Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

meetYOU

บรรดามหาเศรษฐีของเมืองไทย เลือกเขาใหญ่เป็นสถานที่ลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ทั้งเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ และการปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัยส่วนตัว เพราะที่นี่คือดินแดนแห่งมรดกโลก ที่มีสภาพอากาศที่ดีมาก ใครมาเยือนเขาใหญ่ก็สัมผัสได้ถึงอากาศที่เย็นสบาย สูดลมหายใจได้อย่างสดชื่น ที่อยู่ ที่กิน ที่เที่ยวบนเขาใหญ่ ก็มีความสวยงาม ครบเครื่องครบครัน เป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างบรรยากาศแห่งขุนเขากับความสะดวกสบาย [caption id="attachment_28361" align="aligncenter" width="800"] นพลักษณ์ ทัศน์ธนาวัฒน์[/caption] ประมาณ 20 ปีที่แล้ว “นพลักษณ์ ทัศน์ธนาวัฒน์” หรือ คุณนิ่ม สาวเหนือชาวลำปาง อดีตเคยอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย ก่อนจะย้ายมาปักหลักที่กรุงเทพ และทำงานอยู่ในธุรกิจแบงก์ จนลาออกมาช่วยธุรกิจสิ่งพิมพ์และโฆษณาของครอบครัว จนวันหนึ่ง เธอต้องการมองหาบ้านหลังเล็ก ๆ สำหรับการอยู่อาศัยอย่างมีคุณภาพ ในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ เธอจึงเลือกเขาใหญ่เป็นเป้าหมาย เมื่อเริ่มลงหลักปักฐาน จึงมองหาธุรกิจเล็ก ๆ บนเขาใหญ่ เป็นที่มาของ ร้านอาหาร

“ผมมีแนวความคิดว่าจะผลักดันทุเรียนปากช่องให้โด่งดังเหมือนทางนนทบุรี  ที่ครั้งหนึ่งเคยประมูลกันลูกละ 8 แสนบาท” พี่มาโนช "มาโนช รูปสมดี" เจ้าของสวนอัมพร  เล่าให้ meetThinks ฟัง นับเป็นความท้าทายก้าวต่อไป หลังจากใช้เวลา 2 ปีในการขอรับรองตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI กับเส้นทางที่ยังต้องต่อสู้กับปัญหาอีกมากมาย เพราะทุเรียนเป็นพืชที่ดูแลยาก ว่ากันว่าต้องเอาใจกันเหมือนเด็กแบเบาะ เป็นผลไม้ที่ปลูกแล้วก็ต้องปลูกซ่อมกันแทบทุกปี ไม่มีคำว่ากินยาว เหมือนไม้ผลอื่น ๆ แถมราคายังนับว่าเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับการควบคุมต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น [caption id="attachment_28284" align="aligncenter" width="799"] มาโนช รูปสมดี[/caption] 40 ปี ทุเรียนปากช่อง สู่การขึ้นทะเบียน GI ในฐานะประธานวิสาหกิจชุมชนทุเรียนและพืชสวน อ.ปากช่อง พี่มาโนชได้ทุ่มเทในการปลุกปั้นฟันฝ่า โดยอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุเรียนและพืชสวน อำเภอปากช่อง และวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคลองม่วง ปากช่อง พร้อมด้วยอาจารย์

คงเคยได้ยินว่าคนเรามีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ และธรรมชาติก็มีกลิ่นหอมในตัวของมันเองด้วย หากไม่รวมพวกดอกไม้ใบหญ้าหรือพืชสมุนไพรเขียว ๆ แล้วละก็ ยังมีอีกกลิ่นที่หลายคนหลงใหล แต่ไม่รู้ว่าใครจะนำกลิ่นเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างไร นอกจากจะปล่อยให้มันหอมอยู่ในจังหวะและโอกาสของมันเอง ฝนแรกในบางเวลา หรือจะเป็นสายฝนที่โชยมาหลังแดดจ้า จะสะท้อนกลิ่นไอบาง ๆ จากผืนดิน ซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลบางอย่าง เคยอ่านเจอว่าหลายคนที่ได้กลิ่นไอดินหลังฝน จะรู้สึกแช่มชื่น บ้างก็มีความอยากอาหาร ขณะที่ไม่รู้ว่า จะมีใครนำกลิ่นไอดินไปใช้ได้อย่างไร ก็เลื่อนไปเจอข้อมูลจาก BBC Thai ระบุว่า “จีโอมิน” (geosmin) คือโมเลกุลของแบคทีเรียในดิน ที่จะลอยขึ้นไปบนอากาศเมื่อมีหยดน้ำโปรยมา  นักวิทยาศาสตร์ยังระบุว่า มนุษย์จะรับรู้กลิ่นนี้ได้ดีมากยิ่งกว่าสัตว์ด้วยซ้ำ และในเชิงพาณิชย์ “กลิ่นหอมแห่งพสุธา” เป็นกลิ่นหอมที่สกัดจากไอดิน เกิดขึ้นมาแล้วที่อินเดียเมื่อปี 1960 และได้กลายเป็นสูตรหนึ่งของน้ำหอม เรื่องราวนี้สามารถอ่านได้ในเว็บไซต์ของ BBC [caption id="attachment_27828" align="aligncenter" width="800"] มุมมองจากทางทางเข้าด้านหน้า[/caption] [caption id="attachment_27824" align="aligncenter"

งานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่น The Marché by STYLE Bangkok 2022 เมื่อ 18-22 พ.ค. ที่ผ่านมา ณ เซ็นทรัลเวิลด์ ปิดฉากอย่างสวยงาม ท่ามกลางรอยยิ้มผู้ประกอบการ SMEs จากทั่วประเทศ ที่ได้มีโอกาสโชว์ศักยภาพ เจรจาการค้ากับผู้ซื้อทั้งไทยและจากต่างประเทศ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย หลังเผชิญวิกฤติโควิด-19 มากว่า 2 ปี ในขณะเดียวกันผู้ซื้อต่างพึงพอใจในสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นรักษ์โลกหรือ BCG ที่นำมาจัดแสดงสอดรับเมกะเทรนด์โลก The Marché by STYLE Bangkok 2022 จัดคู่ขนานระหว่างงานแสดงสินค้าและการเจรจาการค้าออนไลน์ สามารถสร้างมูลค่าซื้อขายภายในงานเกือบ 10 ล้านบาท จับคู่เจรจาระหว่าง ผู้ประกอบการไทยและผู้นำเข้าต่างประเทศ จากกว่า

อาหารเช้าเป็นมื้อที่จำเป็นสำหรับร่างกาย นับเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็รู้ แต่จะจำเป็นขนาดไหน นอกจากเรื่องของสุขภาพทางร่างกายแล้ว ยังเกี่ยวเนื่องต่ออารมณ์และจิตใจ หากพลาดไปก็สุดแสนเสียดาย เพราะอาหารเช้าในบางโอกาสก็สำคัญจนพลาดไม่ได้ มื้อเช้าจะพิเศษได้แค่ไหนต้องลองมาดูกัน สำหรับอาหารเช้าที่ได้ชื่อว่า เป็น 1 ใน 3 ไฮไลต์ของ “โรงแรมเวฟ พัทยา” (Wave Hotel Pattaya) โรงแรมในเครือสุโกศล ซึ่งตั้งอยู่ริมชายหาด ตั้งอยู่ด้านหน้าโรงแรม “เดอะ เบย์วิว พัทยา” (The Bayview Pattaya) ในเครือเดียวกัน ซึ่งมีขนาดใหญ่และสูงกว่า ทั้งสองโรงแรมจึงมีห้องพักที่มองเห็นวิวทะเล โดยเฉพาะเดอะเวฟ ซึ่งเป็นอาคารขนาด 4 ชั้น จำนวน 18 ห้อง ทุกห้องมีระเบียงมองเห็นวิวชายหาดพัทยาได้อย่างเต็มตา บรรยากาศแบบนี้

ไม่ว่าคุณจะเคยไปประเทศอิตาลีหรือไม่ แต่คงเคยได้ยินชื่อเสียงของวัฒนธรรมอาหารอิตาเลียนที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นพิซซ่า หรือ พาสต้า ซึ่งปัจจุบันเป็นอาหารที่แพร่หลายในเมืองไทย แม้จะดูแล้วว่าเป็นอาหารที่เรียบง่ายใช้วัตถุดิบไม่มากนัก แต่สิ่งที่ซ่อนในอาหารอิตาเลียนกลับเปี่ยมไปด้วยความพิถีพิถัน โดยเฉพาะเรื่องของวัตถุดิบ ซึ่งอาศัยบริบทและความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ใครที่อยากจะทำอาหารอิตาเลียน บอกได้เลยว่าไม่หมู เพราะอาศัยวัตถุดิบเฉพาะเป็นตัวกำหนดรสชาติที่สำคัญ ทำให้แหล่งวัตถุดิบที่ดียังต้องอาศัยการนำเข้าหรือความเชี่ยวชาญแบบชาวอิตาลีเท่านั้น ในเมืองไทยมีร้านอาหารอิตาเลียนอยู่มากพอสมควร แต่ส่วนใหญ่อยู่ในโรงแรม ย่านกลางเมือง หรือแหล่งท่องเที่ยว ส่วนใหญ่มีราคาสูงตามโลเคชั่น แต่ไม่ต้องกังวลไป ใครที่อยากสัมผัสอาหารสไตล์อิตาเลียนอร่อย ๆ จากวัตถุดิบดี ๆ ในราคาที่จับต้องได้ ขอแนะนำ “Buonissimo Italian Restaurant & Pizzeria” Adolfo Faccin (อดอลโฟ ฟาซิน) เจ้าของร้าน “Buonissimo” (บูนิชชิโม) เขาเป็นชาวอิตาเลียน อดีตวิศวกรนักชิมที่ทำอาหารเป็นงานอดิเรก เรื่องของอาหารอิตาเลียนสไตล์โฮมเมดจึงไว้ใจเขาได้ “อดอลโฟ” เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองไทยประมาณ 30

วัฒนธรรมการดื่มกาแฟของคนไทยได้ขยายตัวขึ้นจนกลายเป็น “ไลฟ์สไตล์” ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการชงดื่มที่บ้าน ที่ทำงาน นัดพบปะสังสรรค์ การออกเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันพบว่า คนไทยมองหาร้านกาแฟเช่นเดียวกับการมองหาที่พักและร้านอาหาร และกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อออกทริป แต่ด้วยโอกาสอันหอมกรุ่นของตลาดกาแฟในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดร้านกาแฟขึ้นเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าชุมชนไหนก็มีร้านกาแฟเปิดให้บริการ แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตลอดระยะสองปีที่ผ่านมา ตลาดร้านกาแฟก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับธุรกิจบริการอื่น ๆ ร้านขนาดเล็ก-กลาง มีการปิดตัวไปมาก สาเหตุหลักมาจากผลกระทบจากการท่องเที่ยว และวิถีการดื่มกาแฟของคนไทยยังไม่เปลี่ยนไปไหน นายมีชัย อมรพัฒนกุล นายกสมาคมบาริสต้าไทย เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19  การบริโภคกาแฟในส่วนของภาคการท่องเที่ยวและการเดินทางมีอัตราที่ลดลง แต่พฤติกรรมของคนยังคงเลือกซื้อกาแฟเพื่อดื่มที่บ้านแทนการออกไปดื่มที่ร้าน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตลาดร้านกาแฟ โดยประมาณการณ์ค่า หากบรรยากาศการท่องเที่ยวกลับคืนสู่ปกติ ตลาดร้านกาแฟยังสามารถขยายตัวได้ถึง 3 เท่า อีกทั้งยังมีกาแฟที่หลากหลายรูปแบบและระดับราคาเข้ามามากขึ้น อาทิ กาแฟแก้วละ 800 บาท "ในภาวะปกติธุรกิจกาแฟและร้านกาแฟเติบโตอยู่ที่ 3-5% มูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ

ราว 40 กิโลเมตรจากตัวเมืองแพร่ เส้นทางบนเนินเขาที่คดเคี้ยว มองเห็นทัศนียภาพอันสวยงาม ดินแดนแห่งนี้มีชื่อสั้น ๆ ว่า “ลอง” เดิมเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลำปาง หลังจากการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง ในปี 2475 ทางการจึงได้โอนเมืองลองมาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่ เอกลักษณ์ของเมืองลอง จึงมีความแตกต่างจากเมืองแพร่ แม้จะใช้ภาษาเดียวกัน แต่หากวิเคราะห์ถึงรายละเอียดที่ลึกลงไป คนเมืองลอง มีตัวตนที่แตกต่างจากคนแพร่ และนี่คือเรื่องราวของเมืองลอง ผ่านมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมเมืองลอง เจ้าของพิพิธภัณฑ์กมลผ้าโบราณ อาจารย์โกมล พานิชพันธ์ ที่ Meetthinks มีโอกาสได้ร่วมพูดคุยถึงความเป็นไปของเมืองลองในปัจจุบัน [caption id="attachment_27268" align="alignnone" width="799"] เส้นทางจากเมืองแพร่สู่เมืองลอง เต็มไปด้วยความสวยงาม[/caption] ท่องเที่ยวเมืองลองในทัศนะของคนเมืองลอง “อยากให้การท่องเที่ยวเมืองลองไปในแนวของเชิงวัฒนธรรม เพราะเราอาจจะไม่มีวิวที่สวยที่สุด แต่เรามีสิ่งหนึ่งคือ  ตัวตน ของตัวเอง ก็คือวัฒนธรรมความเป็นคนเมืองลอง ถามว่าคนเมืองลองกับแพร่เหมือนกันหรือเปล่า ภาษาเหมือนกัน

การท่องเที่ยวสายมู เป็นกิจกรรมที่กำลังมาแรง เพราะนอกจากจะได้ออกเดินทางไปชมความงดงามของสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ แล้ว ยังถือเป็นโอกาสที่ดีในการเสริมพลังเติมกำลังใจ รับสิ่งดี ๆ อันเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต เรียกว่าไปเที่ยวทีก็เก็บพลังบวกกลับมาบ้านแบบจัดเต็ม ตามความเชื่อของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ปี 2565 ซึ่งเป็นปีนักษัตรปีขาล หรือ ปีเสือ ดังนั้นผู้ที่เกิดปีขาล ไม่ว่าจะมาจากจังหวัดไหน จะมุ่งหน้าไปจังหวัดแพร่ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของ “วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง” วัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ อันเป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป  และเป็นพระธาตุประจำปีขาลหรือปีเสือ ในปีนี้เมืองแพร่จึงมีความคึกคักเป็นพิเศษ นอกจากคนเกิดปีขาลแล้ว  คนเกิด “ปีชง” (ปีวอก ปีมะเส็ง ปีกุน) ก็เป็นกลุ่มที่นิยมเดินทางมากราบพระธาตุช่อแฮด้วยเช่นกัน [caption id="attachment_27192" align="alignnone" width="800"] นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์  เป็นประธานปล่อยขบวนคาราวาน ณ สถานีบริการน้ำมัน

ททท.กระบี่ ผนึกอ่าวนาง ทราเวล แอนด์ ทัวร์ ,โรงแรมอ่าวนางปริ้นซ์วิลล์ รีสอร์ทแอนด์ สปา และสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย  เปิดตัว Krabi Wellness Sunset Cruise มิติใหม่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผ่านเส้นทางล่องเรือสำราญ Aonang Princess 8 ชมกระบี่ ซันเซ็ทที่สวยงาม   นายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก กรรมการบริหาร บริษัท อ่าวนาง ทราเวล แอนด์ ทัวร์ และ โรงแรมอ่าวนางปริ้นซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ทแอนด์ สปา เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดตัวโครงการ Krabi Wellness Sunset Cruise มิติใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผ่านเส้นทางล่องเรือหรูชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า ด้วยเรือ

ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราเดินทางมายังเกาะลันตา และดูเหมือนทุกครั้งที่เดินทางเข้ามา เราก็ได้พบกับเรื่องราวใหม่ ๆ อยู่เสมอ แม้ในจุดเดิม ๆ ก็ยังเพิ่มเติมด้วยมุมมองใหม่ เป็นความเคลื่อนไหวที่ไม่เคยซ้ำ เหมือนอะไรหลาย ๆ อย่างบนเกาะลันตา ที่สามารถสะท้อนความเป็นตัวตนได้อย่างชัดเจน สีสันแห่งยามเช้า ชมพระอาทิตย์ขึ้นปากอ่าว ทุ่งหยีเพ็ง เพราะธรรมชาติ คือ แหล่งพักพิงที่ช่วยผ่อนคลายกายใจได้เป็นอย่างดี ยามเช้าบนเกาะลันตาจึงมีกิจกรรมดื่มด่ำบรรยากาศยามเช้าท่ามกลางธรรมชาติอันแสนสงบ ได้เราได้พบกับการพักผ่อนที่แท้จริง ภายใต้บรรยากาศของเช้ามืดอันแสนสงบ เรือแจวลำน้อยค่อย ๆ เคลื่อนตัวออกจากลำคลอง มีแค่เสียงพายกระทบน้ำเบา ๆ กับสายลมที่เคล้าคลอ นกกาเริ่มออกเสียงอยู่ไกล ๆ เป็นความเคลื่อนไหวที่สงบนิ่ง จนกว่าแสงแห่งวันใหม่จะสาดส่อง “ทุ่งหยีเพ็ง” เป็นจุดท่องเที่ยวแห่งใหม่บนเกาะลันตาที่ยังไม่มีใครรู้จักมากนัก  เป็นชุมชนมุสลิมที่อาศัยอยู่บนเกาะลันตามากว่า 100 ปี โดยคำว่า “ทุ่งหยีเพ็ง” มาจากผืนป่าชายทะเลอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในอดีต “โต๊ะหยีเพ็ง”  หรือ

ความสวยงามของท้องทะเลอันดามัน เป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาจังหวัดกระบี่ ไม่ว่าจะลงไปเกาะหรือจะเข้าพักตามชายหาดต่าง ๆ ก็จะได้สัมผัสกับบรรยากาศของการพักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่กระบี่ก็มีดีกว่าทะเล ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติที่หลากหลาย จึงยังมีมุมใหม่ ๆ ที่ชวนให้ไปชม เยือนทะเลหมอกกระบี่ ที่ดินแดงดอย กระบี่มีจุดชมวิวมุมสูงบนเนินเขาหลายแห่ง แต่ละที่ก็มีระดับความแอดเวนเจอร์มากน้อยแตกต่างกันไป สำหรับทริปชมแสงยามเช้า เคล้าทะเลหมอกท่ามกลางขุนเขาที่จังหวัดกระบี่ แบบเบา ๆ ขอแนะนำที่ “ดินแดงดอย” ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง ดินแดงดอย เป็นเนินเขาเตี้ย ใช้เวลาเดินขึ้นไป 15-20 นาที ตามกำลังแข้งขาของแต่ละคน ใครที่ออกกำลังกายเป็นประจำก็จะรู้สึกสบาย ๆ ส่วนใครที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ก็จะเคลื่อนไหวกันช้าหน่อย แต่รับรองว่าไม่ต้องปีนป่ายให้ยากลำบากอะไรมากนัก เหนื่อยก็หยุดพักได้ แถมระยะทางเดินขึ้นก็ไม่ไกล กะประมาณที่ 300 เมตรแบบไต่เนินเขา แนะนำว่าควรมาถึงบริเวณทางขึ้นประมาณตีห้าครึ่ง เมื่อรวมเวลาเดินขึ้นเนินเขาแล้ว ก็จะทันพระอาทิตย์ขึ้นพอดี ด้านบนดินแดงดอยเป็นจุดชมวิวที่กว้างใหญ่ เกือบ 360 องศา สามารถมองเห็นภาพบรรยากาศทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

อาหารเยอรมันเป็นอีกสไตล์ที่นักชิมชาวไทยชื่นชอบ เพราะมันอร่อยแบบเต็มปากเต็มคำ ลิ้มรสแล้วได้บรรยากาศแห่งความสุขสันต์หรรษา อีกทั้งเบียร์เยอรมัน ก็เป็นเบียร์ที่คนไทยและคอเบียร์ทั่วโลกชื่นชอบ หลังจากมาตรการผ่อนคลายให้ร้านอาหารเปิดให้บริการได้ตามปกติแล้ว หนึ่งในการพักผ่อนหย่อนใจที่ดี คือการได้พบเจอเพื่อนฝูง ได้ออกไปกินข้าวกับครอบครัว และอาหารเยอรมันสไตล์ “เบียร์การ์เด้น” ก็เป็นหนึ่งในลิสต์ที่ต้องไปสัมผัส และกล่าวถึงเบียร์การ์เด้นบรรยากาศดี ๆ ที่มีทั้งความร่มรื่นชื่นใจ มีอาหารอร่อยมากมาย พร้อมเครื่องดื่มที่หลายคนชอบใจ ก็ต้องที่ “พอลลาเนอร์ การ์เด้นท์” (Paulaner Garden) ร้านอาหารพอลลาเนอร์ การ์เด้นท์ สาขาศรีนครินทร์ เป็นร้านอาหารเยอรมันยอดนิยมที่นักชิมต่างรู้จักเป็นอย่างดีมากว่า 16 ปี ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจากความชื่นชอบในการเสาะหาอาหารอร่อยของเจ้าของร้านในฐานะนักชิม นำมาเป็นแรงบันดาลใจเพื่อส่งมอบความสุขจากอาหารดี ๆ ผสมผสานกับความชื่นชอบร้านอาหารที่มีความโปร่ง โล่ง นั่งสบาย เหมือนนั่งในสวนหน้าบ้าน ทำให้ผู้มาเยือนรู้สึกอบอุ่นและเป็นกันเอง เสมือนมาสังสรรค์ที่บ้านเพื่อนสไตล์เยอรมัน เดิมทีร้าน Paulaner Garden ตั้งอยู่ย่านแจ้งวัฒนะ ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่ย่านศรีนครินทร์

คำว่า “สะดวก” กับ “สบาย” มักอยู่คู่กัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อมีความสะดวก ทุกคนจะต้องสบาย  บางคนเลือกใช้ชีวิตที่ไม่จำเป็นต้องสะดวกสบายมากนัก แต่พวกเขาก็รู้สึกพอใจที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ แถมยังไม่สร้างกระทบทางลบให้กับใครอีกด้วย เทรนด์ของที่พักรักษ์โลก ที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในแนวทางการบริหารจัดการที่ได้รับความสนใจจากธุรกิจโรงแรมหรือรีสอร์ตทั่วโลก หากย้อนไปก่อนหน้านี้ ที่พักแนว “โฮมสเตย์” ก็ถือว่าเข้าข่ายหลักการของที่พักรักษ์โลกอยู่พอสมควร ทั้งการให้แขกผู้เข้าพักได้ใช้ชีวิตแบบคนท้องถิ่น กินอยู่แบบเดียวกับเจ้าบ้าน ได้อุดหนุนผลผลิตหรือสินค้าจากชุมชน ลดการใช้ทรัพยากรที่มากเกินไปแบบที่โรงแรมทั่วไปให้บริการ ไม่นานมานี้เราได้เดินทางไปจังหวัดสระบุรี เพื่อติดตามการทำงานในโครงการพลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน ปีที่ 9 ซึ่งได้เห็นเส้นทางของการก่อร่างโมเดลการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทำได้จริง สอนกันได้ เรียนรู้กันได้ และใช้ชีวิตอยู่ได้จริง แบบที่มีกิน มีแบ่ง มีขาย พื้นที่ในจังหวัดสระบุรี เป็นพื้นที่แรกที่โครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้น ปีที่ 9 ของการสรุปความสำเร็จของโครงการจึงย้อนกลับมายังจุดเริ่มต้นตรงนี้ ซึ่งปัจจุบันมีเครือข่ายคนมีใจที่แข็งแกร่ง  และในครั้งนี้ เรามีโอกาสได้เข้าพักที่

โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ) จัดงานสรุปผลความสำเร็จหลังดำเนินงานมาครบ 9 ปี เผยผลการดำเนินงานดีเกินคาด ทั้งด้านการสร้างคนมีใจ เครือข่าย และศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย หนุนแนวคิดในการนำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ 22 ลุ่มน้ำในประเทศ เกิดการรับรู้และกระแสความตื่นตัวที่ ส่งแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนเชิงนโยบาย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า “จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ที่ทรงแสดงความห่วงใยต่อปัญหาภัยแล้งและปัญหาอุทกภัยบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2556 ด้วยความร่วมมือระหว่าง

กว่า 200 ปีที่ชาวบ้านมาบเหลาชะโอน จ.ระยอง มีวิถีชีวิตอยู่กับภูมิปัญญาการสานกระจูดหรือกก ซึ่งเป็นพืชที่ขึ้นอยู่มากในละแวกใกล้เคียง จากการนำกระจูดมาสานเป็นเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กว่า 100 แบบ เพื่อตอบรับความต้องการทางตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้และความภาคภูมิใจให้กับชุมชน ขณะที่ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ยังเนรมิตรกระจูดให้ชาวบ้านได้ตัดมาสร้างสรรค์ผลงานแบบไม่มีหมด ในอดีตชาวบ้านจะนำกระจูดมาสานเป็นเครื่องใช้ภายในบ้าน  รวมทั้งสานเป็นเสื่อกระสอบสำหรับใส่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หรือเป็นภาชนะใส่เกลือ จนทำให้เป็นที่รู้จักกันมากในภาคตะวันออก กลายเป็นแหล่งรายได้ของคนในอำเภอแกลงมาจนถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาการสานกระจูดตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อทางรัฐบาลเข้ามาส่งเสริม จึงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร “กลุ่มจักสานกระจูดมาบเหลาชะโอน” ตั้งแต่ปี 2548 โดยมี “นางสุนทรี ยิ้มเยื้อน” เป็นผู้นำ ใครที่สนใจอยากช้อป อยากชม หรืออยากลองสานกระจูด ทางกลุ่มแม่บ้านพร้อมต้อนรับ ถือเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ครั้งนี้เราเข้ามาที่กลุ่มจักสานฯ ยังคงพบแม่บ้านที่เสร็จจากภารกิจอื่น ๆ มานั่งล้อมวงจักสานกระจูดเป็นรายได้เสริมและเพื่อให้นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ ใครมาเพื่ออุดหนุนสินค้าก็จะได้รู้ได้เห็นที่มาของการจักสานกระจูด ขั้นตอนการจักสานกระจูด เริ่มหลังจากที่ชาวบ้านไปตัดกระจูดขนาดความยาวประมาณ 1-2 เมตรมาแล้ว ต้องนำมาคัดเส้น เลือกเส้นที่มีความสมบูรณ์ แล้วนำเส้นกระจูดมาคลุกกับดินนวลสีขาวที่ผสมน้ำ

 “กากัน มาลิค” นักแสดงดังผู้รับบท เจ้าชายสิทธัตถะ ในเรื่อง Sri Siddhartha Gautama เผยความเคลื่อนไหวล่าสุด เตรียมบินมาประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อเตรียมเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์   ศึกษาหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้อวัตรปฏิบัติของนักบวช และเรียนรู้วิถีสันติภายใน ณ วัดธาตุทอง พระอารามหลวง ที่ตนเคยปวารณาตนเป็นศิษย์วัดไว้ กากัน มาลิค เผยความรู้สึกในช่องทางส่วนตัวว่า “การเล่นบทบาทของ เจ้าชายสิทธัตถะ ในเรื่อง  Sri Siddhartha Gautama เปลี่ยนชีวิตและทัศนคติของเขาอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้เกิดโครงการดี ๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งเร็ว ๆ นี้จะมีอีกหลายโครงการและกิจกรรมสำหรับชาวพุทธในเมืองไทยและทั่วโลกกับชมรมไตรรัตนภูมิ โดยผมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ความสุขที่ได้รับจากการทำอะไรบางอย่าง “เพื่อเป็นการรับใช้เพื่อนมนุษย์" คือสิ่งที่กระตุ้นให้ผมใช้ชีวิตอย่างมีความหมายในทุกวันนี้” ก่อนหน้านี้ นักแสดงหนุ่ม ได้เดินทางมาเมืองไทย

ในยุคที่คาเฟ่เป็นที่ถูกใจสายโซเชียลที่นิยมปักหมุด แชะ แชร์ ในบรรยากาศเก๋ ๆ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า การทำธุรกิจร้านกาแฟไม่ได้เป็นเพียงแค่การสร้างฉากสวย ๆ ให้คนเข้ามาถ่ายรูป แน่นอนว่าองค์ประกอบของร้านเป็นจุดขายที่สามารถดึงลูกค้าให้เข้ามา  แต่ปัจจุบันท่ามกลางร้านกาแฟที่จำนวนมากพอ ๆ กับร้านสะดวกซื้อ โอกาสที่จะสร้างร้านที่ทุกคนมาแล้วก็อยากกลับมาใหม่จึงไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากแฟดีมีของกินอร่อยแล้ว ยังต้องมีอะไรอีกหรือไม่ มาแล้วได้พบอะไรใหม่ ๆ มาแล้วได้ไอเดียกลับไป  พื้นที่แห่งการสังสรรค์และสร้างสรรค์ทางความคิด เป็นอีกคำตอบที่น่าสนใจของร้านกาแฟในยุคนี้ Narisa Café & Creative Space  จึงไม่ใช่แค่ร้านกาแฟ นอกจากการปลุกภาพแห่งความสุขให้ฟื้นคืนกลับมาอีกครั้งแล้ว ยังเต็มไปด้วยพลังและแรงบันดาลใจ [caption id="attachment_26383" align="aligncenter" width="800"] ดร.นริศ ชัยสูตร และ น้องฟ้า นริศา ชัยสูตร[/caption] บ้านแห่งประวัติศาสตร์และความทรงจำ ดร.นริศ ชัยสูตร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอธิบดีกรมธนารักษ์ เล่าว่า บ้านหลังนี้สร้างขึ้นจากการปรับปรุงบ้านเก่าของคุณพ่อคุณแม่

ถ้าเคยได้ยินว่า การทำอาหารต้องอาศัยความใส่ใจ หลายคนก็อาจจะเข้าใจ แต่จะลึกซึ้งมากแค่ไหนกัน จนวันนี้ได้คุยกับ ผู้สร้างแบรนด์ร้านอาหารริมน้ำที่ไม่ได้ขายแค่บรรยากาศสวย ๆ ถึงได้รู้ว่าการทำร้านอาหารดี ๆ  มันต้องมีความใส่ใจเกินคนปกติทั่วไป ฟังแล้ว

60 ปี ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านเรื่องราวที่เต็มไปด้วยบทเรียน นับตั้งแต่การประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2505  และได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ “พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่” เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 นับเป็นเวลา 17 ปี นี่คือสิ่งแรกที่สะท้อนจากโลโก้ “6017” ในโอกาสครบรอบ 60 ปีอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สื่อความหมายถึงสื่อความหมายถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติ มีกวางเป็นตัวแทนความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดงพญาเย็น และแสดงถึงการที่มนุษย์ ป่า และสัตว์ป่า ส่วนเสือในเลข 7 นั้น หมายถึง “เสือโคร่ง” นักล่าในลำดับขั้นสูงสุดของห่วงโซ่อาหารในผืนป่าแห่งนี้ [caption id="attachment_26177" align="aligncenter" width="600"] ออกแบบโดยนักออกแบบจิตอาสา โครงการอาสาสมัครรุ่นใหม่แห่งเขาใหญ่