Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ร่วมชื่นชมสุดยอดงานศิลป์ สะท้อนอัตลักษณ์แห่งสยาม

นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวไทย ที่มีเอกลักษณ์ของงานศิลปกรรมอันวิจิตร สะท้อนภูมิปัญญาจากฝีมืออันประณีต และยังคงสืบสาน ต่อยอด เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา เพื่อให้ผลงานอันทรงคุณค่ายังคงอยู่สืบไป

ล่าสุด มีการจัดงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 9” ขึ้นในวันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT และภายในงานนี้มีการมอบรางวัลเพื่อเชิดชู ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปะหัตกรรม และ ทายาทช่างศิลปะหัตกรรม ซึ่งเรามีตัวอย่างของผู้ที่ได้รับรางวัลในแต่ละประเภทมาให้ชมกันพอหอมปากหอมคอ แต่หากใครได้ไปชมในงานจะรู้ว่ายังมีผลงานอันทรงคุณค่าระดับสุดยอดอีกเพียบ

  • รางวัลครูศิลป์ของแผ่นดิน 2561

ครูบัวไหล คณะปัญญา อายุ 88 ปี เชียงใหม่

ประเภทเครื่องกระดาษ “งานหัตถกรรมโคมล้านนา”

ผู้สั่งสมภูมิปัญญาและประสบการณ์การทำโคมล้านนามานานกว่า 76 ปี ด้วยฝีมือการใช้กรรไกรเพียงด้ามเดียวตัดกระดาษเป็นลวดลายที่ละเอียดและคมชัด จนได้รับการกล่าวขานและยอมรับว่าเป็น “แม่ครูแห่งการทำโคมล้านนา”

ครูบัวเลิศ เฉลิมฤกษ์ อายุ 72 ปี พระนครศรีอยุธยา

ประเภทเครื่องไม้ “งานหัตถกรรมต่อเรือจำลอง”

เป็นผู้มีทักษะในการต่อเรือจำลองด้วยประสบการณ์กว่า 57 ปี โดยมีต้นแบบจากเรือที่คนไทยเคยใช้งานอยู่แม่น้ำในแผ่นดินไทยเกือบทุกประเภท

ครูชิน ประสงค์ อายุ 85 ปี นนทบุรี

ประเภทเครื่องดิน “งานประติมากรรม”

ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรมผ่านผลงานที่โดดเด่นมากว่า 50 ปี โดยผลงานที่ปลาบปลื้มใจอย่างหาที่สุดไม่ได้ คือ งานปั้น “คุณทองแดง” และ “คุณโจโฉ” ขนาดเท่าจริง เพื่อนำไปประดับข้างพระจิตกาธานในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

  • ผู้ได้รับรางวัล “ครูช่างศิลป์หัตถกรรม ประจำปี 2561”

ครู

นายพลเทพ บุญหมื่น อายุ 45 ปี เชียงใหม่

ประเภทเครื่องกระดาษ งานหัตกรรมโคมตุง-ลายดอก”

ผู้มีทักษะความชำนาญในการทำโคมตุงและงานตอกกระดาษมากว่า 20 ปี เป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของแม่บัวไหล มีทักษะการตัดกระดาษได้อ่อนช้อย โดยไม่ต้องร่างแบบก่อนตัด

ครูชาตรี เนื่องจำนง อายุ 55 ปี ชลบุรี

ประเภทเครื่องไม้ “งานหัตถกรรมเรือไม้จำลอง”

ผู้สืบสานและอนุรักษ์งานหัตถกรรมไม้ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี โดยมีต้นแบบจากเรือใบในประวัติศาสตร์แบบต่างๆ ตั้งแต่เรือพื้นบ้านของไทยและต่างประเทศ เรือรบ เรือพาณิชย์ของไทยและต่างประเทศ

ครูอรุณศิลป์ ดวงมูล อายุ 67 ปี น่าน

ประเภทเครื่องไม้ “งานหัตกรรมเครื่องดนตรีไม้พื้นบ้านไทย”

ผู้สืบสานการประดิษฐ์เครื่องดนตรีพื้นบ้านแบบโบราณ ที่มีประสบการณ์มาอย่างต่อเนื่องนานถึง 54 ปี ชิ้นงานที่โดดเด่นคือ เครื่องดนตรีสะล้อ และปิน (ซึง) นอกจากนี้ยังมีความสามารถบรรเลงเพลงประกอบการขับซอ จนได้รับการยกย่องให้เป็น “พ่อครูดนตรีแห่งลำน้ำน่าน”

ครูวิเชิญ แก้วเอี่ยม อายุ 64 ปี เชียงใหม่

ประเภทเครื่องอื่นๆ “งานหัตกรรมจ้องแดงโบราณ”

ผู้สืบทอดงานหัตถกรรม “จ้องแดง” ร่มแบบโบราณ หนึ่งในภูมิปัญญาบรรพบุรุษที่สืบสานต่อทอดกันมาหลายชั่วอายุคน นับหลายร้อยปี และกำลังจะสูญหายไป มีเพียงบ้านเดียวที่ยังคงอนุรักษ์การทำจ้องแดงโบราณ

ครูนิเวศ แววสมณะ อายุ 46 ปี กรุงเทพฯ

ประเภทเครื่องอื่นๆ “งานหัตกรรมหุ่นกระบอกไทย”

เป็นผู้มีความรู้ และทักษะฝีมือในการสร้างและศิลปะการแสดงเชิดหุ่นกระบอกไทยมากว่า 21 ปี ซึ่งการทำหุ่นกระบอกมีขั้นตอนด้วยการทำมือแทบทั้งสิ้น

  • รางวัล “ทายาทช่างศิลปกรรม ประจำปี 2561

นายนิทัศน์ จันทร อายุ 42 ปี อุทัยธานี

ประเภทเครื่องทอ “งานหัตกรรมผ้าทอลาวครั่ง”

ผู้สืบทอดชิ้นงานผ้าทอลาวครั่ง ด้วยประสบการณ์กว่า 14 ปี ที่ได้สร้างสรรค์ผ้าทอให้มีความหลากหลายของสีสัน และมีหลายโทนสี

นายธีระพงษ์ รอดเทศ อายุ 30 ปี พิษณุโลก

ประเภทเครื่องดิน “งานหัตถกรรมปั้นดิน”

เป็นผู้ที่ยังคงรูปแบบงานปั้นดินแบบดั้งเดิมคือการสร้างชิ้นงานด้วยมือ ผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจึงมีความละเอียด พลิ้วไหว มีความเป็นธรรมชาติและเหมือนจริงมากๆ

นายวิษณุ ผดุงศิลป์ อายุ 57 ปี อ่างทอง

ประเภทเครื่องกระดาษ “งานหัตกรรมหัวโขน”

เป็นทายาทผู้สืบทอดงานช่างทำหัวโขนของบรรพบุรุษที่สืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามกรรมวิธีโบราณของสกุลช่าง “ผดุงศิลป์” และได้สั่งสมประสบการณ์การทำงานเป็นเวลากว่า 43 ปี

เป็นเพียงตัวอย่างจากผลงานช่างศิลป์และช่างฝีมือระดับสุดยอด ที่ได้รับรางวัลในปีนี้ แต่แค่ได้ชมเพียงเท่านี้ก็นับว่าอิ่มตาอิ่มใจ กับความละเมียดละไมของเส้นสายและทักษะฝีมือ ที่หาชมได้ยากแล้ว

Post a comment

20 − 14 =