Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

Posts by Lanlom

ช่วงเวลา 25 ปีของการทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กับภารกิจสุดหิน ที่เรียกได้ว่า เป็นโจทย์ที่ยากกว่าใคร เพราะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานส่งเสริมด้านการตลาด ที่จะต้องทำให้คนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรู้กันดีว่ามีภาพลักษณ์ที่น่ากังวลเช่นไร เราเจอ คุณป้อม-มัณฑนา ภูธรารักษ์ ผอ. ททท. สำนักงานนราธิวาส ในทริป โครงการ “เก๋ายกก๊วน ชวนกันเที่ยวใต้ ประจำปี 2561”  จัดขึ้นจากความร่วมมือของ ททท. สนง.นราธิวาส  ร่วมกับ ไปไหนดี ทราเวล มูลนิธิเทพปูชนียสถาน และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนราธิวาส ได้พบเจอและพูดคุยกับผู้หญิงตัวเล็กๆ ซึ่งยินดีที่จะทำงานในพื้นที่นี้โดยไม่มีความคิดจะย้ายไปไหน มาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร “ไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ แต่ทำงานที่ ททท. สำนักงานนราธิวาส ซึ่งดูแล 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งแต่ปี

เที่ยวให้ได้รสชาติ คือ อะไร ถ้าไม่ใช่อาหารตา ก็ต้องเป็นอาหารท้อง ซึ่งทุกวันนี้ มีแต่คำถามว่า ไปเที่ยวที่นี่ ที่โน่น ที่นั่น แล้วจะกินอะไรกันดี มาถึงสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรามีเวลา 4 วัน 3 คืน มีอะไรบ้าง ที่บอกได้ว่า ได้รสชาติ แบบมาถึงปักษ์ใต้แล้วจริงๆ ไก่เบตง แน่นอนว่าชื่อนี้คือสิ่งที่ทุกคนคิดถึงเมื่อมาถึงเบตง ในเมืองเบตง มีร้านอาหารอยู่หลายแห่งที่นำเสนอเมนูนี้ แต่ที่เรามีโอกาสไปชิมก็คือ ร้านคุณชาย ซึ่งบอกได้ว่า จัดมาแบบเต็มๆ เหนียวนุ่มสมชื่อ [caption id="attachment_13114" align="aligncenter" width="800"] ไก่เบตง ร้านเจริญข้าวมันไก่เบตง ปัตตานี[/caption] แต่การจะกินไก่เบตงก็ไม่ต้องไปถึงเบตงก็ได้ ทริปนี้ เราได้ลิ้มรสชาติของข้าวมันไก่เบตงร้านดังที่ปัตตานี  “เจริญ ข้าวมันไก่เบตง” บอกได้เลยว่านอกจากไก่ที่พิถีพิถันบรรจงสร้างมาแล้ว ได้เห็นวิธีแล่  พร้อมน้ำจิ้มสูตรเด็ด

อาจจะต้องใช้เวลาข้ามคืน หรือราว 20 ชั่วโมง เพื่อจะมุ่งหน้าจากกรุงเทพฯ ไปยังสถานีปลายสุดของด้ามขวาน ที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ลองนึกว่าในสมัยก่อน การต้องนั่งอยู่บนรถไฟนานๆ โดยไม่มีเครื่องมือให้ความบันเทิงใดๆ เหมือนสมัยนี้ รสชาติของการเดินทางจะเป็นอย่างไร ในวันนี้มีเครื่องบินพาเราไปจังหวัดนราธิวาสแค่เพียงชั่วโมงกว่า ลัดฟ้าจิบกาแฟไปแก้วหนึ่งก็ถึงกรุงเทพฯ แล้ว นั่นเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้สูงวัยหรือเด็กๆ จะได้มีโอกาสได้เดินทางไปเที่ยวจังหวัดสุดท้ายทางใต้ของไทยกันอย่างสะดวก เช่นเดียวกับการเดินทาง ในโครงการ "เก๋ายกก๊วน ชวนกันเที่ยวใต้” ประจำปี 2561  ที่เราได้ร่วมทางไปกับ ททท. สนง.นราธิวาส  โดยการดูแลของ “ไปไหนดี ทราเวล” ซึ่งเป็นบริษัททัวร์ที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และทำทัวร์ในเส้นทางภาคเหนือเป็นหลัก แต่ครั้งนี้ ทางไปไหนดี ทราเวล ต้องการที่เป็นส่วนหนึ่งในการบุกเบิกเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มคนสูงวัย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ พร้อมทั้งการเยี่ยมชมความงดงามของแหล่งท่องเที่ยวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราออกจากปัตตานีในช่วงค่ำ เนื่องจากพิธีลุยไฟที่ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเสร็จสิ้นในช่วงเย็นมากแล้ว

ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ที่ตรงนั้นก็คือโลกของคุณ มุมเล็กๆ ในร้านกาแฟกับหนังสือเล่มโปรด เพลงเพราะๆ จากเครื่องเสียงรถยนต์ ขณะที่ติดไฟแดง ร้านอาหารร้านโปรดที่คุณฝากท้องเอาไว้ แต่โลกที่เป็นคุณมากที่สุด ก็คือบ้านของคุณเอง การเลือกเฟอร์นิเจอร์ ก็เหมือนการสร้างโลกของเรา ดังแนวคิด The Signature of Living ที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน  “Thailand International Furniture Expo 2018 (TIF Expo 2018)” งานแสดงเฟอร์นิเจอร์คุณภาพระดับส่งออก โชว์ศักยภาพการผลิตและดีไซน์ที่หลากหลายได้รับมาตรฐานระดับโลก ตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้หลากหลายรูปแบบ จัดโดยกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ทราบตัวเลขการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของประเทศไทยว่ามีมูลค่ากว่า  3.7 หมื่นล้าน ได้เห็นจากงานนี้ยิ่งเข้าใจ ว่าทำไมเฟอร์นิเจอร์ไทยถึงได้รับการยอมรับดีขนาดนี้ ด้วยคุณภาพมาตรฐานระดับสากล การผลิตที่ประณีต จากไอเดียที่ตอบโจทย์ได้หลากหลาย เอาเป็นว่า ไม่เสียเวลา ไปดูกันดีกว่า ว่าช่วงเวลาสั้นๆ ที่ได้เดินชมงาน เราได้พบเจออะไรมาบ้าง งานนี้แบ่งเป็น 4 โซน ประกอบด้วย โซนแสดงสินค้าจากผู้ประกอบการกวก่า

งานแฮนเมดได้ชื่อว่า เป็นชิ้นเดียวในโลก เพราะแม้ว่าจะทำขึ้นใหม่ ในแบบเดียวกัน ลายเดียวกัน แต่มันก็ไม่อาจจะเหมือนกันเป๊ะ นับเป็นผลงานชิ้นเล็กๆ ที่ดึงดูดสายตาให้ปรี่เข้าไปหา กับลวดลายหลากหลายแบบที่นำมาทำเป็นจี้สร้อยคอพร้อมต่างหู ภายใต้แบรนด์ PITA พอได้รู้ว่ายังมีผลงานที่ออกแบบมาแล้วนับพันลาย และอยู่ในรูปแบบของจี้และต่างหูเท่านั้น ฟังแล้วก็ว้าวเบาๆ     PITA เป็นแบรนด์เครื่องประดับ ย้ำว่าเฉพาะจี้สร้อยคอและต่างหูเท่านั้น เป็นผลติภัณฑ์เซรามิกที่มาจากจังหวัดลำปาง โดยสานต่อจากธุรกิจครอบครัวที่มีอายุกว่า 40 ปี  ซึ่งเป็นโรงงานเซรามิค จำพวก แจกัน จานชาม ตุ๊กตา แบบที่เห็นได้โดยทั่วไป เมื่อ 20 ที่แล้ว "ณภัทร โชติพฤกษ์ชูกุล" ได้ต่อยอดธุรกิจครอบครัว ด้วยการนำกระบวนการของเซรามิกมาทำเป็นเครื่องประดับ ภายใต้แบรนด์ “PITA”     เธอไม่ได้เรียนจบด้านศิลปะ แต่มาจากสายสิ่งแวดล้อม แต่ด้วยการศึกษางานออกแบบทั้งในและต่างประเทศ มีการติดตามเทรนด์เครื่องประดับทุกปี ทำให้ลวดลายของ PITA มีนับพันแบบ

ไม่ใช่แค่คิดก็คิดได้ เพราะนี่คือการคิดแล้วคิดอีก คิดได้แล้วอาจจะยังไม่เข้าท่า ก็ต้องว่ากันใหม่ เราอาจจะเจอเขาในตอนท้ายที่พบกับความสำเร็จ  แต่ก่อนหน้านั้น มวลความคิดมหาศาลถูกนำออกมาจัดการกับสิ่งที่เขาเชื่อมั่นว่า มันไม่ควรจะไร้ค่าต่อไปอย่าง “กะลา”   พบเห็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกะลามามากแล้ว แต่ส่วนใหญ่ มันก็ยังเป็นกะลาที่ออมาในรูปแบบที่เรียกได้ว่า เชยสนิท เหมือนช่วงแรกที่ “สุวิทย์ แก้วจันทร์” คิดว่า จะเอากะลามะพร้าวที่กองท่วมหัวในหลายต่อหลายพื้นที่มาทำอะไร เขายอมรับว่าเคยคิดเหมือนคนอื่น และแป๊กไม่เป็นท่า พวงกุญแจกะลาที่เห็นโดยทั่วไป แม้จะราคาถูกก็โดนคนเมินใส่ เพราะมันไม่ได้มีอะไรแตกต่าง เขาเริ่มมองหาทางทำให้กะลาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดึงดูดสายตาของผู้คนให้ได้ โดยผลิตเป็นของใช้ที่ขนาดใหญ่ขึ้นๆ จนมาถึงโคมไฟขนาดยักษ์ ที่เราได้พบเจอในวันนี้     สุวิทย์เป็นชาวใต้ที่มาปักหลักอยู่เมืองแพร่ ดินแดนที่ได้ชื่อว่ามีผลิตภัณฑ์ไม้ที่โดดเด่น แต่เส้นทางของเขา คือ กะลามะพร้าวเท่านั้น จากวันที่เริ่มต้นมาจนถึงวันนี้ เกือบ 20 ปีแล้วที่เขาอยู่กับกะลา แต่ไม่ได้อยู่แค่ในกะลา เพราะเขาพยายามคิดค้น ศึกษา ทดลอง จนมาเป็นกะลาที่ไม่ธรรมดาแล้ว เพราะมันคือ “กะลาทองคำ”

นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวไทย ที่มีเอกลักษณ์ของงานศิลปกรรมอันวิจิตร สะท้อนภูมิปัญญาจากฝีมืออันประณีต และยังคงสืบสาน ต่อยอด เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา เพื่อให้ผลงานอันทรงคุณค่ายังคงอยู่สืบไป ล่าสุด มีการจัดงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 9” ขึ้นในวันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT และภายในงานนี้มีการมอบรางวัลเพื่อเชิดชู ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปะหัตกรรม และ ทายาทช่างศิลปะหัตกรรม ซึ่งเรามีตัวอย่างของผู้ที่ได้รับรางวัลในแต่ละประเภทมาให้ชมกันพอหอมปากหอมคอ แต่หากใครได้ไปชมในงานจะรู้ว่ายังมีผลงานอันทรงคุณค่าระดับสุดยอดอีกเพียบ รางวัลครูศิลป์ของแผ่นดิน 2561 ครูบัวไหล คณะปัญญา อายุ 88 ปี เชียงใหม่ ประเภทเครื่องกระดาษ “งานหัตถกรรมโคมล้านนา” ผู้สั่งสมภูมิปัญญาและประสบการณ์การทำโคมล้านนามานานกว่า 76 ปี ด้วยฝีมือการใช้กรรไกรเพียงด้ามเดียวตัดกระดาษเป็นลวดลายที่ละเอียดและคมชัด จนได้รับการกล่าวขานและยอมรับว่าเป็น “แม่ครูแห่งการทำโคมล้านนา” ครูบัวเลิศ

End Cradit ของหนังแต่ละเรื่อง บอกเล่าถึงส่วนประกอบที่สร้างสรรค์ผลงานชิ้นหนึ่งขึ้นมา ซึ่งทุกวันนี้การทำ End Cradit ก็มีการนำเสนอที่น่าสนใจ เพื่อให้คนเบื้องหลังได้ปรากฏแก่สายตาของผู้ชมได้มากที่สุด จนกลายเป็นเสน่ห์ของหนังที่ทำให้เรายังคงนั่งชมแม้ว่าเรื่องราวจะจบไปแล้ว แล้วงานศิลปะภาพเหมือนสักชิ้นล่ะ End Cradit จะหมายถึงสิ่งใด แล้วจะแสดงอยู่ส่วนไหน เพราะสุดท้าย มีเพียงชื่อของศิลปินที่กำกับอยู่บนผลงาน เพราะคลุกคลีกับงานเบื้องหลังมานาน จึงเข้าใจถึงคุณค่าของคนเบื้องหลัง  “จื้อ-พรชัย สินนท์ภัทร” ศิลปินนักวาดภาพชั้นนำของบ้านเรา จึงตั้งใจสร้างผลงานที่แสดงถึงคุณค่าของคนเบื้องหลัง ผ่านผลงานชุด The Jigsaw of Beauty เราเจอพี่จื้อ ในงานนิทรรศการ “ลูกไม้ใต้ต้น” ที่กลุ่มศิษย์เก่าคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อเชิดชู อ.ลาวัณย์ อุปอินทร์ ศิลปินแห่งชาติผู้เป็นครูมาตลอดชีวิต โดยงานนี้ได้รวมผลงานนับ 200 ชิ้น จากศิลปินรับเชิญและคณะลูกศิษย์ จัดขึ้น ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

นี่อาจจะไม่ใช่สินค้าใหม่ เพราะนานมาแล้วที่เรารู้จักกับแผ่นมาสก์หน้าเกิดขึ้นในบ้านเรา แต่ในความเนิ่นนานจนกลายเป็นความชินตา เราก็ละเลยไปจนลืมนึกถึงความหมายที่ใกล้ตัวของมันมากที่สุด เพราะจะว่าไปแผ่นมาสก์มันก็คือหน้ากาก แต่ที่ผ่านมา มีเพียงแค่แผ่นมาสก์สีขาวๆ ออกมาให้เห็น จะมีสีอื่นบ้าง มีลาดลายอื่นบ้าง แต่ก็ยังไม่ตรงประเด็นเหมือนวันนี้ เราคงไม่พูดถึงแผ่นมาสก์หน้าไอ้มดแดง อุลตร้าแมน หรือสเดอร์แมน เพราะหากต้องการสื่อสารว่านี่คือแบรนด์ไทย หน้ากากนั้นก็ต้องมาจากเรื่องราวซุปเปอร์ฮีโร่แบบไทยๆ อย่างตัวละครในวรรณคดี และที่สะดุดตาและเป็นเอกลักษณ์ที่สุด ก็น่าจะเป็นหน้ากากแบบยักษ์อย่างที่เห็นอยู่นี้   วันนี้เราได้พบกับแผ่นมาสก์หน้า “รามายณะ” ที่พิมพ์ลาดลายของใบหน้าของ ทศกัณฐ์ ไมยราพ หนุมาน และสุครีพ  มาใน 4 โทน เขียว แดง น้ำเงิน ชมพู ดูโดดเด่นสะดุดตา เป็นฝีมือและการสร้างสรรค์จาก บริษัท วรินดา อิมพอร์ต แอนด์ เอ็กซ์พอร์ต จำกัด ผู้ผลิตและนำเข้าสกินแคร์

นักชิมขาลุยเหมาแท็กซี่จากกรุงเทพฯไปลพบุรี เขาไม่ได้มีภารกิจสำคัญอะไร แต่คงเพราะข้างในมันเรียกร้อง ทั้งกระเพาะ ลำไส้ คงเว้าวอนอยู่พักใหญ่ หลังสายตาได้รับรู้ว่า มีร้านผัดไทยจานบิ๊ก เครื่องเคียงครบครัน ยกมากันทั้งทะเล แบบที่ไม่ค่อยมีให้เห็น เมื่อคุณสั่งผัดไทยทะเลโดยทั่วไป สิ่งที่คุณจะได้คือผัดไทยที่มาพร้อม กุ้ง หอย และหมึกหั่นเป็นชิ้นๆ ผัดรวมกันมา แต่สำหรับที่นี่ “ร้านผัดไทยโบราณเขาวง” หน้าตามันก็จะเป็นแบบที่เห็น [caption id="attachment_12407" align="aligncenter" width="800"] ผัดไทยกุ้ง 60 บาท แต่ไหนละเส้นผัดไทย[/caption]   ผัดไทยธรรมดา ในราคา 40 บาท หากเพิ่มอีก 40 บาท ก็จะได้หอยแมลงภู่นิวซีแลนด์ กุ้ง และหมึกตัวเต็มๆ อีก 1 ตัว เพิ่มขึ้นมา พร้อมเครื่องเคียงอย่างเกี๊ยวกรอบ

เหล่าคนดังในวงการ หนัง เพลง กีฬา มักจะถูกผูกโยงมาเป็นส่วนหนึ่งในการมีส่วนร่วมในการออกแบบสินค้า โดยเฉพาะกลุ่มนาฬิกา ซึ่งมีคอลเล็คชั่นพิเศษออกมาสร้างสีสันและความน่าสนใจ เช่นเดียวกับการเดินทางในรอบ 25 ปี ของเรือนเวลาลุคสปอร์ต รอยัล โอ๊ค ออฟชอร์ (ROYAL OAK OFFSHORE) โดยแบรนด์ “โอเดอมาร์ ปิเกต์” (AUDEMARS PIGUET)  จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสร้างผลงานการออกแบบที่ครองใจเหล่านักแสดง นักกีฬา รวมทั้งกลุ่มเซเลบริตี้ทั่วโลก ไปดูกันว่ามีรุ่นไหนจากแรงบันดาลใจใดกันบ้าง   1999 ROYAL OAK OFFSHORE End of Days เรือนเวลาดังกล่าวถูกสวมใส่โดยนักแสดงมากความสามารถอย่าง อาร์โนลด์ ชวาเซเนกเกอร์(Arnold Schwarzenegger) ในขณะเข้าฉากถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “End of Days” ซึ่งชวาเซเนกเกอร์ถือเป็นผู้ร่วมดีไซน์คนสำคัญในครั้งนี้

นอกจากดอกกุหลาบแล้ว คิดว่าดอกไม้อะไรที่มีการซื้อขายกันเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งงานชมพู งานขาวดำ งานเลี้ยง งานประชุมหรืองานพิธีต่างๆ ก็ต้องใช้เจ้าดอกไม้ชนิดนี้ ดอกไม้ที่ว่าคือ “เบญจมาศ” หรือ Chrysanthemum จริงหรือไม่ ที่แทบทุกงานทุกกิจกรรมจะต้องมีดอกไม้ชนิดนี้ เพราะปลูกได้ค่อนข้างง่าย ในสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ราคาไม่แพง แถมยังมีขนาดดอกที่มีทั้งเล็กๆ กระจุ๋มกระจิ๋ม ไปจนถึงใหญ่บึ้ม มีความอดทนสูง ปักแจกันทำช่อก็ไม่เฉาง่ายๆ  รูปลักษณ์ยังงดงามตามกลีบซ้อนกันอย่างหนาแน่น แถมยังมีสีสันหลากหลาย ไล่เฉดสีภายในดอกเดียวกันได้อีกด้วย นอกจากภาคเหนือซึ่งมีสภาพอากาศเย็นเหมาะกับการปลูกเบญจมาศแล้ว แถบภาคกลาง อย่าง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ก็มีการปลูกดอกเบญจมาศ วันนี้เราเดินทางมาทำภารกิจที่ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก รื่นรมย์กับงานคาวบอยไนท์จนดึกดื่น ยามเช้า (ที่ตื่นสาย) จึงมองหาที่แวะเที่ยวใกล้ๆ ก่อนจะบึ่งกลับกรุงเทพฯ ได้ยินมาว่า มีแปลงดอกเบญจมาศขนาดใหญ่อยู่ในละแวกนี้ ก็ไปกันเลย ที่นี่คือ “สวนบิ๊กเต้” หรือ Big

กลิ่นอายของความรักช่างหอมละมุน จนผู้ที่ได้สูดความชื่นบานนั้นแทบไม่อยากหายใจออก หากเปรียบความรักเป็นลมหายใจ  รักนั้นจึงต้องใช้หล่อเลี้ยงชีวิตให้เดินต่อไป แต่น่าเสียดาย ที่หลายครั้งเราแทบลืมมัน การถนอมรักให้ยั่งยืน จึงเป็นเรื่องของการใส่ใจ รู้หายใจเข้าออก  ก้าวย่างแห่งรักบนถนนของคนสองคน  ย่อมต้องการความเข้าใจต่อกัน  และหากใครที่กำลังวางแผนเดินทางท่องเที่ยวกับคนรักในช่วงเดือนสีชมพูนี้ เรามีเส้นทางแห่งราศีมาเป็นแผนที่ช่วยนำทาง

ไม่เฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น ที่จะแสดงออกได้ถึงความรู้สึกแห่งรัก กระทั่งข้าวของเครื่องใช้ชิ้นเล็กๆ ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ก็เป็นหนึ่งในหลักฐานแห่งรัก ให้ผู้คนได้ประจักษ์ หนึ่งรักนั้นคือรักจากหญิงสาวที่มอบให้น้องชายและหลานรัก อีกรักหนึ่งคือรักระหว่างชายหนุ่มหญิงสาวที่กำลังตัดสินใจครองชีวิตร่วมกัน และหลักฐานชิ้นสำคัญนั้น ยังคงตระหง่าน สืบทอดพยานแห่งรักจากรุ่นสู่รุ่น คุ้มที่แสนหวานหลังนี้ คือ คุ้มวงศ์บุรี ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2440  ตามดำริของแม่เจ้าบัวถา ชายาองค์แรกในเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย  เพื่อเป็นของกำนัลในการเสกสมรส ระว่างเจ้าสุนันตา ผู้เป็นบุตรีเจ้าบุรีรัตน์ น้องชายของเจ้าแม่บัวถา สีชมพูอ่อนๆ ซ่อนความละมุนละไมไว้เต็มพื้นที่ เรือนไม้สองชั้นทรงยุโรปประยุกต์โทนสีชมพูขาว ยิ่งดูยิ่งหวาน ยิ่งมองยิ่งสบายตา รายล้อมไปด้วยพันธุ์ไม้ ชุ่มเย็นไปด้วยบรรยากาศแบบมนต์เมืองเหนือ กว่าร้อยปีแห่งความงดงามนี้ ผ่านการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี ทำให้ “คุ้มวงศ์บุรี”  “บ้านวงศ์บุรี” หรือ “เฮือนวงศ์บุรี”  ยังคงเรียกสายตาอันเปล่งประกายให้กับผู้ได้เข้าชม ด้านในคุ้มหวานแห่งนี้ ตกแต่งตามแบบฉบับเดิม ห้องหับต่างๆ เป็นสัดสัดส่วนนับสิบห้อง มีมุมแสดงข้าวของเครื่องใช้โบราณ พร้อมหลักฐานสำคัญจากอดีตกาล

นิยามแห่งรักของแต่ละคนย่อมแตกต่างต่างกัน เส้นทางแห่งรักของแต่ละคู่ก็แตกต่างกันไป แล้วรักของคุณเป็นแบบไหน มุมมองที่แสนโรแมนติกของคุณเป็นเช่นไร ลองมาสำรวจความรู้สึกแห่งรัก กับ 10 เส้นทางแสนดีต่อใจ แบบที่อยากให้เธออยู่ตรงนี้ อยากเห็นหน้าเธอเป็นคนแรกทุกเช้าเลย  [caption id="attachment_11997" align="alignnone" width="799"] ทะเลน้อย พัทลุง[/caption] หากเขาหรือเธอยังคงเป็นคนแรกที่เราอยากเห็นหน้าในยามตื่นลืมตาขึ้นมา ขอแนะนำ ยามเช้าสุดชื่นใจของคุณและเขา ในธีมสีน้ำเงินก่อนแสงแรกของวันจะมาถึง ที่นี่คือ “ทะเลน้อย” จังหวัดพัทลุง พื้นที่ชุ่มน้ำอันอุดมสมสมบูรณ์ กว้างใหญ่ไพศาล ในช่วงเช้าตรู่ สามารถล่องเรือไปชมความงามของธรรมชาติในทะเลน้อย ที่เชื่อมต่อกับทะเลสาบสงขลา ซึ่งมีสะพานเอกชัย (ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550) ตั้งตระหง่าน เมื่อแสงแรกผ่านเข้ามา เราก็จะพบกับความงามของบรรดานกน้ำนานาชนิด วิถีชีวิตของควายน้ำ และสามารถลัดเลาะไปชมทะเลบัวแดงได้อีกด้วย   เพราะรักเราแสนหวาน เยี่ยงน้ำตาลเมืองเพชร  [caption id="attachment_11999" align="alignnone"

ขบคิดกันยิ่งกว่าปัญหาระดับชาติ สำหรับวงการหนังไทยที่ดูจะเอื่อยเฉื่อยเหมือนคนเดินเรื่อยเปื่อย นานๆ จะกระโดดโลดเต้นมีชีวิตขึ้นมาสักที ทั้งๆ ที่วันนี้ มีคนรักหนังมากขึ้น พอๆ กับคนที่อยากทำหนัง เพิ่มขึ้นอีกมาก ในโลกของไอที มีคำว่า IOT :  Internet of Things   ที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตอยู่ในทุกสรรพสิ่ง ในวงการหนังก็น่าจะมีคำว่า EIM : Everything is Movies  บ้าง (ซึ่งยังไม่มี) เพราะทุกวันนี้ทุกคนคือคนทำหนัง ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ภาษาใหม่ในชีวิตไม่รักก็เรียนไปแล้ว คนในอาชีพอื่นก็เรียนภาพยนตร์โดยไม่รู้ตัว เวลาเจอเหตุการณ์อะไรก็ถ่ายคลิปไว้ ส่งให้เพื่อนดู พอเพื่อนบอกยาวไป เขาก็เริ่มตัดต่อ เพื่อนบอกดีแล้ว แต่น่าจะใส่ดนตรีประกอบไหม ก็มีแอพง่ายๆ ให้ใช้เต็มไปหมด  ทุกคนกำลังเรียนภาพยนตร์ ขนาดคนที่ไม่รักหนังยังทำ เกิดภาษาใหม่ในชีวิตประจำวัน คือภาษาภาพยนตร์ หนังจึงเป็นภาษาใหม่ที่ทุกคนต้องเรียน คนที่ไม่คิดจะทำหนัง

อีกนิดเดียวเราก็คงพลาด หากไม่ฮึดอีกอึดใจ ที่ไม่ยอมหันหลังกลับไป บางทีมันก็เหมือนมีอะไรบางอย่างรอคอยเราอยู่ จึงไม่ยอมหยุดมองหาแม้ว่าจะยังไม่เจอ เพื่อนร่วมทางเดินย้อนกลับมา ผ่านพุ่มไทรที่ห้อยระโยงระยาง แม้จะมองจากไกลๆ เราก็เดาได้ว่า เขาแบกความผิดหวังก้อนใหญ่กลับมาด้วย “ไม่มีอะไรเลยว่ะ เดินไปตั้งไกล ที่เห็นไม่ใช่แค่นั้นนะ มันลึกเข้าไปอีกไกลมาก” เขาร่ายอีกยาวว่า ที่นี่คงไม่ใช่วัดที่มีเจดีย์ที่บรรจุพระอังคารของบิดาและมารดาของพระเจ้าตาก ที่เรากำลังตามหา เรายืนอยู่ที่ “วัดกลางสวนดอกไม้” ที่คนในเมืองตากบอกกับเราว่า “วัดสวนดอกไม้” (การเรียกชื่ออาจจะมีตัดทอนบ้างเป็นธรรมดา) มีเจดีย์ที่กล่าวถึงอยู่ และเราก็มาถึงแล้ว ด้วยความเงียบและไร้ผู้คนให้สอบถาม เราจึงใช้เวลาเดินหากันพักหนึ่ง จนได้พบว่า น่าจะไม่ใช่วัดแห่งนี้ หรือบางทีข้อมูลจากต้นทางของเราอาจจะผิดเสียแล้ว แต่จากการค้นหาเส้นทางในกูเกิล ข้อมูลมันก็เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้ ไม่เป็นไร ถึงจะยังไม่เจอ เราก็จะหาต่อไป จริงๆ แล้ว วัดสวนดอกไม้ก็มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย จากความร่มรื่นภายในวัด และยังมีสถานที่สำคัญอย่างเจดีย์เสี่ยงทายบารมีของพระเจ้าตากอยู่อีกด้วย เราเดินแบบไร้จุดหมายไปหน้าวัด บ้านเรือนในย่านนี้ดูเงียบเชียบ (เงียบไปหมด ทั้งบ้านทั้งวัด) หยุดที่บ้านหลังหนึ่ง มองลอดรั้วเข้าไปเห็นกลุ่มลุงๆ ป้าๆ

ศิลปะมีคุณค่า และสามารถสร้างมูลค่า แม้ศิลปินไม่ใช่แพทย์ แต่ก็ใช้ผลงานขยายผลเพื่อส่งต่อการให้อันยิ่งใหญ่ เพื่อร่วมช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้ วันนี้พามาชมผลงานศิลปะที่จะนำมาประมูล ในโครงการ Arts for Life: Mercy Mission ร้อยความดี ต่อลมหายใจ  จะประมูลในวันที่ 18 ก.พ. นี้ ที่ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทั้งนี้ยังมีผลงานเพื่อการจำหน่าย โดยกลุ่มศิลปิน Art for Live ได้รวบรวมผลงานจากศิลปินกว่า 70 คน ตั้งแต่รุ่นใหญ่ อย่างศิลปินแห่งชาติ จนมาถึงศิลปินดังรุ่นใหม่ และดารานักแสดง ที่พร้อมใจกันนำ “งานสะสม”  และ “งานศิลป์ชิ้นพิเศษ” มาจัดนิทรรศการเพื่อจำหน่ายและประมูล โดยนำรายได้สมทบทุนสร้าง ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน หรือ อาคารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

การได้ทำงานที่ชอบและถนัด ถือเป็นหนึ่งในแนวทางสร้างความสุขให้กับชีวิต แต่หากมีความชอบ แต่ยังไม่ถนัด การได้เรียนรู้ในสิ่งที่ชอบ แม้จะดูยาก ก็ยังเป็นอีกความสุขอยู่ดี เช่นเดียวกับการก้าวข้ามและพลิกผันครั้งสำคัญของอาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติที่โลดแล่นในวงการศิลปะไทยมากว่า 30 ปี มีผลงานเป็นที่ลือเลื่อง จนมาวันหนึ่ง ท่านก็คิดที่จะท้าทายตัวเอง ด้วยการออกจากสิ่งที่หลายคนอาจเรียกมันว่า Safe Zone ด้วยการพลิกโฉมรูปแบบงานศิลปะที่ถนัดมาทั้งชีวิต สู่การสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบใหม่ ที่ไม่เคยทำมาก่อน โดยใช้เวลาเกือบ 5 ปีกว่าจะออกมาเป็นผลงาน ภายใต้แนวคิด “Ready Myth” อวดโฉมให้ทุกคนได้ร่วมกันฉุกคิดในนิทรรศการ “PANYA  : READY MYTH DEMONCRACY” ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ใช่

สมัยเด็กๆ เวลาทำอะไรผิดสักอย่าง เราจะรู้สึกเศร้าใจเป็นอย่างมาก แค่ทำแจกันแตกไปใบหนึ่ง ก็สะเทือนใจอย่างหนัก แต่เมื่อโตมา จะแก้วแตก จานแตก หรือแจกันแบบเดิมแตก ก็เห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย แล้วถ้าเรื่องเล็กน้อยที่มองเห็นว่ามันไม่เป็นไรนั้น ก่อรวมตัวเข้าด้วยกัน จนสร้างผลกระทบในวงกว้างล่ะ นี่คือคำถามให้ได้ฉุกคิด ในประเด็นของสิ่งแวดล้อม ที่ อ.ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ ต้องการสื่อสารไปถึงผู้ชม  กับงานแสดงผลงานศิลปะ “PANYA: READY MYTH  DEMONCRAZY” ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในชั้นแรกของอาคาร เราพบกับกลุ่มแมงมุมยักษ์ขนาดใหญ่ เดาได้ว่าเป็นวัสดุที่มาจากรถยนต์หลายๆ ยี่ห้อต่าง มันคือผลงานที่ชื่อ ชื่อผลงาน “VW Spindler Cars”  หรือ ยานแมงมุม ซึ่งเป็นเทคนิคสื่อผสม แหงนมองขึ้นไปเห็นสายไฟขนาดใหญ่ห้อยอะไรโตงเตงลงมา แต่ก็ยังจับตาอยู่กับเจ้าแมงมุมเหล่านี้ การสร้างสรรค์งานชิ้นนี้