Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ไอดินและกลิ่นหอม ‘กาแฟกลิ่นไอดิน’ กำแพงเพชร

คงเคยได้ยินว่าคนเรามีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ และธรรมชาติก็มีกลิ่นหอมในตัวของมันเองด้วย หากไม่รวมพวกดอกไม้ใบหญ้าหรือพืชสมุนไพรเขียว ๆ แล้วละก็ ยังมีอีกกลิ่นที่หลายคนหลงใหล แต่ไม่รู้ว่าใครจะนำกลิ่นเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างไร นอกจากจะปล่อยให้มันหอมอยู่ในจังหวะและโอกาสของมันเอง

ฝนแรกในบางเวลา หรือจะเป็นสายฝนที่โชยมาหลังแดดจ้า จะสะท้อนกลิ่นไอบาง ๆ จากผืนดิน ซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลบางอย่าง เคยอ่านเจอว่าหลายคนที่ได้กลิ่นไอดินหลังฝน จะรู้สึกแช่มชื่น บ้างก็มีความอยากอาหาร

ขณะที่ไม่รู้ว่า จะมีใครนำกลิ่นไอดินไปใช้ได้อย่างไร ก็เลื่อนไปเจอข้อมูลจาก BBC Thai ระบุว่า “จีโอมิน” (geosmin) คือโมเลกุลของแบคทีเรียในดิน ที่จะลอยขึ้นไปบนอากาศเมื่อมีหยดน้ำโปรยมา  นักวิทยาศาสตร์ยังระบุว่า มนุษย์จะรับรู้กลิ่นนี้ได้ดีมากยิ่งกว่าสัตว์ด้วยซ้ำ

และในเชิงพาณิชย์ “กลิ่นหอมแห่งพสุธา” เป็นกลิ่นหอมที่สกัดจากไอดิน เกิดขึ้นมาแล้วที่อินเดียเมื่อปี 1960 และได้กลายเป็นสูตรหนึ่งของน้ำหอม เรื่องราวนี้สามารถอ่านได้ในเว็บไซต์ของ BBC

มุมมองจากทางทางเข้าด้านหน้า

มุมมองจากด้านหลัง

มาที่กลิ่นดินในวันฝนตก ณ ร้านกาแฟกลิ่นไอดิน จ.กำแพงเพชร จริง ๆ ก็คงหลายครั้งแล้วที่กลิ่นไอดินกลายเป็นเพียงบางอย่างล่องลอยผ่านประสาทสัมผัสไปอย่างไม่ใยดี ด้วยสมองที่อาจจะสั่งการรับรู้ด้านที่จำเป็นในขณะนั้นมากกว่า เมื่อได้มายืนในไร่มันสำปะหลังบนลานกว้างหลังฝนในวันนั้น ชื่อของร้านก็ทำให้ความทรงจำที่มีต่อกลิ่นของดินฟื้นกลับมาด้วย

ร้านกาแฟกลิ่นไอดิน (Earthy Coffee) เป็นทั้งร้านอาหารและร้านกาแฟ ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 2 ไร่ อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองกำแพงเพชร (ประมาณ 3 กิโลเมตร) เป็นความตั้งใจจากคอกาแฟชาวกำแพงเพชร “พี่โอ๋- เสฏฐวุฒิ นิธิโชคประเสริฐ”

พี่โอ๋ และ พราดร ณ นคร พิธีกรรายการเที่ยวเป็นเที่ยว

พี่โอ๋เป็นชาวกำแพงเพชร มีภรรยาเป็นคนกำแพงเพชรเหมือนกัน แต่อยู่คนละตำบล ร้านกาแฟกลิ่นไอดิน ตั้งอยู่ในพื้นที่ของบ้านภรรยา เป็นไร่มันไร่อ้อย ซึ่งถ้าย้อนภาพไป ก็คือลานพุ่มไม้ที่สู้แดด ใครได้เห็นก็คิดว่าไม่จะน่าสนใจอะไร ยิ่งชาวบ้านยิ่งแล้วใหญ่ เพราะเป็นแค่ภาพที่ชินตา แต่สำหรับคนนอกอย่างเรา ความเป็นระเบียบของกิ่งใบ ก็เป็นอีกพันธุ์ไม้ที่มีความสวยในตัวเอง เฉพาะความเขียวบนลานกว้าง มันก็สร้างจุดพักสายตาไปได้ไกลมาก

พื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นบึงน้ำธรรมชาติ พี่โอ๋และทีมงานใช้เวลาราว 2 ปีในการปรับสภาพ ก่อนจะลงหลักปักเสาสร้างเป็นอาคารคล้าย ๆ โรงนากลางฟาร์ม เป็นอาคารเปลือย ๆ เรียบ ๆ เน้นความโปร่งโล่ง ติดกระจก 3 ด้าน ทำให้มองเห็นทัศนียภาพเขียว ๆ ได้อย่างเพลิดเพลิน อาคารหลังนี้เป็นส่วนของร้านกาแฟ ให้บริการเครื่องดื่มร้อน-เย็นนานาชนิด รวมทั้งกาแฟที่คัดสรรมาแล้วว่า เข้มข้น หอมกรุ่น แบบไม่ต้องรอหยดฝนมากระตุ้น

ภายในโดดเด่นด้วยสีสันของงานแนวกราฟฟิตี้บริเวณเคาน์เตอร์บาร์ ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์แนววินเทจ ที่มีทั้งงานเหล็กผสมงานไม้ เป็นคาเฟ่บ้าน ๆ ที่แอบมีสไตล์ เพราะตัวเจ้าของเลือกมาจากความชื่นชอบของตัวเอง ตั้งใจให้ความบ้าน ๆ มีสไตล์แบบนี้ เป็นที่รับแขกทั้งในตัวจังหวัดและต่างพื้นที่ เป็นที่รับพี่น้องผองเพื่อน เมื่อมาเยือนกำแพงเพชร

บรรยากาศตอนเที่ยง

ถือเป็นการพลิกมุมมองไร้อ้อยไร่มันที่ไม่เคยมีใครหันมอง ถึงเราเองจะเคยมองแล้วก็เลยผ่านไป ไม่นึกว่าวันหนึ่งเราจะได้นั่งชิลล์ในวิวเขียว ๆ ชื่นใจท่ามกลางไร่อ้อยไร่มันแห่งนี้ มันให้ความรู้สึกแบบบ้าน ๆ จริง ๆ เพราะนี่คือพื้นที่เกษตรกรรมจริง ๆ ถัดจากไร่ของทางร้าน ก็เป็นอาณาเขตของเพื่อนบ้านที่อยู่อาศัยจริง ๆ ถนนยังเป็นดินแดงดิบ ๆ อยู่เลย

บรรยากาศยามเย็น

บรรยากาศหลังฝน

ดังนั้นจึงต้องเขย่าให้ลงตัว ทั้งความสะดวกสบายที่ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป และความดิบ ๆ เรียบง่ายแบบชาวบ้าน ภายในอาคารจึงมีเครื่องปรับอากาศ ส่วนโซนซุ้มริมน้ำให้ธรรมชาติปรับอากาศให้ ถึงบางช่วงในตอนกลางวันแดดจะจ้า แต่พัดลมจากต้นไม้ที่รายล้อมก็ทำงานทั้งวัน นั่งในซุ้มร่ม ๆ ลมโชย ๆ  น้ำในบึงที่มีสปริงเกอร์หมุนวนก็ช่วยลดอุณหภูมิได้อีกทาง จะอย่างไรก็ตาม การได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ก็ไม่ร้อนอกร้อนใจเหมือนฝุ่นควันและการแข่งขันในเมืองใหญ่อย่างแน่นอน

ร้านกาแฟกลิ่นไอดิน เสิร์ฟทั้งอาหารและเครื่องดื่ม หลากเมนูเด็ดไทย-อีสาน ปรุงแบบเชฟบ้าน ๆ มาแบบจานใหญ่ให้เยอะ คุ้มค่า คุ้มราคา มากินเล่น ๆ หรือกินจริงจังก็เหมาะทุกโอกาส

หากเดินเรื่อย ๆ ไปทางหลังร้าน สุดเขตตรงกอไผ่ขนาดใหญ่ จะมีลำคลองสายน้อยไหลผ่าน นกกาบินไปมา เป็นอีกจุดชมวิวธรรมชาติที่สายกรีนชื่นชอบ จากที่ได้ฟังพี่โอ๋เล่าความก็พอจะทราบว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น เมื่อสร้างแลนด์มาร์คแล้ว ต่อไปก็สามารถขยายจุดชิลล์ได้อีกหลายมุม

พราดร ณ นคร พิธีกรรายการเที่ยวเป็นเที่ยว

ฝอยทอง เชิญยิ้ม และ พราดร ณ นคร เปิดเวทีต้อนรับในโอกาสวันเปิดร้านกาแฟกลิ่นไอดิน

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2565 ถือเป็นการเปิดร้านกาแฟกลิ่นไอดินอย่างเป็นทางการ มีเพื่อนพ้องน้องพี่และลูกค้าเข้ามาร่วมแสดงความยินดี รวมทั้งเพื่อนศิลปิน-นักแสดง-พิธีกร มาร่วมสร้างสีสัน  อาทิ ต๊อก-ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ, ปราโมทย์ แสงศร, ตะวัลย์ นวลนุกูล, ฝอยทอง เชิญยิ้ม และ พราดร ณ นคร  โดยมีวง Sweet Hours จากเชียงราย มาร่วมสร้างบรรยากาศแห่งความประทับใจ

หากจะมองว่าไม่มีอะไร มันก็ไม่มีอะไรนั่นแหละ ความบ้าน ๆ มันก็เป็นเช่นนี้ อยู่กินอย่างเรียบง่าย ไม่พึ่งพาความสะดวกสบายมากเกินไป แต่ก็ทันยุคทันสมัย เท่าที่ควรจะมี

ปราโมทย์ แสงศร มาร่วมงานเปิดร้านกาแฟกลิ่นไอดินพร้อมเพื่อนนักแสดงอีกหลายท่าน

กลิ่นกาแฟหอม ๆ คอกาแฟส่วนใหญ่คงสัมผัสได้อย่างไม่ยาก แต่หากพูดถึงกลิ่นไอดินหอม ๆ หลังฝน ก็คงจะพบได้ตามธรรมชาติ ตามชนบทแบบบ้าน ๆ รวมทั้งที่นี่

ฝอยทองและตะวัลย์

ไม่ว่าจะคนใกล้หรือคนไกล หากชื่นชอบกลิ่นอายแบบบ้าน ๆ ผสมผสานกับความเก๋ไก๋พอประมาณ กาแฟดี ๆ อาหารอร่อย ๆ ตัวร้านสะอาดสะอ้าน  ท่ามกลางบรรยากาศชาวสวนชาวไร่ มองไปมีทั้งสวนมะพร้าว ป่าไผ่ ไร่อ้อย ไร่มัน เป็นอีกเสน่ห์ที่ต่อยอดมูลค่าของท้องถิ่น เกิดการกินการใช้ หมุนเวียนในชุมชน เป็นอีกมุมของกำแพงเพชรที่น่าแวะมาอุดหนุน

บรรยากาศยามเย็น ท่ามกลางชุมชนชาวไร่

และหากวันไหนฝนตก อย่าลืมเดินออกไปสูดกลิ่นไอดินให้ชื่นใจ เติมพลังธรรมชาติจากรอบกาย สูดไอดิน กรุ่นกลิ่นกาแฟหอม ๆ พร้อมด้วยอาหารอร่อย ๆ บ้าน ๆ แบบนี้ก็สุขใจไม่น้อยเลยทีเดียว

ร้านกาแฟกลิ่นไอดิน

บ้านใหม่สุวรณภูมิ ต.ท่าขุนราม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร

(ซอยสุขุมวิท 1 ข้างอนามัยบ้านใหม่)

พิกัด https://goo.gl/maps/m2AeunQjjzH9XdKq8

เปิดทุกวัน

ร้านกาแฟเปิด 7.00-18.00 น.

ครัวเปิด10.00-22.00 น.

โทร.083 295 5431

Facebook/กาแฟกลิ่นไอดิน Cafe&Restaurant

(มีดนตรีสดในบางวัน อัพเดทได้ทางเฟซบุ๊กของร้าน)

ขอขอบคุณภาพมุมสูงจากทีมงานรายการเที่ยวเป็นเที่ยว ติดตามชมรายการได้ทางช่องเที่ยวเป็นเที่ยว ทาง YouTube

Post a comment

14 − 3 =