Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

Posts by Lanlom

คนเราไม่ชอบความเปลี่ยนแปลงสักเท่าไหร่ แม้ส่วนใหญ่ชอบออกมาตะโกนว่า อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง เพราะแม้แค่การปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างในชีวิตประจำวัน เราก็รู้สึกขัดหูขัดตาเสียกระบวนท่าการใช้ชีวิตไปเสียแล้ว “แปรงสีฟันฉันอยู่ไหน” รับรองว่าคุณจะเป็นอีกคนที่มึนงงหน้ากระจก หากวันใดวันหนึ่ง อุปกรณ์ยามเช้าของคุณได้ย้ายที่อยู่ออกไปตั้งรกรากใหม่ แม้จะเป็นเพียงฝั่งซ้ายไปฝั่งขวา ก็เขม่นลูกกะตาแล้วว่า ฝีมือใคร! ความรู้สึกพอๆ กับแม่มาเยี่ยมที่หอพัก พอกลับไปแล้ว อะไรที่เคยอยู่ (ไม่เป็นที่) ก็กลายเป็นหายไปตามระเบียบ (เรียบร้อย) คนอยากผอม จึงอยากได้ความเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่ไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง ก็ยังอยากฟินกินสุโก้ยโซ้ยแหลกอยู่นี่นา จะย้ายร่างออกไปตุเลงเต๊งชึ่งในฟิตเนสก็แหม ไม่มีมีเวลามากหรอกนะ คนทำงานมาเหนื่อยๆ มันต้องพักบ้างรู้รึเปล่า

คำว่า “ทั้งปี” มักจะอยู่ในรูปประโยคที่ไม่ค่อยดี เช่น เป็นอย่างนี้ทั้งปี! ที่แสดงถึงการบ่นถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  แต่มองอีกด้าน คำว่า “เป็นอย่างนี้ทั้งปี” มันก็เสมอต้นเสมอปลายดีนะ พอบอกว่า “ทั้งปี” จะหมายถึงอะไรได้บ้าง สภาพอากาศ ฝนตกทั้งปี ออกดอกทั้งปี ออกผลทั้งปี มาถึงคราวนี้ เราจะได้เข้าใจความหมายของคำว่า “ทั้งปี” กันมากขึ้น “ทั้งปี” ไม่ได้หมายถึง “ทุกวัน” เหมือนดอกไม้ที่ออกดอกทั้งปี ก็ไม่ได้ออกดอกทุกวัน จบคาบภาษาไทยแล้ว ออกไปเที่ยวกันได้ เพราะเวลาบอกว่าที่เบตง มีหมอกให้ชมทั้งปี คนก็หมายความว่า มันต้องมีให้เห็นทุกวันสินะ แต่บางครั้ง วันฝนตก อากาศไม่เป็นใจ มวลมหาหมอกก็ไม่มารวมตัวกันให้เราชม เหมือนบรรดาพลังแสงยามเช้าหรือยามเย็น ที่ต้องเฝ้ารอคอยชมความงามกันในแต่ละที่ เจอกับอิทธิฤทธิ์ของเมฆฝนเข้าไป ก็ทำให้บังแสงที่ควรจะส่องให้ชมได้ ที่ “เบตง” ได้ชื่อว่า “เมืองในหมอก” ที่ซึ่งจะชมความงามของหมอกรอบตัวได้ทั้งปี

การได้คุยกับใครสักคน เป็นความสุขหนึ่งที่สร้างความโล่งโปร่งสบายใจ แต่การได้นั่งฟังใครสักคนหนึ่ง ก็ชื่นใจไม่แพ้กัน แถมยังเปิดจินตนาการจากเรื่องเล่าได้ไม่รู้เบื่อ เพราะนี่คือ “เรื่องเล่าแห่งชาวไทลื้อ” จากแม่แสงดา สาวชาวไทลื้อ ผู้มีเรื่องราวมากมาย เป็นนิทานที่ไม่มีวันจบสิ้น กล่อมให้เราตกอยู่ในห้วงแห่งการท่องเที่ยวอย่างมีความสุข   อ.เชียงคำ จ.พะเยา คือ ประสบการณ์แห่งความสุขจากเรื่องเล่าของชาวไทลื้อที่เราได้มาสัมผัสในวันนี้ พร้อมกับความแปลกใหม่กับการสวมชุดไทลื้อออกไปท่องโลกไทลื้อในชุมชนแห่งนี้ [caption id="attachment_16634" align="aligncenter" width="900"] เช่าชุดไทลื้อมาสวมใส่ สร้างประสบการณ์ใหม่ เที่ยวชุมชนไทลื้อ[/caption] ไทลื้อ หรือ ไตลื้อ เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือการใช้ภาษาไทลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ อื่นๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่างๆ ดังที่เราได้ลองแปลงร่างเป็นชาวไทลื้อวันนี้ พบว่า ชุดไทลื้อมีความเรียบง่าย แต่ก็งดงาม [caption id="attachment_16649" align="aligncenter" width="900"]

“ชาวบ้านไม่เคยรู้หรอกว่า ของบ้านๆ ที่ทำใช้กันอยู่เป็นประจำ จะไปไกลสู่สากลได้” รศ.วาสนา สายมา นักสร้างสรรค์จากโครงการ Innovative Craft Award ปี 2555 เจ้าของแบรนด์ Vassana กล่าวในช่วงหนึ่งของการเสวนา ในงานแสดงผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยในวัฒนธรรมร่วม (Cross Cultural Crafts 2018) ซึ่งเธอเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เดินทางไปแลกเปลี่ยนมุมมองการทำงานด้านการจักสานที่ไต้หวัน จนเกิดความประทับใจว่า เพียงการจักสานลายเดียว สามารถต่อยอดการใช้งานได้นับร้อย นับเป็นเส้นทางตัวอย่าง ที่เธอจะนำมาประยุกต์ใช้กับงานจักสานที่เธอได้ร่วมกับชาวบ้านต่อไป [caption id="attachment_16577" align="aligncenter" width="900"] ผลงาน "ระย้าประจำปี" ไม้แขวนจากการผสมผสานงานไทยและไต้หวัน โดย รศ.วาสนา สายมา[/caption] “สิ่งเหล่านี้คือการทำให้ชุมชนมีรายได้จริงๆ ชาวบ้านเขาคิดว่า จักสานคืองานบ้านๆ จะโกอินเตอร์ยังไง เมื่อมีโอกาสสร้างรายได้ ก็เริ่มเห็นภาพ อย่างที่สอนผู้สูงอายุในชุมชน

เพราะความสุขจากการเดินทางท่องเที่ยว ไม่ได้เกิดระหว่างการออกเดินทางเสมอไป คนที่เก็บกระเป๋ารอวันเดินทาง คนที่กำลังออกเดินทาง หรือ คนที่กำลังนั่งมองภาพหลังจากการเดินทาง ต่างก็มีความสุขได้ในมุมที่แตกต่างกัน และอีกมุมแห่งโลกจินตนาการ คือ สัมผัสของมุมมองท่องเที่ยวผ่านงานศิลปะภาพถ่าย ซึ่งวันนี้ มีไอเดียการนำเสนอรูปแบบของนิทรรศการสมัยใหม่ มาแนะนำให้ไปชมกัน อุทยานการเรียนรู้ TK park ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จัดนิทรรศการ France eMotion

เวลาเจอใครแล้วได้รับคำทักทายว่า “ไม่เปลี่ยนไปเลยนะ” ก็แอบยิ้มในใจ เหมือนการได้รับคำถามในครั้งนี้ ก็อยากบอกเหมือนกันว่า แม้จะไม่เหมือนเดิมทั้งหมด แต่ภาพรวมๆ ก็ยังไม่เปลี่ยน นานมาแล้วที่เราเดินทางไปเกาะหมาก และอีกหลายครั้งที่มีโอกาสได้เดินไปทางไปเยือน พร้อมข่าวคราวที่น่ายินดีของเกาะแห่งนี้ ที่ทำให้วันนี้ เกาะหมาก เป็นเกาะหนึ่งในประเทศไทย ที่มีการเจริญเติบโตทางด้านการท่องเที่ยว แต่สภาพแวดล้อมของเกาะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปไหนมาก และวันนี้ก็เป็นโอกาสที่ดีอีกครั้ง เมื่อเกาะหมากได้รับการจัดการที่เข้มแข็งขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตที่อาจจะควบคุมไม่ได้ในอนาคต เพราะปัจจุบัน แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ยังบริหารด้วยคนเกาะหมาก แต่ก็มีบางส่วนถูกขายให้คนต่างพื้นที่แล้ว ดังนั้น นอกเหนือจากการควบคุมทางด้านการก่อสร้างที่ไม่ให้สูงเกินตามกำหนดแล้ว ยังต้องล้อมรั้วเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม จากคนทุกภาคส่วน ไม่นานมานี้ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และประชาชนบนเกาะหมาก จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “เกาะหมากสดใส ร่วมใจลดคาร์บอน Kohmak

ลิ้นกับฟันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะกระทบกัน นั่นคือเรื่องที่เราได้ยินกันมานาน สำหรับการครองชีวิตคู่ ซึ่งคนที่ไม่เคยก็คงไม่รู้ ส่วนคนที่อยู่ในจุดนั้น ต่างก็เจอปัญหาที่แตกต่างกัน แต่วันนี้ปัญหาของลิ้นกับฟัน ที่เคยพลาดเคยเผลอเรอ กระทบกระทั่งกันบ้าง กลับลุกลามไปใหญ่ กลายเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นเด็กและสตรี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าใจหายว่า ในบรรดาความรุนแรงในสังคมทั้งหมด ส่วนใหญ่มาจากครอบครัว ครอบครัว เป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุด แต่ก็มีความสำคัญมากที่สุด เพราะพลังที่ยิ่งใหญ่ย่อมหลอมรวมมาจากจุดเล็กๆ ครอบครัวของเรา บ้านแต่ละหลัง ก็หมายถึงพลังเล็กๆ ในสังคมที่รวมตัวกัน เมื่อวันที่ปัญหาในครอบครัว กลายเป็นสถิติที่พุ่งสูง จึงต้องได้รับการแก้ไขในหลายมิติ หนึ่งในนั้น คือการขจัดต้นทางแห่งปัญหาด้านเศรษฐกิจ วันนี้เรามีโอกาสได้เข้าร่วมงาน “มหกรรมตลาดนัด สร้างอาชีพให้มั่นคง สังคมไทยไร้ความรุนแรง” โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดขึ้นเพื่อแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมพื้นถิ่น ฝีมือกลุ่มสตรีและครอบครัวทั่วประเทศกว่า 200 ร้านค้า และเชิญภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง มาออกบูธและจัดแสดงนิทรรศการประเด็นความรุนแรง อีกจำนวน 45 บูธ นอกจากนี้ ยังมีเวทีเสวนาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงในทุกรูปแบบ

ภาพที่ชินตาหากว่าเราเดินทางไปยังชุมชนห่างไกลในต่างจังหวัด คือบ้านเรือนที่เรียงรายอยู่อย่างเงียบเชียบ มีเพียงคนเฒ่าคนแก่ที่นั่งชะเง้อชะแง้อยู่หน้าบ้าน เพราะลูกหลานต้องไปทำงานหรือไปเรียนกันในเมืองใหญ่ ชีวิตที่แปรเปลี่ยนไป ยามที่เข้าสู่วัยชรา นอกจากกำลังวังชาที่ลดหาย สายตาที่พร่าเลือนแล้ว ความทรงจำดีๆ ก็พาลจะจางตามลงไปด้วย จากที่เคยอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตากัน กลับเหลือเพียงความเดียวดาย บางบ้านเหลือกันเพียงสองตายาย แย่หน่อยก็ตอนที่คนใดคนหนึ่งต้องจากไปก่อน "เพราะไม่อยากคุณพ่ออันเป็นที่รักต้องประสบกับภาวะนี้ จึงเป็นที่มาของการสร้างชีวิตให้มีชีวิตชีวา พร้อมส่งต่อความเป็นชีวิตให้กับอีกหลายครัวเรือน" พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต ตำบลหนองพันทา อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ  รวบรวมวิถีชีวิตของคนบึงกาฬในอดีตมาไว้บนเรือนไม้หลังเก่าอันเป็นบ้านแห่งความรักความห่วงใย  จากฟู้ดสไตลิสต์ชื่อดัง “คุณขาบ สุทธิพงษ์ สุริยะ” ที่ดัดแปลงบ้านที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เด็กๆ มาเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้วิถีชุมชน โดยผสานความเป็นศิลปะกับธรรมชาติแห่งวิถีชีวิตได้อย่างลงตัว พี่หวัง หรือ สจ.สมหวัง  สาวเก่งสาวแกร่งแห่งโซ่พิสัย หนึ่งในครอบครัวสุริยะ เล่าให้ฟังคร่าวๆ ว่า นี่คือบ้านหลังเดิมที่อาศัยอยู่มาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ คุณขาบและพี่น้องอยู่บ้านหลังนี้มาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อพวกเขาเติบโต ก็ออกไปมีครอบครัวและทำงานในต่างพื้นที่ เหลือแค่เพียงพ่อและแม่ ในครอบครัวก็คิดกันว่า ทำอย่างไรให้มีใครสักคนเข้ามาอยู่เป็นเพื่อนพ่อกับแม่ น้องสาวคนเล็กจึงเสียสละ

นั่นสินะ มันก็ตอบยากอยู่เหมือนกัน ข้าวแกง ที่ง่ายและสะดวก มีให้เลือกหลากหลาย จะกินกี่อย่างก็ได้ ต้ม ผัด แกง ทอด ก็ว่ากันไป แล้วทำไม อาหารตามสั่งจึงยังเป็นมื้อยอดฮิตตั้งแต่เช้าสายบ่ายเย็น  นั่นอาจเป็นเพราะอาหารตามสั่ง มีลักษณะพิเศษบางอย่าง ที่ไม่แมส แม้จะอยู่ทุกต้น ท้าย กลาง ซอย  ตั้งแต่รถเข็น ไปจนถึงโรงแรมหรู ก็ตาม แต่คำว่า “ตามสั่ง” มันสร้างความแตกต่างให้กับเราได้ ไม่หวาน ไม่ชูรส ไม่ผัก ไม่หอม ผักชีเยอะๆ ไม่ซีอิ๊ว ใส่ถั่วอย่างเดียว ไม่เผ็ด พริกเยอะๆ ขอมะนาวเพิ่ม

เป็นเรื่องจริงที่ว่า คนในระดับผู้บริหารจะไปไหนมาไหนก็ต้องสะดวกสบายสมฐานะ แต่ใช่ว่าเรื่องของการท่องเที่ยวจะจำกัดเฉพาะสถานที่หรูหรา กินหรูอยู่แพงเสมอไป เพราะยังมีอีกหลายแง่มุมให้ท่านไปสัมผัส เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และได้ประสบการณ์ใหม่ๆ พร้อมทั้งไอเดียในการพากันไปท่องเที่ยวกันแบบหมู่คณะ หรือการท่องเที่ยวกลุ่มองค์กร ซึ่งเป็นอีกเป้าหมายของการกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยให้ไปถึงชุมชน ไม่นานมานี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  ร่วมกับ พันธมิตรภาครัฐและเอกชน จัดงานเปิดตัว WE LOVE LOCAL (วี เลิฟ โลคอล) แคมเปญส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชนสำหรับกลุ่มตลาดองค์กร นำเสนอ 10 คอลเลคชั่น ชุมชนท่องเที่ยวเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มองค์กร (Corporate) ทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก 10 ซีอีโอจากองค์กรต่างๆ ร่วมเป็นพรีเซนเตอร์ CEO LOVE LOCAL (ซีอีโอ เลิฟ โลคอล) โปรโมทชุมชนทั้ง 10

ความฝันของผู้ชายหลายๆ คน คือการได้ไว้หนวดไว้เครา ส่วนใหญ่ก็อยากมีไว้เพื่อเสริมความคมเข้มบนใบหน้า และแสดงถึงเอกลักษณ์ของชายชาตรี พ่อแม่ผู้ปกครองหรือบรรดาคุณยายคุณย่า อาจจะไม่ชอบพอความรกครึ้มบนใบหน้าของเจ้าลูกหรือหลานชายมากนัก บ้างก็บอกว่ามันดูไม่ดีเอาเสียเลย  อาจจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคเสียด้วยซ้ำ แต่มาในปัจจุบัน การไว้หนวดไว้เครา ได้รับการยอมรับมากขึ้น แถมยังมีประโยชน์อีกมาก นอกจากความมั่นใจในเอกลักษณ์แห่งบุรุษแล้ว เครายังสามารถปกป้องแสงแดด สร้างความอบอุ่นในสภาพอากาศหนาวเย็น รวมทั้งให้ความชุ่มชื่นบนใบหน้า แต่นั่นหมายถึงเคราที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี การไว้เคราจึงเป็นหนึ่งคำถามยอดฮิตของผู้ชายในทุกยุคสมัย ว่าจะทำอย่างไรจะครอบครองความคมเข้มนั้นมาได้ ก็ว่ากันไปตามแต่วิธีการของตน ซึ่งวันนี้เราไม่ได้มีไอเดียสร้างเคราบนใบหน้าผู้ชายมาแชร์  แต่เป็นเรื่องของเครา ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน คือมีทั้งความสวยงาม ประโยชน์ เต็มไปด้วยเสน่ห์ชวนลุ่มหลง “เคราฤาษี” เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ ในวงศ์สับปะรดที่ไม่มีราก ลำต้นห้อยระย้าเป็นทิ้งตัวลง แต่จะดูไม่มีน้ำหนักมากนัก ต้นสมบูรณ์ถึงน้ำถึงแดด จะดูฟูๆ เด้งๆ  ชุ่มชื่นสายตา เราพบเคราฤาษีมานาน  เพราะอยู่ในหนึ่งไม้ประดับตกแต่งสวนที่เลี้ยงง่าย ให้ความงดงาม เพราะหากปลูกเรียงต่อๆ กันเป็นเวลานานก็จะกลายเป็นม่านระย้าที่สวยงาม สามารถบังแสงแดดได้ดี “บิ๊กการ์เด้น” สวนกล้วยไม้ หนึ่งในเส้นทางชุมชนท่องเที่ยวิถีเกษตร มณฑลนครชัยศรี

กลีบบางที่รัดตรึงเข้าด้วยกันอย่างมีชั้นเชิง ยามผลิบานก็เผยกลีบซ้อนซ่อนเฉดสี  เป็นความงามหลากมิติของดอกบัว ดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ใช้ทั้งการประดับและบูชา และเป็นตัวแทนของศรัทธาอันบริสุทธิ์ หลายพื้นที่ของประเทศไทย มีการปลูกบัวกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพราะปริมาณความต้องการการใช้ดอกบัวยังมีอย่างสม่ำเสมอ ไม่เฉพาะวันพระเท่านั้น ด้วยสารพัดประโยชน์ของบัว ตั้งแต่ราก ก้าน ใบ ดอก ทำให้เกิดภูมิปัญญาจากดอกบัวขึ้นอีกมาก กระจายไอเดียได้หลากหลายเหมือนสายบัวที่แตกแขนงออกไปจนเต็มบึง พื้นที่จังหวัดนครปฐมเป็นอีกแหล่งของการปลูกบัว หรือที่เรียกกันว่าการทำนาบัว ซึ่งดัดแปลงมาจากนาข้าว และวันนี้เราคงได้เห็นแล้วว่า นอกจากการกินและใช้บัวแล้ว การได้ชมบัวยังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรได้อีกทาง เราเดินทางมายังจังหวัดนครปฐม ด้วยภารกิจสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม พร้อมกับเครือข่ายชุมชน ซึ่งได้จัดทำเส้นทางเที่ยวชมสวนเกษตรในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครปฐม ในช่วงเวลาการจราจรโล่งๆ หากคุณไม่ใช่คนขับ นครปฐมเป็นก็เป็นจังหวัดที่เผลอสัปหงกไปครั้งสองครั้งก็ไปถึง เพราะใกล้กันจนไม่รู้ตัว แต่เพราะใกล้กันนี่แหละ ยิ่งดูไกล เพราะจะบอกว่า “ค่อยไป

อานุภาพของคำ สามารถแสดงเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ เป็น “คำเดียวสั้นๆ แต่มีความหมาย” ดังที่เพลงบอกไว้  หากไม่ใช่คำว่า “รัก” แล้วจะมีคำใดอีกบ้าง ที่แสดงออกถึงความเป็นไปในสังคมในยามนี้ และหากไม่ใช่คำยอดฮิตอย่าง "ไทยแลนด์ 4.0"  แล้ว เราจะพบคำใดอีกบ้าง [caption id="attachment_16100" align="aligncenter" width="800"] ชาวบ้านแก้งเรือง รอต้อนรับด้วยรอยยิ้ม[/caption] ย้อนไปราว 16 ปี เราคนไทยได้ยินคำว่า “โอทอป” (OTOP) ที่มาจาก One Tambon One Product  "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” สั้นๆ ง่ายๆ ได้ใจความ เป็นศัพท์ที่ทำให้ทั่วประเทศไทย เข้าใจตรงกันว่า นี่คือคำที่ใช้เรียกแทน  “สินค้าชุมชน” ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาในอีกหลากมิติ [caption id="attachment_16103"

มีไม่บ่อยครั้งที่ผลงานทางความคิดจะถูกส่งเสริมให้การลอกเลียน เพราะนี่ไม่ใช่ชิ้นงานเชิงพาณิชย์ ที่จะต้องหวงแหนกันเพื่อผลประโยชน์ แต่กลับได้ประโยชน์อีกมาก หากลอกเลียนกันเยอะๆ นี่อาจจะเป็นหนึ่งในการปูทางเพื่อรองรับสังคมของคนสูงวัย ที่คาดว่าจะมีปริมาณสูงขึ้นทุกปี เรื่องที่น่ายินดีก็คือ ประเทศใดที่มีสัดส่วนคนสูงอายุอยู่มาก มักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนา จะเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้สูงอายุอยู่น้อย อาจจะพอวิเคราะห์แบบไม่เจาะลึกได้ว่า นั่นคงเป็นการแสดงออกถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน คนแก่ที่มีสุขภาพดี ย่อมมาจากการดูแลตัวเองได้ดี การจะดูแลตัวเองได้ดี ก็มีส่วนมาจากการมีกิน มีใช้ และมีความสุข MeetThinks ได้ร่วมงาน มหกรรม Thailand Social Expo 2018 โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  จัดขึ้นในวันที่ 3-5 ส.ค. นี้ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยงานนี้ได้รวบรวมความน่าสนใจในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตจากหน่วยงานต่างๆ  รวมทั้งข้อมูลที่น่าสนใจจากบูธ “เมืองปันสุข” ของกรมกิจการผู้สูงอายุ ทั้งนี้ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ในปี พ.ศ. 2513 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ

ถ้าถามว่า ทั้ง 4 อย่างที่กล่าวมา พิตต้า ข้าวห่อใบบัว ติหมา สามล้อสองขา มีใครรู้จักอะไรกันบ้าง แน่นอนล่ะ จากข่าวการขอแต่งงาน ทำให้พื้นที่สื่อหันมาสนใจเรื่องนี้กันมาก สำหรับสาวสวยเฟี้ยวเปรี้ยวซ่าอย่าง “พิตต้า ณ พัทลุง” เธอเป็นขวัญใจของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะบทบาท “วีเจพิตต้า”  ด้วยความรู้ความสามารถ และความสวยที่เรียกได้ว่า นี่คือคนที่แต่งชุดไทยได้สวย และพลิกอีกบุคลิกได้แจ่มแจ๋วจริงๆ [caption id="attachment_15887" align="aligncenter" width="355"] พิตต้า ในชุดไทย สวย สง่า[/caption] ข้าวห่อใบบัว เป็นรูปแบบของอาหารโบราณชนิดหนึ่ง โดยใช้ภาชนะจากธรรมชาติ เพราะใบบัวมีความเหนียวคงทนคล้ายๆ ใบตอง สามารถห่อข้าวแล้วนำไปนึ่งไปอบได้ ส่วนใหญ่จะห่อข้าวสวย น้ำพริก ปลาทู ไข่ต้ม และผัก

เป็นอีกจังหวัดที่กำลังเนื้อหอม จากโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเดิมทีก็เป็นอีกเป้าหมายของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบธรรมชาติและศิลปะวัฒนธรรมอยู่แล้ว แต่ Meetthinks มาอุบลฯ ในคราวนี้ ได้เห็นมุมที่แปลกตาออกไป แม้จะเป็นจุดเล็กๆ แต่ก็เปี่ยมด้วยความหมาย และเป็นอีกครั้งที่เราได้เห็นความร่วมมือร่วมใจของคนในพื้นที่ ในการสร้างสรรค์และพัฒนา ให้บ้านของตัวเอง มีความสวยงาม แปลกตา น่าเที่ยว น่าชม มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในตัวเมือง ซึ่งมีภาพที่สะท้อนวิถีชีวิตของการเดินไปข้างหน้า จนอาจจะหลงลืมความเป็นมาข้างหลัง หรือแม้แต่การยืนอยู่กับที่เพื่อไตร่ตรองถึงความงามที่มีอยู่ ภาพเขียนบนฝาผนังของอาคาร กระจายตัวอยู่ในมุมต่างๆ ในเมืองอุบลฯ ในโครงการ “อุบลสตรีทอาร์ตโปรเจค” (Ubon Street art Project)  เป็นโครงการโดยความร่วมมือของกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าไทย จังหวัดอุบลฯ (YEC) และกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่อุบลฯ (UYB) จัดทำภาพวาดศิลปะบนผนังในย่านเมืองเก่า เพื่อสร้างจุดเด่น ส่งเสริมการท่องเที่ยว และปรับภูมิทัศน์ย่านเมืองเก่าให้ปลอดภัยขึ้น 6 ภาพนี้

มนุษย์เอาตัวรอดจากสถานการณ์ต่างๆ ได้ด้วยอะไร? ข้าวปลา อาหาร น้ำดื่ม ความอดทน เงินตรา น้ำใจ หรือ โชคชะตา สิ่งเหล่านี้ีอาจเป็นทางรอดในช่วงเวลาสั้นๆ   แต่หากต้องตกในสถานการณ์คับขัน หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน การเอาตัวรอดด้วยสิ่งที่กล่าวมา คงไม่ใช่คำตอบเสียแล้ว โดยเฉพาะอุบัติภัยต่างๆ จากธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ สภาพอากาศ ที่มนุษย์ต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้ หรือแม้แต่การติดถ้ำ ซึ่งเป็นสถานการณ์ประวัติศาสตร์ของเมืองไทย กล่าวได้ว่า เราสามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์ต่างๆ ได้ ด้วยสติและปัญญา ซึ่งเรื่องเหล่านี้ ต้องได้รับการขัดเกลาทางด้านจิตใจ ทั้งเรื่องความรู้ และความอดทน รวมทั้งความสามัคคี ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ ควรบรรจุอยู่ในหลักสูตรการศึกษา เพราะภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ใกล้ตัวเราเข้ามาทุกทึ รวมทั้งการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครอง ที่ช่วยบ่มเพาะความรู้ทางด้านการเอาชีวิตรอดในสถานการณ์ต่างๆ ให้กับเด็กๆ ซึ่งวันนี้มีสื่อต่างๆ ออกมาให้เลือกศึกษามากมาย

เรื่องของความสวยความงาม ก็เหมือนกับรสชาติของอาหาร เพราะความสวยในสายตาของแต่ละคน เปรียบได้ดังลิ้นที่รับรสที่แตกต่างกัน เวลาที่ต้องเถียงกันว่า ใครสวยกว่าใคร จึงไม่อาจตัดสินใจได้ ขึ้นอยู่ที่ว่าใครจะชอบความสวยรสชาติไหน สวยมากสวยน้อยไม่รู้จะวัดกันยังไง แต่ถ้าถามว่า อยากจะสวยก่อนใครต้องทำยังไง ตอบได้เลยว่า ก็ไปในที่ที่ได้สวยก่อนใครยังไงล่ะ วันนี้เราจึงพากันไปสวยก่อนใครในสยาม กับจังหวัดที่มียามเช้าก่อนใครๆ ในบริเวณจุดชมวิวที่ได้รับความนิยม และกลายเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในคอลเล็คชั่น Palette of Thailand แคมเปญ “Palette of Thailand”  เป็นไอเดียที่ ททท.  ร่วมกับ โอเรียนทอล พริ้นเซส  ด้วยการนำสีสันของเมืองไทยมาสร้างสรรค์เป็นเครื่องสำอางลิมิเต็ดอิดิชั่น  ภายใต้แนวคิด “ตลับสีเมืองไทย เฉดสีบันดาลใจให้คุณออกไปเดินทาง” ประกอบด้วย 5 คอลเล็คชั่น จากสีสันของแหล่งท่องเที่ยวอันงดงามใน 5 ภาค เลอพันโบก สามพันโบก จ.อุบลราชธานี

ใครเคยไปญี่ปุ่น หรือเคยได้รับของฝากจากญี่ปุ่น คงทราบดีถึงความพิถีพิถันของงานบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเรียกได้ว่า แทบทุกอย่างล้วนเป็นของขวัญชิ้นพิเศษ ขนมชิ้นเล็กๆ เพียงไม่กี่ชิ้น วางเรียงในกล่องสีขาว บ้างก็มีกระดาษรองอีกชั้น ห่อหุ้มด้วยกระดาษสีสวยที่ปิดกล่องจนสนิท  หุ้มด้วยกระดาษชิ้นเล็กอีกรอบเพื่อเพิ่มความเรียบหรู  แสดงออกถึงความตั้งใจจริง เพราะชาวญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมอันละเอียดอ่อนภายใต้ความพิถีพิถันในการดำเนินชีวิต เขามองของทุกชิ้นคือความใส่ใจ เป็นเรื่องปกติที่ทำกันมาโดยไม่ได้รู้สึกว่ายากลำบากอะไร โดยมีเป้าหมายให้ผู้รับรู้สึกดี ประทับใจ และนั่นก็อาจจะทำให้แบรนด์สินค้าหรือร้านค้านั้นๆ ตราตรึงอยู่ในใจผู้บริโภค นั่นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบแพ็กเกจจิ้งในญี่ปุ่น  หลังจากที่ MeetThinks ได้พูดคุยกับ คุณฟุมิ ซาซาดะ ประธานและประธานกรรมการบริหาร บริษัท บราวิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (Bravis International) บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน Branding Consultant และ Branding Design เรายังได้รับทราบเรื่องราวของการออกแบบ Packaging อีกหลากหลายแง่มุม “ฟุมิ”

ท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผาริมชายหาด บริเวณชุมชนชาวประมงตำบลนาเกลือ เรามองเห็นกลุ่มคนเดินไปเดินมาอยู่ไกลๆ  จากประสบการณ์ทำให้พอรู้ได้ว่า พวกเขาคงไม่ได้มาเดินเล่น แต่กำลังหาหอยที่แฝงตัวอยู่ใต้พื้นทราย ซึ่งเราจะเห็นได้ในหลายพื้นที่ และอาจจะเป็นหนึ่งในเครื่องชี้วัดว่า ท้องทะเลในบริเวณนั้น ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ นับเป็นอาชีพที่เรียกได้ว่าแทบจะไม่ต้องลงทุนอะไร แต่ต้องอาศัยแรงและความอดทนต่อสภาพอากาศที่ร้อนจัด จากการพูดคุยกับชาวประมงในย่านนั้น ได้รู้ว่าปัจจุบันคนที่มาหาหอยริมชายหาด เป็นกลุ่มแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเมื่อหาได้แล้วก็จะนำออกมาขายกับพ่อค้าหรือร้านอาหาร กิโลละประมาณ 30 บาท วันหนึ่งๆ ก็ได้หลายสิบกิโล ลุงชาวประมงบอกว่า ปีนี้มีหอยมาก ส่วนมากเป็นหอยตลับ ซึ่งหาเท่าไหร่ก็ไม่หมด และเป็นผลผลิตหลักของประมงชายฝั่งในแถบนาเกลือ ที่วางขายอยู่ในตลาดสดลานโพธิ์ซึ่ งเป็นตลาดค้าขายอาหารทะเลที่มีชื่อเสียง ใครผ่านไปผ่านมา ก็นิยมแวะซื้อของทะเลกันที่นี่ เราพุดคุยกับกลุ่มชาวประมงนาเกลือในช่วงเวลาสั้นๆ หลังติดตามกลุ่มปั่นจักรยานที่มารับประทานอาหารกันในตัวหมู่บ้านชาวประมง ซึ่งตั้งอยู่ริมชายหาด ซึ่งวันนี้เป็นวันที่ 1 ของคณะนักเดินทางขาปั่น ในกิจกรรม “ขึ้นรถไฟไปเที่ยว ใกล้นิดเดียวพัทยา” โดย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ