Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ชีวิตในชีวิต พญานาคกราฟฟิตี้ ที่ “บึงกาฬ”

ภาพที่ชินตาหากว่าเราเดินทางไปยังชุมชนห่างไกลในต่างจังหวัด คือบ้านเรือนที่เรียงรายอยู่อย่างเงียบเชียบ มีเพียงคนเฒ่าคนแก่ที่นั่งชะเง้อชะแง้อยู่หน้าบ้าน เพราะลูกหลานต้องไปทำงานหรือไปเรียนกันในเมืองใหญ่

ชีวิตที่แปรเปลี่ยนไป ยามที่เข้าสู่วัยชรา นอกจากกำลังวังชาที่ลดหาย สายตาที่พร่าเลือนแล้ว ความทรงจำดีๆ ก็พาลจะจางตามลงไปด้วย จากที่เคยอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตากัน กลับเหลือเพียงความเดียวดาย บางบ้านเหลือกันเพียงสองตายาย แย่หน่อยก็ตอนที่คนใดคนหนึ่งต้องจากไปก่อน

“เพราะไม่อยากคุณพ่ออันเป็นที่รักต้องประสบกับภาวะนี้ จึงเป็นที่มาของการสร้างชีวิตให้มีชีวิตชีวา พร้อมส่งต่อความเป็นชีวิตให้กับอีกหลายครัวเรือน”

พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต ตำบลหนองพันทา อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ  รวบรวมวิถีชีวิตของคนบึงกาฬในอดีตมาไว้บนเรือนไม้หลังเก่าอันเป็นบ้านแห่งความรักความห่วงใย  จากฟู้ดสไตลิสต์ชื่อดัง “คุณขาบ สุทธิพงษ์ สุริยะ” ที่ดัดแปลงบ้านที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เด็กๆ มาเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้วิถีชุมชน โดยผสานความเป็นศิลปะกับธรรมชาติแห่งวิถีชีวิตได้อย่างลงตัว

พี่หวัง หรือ สจ.สมหวัง  สาวเก่งสาวแกร่งแห่งโซ่พิสัย หนึ่งในครอบครัวสุริยะ เล่าให้ฟังคร่าวๆ ว่า นี่คือบ้านหลังเดิมที่อาศัยอยู่มาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ คุณขาบและพี่น้องอยู่บ้านหลังนี้มาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อพวกเขาเติบโต ก็ออกไปมีครอบครัวและทำงานในต่างพื้นที่ เหลือแค่เพียงพ่อและแม่ ในครอบครัวก็คิดกันว่า ทำอย่างไรให้มีใครสักคนเข้ามาอยู่เป็นเพื่อนพ่อกับแม่ น้องสาวคนเล็กจึงเสียสละ ลาออกจากงานกลับมาอยู่บ้าน

วันที่ 26 ก.ค. 2560 เป็นวันหนึ่งในความทรงจำของบ้าน เพราะต้องสูญเสียคุณแม่ไป เหลือเพียงคุณพ่อซึ่งต้องอยู่อย่างเหงาๆ คุณขาบจึงมีไอเดียหาเพื่อนให้คุณพ่อ จึงเนรมิตบ้านหลังเดิมนี้ เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่อยู่คู่บ้านมานาน พร้อมจัดแจงตกแต่งสถานที่ทำกิจกรรม ให้มีความน่าสนใจ และเป็นเอกลักษณ์

เป็นการชุบชีวิตชุมชนที่มีแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ชาวบ้านที่ว่างจากการทำนา ก็เข้ามามีส่วนร่วมในการหารายได้เพิ่มจากการจัดกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่

พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต ไม่มีการเก็บค่าเข้าชม แต่หากต้องการมาจัดกิจกรรม การเรียนรู้วิถีชุมชนในลักษณะต่างๆ ก็มีค่าใช้จ่ายตามจำนวนและกิจกรรมที่ต้องการ

ราว 1 ปีที่ผ่านมา ชื่อของพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ด้านคุณพ่อวัย 93 ปี ก็คลายเหงาลงได้มาก แม้จะอายุเยอะแล้ว แกก็ยังได้เดินเหิน ได้พูดคุยสนทนากับแขกผู้มาเยือนมากหน้าหลายตา เป็นการดูแลสุขภาพกายใจทางอ้อม ที่เห็นได้ว่า คุณพ่อดูเป็นคนสดชื่นมาก แม้จะไม่ค่อยพูดมากก็ตาม

ไม่นานมากนี้ ชีวิตของชุมชน ก็ถูกกดปุ่มรีเฟรชกันอีกครั้ง จากไอเดียในการต่อยอดชุมชนให้มีความสดใส ด้วยการสอดแทรกและผสาน  ความเชื่อความศรัทธา เข้ามาอยู่ในชุมชน ผ่านการทำงานศิลปะแนวกราฟฟิตี้ ซึ่งมีเอกลักษณ์จากสีสันที่สดใส ปลุกความสดชื่นให้หลายที่พื้นมาแล้ว แต่น้อยนัก ที่จะเห็นกราฟฟิตี้ในชุมชนห่างไกล  เพราะเดิมทีกราฟฟิตี้จะมีให้เห็นในเขตเมืองเป็นหลัก

แต่ในชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ เห็นทีจะมีเพียงกำแพงวัดเป็นพื้นที่ว่างให้ละเลงสี ดังนั้นจึงมีแนวคิดในการสร้างงานกราฟฟิตี้บนฝาผนังบ้าน แต่ใช่ว่า ใครอยากเขียนรูปอะไรก็เขียนลงไป เพราะต้องเป็นธีมที่บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนได้ โดยคุณขาบให้โจทย์ที่เกี่ยวข้องกับพญานาค อันเป็นที่เคารพนับถือของชาวอีสาน จึงนับเป็นการเล่าเรื่องพญานาค ที่แตกต่างออกไปจากเดิม โดยใช้เส้นสายและสีสันของศิลปะสมัยใหม่ ผสมผสานกับการเล่าเรื่องจากลูกเล่นน่ารักๆ เข้ามาอยู่ในงาน ที่อาจจะเรียกได้ว่า ไม่มีใครทำ หรือ ไม่กล้าทำมาก่อน

บ้านหลังนี้เป็นร้านตัดผม

นี่คือแนวคิดที่เฉียบคมหลายด้าน เพราะนอกจากจะสร้างความน่าสนใจให้กับชุมชนแล้ว คุณขาบยังมีไอเดียว่า พญานาคเป็นที่เคารพของคนในหมู่บ้าน แต่ด้วยทำเลซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่ริมฝั่งโขง ก็ไม่ได้สัมผัสกับพญานาคในช่วง 15 ค่ำ เดือน 11 การสร้างกราฟฟิตี้ธีมพญานาค เป็นการบอกเล่าให้คนรับรู้ว่า พญานาคได้แวะมาขึ้นที่หมู่บ้านแห่งนี้ก่อน ใครสนใจก็แวะชมกันที่นี่ก่อน

พี่หวังเล่าไปยิ้มไป และบอกว่า นี่คือการปรับวิกฤติให้เป็นโอกาส….

โดยการทำงานในครั้งนี้ เป็นฝีมือของนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ใช้เวลาราว 3-4 วัน ร่วมสร้างสรรค์ผลงานให้ศิลปะอยู่ในชีวิตของชุมชน มีภาพให้ชมราว 20  หลังคาเรือน รวมทั้งภาพขนาดใหญ่บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต นักท่องเที่ยวสามารถเดินหรือปั่นจักรยานชมได้อย่างสะดวก

กราฟฟิตี้นี้ เป็นส่วนของผนังหน้าห้องน้ำของวัดในชุมชน

วันนี้เรามีโอกาสมาเยือนบึงกาฬ ในมุมอาร์ตๆ พร้อมกิจกรรมที่จัดขึ้น เพราะวันนี้มีคณะดูงานเข้ามาทำกิจกรรมกันพอดี ความเก๋ไก๋ เริ่มตั้งแต่การตกแต่งสวนยางพารา เป็นตลาดและเวทีการแสดงขนาดย่อม ในบริเวณใกล้เคียง มีจุดให้เดินชมหลายอย่าง โดยเฉพาะตัวบ้านซึ่งดัดแปลงชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงห้องหับต่างๆ ไว้ได้อย่างน่าสนใจ

ความพิเศษของทริปนี้คือ เส้นทางอาหารบอกเล่าเรื่องราวชาวอีสาน ภายใต้โครงการส่งเสริมนักท่องเที่ยวกลุ่มศักยภาพ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งบึงกาฬก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งอาหารการกินถิ่นอีสาน ที่มีทั้งรสชาติและความสนุกที่น่าลิ้มลอง

มาที่พิพิธัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จะได้เรียนรู้วิถีชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกิน วันนี้เราได้พบกับการสาธิตทำลอดช่อง การทำขนมต่างๆ รวมทั้งได้ลองชิมเมนูพื้นถิ่น ที่จัดเต็ม มาทั้งแกงหน่อไม้ เมนูจากปลาแม่น้ำโขง ที่ทำได้ทั้งลาบ ต้ม ห่อหมก และน้ำพริก เป็นมื้อที่แสนสนุก ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นกันเอง

แต่ที่ติดใจและได้เรื่องเข้าแล้ว เพราะไม่รู้จริงๆ ว่าจะไปหากินได้ที่ไหน นอกจากจะมุ่งไปบึงกาฬอีกครั้ง กับเมนู “หมี่กะทิ”

ชื่อคลับคล้ายคลับคลากับหมี่กะทิของทางโคราช แต่หน้าตาคนละอย่าง เพราะมีลักษณะเส้นหมี่ราดน้ำยา ซึ่งทำมาจากน้ำพริกแกงกะทิหมูสับและไข่ กินกับผักสดหลากชนิด ที่เหมาะมากๆ คือ ถั่วฝักยาวหัวปลี และใบแมงลัก รสชาติกลางๆ แต่หอมเป็นเอกลักษณ์ ชิมแล้วก็ติดใจจริงๆ

สังคมสูงวัยที่กำลังเข้ามามีบทบาทกับเมืองไทย อาจใช้ไอเดียนี้ ปลุกชีวิตชุมชน สร้างความมีชีวาให้กับคนเฒ่าคนแก่ ให้พวกท่านได้มีกิจกรรมเปิดหูเปิดตา ได้ใช้เวลากับเรื่องใหม่ๆ ในชุมชน เป็นคนที่แก่อย่างมีความสุข ไม่ใช่แค่คนเหงาๆ ที่ได้แต่นั่งเฝ้ารอลูกหลาน

 

(ท่องเที่ยว ที่พัก หรือกิจกรรมที่พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ติดต่อ สจ. สมหวัง โทร.086-229-7626)

 

 

Post a comment

20 − eighteen =