารักกันให้คงมั่นทวี ร่วมกันรับปีใหม่เทอญ

สวัสดีปีใหม่แล้ว ผองไทยจงแคล้วปวงภัย

ช่วยกันรับขวัญปีใหม่ เถลิงฤทัยไว้มั่น

สุขศรีปีใหม่หมาย สุขใจและกายรวมกัน

สำราญสำเริงบันเทิงมั่น สุขสันต์ยิ้มกันไว้ก่อน…”

ไม่ว่าโลกของเสียงเพลงจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปมากเพียงไร

ไม่ว่าจะเป็น Single Vinyl 7”, Long-play Vinyl 12”, Reel Tape, DAT Tape, Cassette Tape, Karaoke และ Live Concert Video Tape, Audio CD, Mini Disc, Karaoke และ Live Concert Laser Disc, Karaoke และ Live Concert VCD- DVD และ Blu-ray ไปจนถึง MP3 และ Music Streaming

ทว่า หลายสิบปีแล้ว ที่เสียง “เพลงปีใหม่” ของ “สุนทราภรณ์” ยังคงลอยละล่องตลบอบอวลในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

จากเวทีลีลาศสวนอัมพร บางปู สวนลุมพินี มาจนถึงเสียงตามสายในห้างสรรพสินค้าทั่วทุกมุมเมืองของไทย และ Event ปีใหม่ทุกแห่งหน

แม้จะมีความพยายามสร้าง “เพลงปีใหม่” จากศิลปินและค่ายเพลงรุ่นแล้วรุ่นเล่า ไม่ว่าจะ “เบิร์ด ธงไชย” และ “แกรมมี่” หรือ “คุณพระช่วย” และ “เวิร์คพอยต์”

ทว่า ก็ไม่อาจเปิดวอลุ่มให้ดังกลบเสียง “เพลงปีใหม่” ของ “สุนทราภรณ์” ได้เลย

         “…วันนี้วันดีปีใหม่

ท้องฟ้าแจ่มใสพาใจสุขสันต์

ยิ้มให้กันในวันปีใหม่

โกรธเคืองเรื่องใดจงอภัยให้กัน

หมดสิ้นกันทีปีเก่า

เรื่องทุกข์เรื่องเศร้าอย่าเขลาคิดมัน

ตั้งต้นชีวิตกันใหม่

ให้มันสดใสสุกใหม่ทั่วกัน

เฮ เฮ เฮเฮ้เฮเฮเห่สุกใหม่ทั่วกัน

รื่นเริงเถลิงศกใหม่

ช่า รื่นเริงเถลิงศกใหม่

รวมจิตร่วมใจทำบุญร่วมกัน

ทำบุญกันตามประเพณี

กุศลราศรีบรรเจิดเฉิดฉัน

พี่น้องร่วมชาติเดียวกัน

พี่น้องร่วมชาติเดียวกัน

ขอให้สุขสันต์ทั่วกันเอย

นอยทิงนองนอย

น้อยหน่อยนอยนอยหน่อยทิงนองนอย

วันนี้วันดีปีใหม่

ท้องฟ้าแจ่มใสพาใจสุขสันต์

ยิ้มให้กันในวันปีใหม่

โกรธเคืองเรื่องใดจงอภัยให้กัน

หมดสิ้นกันทีปีเก่า

เรื่องทุกข์เรื่องเศร้าอย่าเขลาคิดมัน

ตั้งต้นชีวิตกันใหม่

ให้มันสดใสสุกใหม่ทั่วกัน

เฮ เฮ เฮเฮ้เฮเฮเห่สุกใหม่ทั่วกัน

รื่นเริงเถลิงศกใหม่

ช่า รื่นเริงเถลิงศกใหม่

รวมจิตร่วมใจทำบุญร่วมกัน

ทำบุญกันตามประเพณี

กุศลราศรีบรรเจิดเฉิดฉัน

พี่น้องร่วมชาติเดียวกัน

พี่น้องร่วมชาติเดียวกัน

ขอให้สุขสันต์ทั่วกันเอย

นอยทิงนองนอย

น้อยหน่อยนอยนอยหน่อยทิงนองนอย

วันนี้วันดีปีใหม่

ท้องฟ้าแจ่มใสพาใจสุขสันต์

ยิ้มให้กันในวันปีใหม่

โกรธเคืองเรื่องใดจงอภัยให้กัน

หมดสิ้นกันทีปีเก่า

เรื่องทุกข์เรื่องเศร้าอย่าเขลาคิดมัน

ตั้งต้นชีวิตกันใหม่

ให้มันสดใสสุกใหม่ทั่วกัน

เฮ เฮ เฮเฮ้เฮเฮเห่สุกใหม่ทั่วกัน

รื่นเริงเถลิงศกใหม่

รื่นเริงเถลิงศกใหม่

รวมจิตร่วมใจทำบุญร่วมกัน

ทำบุญกันตามประเพณี

กุศลราศรีบรรเจิดเฉิดฉัน

พี่น้องร่วมชาติเดียวกัน

พี่น้องร่วมชาติเดียวกัน

ขอให้สุขสันต์ทั่วกันเอย

นอยทิงนองนอย

น้อยหน่อยนอยนอยหน่อยทิงนองนอย…”

ไม่เฉพาะ “เพลงปีใหม่” ที่คนรุ่นหลังเข้าใจตรงกันว่าคือวันที่ 1 มกราคม เท่านั้น หากแต่ “เพลงปีใหม่” ฉบับดั้งเดิมของ “สุนทราภรณ์” หมายถึง “เพลงสงกรานต์”

 เพราะ “วันสงกรานต์” คือ “วันปีใหม่ไทย” นั่นเอง

“…ไชโย ไชโย ไชโย

มาร่วมไชโยต้อนรับปีใหม่

ส่งปีเก่าแล้วเราเริงใจ

ถึงวันปีใหม่เราต้องไชโย (ไชโย)

ไชโย ไชโย ไชโย

มาร่วมไชโยต้อนรับปีใหม่

ส่งปีเก่าแล้วเราเริงใจ

ถึงวันปีใหม่เราต้องไชโย

พ้นไปแล้วปีเก่า

ยิ้มแต่เช้าปีใหม่

หน้าแฉล้มแจ่มใส

ใจมุ่งมั่นไว้ร้างไกลเศร้าตรม

ต่างตักบาตรทำบุญ

เพิ่มความอุ่นกมล

ด้วยบุญกุศลทุกคนจึงเปรมปรีด์

ด้วยบุญกุศลทุกคนจึงเปรมปรีด์

ไชโย ไชโย ไชโย

มาร่วมไชโยต้อนรับปีใหม่

ส่งปีเก่าแล้วเราเริงใจ

ถึงวันปีใหม่เราต้องไชโย

พบวันนี้ปีใหม่

ยิ้มสดใสเต็มที่

ต่างร่วมจิตไมตรี

ปีใหม่เช่นนี้ล้วนมีความชื่นชม

ไม่มีขุ่นเคืองใคร

ต่างก็ใฝ่เริงรมย์

มุ่งความสุขสมนิยมอวยพรกัน

มุ่งความสุขสมนิยมอวยพรกัน

ไชโย ไชโย ไชโย

มาร่วมไชโยต้อนรับปีใหม่

ส่งปีเก่าแล้วเราเริงใจ

ถึงวันปีใหม่เราต้องไชโย

ขออายุยืนยั่ง

สมที่หวังปองมั่น

ให้ผุดผ่องเฉิดฉัน

มีแต่สุขสันต์ทุกวันตลอดไป

ไม่มีโรคมาพาน

ชีพจงผ่านโพยภัย

มุ่งในสิ่งใดสมในฤทัยปอง

มุ่งในสิ่งใดสมในฤทัยปอง

ไชโย ไชโย ไชโย

มาร่วมไชโยต้อนรับปีใหม่

ส่งปีเก่าแล้วเราเริงใจ

ถึงวันปีใหม่เราต้องไชโย

ขออายุยืนยั่ง

สมที่หวังปองมั่น

ให้ผุดผ่องเฉิดฉัน

มีแต่สุขสันต์ทุกวันตลอดไป

ไม่มีโรคมาพาน

ชีพจงผ่านโพยภัย

มุ่งในสิ่งใดสมในฤทัยปอง

มุ่งในสิ่งใดสมในฤทัยปอง

ไชโย ไชโย ไชโย

มาร่วมไชโยต้อนรับปีใหม่

ส่งปีเก่าแล้วเราเริงใจ

ถึงวันปีใหม่เราต้องไชโย (ไชโย)

ไชโย ไชโย ไชโย

มาร่วมไชโยต้อนรับปีใหม่

ส่งปีเก่าแล้วเราเริงใจ

ถึงวันปีใหม่เราต้องไชโย (ไชโย)…”

แม้จะมีการนำ “เพลงสงกรานต์” ไปเปิดในช่วงปีใหม่ด้วยความอนุโลมและด้วยบรรยากาศที่สังคมไทยเปลี่ยนไปเป็นสากลมากขึ้นตามยุคสมัย

ทว่า “เพลงสงกรานต์” ของ “สุนทราภรณ์” ก็ยังคงอยู่และได้รับความนิยมไม่แพ้ “เพลงปีใหม่”

เนื่องจากยังไม่มีศิลปินและค่ายเพลงใดสามารถสร้าง “เพลงปีใหม่” และ “เพลงสงกรานต์” ในรอบหลายสิบปี ได้เทียบเท่า “สุนทราภรณ์”

และไม่เฉพาะ “เพลงปีใหม่” และ “เพลงสงกรานต์” เท่านั้น ยังมี “เทศกาลลอยกระทง” ที่คณะ “สุนทราภรณ์” ก็มีชุด “เพลงลอยกระทง” ซึ่งขึ้นชั้น Classic อีกด้วย

เรียกได้ว่า Classic “สุนทราภรณ์” นั้นถือเป็น “บิดาแห่งเพลงเทศกาล”

โดยเฉพาะ 3 เทศกาลงานรื่นเริงแบบไทยไทย นั่นคือ “ปีใหม่” “สงกรานต์” และ “ลอยกระทง”

ชนิดที่เรียกว่า ในรอบเกือบ 100 ปี ยังมิอาจมีศิลปินและค่ายเพลงใดสามารถ “ลบรอยเท้า” ของ “สุนทราภรณ์” ไปได้เลย

โดยเฉพาะในวันที่ 21 มกราคม ของทุกปี ก็จะเป็นวาระครบรอบวันคล้ายวันเกิด “เอื้อ สุนทรสนาน” หรือ “ครูเอื้อ” หัวหน้าวง “สุนทราภรณ์”

“ครูเอื้อ” ถือเป็นเด็กอัจฉริยะ วัยเพียง 12 ก็ฉายแววศิลปิน โดยเฉพาะพระเจนดุริยางค์ ที่เล็งเห็นว่า “ครูเอื้อ” เป็นผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี จึงให้หัดไวโอลินและแซ็กโซโฟน

โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ “ครูเอื้อ” เรียนดนตรีเต็มวันแทนวิชาสามัญ

ถือเป็นรากฐานสำคัญที่ส่งเสริมอัจฉริยภาพในตัว “ครูเอื้อ” ในเวลาต่อมา

“เอื้อ สุนทรสนาน” หรือ “ครูเอื้อ” หัวหน้าวง “สุนทราภรณ์” ถือเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกวงการเพลงไทยสากลโดยแท้

จากสถานะเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มก่อตั้ง “สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์” นั่นเอง

“ครูเอื้อ” มีผลงานเพลงมากมายนับไม่ถ้วน เป็นสิ่งคุ้นเคยของนักฟังเพลงชาวไทยมาหลายสิบปีแล้ว

นอกจาก “เพลงเทศกาล” อย่าง “ปีใหม่” “สงกรานต์” และ “ลอยกระทง” แล้ว “ครูเอื้อ” ยังประพันธ์ “เพลงประจำสถาบันการศึกษา” “เพลงประจำจังหวัด” โดยเฉพาะ “เพลงรัก” และ “เพลงรื่นเริง” ของ “สุนทราภรณ์”

ซึ่งผลงานของท่านนั้นมีมากกว่า 2,000 เพลง นำไปสู่การยกสถานะ “สุนทราภรณ์” เป็นเพลง Classic ของไทย

โดยเฉพาะก็คือฉายา “บิดาแห่งเพลงเทศกาล” ในวาระ 110 ปี “เอื้อ สุนทรสนาน” นั่นเองครับ

Post a comment

twenty − one =