Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

meetSPACE

ความเข้มแข็งของชุมชน คือปัจจัยสำคัญของการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน ไม่ว่านโยบายภาครัฐหรือหน่วยงานใด ๆ จะประกาศออกมาเสียงดังแค่ไหน แต่หาก “คน” ซึ่งเป็นฟันเฟืองหลักไม่เห็นความสำคัญ มันก็เปล่าประโยชน์ โมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) เป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางธรรมชาติของโลก และการเรียกหาความเป็นธรรมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากผู้ผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ จนกลายเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย [gallery columns="2" size="full" ids="30152,30141"] จากการเดินทางที่ผ่านมาทำให้พบว่า ปัจจุบันมีกลุ่มหรือชุมชนเข้มแข็งร่วมผลักดันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือชุมชนน่ารัก ๆ อย่าง “วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านธรรมชาติล่าง” โดยมีศูนย์กลางการเรียนรู้อยู่ที่ “สุวรรณลักษณ์ รีสอร์ท” ที่พักกึ่งโฮมสเตย์ริมทะเลที่มีเอกลักษณ์จาก “หาดทรายแดง” มีวิวเกาะช้างอยู่เบื้องหน้า ด้านหลังมีเนินเขาเล็ก ๆ รายล้อมด้วยต้นไม้นานาพรรณ ปัจจุบัน “สมอร์ฮิลล์”

อย่างแรกเลย หลังจากรู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหน เรามักจะถามกันว่า แล้วจะไปกินอะไร และนี่คือพลังของ Gastronomy Tourism เพราะการได้ลิ้มชิมรสเมนูเด็ดของเจ้าถิ่น คือความฟินระดับที่มิชลินไม่ต้องไกด์ เรื่องของอาหารเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เสมือนครัวของแต่ละบ้านย่อมมีจานอร่อยของตัวเอง จังหวัดตราด สุดเขตแดนตะวันออกของไทย เป็นอีกดินแดนแห่งความฝัน สวรรค์ของนักชิม จากวัตถุดิบและภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นอีกเสน่ห์ที่ชวนให้สัมผัส จนไม่อยากให้พลาด ปลาย่ำสวาท เมนูสุดต๊าซแห่งท้องทะเลตราด เพราะฟังแค่ชื่อก็น่าสนใจแล้ว สำหรับ “ปลาย่ำสวาท” จึงขอเลือกมาเป็นเบอร์ 1 ในดวงใจสำหรับการนำเสนอในครั้งนี้ ชื่อจริงของมันคือ “ปลากะรังจุดฟ้า” ดูแล้วงามตาน่าชม แต่พอได้ลิ้มลองก็ขอเปลี่ยนเป็น “น่ากิน” ด้วยแล้วกัน นี่คือปลาประจำถิ่นตราด ที่หารับประทานได้ยากในแหล่งอื่น เป็นปลาไทยเนื้อดี ทำเมนูไหนก็อร่อย โดยเฉพาะ  “ซาชิมิ” หรือ “ปลาดิบ” มีทั้งปลาธรรมชาติและแบบเลี้ยง ราคากิโลละเป็นพัน ที่มาของชื่อ “ปลาย่ำสวาท” มาจากลักษณะวงจรชีวิตของปลาชนิดนี้ ตัวแม่จะวางไข่ในทะเล

เกาะหมากเป็นสถานที่แรกของประเทศไทย ที่ได้รับการจัดอันดับจาก www.greenfestinations.org ให้เป็น Top 100 green destination ประจำปี 2565 ด้วยความร่วมแรงร่วมใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน นักท่องเที่ยว และเจ้าบ้าน ทำให้เกาะหมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ แหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ที่คุ้นหูกันว่า “เกาะหมากโลว์คาร์บอน” และนี่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่กิจกรรม “เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวหมู่เกาะและทะเลภาคตะวันออก” โดย ททท. ร่วมกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้มารวมตัวกันที่นี่ เพราะจะเป็นสัญญานที่บอกว่า จากนี้ไปการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวของทางภาคตะวันออก จะมีเกาะหมากเป็นโมเดลเพื่อความยั่งยืนเพื่อการขยายผลต่อไป [gallery columns="2" size="full" ids="30083,30084"] [caption id="attachment_30086" align="aligncenter" width="800"] มิสแกรนด์ตราด2023เข้าร่วมกิจกรรมตลอด 2 วันบนเกาะหมาก[/caption] โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายชำนาญวิทย์

สำหรับบางคน แค่ได้ขับรถออกไป ก็รู้สึกปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย หากเป็นเส้นทางสวย ๆ ในวันถนนโล่ง ๆ ด้วยละก็ อาจจะทำให้จุดหมายกลายเป็นเรื่องรอง ๆ ไปเลย เพราะเส้นทางที่ผ่านและพบเจอก็สำคัญเสมอในชีวิต กว่าจะไปถึงจุดที่วางไว้ เราต่างได้สัมผัสกับประสบการณ์หลากหลายรูปแบบ การขับรถเที่ยวจึงมีดีมากกว่าคำว่าอิสระในการแวะพักได้ตามใจ แต่เป็นการเก็บเกี่ยวสิ่งแปลกใหม่ หรืออาจจะแอบออกนอกเส้นทางบ้างจะเป็นไร ความสุขจากการเดินทางเกิดขึ้นกับเราอีกครั้ง กับคาราวาน C2 Connect Plus เปิดประสบการณ์อีกรูปแบบหนึ่งของการเดินทางท่องเที่ยว ด้วยการขับรถท่องเที่ยวในเส้นทางสวย ๆ จากภาคกลางสู่ภาคเหนือของประเทศไทย รีวิวนี้จะไม่เน้นเล่าเรื่องมากมาย อยากให้ภาพบรรยายตัวเองให้ได้มากที่สุด กราบพระพรหมเทวาลัย เสริมพลังใจก่อนเดินทาง คาราวาน C2 Connect Plus ออกเดินทางจากสำนักงาน ททท. ถ.เพชรบุรี  ตั้งแต่เจ็ดโมงเช้า ราวเก้าโมงก็ไปรวมตัวกันอีกครั้งที่ “พระพรหมเทวาลัย” จ.สิงห์บุรี  มีพื้นที่เป็นลานกว้างขวางอยู่ริมถนนสายเอเชียขาขึ้น สถานที่แห่งนี้มีพระพรหมองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยประดิษฐานอยู่

เด็ก ๆ ที่ปางปูเลาะยังเขินกล้องอยู่เลย นี่คือสิ่งที่เราอาจจะไม่เห็นได้ง่ายนักในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ที่มักจะคุ้นเคยกับแขกผู้มาเยือน และการเรียนรู้ที่จะผูกมิตรกับคนแปลกหน้าที่ผ่านไปผ่านมาอยู่เสมอ แต่เด็ก ๆ ที่บ้านปางปูเลาะไม่ได้เป็นเช่นนั้น แค่ถือกล้องเดินเข้าไปใกล้ ๆ พวกเขาก็เบือนหน้าหนี บ้างก็ซุกตัวโผเข้าหาแม่ [caption id="attachment_29962" align="aligncenter" width="798"] ถนนสวย ๆ ที่รถขับเข้าไปได้อย่างสะดวกสบาย แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวัง[/caption] แม้ว่าบ้านปางปูเลาะ จะอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองพะเยามากนัก แต่ด้วยระยะทางคดเคี้ยวไปตามถนนสายเล็ก ๆ ไต่ขึ้นดอยสูงราว 16 กิโลเมตร ก็นับเป็นสถานที่อันซ่อนเร้นอยู่พอสมควร สองข้างทางผ่านสวนลิ้นจี่ขนาดใหญ่ เริ่มขึ้นดอยก็เห็นไร่กาแฟ สองสิ่งนี้คือผลผลิตทางการเกษตรหลัก ๆ ของชาวบ้านปางปูเลาะ ได้ยินว่าช่วงเมษายน-พฤษภาคม จะมองเห็นทุ่งลิ้นจี่สีแดงเป็นวงกว้าง ฟังแล้วได้แต่นึกภาพตาม ชาวบ้านที่นี่คือชาวเมี่ยนหรือชาวเย้าจากจีนได้อพยพมาอยู่ในเมืองไทยกว่า 100 ปีมาแล้ว ดั้งเดิมหมู่บ้านแห่งนี้มีชื่อว่า “บ้านปู่ล่อ” ตามชื่อพ่อค้าชาวจีน ก่อนที่จะมาอาศัยในบ้านปางปูเลาะ ชาวไทยภูเขาเผ่าเมี่ยนกลุ่มนี้

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สร้างความสุขและความหวังสู่หัวใจคนไทยรับศักราชใหม่ ด้วยกิจกรรม “Amazing Thailand Countdown 2023” ชูคอนเซปต์ “รุ่งอรุณแห่งศรัทธา ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2566" ณ ท่าวัดโพธิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร  ประกาศความงดงามผ่านแลนด์มาร์กสำคัญ “พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร”   นายยุทธศักดิ์  สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2566 ททท. ได้กำหนดจัดงาน Amazing Thailand Countdown 2023 ณ ท่าวัดโพธิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ภายใต้แนวคิด “รุ่งอรุณแห่งศรัทธา

ททท.ภูมิภาคภาคกลาง จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถยนต์ Road Trip รูปแบบประหยัดพลังงาน "คาราวาน C2 Connect Plus" ระหว่างวันที่ 23-26 ธันวาคม 65 เส้นทางกรุงเทพฯ-สิงห์บุรี-กำแพงเพชร-เชียงใหม่-เชียงราย-พะเยา สร้างสีสันรับปีใหม่ ส่งต่อความสุขใจให้กับชุมชนสิ่งแวดล้อม กิจกรรมโครงการ Road Trip C2 Connect  เริ่มต้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 07.30 น. ที่บริเวณหน้าอาคารสำนักงานใหญ่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กรุงเทพฯ โดยมีนายกิตติพงษ์ ประพัฒน์ทอง ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคกลาง ททท. ประธานเปิดกิจกรรม ปล่อยขบวนคาราวานรถยนต์ท่องเที่ยว ร่วมกับนางสาวสุรีพร พงษ์พานิช ผู้อำนวยการกองตลาดภาคกลาง ททท. นายไมเคิล

คอลัมน์ เซาะร่องเสียง  โดย นกป่า อุษาคเณย์ When all is said and done We're not the only ones Who look at life this way That's what the old folks say But every time I'd see them Makes me wish I had a gun If I thought that I was crazy Well

กาญจนบุรีได้ชื่อว่า “แดนสวรรค์ตะวันตก” จากความพรั่งพร้อมทางธรรมชาติ มีป่าเขาลำเนาไพรอันอุดมสมบูรณ์ เป็นเมืองแห่งสายน้ำสะท้อนความผูกพันกับวิถีชีวิตของผู้คน ทั้งยังเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หากได้มาสัมผัสแล้วจะไม่แปลกใจเลยว่า จะมาเยือนเมืองกาญจน์กี่ครั้งก็ยังตกหลุมรักกาญจน์อยู่เสมอ ทริปนี้เป็นการสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคกลาง ระหว่างวันที่ 16-20 พฤศจิกายน 2565 ออกไปตามล่าความสุขในดินแดนสวรรค์ “กาญจน์” ได้เลย รักกาญจน์วิวใหม่ สกายวอล์กกาญจนบุรี ใครที่กลัวความสูงเหมาะมากสำหรับการมาเยือนสกายวอล์กเมืองกาญ เพราะเป็นสะพานลอยฟ้าที่ไม่สูงมากนัก ตั้งอยู่ในทำเลเลียบแม่น้ำ  ตัวโครงสร้างและทางเดินกระจกนิรภัยรู้สึกได้ถึงความแข็งแกร่ง ไม่ได้โล่งโปร่งแบบมองลงไปแล้วใจหาย แต่ถ้ายังกลัวก็แนะนำง่าย ๆ ว่าอย่ามองลงไปด้านล่าง มีมือคนข้าง ๆ ก็ให้จับไว้ เดินคนเดียวก็เกาะราวสะพานไป  ทอดสายตาอันยาวไกล  จะเห็นวิวสวย ๆ โปร่งโล่งสบาย [gallery columns="2" size="full" ids="29759,29760"] “สกายวอล์กกาญจนบุรี” เปิดตัวเมื่อเดือนกันยายน 2565  ริมท่าน้ำในตัวเมืองกาญ เป็นสะพานสูง

สะพานไม้ที่ทอดเป็นทางยาวข้ามแม่น้ำซองกาเลีย เชื่อมโยงวิถีของคนทั้งสองฝั่งเข้าไว้ด้วยกัน เป็นวิถีไทยมอญที่กลมกลืนเป็นเอกลักษณ์ และจะคึกคักขึ้นในช่วงวันหยุด  เหล่าผู้มาเยือนต่างมุ่งหน้าเพื่อมาสัมผัสบรรยากาศแห่งศรัทธาที่สะท้อนออกมาจากสะพานแห่งนี้ สะพานมอญ หรือ สะพานอุตตมานุสรณ์ เป็นสะพานแห่งน้ำใจจากความร่วมมือของชาวบ้านและหน่วยงานต่าง ๆ  ย้อนไปเมื่อปี 2529 สะพานมอญถูกสร้างขึ้นจากดำริของ หลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ใช้เวลาก่อสร้างถึง 2 ปี โดยอาศัยแรงงานชาวมอญในท้องถิ่น [caption id="attachment_29716" align="aligncenter" width="799"] ความคึกคักบนสะพานมอญในช่วงวันหยุดยาว[/caption] จนเมื่อปี 2556 ข่าวของสะพานมอญที่ขาดเป็นสองท่อนเนื่องจากเหตุน้ำป่าไหลหลาก  ทหารช่างจากกองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) ค่ายสุรสีห์ ร่วมกับชาวบ้านอำเภอสังขละบุรีได้ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันซ่อมแซม จนสะพานแห่งนี้สามารถเปิดใช้ได้ในวันที่ 18 ตุลาคม 2557 นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยแห่งนี้ [caption id="attachment_29717" align="aligncenter" width="800"] ท่าเรือจอดรับนักท่องเที่ยว[/caption] ปัจจุบันสะพานมอญเป็นจุดท่องเที่ยวที่คึกคักตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะช่วงเช้าและช่วงเย็น เพราะเป็นจุดชมวิวที่ทุกคนไม่อยากพลาด

399 โค้งไต่ระดับเลียบภูผา เป็นเส้นทางที่ต้องอาศัยความชำนาญในการขับรถอยู่พอสมควร ชาวบ้านบอกในช่วงกลางคืน จะไม่มีการสัญจรไปมา ด้วยสภาพถนนเลียบแนวเขาสูงที่มีโค้งสลับซับซ้อนจนอาจจะเสี่ยงอันตราย และอาจจะพบกับกับเหล่าช้างป่าขาใหญ่ที่จะออกมาหาอาหาร  เมื่อมาถึงบ้านอีต่อง มองเห็นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ในหุบเขา มองไปทางไหนก็มีแต่ผืนป่า แทบไม่น่าเชื่อว่าสมัยก่อน ตอนเหมืองแร่มีคนงานอาศัยอยู่มาก ที่นี่เคยมีโรงหนังถึงสองแห่ง หมู่บ้านอีต่อง ต.ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี อีกแหล่งเหมืองแร่ที่เคยรุ่งเรืองในอดีต ปัจจุบันยังคงหลงเหลือหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นอุโมงค์เหมืองแร่ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม ด้วยความสูงเหนือระดับน้ำทะเลราว 1,000 เมตร ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีอากาศเย็นสบาย โดยเฉพาะช่วงเช้าและช่วงค่ำ สายอีโคชอบมาก เพราะเป็นหมู่บ้านในหุบเขา อยู่กลางป่ากลางดง มีเส้นทางเดินขึ้นเขาชมธรรมชาติท้าท้ายแข้งขา ที่ถูกใจถูกจริตผู้พิชิตมาก ๆ ก็เห็นจะเป็นเขาช้างเผือก ซึ่งต้องมาเริ่มต้นกันที่หมู่บ้านแห่งนี้ [caption id="attachment_29690" align="aligncenter" width="800"] ห้องพักแบบโฮมสเตย์เรียบง่าย ที่ "กลิ่นไอหมอก"[/caption] [gallery columns="2" size="full"

ความสวยงามอลังการของอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ หรือเดิมเรียกว่าเขื่อนเขาแหลม ภาพของแผ่นน้ำและผืนฟ้าที่โอบเรือลำน้อยที่ค่อย ๆ ล่องออกไป ทิวเขาที่เรียงรายเป็นฉากหลังสวยงาม หลายคนรู้จักที่เนื่องจากมีที่พักและร้านอาหารให้บริการท่ามกลางบรรยากาศสุดชิล แต่ยังมีอีกมุมอันงดงาม จะว่าลับก็คงไม่ใช่ แต่เพราะหลายคนอาจจะยังไม่เคยไปหรือไม่เคยรู้จัก ต้องอาศัยการเหมาเรือเข้าไปอีกไกล ทำให้บ้านโบอ่อง อาจจะยังอยู่นอกเหนือเส้นทางท่องเที่ยว ทั้งที่อาจจะผ่านไปทองผาภูมิมาแล้วไม่รู้กี่ครั้ง [caption id="attachment_29683" align="aligncenter" width="799"] บ้านท่าแพ จุดลงเรือไปบ้านโบอ่อง[/caption] บ้านโบอ่อง  ต.ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี อยู่บนเกาะเล็ก ๆ ภายในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนวชิราลงกรณ มีพื้นที่ราว 5,000 ไร่ จากบ้านท่าแพริมอ่างเก็บน้ำ เรือหางยาวจะใช้เวลาราว 45 นาที   [caption id="attachment_29666" align="aligncenter" width="800"] ท่าขึ้นเทียบเรือที่บ้านโบอ่อง[/caption] สภาพภายในหมู่บ้านมีความเงียบสงบ มีชาวบ้านประมาณ 1,200 คนอาศัยอยู่ที่นี่

กาญจนบุรีในอดีตเคยเป็นแหล่งแร่นานาชนิด ภาพของเหมืองแร่ในวันวานยังสะท้อนผ่านเรื่องราวที่เล่าสู่กันฟังอย่างไม่จบสิ้น มีหลักฐานสำคัญที่ซ่อนความเร้นลับซับซ้อนเอาไว้ เป็นอุโมงค์ที่เจาะลึกเข้าไปใต้ภูเขา เส้นทางสั้นยาวหลายช่วงรวมแล้วมากกว่า 10 ถ้ำ แม้วันนี้ภายในจะเหลือเพียงความว่างเปล่า แต่กลับสะกดทุกความรู้สึกเมื่อได้มาเห็นกับตา เมื่อเข้าจากทางปากถ้ำ ผ่านความมืดเข้าไป แสงสว่างที่ปลายทางอาจพาเราไปยังทางออกที่แตกต่างกัน และอาจจะย้อนภาพคืนและวันที่เหมืองแห่งนี้เคยคึกคักไปด้วยผู้คน เป็นมิติที่สัมผัสได้ด้วยความรู้สึก "อุโมงค์สามมิติ"  หรือ หรือ “อุโมงค์ ดร.ผล กลีบบัว” ผู้ที่เคยสัมปทานเหมืองแร่แห่งนี้ อุโมงค์เหมืองแร่ เป็นส่วนหนึ่งของเหมืองสองท่อ ใน อ.ทองผาภูมิ แหล่งผลิตแร่ตะกั่วใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย เส้นทางในอุโมงค์มีหลายช่วง เชื่อมต่อถึงกันอยู่ภายใต้ภูเขาหินปูน [caption id="attachment_29625" align="aligncenter" width="800"] เดินทางออกจากจุดชมวิวเนินสวรรค์[/caption] [caption id="attachment_29626" align="aligncenter" width="799"] จุดแรกเป็นอุโมงค์ระยะสั้น เดินทะลุได้[/caption] [caption id="attachment_29627" align="aligncenter" width="800"] สภาพในอุโมงค์แรกที่แวะชม ยังพอมีแสงสว่าง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) ร่วมกับ สถานทูตออสเตรียประจำประเทศไทยเปิดนิทรรศการ “Walls, Interrupted กำแพง ถูกขัดจังหวะ” ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านศิลปินชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียง เบียร์กิต กราชอปฟ์  (Birgit Graschopf) โดยผลงานนิทรรศการชุดนี้มีเนื้อหาที่เล่าถึงการทำงานของสถานที่แต่ละแห่งที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สำคัญทำให้หยุดชะงักไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ซึ่งศิลปินได้ใช้เวลาลงพื้นที่สร้างปฏิสัมพันธ์กับคนและชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและกาญจนบุรี โดยได้ศึกษาสภาพของสถานที่ทั้งในด้านของโครงสร้าง บรรยากาศ ความว่างเปล่า ของสถานที่ พื้นที่สาธารณะที่ถูกทิ้งร้างและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภายในประเทศ ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ 2540 บวกกับการหยุดนิ่งของโลกจากเหตุการณ์ภายนอกประเทศช่วงระหว่างที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบทั่วโลกในช่วงระหว่างเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โดยนำเสนอผ่านภาพถ่ายที่สวยงามด้วยเทคนิคแบบอะนาล็อคแฮนด์เมดและอิมัลชันกราฟฟิค บนกระดาษธรรมดา กระดาษทราย และ กระดาษแข็ง รวมถึง มีการตัดเป็นแถบและประกอบเข้าไปใหม่ เพื่อการนำเสนอนิทรรศการชุดนี้ ออกมาให้เข้าใจและชัดเจนขึ้น นางสาวสุขุมาล ผดุงศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) กล่าวถึง ความร่วมมือในครั้งนี้ว่า

กระต่ายสาวสุดเซ็กซี่กับลีลาบนซับบอร์ดอันโฉบเฉี่ยว เป็นภาพสะดุดตาเรียกความสนใจให้กับผู้ที่พบเห็น นอกจากคอสเพลย์สุดเก๋แล้ว กระต่ายนักพายคนนี้ยังทำเวลาได้ดีเป็นลำดับต้น ๆ อีกด้วย จากจุดปล่อยตัวที่ “มาแคนน์รีสอร์ท” บริเวณริมแม่น้ำแควใหญ่ ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแควในตัวเมืองกาญจนบุรี มาจนถึงบริเวณลานกิจกรรม “River Kwai SUP Fun Fest 2022” ไม่มีใครละสายตาจากเธอไปได้ และอาจจะเป็นนักพายที่รับรางวัล “ขวัญใจช่างภาพ” ไปโดยปริยาย “แจ็คกี้” เจ้าของร้านแต่งหน้า-ทำผม Jack Factory ในเมืองกาญจนบุรี เธออาจจะใหม่สำหรับวงการ SUP เพราะลองเล่นมาแล้วสามสี่ครั้ง แต่ก็เคยลงแข่งขัน SUP 100 (การแข่งขันระยะทาง 100 กิโลเมตร) มาแล้ว เธอจึงยืนยันได้ว่า กีฬากระดานยืนพาย หรือ SUP เป็นเรื่องที่ทุกคน ทุกเพศ

รายการแข่งขันมวย THAI FIGHT ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ในแวดวงกีฬาในประเทศไทย นอกจากการยกระดับมวยไทยสู่การยอมรับในระดับสากล สามารถดึงดูดผู้คนให้หันมาสนใจในศิลปะการต่อสู่ของมวยไทยแล้ว ยังพลิกสถานการณ์ในวงการสื่อโฆษณาสำหรับรายการมวยทางทีวี ที่เคยตกต่ำมากว่า 30 ปี จากค่าโฆษณาเพียง 7,000-8,000 บาทต่อนาที เพิ่มสูงเป็น 450,000 บาท เปลี่ยนภาพลักษณ์จากสปอนเซอร์หลักที่เคยเป็นสินค้าทางการเกษตร  สู่แบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็น  ช้าง โออาร์ อีซูซุ  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  ฯลฯ ยกระดับค่าตัวนักมวยจาก 7,000-8,000 บาทสู่หลักล้านต่อไฟท์ พลิกโฉมวงการมวยไทยสู่สากล [caption id="attachment_29487" align="aligncenter" width="379"] นพพร วาทิน[/caption] THAI FIGHT คือ เวทีการแข่งขันมวยไทยภายใต้การบริหารงานของ “นพพร วาทิน” ผู้สร้างตำนานศิลปะการต่อสู้ของมวยไทย และสร้างประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ให้กับวงการมวยไทยด้วยสถิติผู้ชมในสนามมากกว่า 80,000

คอลัมน์ : เซาะร่องเสียง  โดย นกป่า อุษาคเณย์ จะกินอะไรไม่สน บินวนอยู่บนท้องฟ้า มีเพียงเวลาอยู่เหนือทะเล ด้วยความเร็ว แรงและสง่า เจ้านางนวลปีกงาม ตัดแผ่นฟ้า สาดดวงตา ทายท้า กระแสลม ใครจะประณาม​เหยียดหยาม นางนวลก็ยังบินไป มีไปทำไมชีวิตถ้าคิดเพียงแย่งกันกิน ชิงแย่งกันอยู่ ออกโบยบิน บินไปได้เรียนรู้ โลกมีรัก รักมี สิทธิ์เสรี *บิน บินให้เร็วเท่าความคิด บิน จากกฎเกณฑ์ที่จำเจ สติปัญญาเท่านั้น สมควรกับการรับรู้ นางนวลบินดู อุทิศใจกาย มองฟ้างาม ไกลและกระจ่าง จากอารมณ์ ติดอัตตา ไม่เดียงสา เกิดปัญญา โจนาธาน เจ้านางนวล (บทเพลง: โจนาธาน (1) อัลบั้ม: แม่เงา ศิลปิน: เอี้ยว ณ ปานนั้น (ชัยพร นำประทีป) https://www.youtube.com/watch?v=ahvIoNH9n7s Jonathan Livingston Seagull หรือ “โจนาธาน

หลายคนอาจจะไม่ได้ติดใจในรสชาติของคาเฟอีน แต่อินกับบรรยากาศในการดื่มกาแฟ  ไม่ชอบกินกาแฟเลย แต่ชอบนั่งร้านกาแฟก็เป็นได้ แล้วถ้าชวนไปกินกาแฟหน้าวัด ภาพในจินตนาการของคุณคืออะไร เพราะเป็น "พันธุ์ไทย" จึงใส่ใจเป็นพิเศษกับเรื่องราวของความเป็นไทย ไม่ว่าอดีตกาลผ่านไป หรือความเป็นปัจจุบันร่วมสมัย และนี่คือร้านกาแฟอีกแห่งที่อยากชวนไปสัมผัส ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอีกเมืองที่มีร้านกาแฟหลากหลายสไตล์ แต่ด้วยความเป็นเมืองเก่า ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม จากยูเนสโก กิจกรรมสำคัญเมื่อมาเยือนอยุธยา ก็คือการได้มาสัมผัสกับกลิ่นอายแห่งความรุ่งเรืองทางประวัติศาสตร์ ความงดงามจากสถาปัตยกรรมโบราณาอันทรงคุณค่า ที่กระจายตัวอยู่ทั่วทั้งจังหวัด หนึ่งในนั้นคือ “วัดราชบูรณะ” ถนนมหาราช ในตัวเมืองอยุธยา ทำเลที่มีคาเฟ่เก๋ ๆ รวมตัวอยู่จำนวนหนึ่ง ล่าสุดกับ “ร้านกาแฟพันธุ์ไทย” สาขาอยุธยา (หน้าวัดราชบูรณะ) อยู่ริมถนนมหาราช เส้นทางการท่องเที่ยวชมความงดงามทางวัฒนธรรมของเมืองไทย เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ร้านกาแฟพันธุ์ไทย สาขาอยุธยา (หน้าวัดราชบูรณะ) (Punthai Café and Restaurant) ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565

เสน่ห์ของเมืองเก่าอยุธยายังคงตรึงตาตรึงใจ ไม่ว่าจะเดินทางมาครั้งใด ก็ยังชื่นใจมิเคยเสื่อมคลาย จากคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม สะท้อนผ่านสถาปัตยกรรม ความเชื่อ ความศรัทธา ท่ามกลางวิถีชีวิตของผู้คนอันน่าสนใจ จากสภาพภูมิอากาศในช่วงหน้าฝนของปีนี้ ส่งผลให้หลายพื้นที่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย ประสบกับภาวะน้ำท่วม หนึ่งในนั้นคือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมืองที่มีแม่น้ำไหลผ่านถึง 3 สาย ทั้งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี คนอยุธยาจึงคุ้นชินกับวิถีชีวิตกับสายน้ำ บ้านเรือนริมชายฝั่งส่วนใหญ่มีเรือเป็นของตัวเอง แม้ว่าการสัญจรทางน้ำจะไม่เป็นที่นิยมเหมือนในอดีต แต่เมื่อฝนเทลงมา ชาวอยุธยาจึงต้องเตรียมรับกับสภาพน้ำที่เอ่อล้นอยู่เป็นประจำ สำหรับปีนี้ในตัวจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีน้ำท่วมหลายแห่ง แต่ยังไม่เป็นอุปสรรคสำหรับสำหรับเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ล่าสุดเมื่อวันที่ 8-9 ตุลาคม 2565 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคกลาง พร้อมคณะสื่อมวลชน ได้ลงพื้นที่สำรวจแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมเข้าร่วมงาน “อยุธยา Walking Street” บริเวณถนนนเรศวร ตั้งแต่หน้าวัดมหาธาตุ ไปจนถึงวัดราชบูรณะ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่

เคยตกหลุมรักใครตั้งแต่แรกเจอไหม เพียงแค่ได้เห็นหน้าก็เหมือนว่าผูกพันกันมานาน แม้จะเป็นแค่เรื่องราวที่พบเพียงผ่าน แต่การที่ได้เจอกันเพียงช่วงสั้น ๆ ก็สร้างความทรงจำที่ยากจะลืมเลือน เหมือนกับที่นี่ "ม่อนหมอกตะวัน" ชื่อที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เปิดตัวได้ไม่นาน เพียงแรกพบก็อยากจะใช้เวลาด้วยกันนาน ๆ  เหมือนอยู่ในฝันหวาน ที่ไม่อยากตื่นลืมตา โครงการ “Refresh life …by the way ไปเที่ยวใหม่ ให้ใจฉ่ำ” โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชวนไปดื่มด่ำท่ามกลางธรรมชาติแห่งขุนเขา ณ “ม่อนหมอกตะวัน” 1 ใน Unseen New Siries   อ.พบพระ จ.ตาก ชวนกันไปเดินเล่นในสายลมหนาว เคล้าบรรยากาศในอ้อมกอดของขุนเขา รับอรุณด้วยสายหมอกขาวที่เข้ามาหยอกเย้ากันไปจนยามสาย ชื่นใจกับวิถีถิ่นชาวเชาเผ่าม้ง ที่ยังคงเอกลักษณ์อันน่าชื่นชม ม่อนหมอกตะวัน มุมชวนฝันแห่งบ้านป่าหวาย “ม่อนหมอกตะวัน” บ้านป่าหวาย อ.พบพระ