Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

มีนาคม 2022

การได้ลัดเลาะเสาะหาของกินในย่านชุมชน เป็นหนึ่งในความสุขที่หลายคนแสวงหาเมื่อได้เดินทางไปยังต่างถิ่น ทั้งในและต่างประเทศ จนบางทีอาหารกลายเป็นตัวเป้าหมายหลักของการเดินทาง ด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมบนโลกนี้ ทำให้มีเรื่องเล่า เรื่องราวของอาหารการกิน สะท้อนให้เห็นถึงอดีตอันเป็นที่มาของอาหารนั้น ๆ เหมือนเรื่อง ๆ หนึ่งที่คิดแล้วเห็นภาพ อย่างเมนู “ปูผัดพริกฮ่องกง” ของร้าน “อำแดงไต้ฝุ่น บายเดอะริเวอร์” ย่านพระราม 3 ซึ่งใช้ “ไต้ฝุ่นซอส” อันมีแนวคิดจากเหตุการณ์จริงที่เกิดสมัยที่เกิดพายุที่อ่าวอะเบอร์ดีน ฮ่องกง ซึ่งเล่ากันว่าในตอนนั้นชาวประมงต้องล่องเรือหลบพายุในอ่าวและใช้ชีวิตบนเรือร่วมกับครอบครัว เมื่อต้องทำอาหารเลี้ยงครอบครัว ก็หยิบจับวัตถุดิบง่าย ๆ อย่างกระเทียม พริกแห้ง เต้าซี่ ที่มีอยู่ในเรือ มาผัดกับปู ปลา หมึก กุ้ง อะไรก็ตามที่มีในตอนนั้น จากอุปสรรค ความยากลำบาก ผ่านการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด ทำให้เกิดเมนูที่ขึ้นชื่อในร้านอาหาร พาให้นึกไปถึงอีกหลายต่อหลายเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดขึ้นของอาหารในเมืองไทย รวมทั้งวิถีการกินที่ผสานชีวิตความเป็นอยู่

“วิถีศรัทธาอีสาน : มรดกวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน”นิทรรศการ ที่บอกเล่าเรื่องราวผ่าน พระไม้หรือพระพุทธรูปและฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน)  ศิลปะนาอีฟ ของช่างแต้มอีสาน รศ.ดร. น้ำฝน ไล่สัตรูไกล ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการเล่าว่า แรงบันดาลใจในการจัดนิทรรศการในครั้งนี้เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปไม้ ในศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์  อันสามารถสร้างเป็นต้นแบบนิทรรศการงานศิลปะของท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่ศิลปะท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น อันเป็นพันธกิจสำคัญของโครงการ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ นิทรรศการเล่าผ่านพระไม้ และงานจิตรกรรมฮูปแต้ม ผสมผสานกับเทคนิด ดิจิลทัลแบบ immersive เพื่อสร้างความกลมกลืนระหว่างโลกความจริงและเทคโนโลยี “พระไม้” เป็นศาสนวัตถุที่ครั้งหนึ่งนิยมสร้างเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมอีสาน  และสะท้อนความเป็นมาของวิถีชีวิต ประเพณี ภูมิปัญญาตามคติความเชื่อในพุทธสาสนา แสดงถึงเอกลักษณ์ของคนอีสาน คติความเชื่อการสร้างพระพุทธรูปนั้นได้เผยแพร่ไปในดินแดนต่าง ๆ สังคมอีสานก็มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับดินแดนใกล้เคียง  และได้สร้างวัฒนธรรม ด้วยการผสมผสาน ความเชื่อทางศาสนากับ ความเป็นครูช่างทางหัตถศิลป์ชุมชนเข้าด้วยกัน และสร้างเป็นภูมิปัญญาขึ้นมาใหม่นั่น ก็คือพระพุทธรูปไม้ในรูปแบบอีสานพระไม้ในภาคอีสานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

อาหารเยอรมันเป็นอีกสไตล์ที่นักชิมชาวไทยชื่นชอบ เพราะมันอร่อยแบบเต็มปากเต็มคำ ลิ้มรสแล้วได้บรรยากาศแห่งความสุขสันต์หรรษา อีกทั้งเบียร์เยอรมัน ก็เป็นเบียร์ที่คนไทยและคอเบียร์ทั่วโลกชื่นชอบ หลังจากมาตรการผ่อนคลายให้ร้านอาหารเปิดให้บริการได้ตามปกติแล้ว หนึ่งในการพักผ่อนหย่อนใจที่ดี คือการได้พบเจอเพื่อนฝูง ได้ออกไปกินข้าวกับครอบครัว และอาหารเยอรมันสไตล์ “เบียร์การ์เด้น” ก็เป็นหนึ่งในลิสต์ที่ต้องไปสัมผัส และกล่าวถึงเบียร์การ์เด้นบรรยากาศดี ๆ ที่มีทั้งความร่มรื่นชื่นใจ มีอาหารอร่อยมากมาย พร้อมเครื่องดื่มที่หลายคนชอบใจ ก็ต้องที่ “พอลลาเนอร์ การ์เด้นท์” (Paulaner Garden) ร้านอาหารพอลลาเนอร์ การ์เด้นท์ สาขาศรีนครินทร์ เป็นร้านอาหารเยอรมันยอดนิยมที่นักชิมต่างรู้จักเป็นอย่างดีมากว่า 16 ปี ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจากความชื่นชอบในการเสาะหาอาหารอร่อยของเจ้าของร้านในฐานะนักชิม นำมาเป็นแรงบันดาลใจเพื่อส่งมอบความสุขจากอาหารดี ๆ ผสมผสานกับความชื่นชอบร้านอาหารที่มีความโปร่ง โล่ง นั่งสบาย เหมือนนั่งในสวนหน้าบ้าน ทำให้ผู้มาเยือนรู้สึกอบอุ่นและเป็นกันเอง เสมือนมาสังสรรค์ที่บ้านเพื่อนสไตล์เยอรมัน เดิมทีร้าน Paulaner Garden ตั้งอยู่ย่านแจ้งวัฒนะ ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่ย่านศรีนครินทร์

ในยุคที่มีกาแฟแก้วละหลายสิบจนไปถึงหลักร้อย อยากกินเบเกอรี่ดี ๆ สักชิ้นต้องจ่ายแพงเป็นร้อย “ความคุ้มค่า” จึงเป็นช่องว่างทางการตลาด ที่ก็ต้องอาศัยความ “จริงใจ” มากกว่าการแสวงหาเพียง “กำไร” จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ แห่งความสำเร็จของร้านขนมปัง “Daily Bread” ย่านปาตอง จ.ภูเก็ต ทำเลที่ใครหลายคนเคยคิดว่า อะไร ๆ ก็แพง แต่วันนี้คนภูเก็ต ทั้งชาวบ้าน คนทำงาน หรือ นักท่องเที่ยว สามารถเอื้อมถึงเบเกอรี่คุณภาพดีระดับโรงแรม ในราคาเริ่มต้น 10-45 บาทเท่านั้น ใครที่ไปเดินเล่นย่านป่าตอง บนถนนนาใน มีร้านขนมปังเล็ก ๆ ที่ชื่อว่า “Daily Bread” (เดลี่ เบรด) เป็นแบรนด์ของคนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต เจ้าของเดียวกับ

คำว่า “สะดวก” กับ “สบาย” มักอยู่คู่กัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อมีความสะดวก ทุกคนจะต้องสบาย  บางคนเลือกใช้ชีวิตที่ไม่จำเป็นต้องสะดวกสบายมากนัก แต่พวกเขาก็รู้สึกพอใจที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ แถมยังไม่สร้างกระทบทางลบให้กับใครอีกด้วย เทรนด์ของที่พักรักษ์โลก ที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในแนวทางการบริหารจัดการที่ได้รับความสนใจจากธุรกิจโรงแรมหรือรีสอร์ตทั่วโลก หากย้อนไปก่อนหน้านี้ ที่พักแนว “โฮมสเตย์” ก็ถือว่าเข้าข่ายหลักการของที่พักรักษ์โลกอยู่พอสมควร ทั้งการให้แขกผู้เข้าพักได้ใช้ชีวิตแบบคนท้องถิ่น กินอยู่แบบเดียวกับเจ้าบ้าน ได้อุดหนุนผลผลิตหรือสินค้าจากชุมชน ลดการใช้ทรัพยากรที่มากเกินไปแบบที่โรงแรมทั่วไปให้บริการ ไม่นานมานี้เราได้เดินทางไปจังหวัดสระบุรี เพื่อติดตามการทำงานในโครงการพลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน ปีที่ 9 ซึ่งได้เห็นเส้นทางของการก่อร่างโมเดลการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทำได้จริง สอนกันได้ เรียนรู้กันได้ และใช้ชีวิตอยู่ได้จริง แบบที่มีกิน มีแบ่ง มีขาย พื้นที่ในจังหวัดสระบุรี เป็นพื้นที่แรกที่โครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้น ปีที่ 9 ของการสรุปความสำเร็จของโครงการจึงย้อนกลับมายังจุดเริ่มต้นตรงนี้ ซึ่งปัจจุบันมีเครือข่ายคนมีใจที่แข็งแกร่ง  และในครั้งนี้ เรามีโอกาสได้เข้าพักที่

โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ) จัดงานสรุปผลความสำเร็จหลังดำเนินงานมาครบ 9 ปี เผยผลการดำเนินงานดีเกินคาด ทั้งด้านการสร้างคนมีใจ เครือข่าย และศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย หนุนแนวคิดในการนำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ 22 ลุ่มน้ำในประเทศ เกิดการรับรู้และกระแสความตื่นตัวที่ ส่งแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนเชิงนโยบาย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า “จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ที่ทรงแสดงความห่วงใยต่อปัญหาภัยแล้งและปัญหาอุทกภัยบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2556 ด้วยความร่วมมือระหว่าง