Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

READY MYTH DEMONCRACY ปลุกชีพวัสดุมาตั้งคำถาม

สมัยเด็กๆ เวลาทำอะไรผิดสักอย่าง เราจะรู้สึกเศร้าใจเป็นอย่างมาก แค่ทำแจกันแตกไปใบหนึ่ง ก็สะเทือนใจอย่างหนัก แต่เมื่อโตมา จะแก้วแตก จานแตก หรือแจกันแบบเดิมแตก ก็เห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย

แล้วถ้าเรื่องเล็กน้อยที่มองเห็นว่ามันไม่เป็นไรนั้น ก่อรวมตัวเข้าด้วยกัน จนสร้างผลกระทบในวงกว้างล่ะ นี่คือคำถามให้ได้ฉุกคิด ในประเด็นของสิ่งแวดล้อม ที่ อ.ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ ต้องการสื่อสารไปถึงผู้ชม  กับงานแสดงผลงานศิลปะ “PANYA: READY MYTH  DEMONCRAZY” ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ในชั้นแรกของอาคาร เราพบกับกลุ่มแมงมุมยักษ์ขนาดใหญ่ เดาได้ว่าเป็นวัสดุที่มาจากรถยนต์หลายๆ ยี่ห้อต่าง มันคือผลงานที่ชื่อ ชื่อผลงาน “VW Spindler Cars”  หรือ ยานแมงมุม ซึ่งเป็นเทคนิคสื่อผสม แหงนมองขึ้นไปเห็นสายไฟขนาดใหญ่ห้อยอะไรโตงเตงลงมา แต่ก็ยังจับตาอยู่กับเจ้าแมงมุมเหล่านี้

การสร้างสรรค์งานชิ้นนี้ อ.ปัญญา ได้เล่าให้ฟังว่าศิลปินได้เริ่มด้วยการออกเดินทางแสวงหาวัสดุมาก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อเห็นวัสดุที่เป็นฝากระโปรงเก่าของรถโฟล์ค และตรงกับแนวความคิดที่มีมาแต่เดิม แล้วก็นึกไปถึงตัวแมงมุมขึ้นมา แล้วเห็นภาพว่าจะใช้กระโปรงท้ายรถโฟล์คเป็นตัวแมงมุมได้เป็นอย่างดี ส่วนขาของแมงมุมก็ได้มาจากกันชนรถโฟล์คและรถมินิที่เป็นเหล็กไม่เป็นสนิม (Stainless Steel) ประกอบกันเป็นแมงมุมหลายๆตัว หลายสี นำมาจัดวางเป็นกลุ่มในจำนวนที่มากพอที่เป็นชิ้นงาน และให้ความรู้สึกกับผู้ชมจึงได้นำมาติดตั้ง

ผลงานชิ้นนี้ อ.ปัญญา อยากจะให้ผู้ชมได้เห็น ว่าในปัจจุบันนี้โลกเราไม่ได้มีแต่ความขัดแย้งที่เป็นมหันตภัยเพียงอย่างเดียว แต่เรายังเผชิญกับมหัตภัยที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นคือมหัตภัยอันเกิดจากสิ่งแวดล้อม “แมงมุม” เป็นสัญลักษณ์ว่าโลกเราปัจจุบันได้เอาวัตถุดิบมาใช้อย่างสิ้นเปลือง ใช้กันอย่างทิ้งขว้าง เป็นวัสดุที่เหลือใช้ไม่ค่อยมีใครเหลียวแลเป็นขยะ เป็นปัญหาที่ใหญ่โตของคนทั้งโลกในปัจจุบันไปแล้ว

“แมงมุม” เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงสภาพแวดล้อมที่จะเปลี่ยนไปในอนาคต “แมงมุม” จะกลายเป็นสัตว์ที่มีพิษภัยร้ายต่อมนุษย์มากขึ้น จะเป็นมหันตภัยยิ่งกว่าความขัดแย้งของมนุษย์กับมนุษย์เราเองเสียอีก

ชื่อผลงาน : Bless My World

ขึ้นมาที่ชั้น 2 เราเจอกับผลงานที่โดดเด่นสะดุดตามาแต่ไกล กับงาน “Bless My World” เทคนิคสื่อผสม เป็นภาพพระเยซูหัวกลับ ที่ต้องการสื่อว่าพระเยซูกำลังลงจากสวรรค์มายังโลกเป็นสัญลักษณ์ว่าสังคม “โลกกำลังป่วย” มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงมาก จนทำให้พระเยซูต้องเสด็จลงมา  เพื่อให้เห็นถึงสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในโลกปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร? งานชิ้นนี้ศิลปินได้ใช้วัสดุเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อสื่อ โดยการนำตู้ยาโบราณของจีน แทนสัญลักษณ์ว่า “โลกกำลังป่วย”

นอกจากนี้พระเยซูก็ไม่ได้ถูกตรึงไว้กับไม้กางเขนเช่นที่เราเคยเห็นจนชินตากันมา แต่พระยาซูกับถูกตรึงไว้กับเครื่องบิน ที่ศิลปินต้องการสะท้อนว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้ได้เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน เกิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่เกิดความขัดแย้งในเรื่องความเชื่อทางศาสนาตลอดจนถึงความเชื่อทางการเมือง

ผลงานชุดนี้มีขนาดใหญ่พอสมควร ด้านบนมีสัญลักษณ์คล้ายๆ ดอกบัวที่ได้ทำขึ้นจากชิ้นส่วนของแก้มรถโฟล์คเก่าเข้ามาประกอบกันขึ้น ชิ้นส่วนอยู่ในสภาพเดิมๆ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม จัดวางไว้ด้านบนของตู้ยา

Bless My World ด้านหลัง

ส่วนด้านหลังของตู้ยานี้จะเป็นสัญลักษณ์ของความขัดแย้งทางการเมือง เป็นภาพของ “บารัค โอบาม่าคู่กับกัดดาฟี่” และมีตัวอักษรเพื่อสื่อความหมาย ว่า “Bless My World” ที่เป็นชื่อของผลงานชิ้นนี้ด้วย เพื่อสื่อว่าแม้โลกจะมีความขัดแย้งมากเพียงใด ศิลปินก็ไม่อยากให้เกิดความรุนแรง ขอให้โลกหายป่วย มีแต่ความสงบสุข

มาถึงชั้น 3 เราได้พบกับ ผลงาน “Season Change” (ผลัดฤดู) เทคนิคสื่อผสม ผลงานชิ้นนี้ อ.ปัญญา ได้มาจากชิ้นส่วนของรถโฟล์ค อยู่ในสภาพเก่าๆเป็นของเดิม นำมาประกอบกัน เป็นรูปดอกบัวร่วง โดยพูดถึงสิ่งแวดล้อมหรือฤดูกาลที่ต่อไปนี้จะไม่เป็นตามธรรมชาติ หรือไม่เป็นไปตามฤดูกาลที่เคยเป็นมาที่ฤดูร้อน แม้อากาศจะร้อน ก็จะมีลมทะเล ลมป่าพัดพาความเย็นมาจากทะเลและป่าเขาช่วยลดความร้อน ทำให้อากาศเย็นลง  ฤดูหนาวที่มีอากาศเย็นสบาย และฤดูฝนที่ฝนหรือพระพิรุณจะโปรยปรายลงมาทำให้พื้นดินชุ่มฉ่ำ ท้องไร่ท้องนาทั่วแผ่นดินก็จะเขียวขจีตามมา

ชื่อผลงาน :Season Change หรือ การผลัดฤดู

แต่ฤดูกาลในอนาคตอาจจะไม่เป็นเช่นที่เป็นอยู่อีกแล้ว เพราะสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ส่งผลกระทบต่อฤดูกาล ฤดูกาลอาจเปลี่ยนไป ภูมิอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเลวร้ายรุนแรงและมีแต่เลวลง

อ.ปัญญา จึงต้องเอากลีบดอกบัวที่ร่วงโรยดอกนี้ แสดงให้เห็นถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและอนาคตที่จะรุนแรงขึ้น ในชื่อ “Season Change” หรือการผลัดฤดูที่น่ากังวล

และแล้วก็พบต้นตอของสายที่ห้อยระโยงระยางลงไปถึงชั้นล่าง มันคือผลงานที่ชื่อ “ดอกไม้ร่วง” ซึ่งเป็นดอกไม้ที่ร่วงจากแจกันที่แตก ดังที่กล่าวไปข้างต้น นับเป็นผลงานชิ้นใหญ่ที่ดึงสายตาของผู้ชมได้ทั้ง 3 ชั้น

การแสดงนิทรรศการ “PANYA: READY MYTH  DEMONCRAZY” ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ      เปิดให้เข้าชมแล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มกราคม 2561   ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  บริเวณสะพานผ่านฟ้า

จากนี้ไป เราอยากให้ท่านได้ชมผลงานชิ้นอื่นๆ ที่จัดแสดงอยู่ในนิทรรศการในครั้งนี้ แล้วลองคิดว่า ศิลปิน ต้องการจะสื่ออะไรออกมา นับเป็นช่วงเวลาอันแสนท้าทาย และเต็มไปด้วยเรื่องราวที่ชวนให้ฉุกคิด

 

ส่วนหนึ่งของการแสดงผลงาน ชั้น 3

ชื่อผลงาน : บัวเบิกบาน

ชื่อผลงาน : พระแม่มารี

ชื่อผลงาน : บัวพุทธรักษา

ยิ่งได้รู้ว่า อ.ปัญญา ใช้เวลาศึกษาและสะสมวัสดุต่างๆ ก่อนจะสร้างสรรค์ผลงานในสไตล์ที่ไม่เคยทำมาเกือบ 5 ปี ยิ่งเป็นเรื่องที่ชี้ชวนให้เดินชมกันยาวๆ

เสมือนเด็กที่เพิ่งพบเห็นสวนสนุกขนาดย่อมๆ ก็ว่าได้

 

 

Post a comment

7 + 6 =