Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ผ่าน 399 โค้งเบา ๆ เราก็มาถึง บ้านอีต่อง

399 โค้งไต่ระดับเลียบภูผา เป็นเส้นทางที่ต้องอาศัยความชำนาญในการขับรถอยู่พอสมควร ชาวบ้านบอกในช่วงกลางคืน จะไม่มีการสัญจรไปมา ด้วยสภาพถนนเลียบแนวเขาสูงที่มีโค้งสลับซับซ้อนจนอาจจะเสี่ยงอันตราย และอาจจะพบกับกับเหล่าช้างป่าขาใหญ่ที่จะออกมาหาอาหาร 

เมื่อมาถึงบ้านอีต่อง มองเห็นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ในหุบเขา มองไปทางไหนก็มีแต่ผืนป่า แทบไม่น่าเชื่อว่าสมัยก่อน ตอนเหมืองแร่มีคนงานอาศัยอยู่มาก ที่นี่เคยมีโรงหนังถึงสองแห่ง

หมู่บ้านอีต่อง ต.ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี อีกแหล่งเหมืองแร่ที่เคยรุ่งเรืองในอดีต ปัจจุบันยังคงหลงเหลือหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นอุโมงค์เหมืองแร่ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม

ด้วยความสูงเหนือระดับน้ำทะเลราว 1,000 เมตร ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีอากาศเย็นสบาย โดยเฉพาะช่วงเช้าและช่วงค่ำ สายอีโคชอบมาก เพราะเป็นหมู่บ้านในหุบเขา อยู่กลางป่ากลางดง มีเส้นทางเดินขึ้นเขาชมธรรมชาติท้าท้ายแข้งขา ที่ถูกใจถูกจริตผู้พิชิตมาก ๆ ก็เห็นจะเป็นเขาช้างเผือก ซึ่งต้องมาเริ่มต้นกันที่หมู่บ้านแห่งนี้

ห้องพักแบบโฮมสเตย์เรียบง่าย ที่ “กลิ่นไอหมอก”

บ้านอีต่องมีของกินให้เลือกชิมเยอะมาก โดยเฉพาะช่วงเย็น ส่วนนี่คือ “กระบองจ่อ” ที่หมายถึงผักทอดต่าง ๆ

แม้ว่าเส้นทางคดเคี้ยวบนภูเขาราว 30 กิโลเมตรจะเป็นภารกิจอันท้าทายของเหล่านักเดินทาง แต่การมาเยือนหมู่บ้านอีต่องในปัจจุบันก็ทำได้ไม่ยากนัก มีรถสองแถวจากตลาดทองผาภูมิไปบ้านอีต่องวันละ 4 รอบ

ปัจจุบันแหล่งชุมชนเหมืองแร่ที่เคยคึกคัก ก็ปรับสภาพมาเป็นหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยวที่ครึกครื้น มีที่พักแบบโฮมสเตย์แนวตั้งเรียงรายเต็มไปหมด นิยมสร้างตึกแบบผอม ๆ สูง ๆ ตามสภาพพื้นที่ที่มีจำกัด

ด้านหน้าหมู่บ้านบริเวณบึงน้ำ คือจุดรวมพลของคนที่มาเยือนบ้านอีต่อง รถส่วนใหญ่จะจอดรับส่งบริเวณนี้ เพราะถนนในด้านที่พักมีความแคบ รถวิ่งสวนกันได้แบบเฉียดฉิว แถมยังเป็นซอยตัน  ช่วงวันหยุดยาวจะมีผู้คนหนาแน่น ที่พักทุกแห่งถูกจองเต็มโดยเฉพาะช่วงหน้าหนาว แต่ละแห่งมีวิวสวย ๆ ในมุมของตัวเอง  ส่วนใหญ่มองออกไปก็จะเป็นภูเขา หากใครพักฝั่งหมู่บ้าน ก็จะเห็นหลังคาเรือนที่เรียงรายอยู่เป็นตับ แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก

วิวจากเนินเขาหน้าวัดยามเช้า

หมู่บ้านอีต่อง เดิมมีชื่อว่า “หมู่บ้านณัตเอ็งต่อง” แปลว่า บ้านเทพเจ้าแห่งขุนเขา เมื่อเวลาผ่านไปก็เรียกกันเพี้ยนไปจนเหลือแค่ “หมู่บ้านอีต่อง” เป็นชุมชนไทย-เมียนมาร์ เพราะอยู่สุดชายแดน มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นแนวแบ่งเขต วิถีชีวิตของชาวบ้านอีต่องจึงมีเอกลักษณ์

ภายในหมู่บ้านจะมีการจัดการเรื่องน้ำ-ไฟ เราอาจจะได้ยินประกาศในบางช่วงเวลา บางวันหากเครื่องปั่นไฟทำงานหนัก อาจจะต้องรีบอาบน้ำกันตั้งแต่หัวค่ำ แต่โดยรวมแล้วยังถือว่ามีความสะดวกสบาย ไม่ได้ลำบากยากเย็นเป็นหมู่บ้านลับเหมือนในอดีต

ยามเช้าที่บ้านอีต่อง เรามองเห็นสายหมอกปกคลุมบนยอดเขา หากเดินขึ้นไปบริเวณ “วัดเหมืองแร่ปิล็อก” หรือ “วัดเหมืองปิล็อก” จะมองเห็นภาพในมุมที่กว้างขึ้น วัดแห่งนี้เป็นสถานที่ประดิษฐาน “พระพุทธรัตนศากยมุนี ศรีทองผาภูมิ” ที่มองเห็นได้จากทุกทิศทาง ในทุกเช้าพระสงฆ์และสามเณร จะออกบิณฑบาต จากวัดบนเนินเขาเข้าสู่ตัวหมู่บ้าน ผ่านย่านที่พัก จึงเป็นอีกช่วงเวลาที่เหล่าพุทธศาสนิกชนจะได้ร่วมทำบุญ

หากมองจากตัวหมู่บ้านอีต่อง เราจะเห็นทิวเขาที่รายล้อม หนึ่งในนั้นคือยอดดอยปิล็อก หรือที่เรียกว่า “เนินช้างศึก” จุดยุทธศาสตร์แห่งหนึ่งของชายแดนไทย-เมียนมาร์ เป็นที่ตั้งฐานของตำรวจตระเวนชายแดนที่ 135 สถานที่ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ประมาณ 1,053 เมตร

จากบ้านอีต่องเราสามารถเดินเท้าเป็นระยะทางราว 2 กิโลเมตรไปยังเนินช้างศึก ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาและพละกำลังกันมากหน่อย แต่อีกทางเลือกในการนั่งรถขึ้นไป ซึ่งจะมีรถบริการจากหมู่บ้านตลอดทั้งวัน สำหรับช่วงเช้าและเย็นในการชมพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก ค่าโดยสารท่านละ 50 บาท เต็มเมื่อไหร่ก็ออก หากจะเหมาก็คันละ 500 บาท นั่งได้ประมาณ 10 คน

ออกจากบ้านอีต่องไปไม่ไกลมากนัก มีแหล่งท่องเที่ยวอย่าง “น้ำตกจ๊อกกะดิ่น”  สามารถขับรถเข้าไปยังลานจอด แล้วเดินต่อไปประมาณ 300 เมตร ผ่านทางเดินภายในป่า เมื่อถึงสะพานไม้ข้ามลำธาร ก็จะพบกับโถงน้ำตกกลางหุบเขากับแอ่งน้ำเบื้องล่างที่ใสแจ๋ว

ม่านน้ำสีขาวที่ไหลลงออกมาจากซอกหินบนผาใหญ่ กระทบผืนน้ำสีมรกตเบื้องล่าง เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของการมาเยือนปิล็อก แม้จะเป็นน้ำตกขนาดเล็ก แต่ก็มีความโดดเด่น ไม่ว่าใครที่มาเยือนบ้านอีต่องก็ไม่พลาดการแวะเข้าชมน้ำตกแห่งนี้

เดิมทีน้ำตกแห่งนี้เรียกว่า “ก๊อกกระด่าน” คำว่า “จ๊อก” หรือ “ก๊อก” หมายถึง หิน ส่วนคำว่า “กระดิ่น” หรือ “กระด่าน” หมายถึง น้ำตก รวมกันจึงหมายถึงน้ำตกที่ไหลผ่านซอกหินผา มีแหล่งกำเนิดเป็นน้ำที่ผุดขึ้นจากภูเขาอีปู่ ตั้งอยู่ในพื้นที่เหมืองแร่ทังสเตน  แอ่งน้ำตกจึงมีสีฟ้าคราม เที่ยวชมได้ตลอดทั้งปี

Post a comment

6 + nineteen =