Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

“ยุทธศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำหมัน” เพื่อแก้ปัญหาการจัดการน้ำทั้งระบบ

น้ำ คือฐานทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของทั้งคน สัตว์ และพืช เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นความต้องการใช้น้ำก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

สภาวะโลกร้อนกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำรุนแรง ทำให้เกิดการแย่งชิงการใช้น้ำ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตร จากผลงานวิจัยด้านการจัดการน้ำหลายสำนัก ต่างยืนยันตรงกันว่า ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ขาดประสิทธิภาพและการใช้น้ำที่เหมาะสม ทำให้นับวันวิกฤตการณ์น้ำและการจัดการน้ำจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

ที่ราบลุ่มลำน้ำหมันตอนปลาย

งานวิจัยโครงการแนวทางการจัดการลุ่มน้ำหมัน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยเครือข่ายทางสังคมเพื่อความมั่นคงทางอาหาร จากการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้เผยให้เห็นว่า ปัญหาการจัดการน้ำในระดับประเทศมีความสอดคล้องกับปัญหาท้องถิ่น กรณีตัวอย่าง “ลุ่มน้ำหมัน” เป็นแม่น้ำสายหลักของชุมชนในพื้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีความยาวเพียง 65 กิโลเมตรไหลจากเหนือจรดใต้ แต่จากสภาพภูมิประเทศที่สูงชันทำให้ทิศทางการไหลไม่แน่นอน มีผลต่ออุทกศาสตร์ของลำน้ำทั้งในด้านการรับน้ำฝน การไหลของน้ำ การเก็บกัก และการกัดเซาะดินจากกระแสน้ำ ทำให้เกิดความแตกต่างทางกายภาพส่งผลให้ลุ่มน้ำหมันต้องเผชิญทั้งน้ำท่วมและวิกฤติภัยแล้งในปีเดียวกัน จากการวิจัยพบว่าตลอดระยะความยาวของลุ่มน้ำหมันล้วนประสบปัญหาด้านการจัดการน้ำในมิติต่างๆ อาทิ ขาดเทคนิควิธีการบริหารจัดการที่เหมาะสม ขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มีเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ขาดกรอบและทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำส่งผลให้เกิดวิกฤติการจัดการน้ำในพื้นที่ อีกทั้งพื้นที่มีความแตกต่างกันในเชิงนิเวศสูง ความแตกต่างในเรื่องของการใช้ชีวิต นำมาสู่ความไม่เข้าใจเกิดความขัดแย้งระหว่างหมู่บ้านต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

ผศ.ดร. เอกรินทร์ พึ่งประชา

ผศ.ดร. เอกรินทร์ พึ่งประชา อาจารย์ประจำภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่า อำเภอด่านซ้าย นอกจากจะเป็นพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันในเชิงนิเวศ และการใช้ชีวิตของแต่ละชุนชนสูงแล้ว ยังเป็นพื้นที่วิกฤติเขาหัวโล้นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีความวิกฤติไม่ต่างจากจังหวัดน่าน ภาวะวิกฤตินี้ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในอำเภอด่านซ้ายอย่างมาก เพราะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนบนพื้นที่ราบลุ่มกับคนบนพื้นที่สูง เช่นกรณีหมู่บ้านนาเวียงใหญ่ และหมู่บ้านห้วยตาด ซึ่งในอดีตทั้ง 2 หมู่บ้านมีปัญหาขัดแย้งในเชิงสังคมสูง เนื่องจากคนในพื้นที่ราบลุ่มต้องประสบปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำป่าไหลบ่า ดินสไลด์ และยังได้รับผลกระทบจากการทำการเกษตรของคนบนพื้นที่สูง ที่มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สารเคมีในปริมาณที่สูงมาก ทำให้ระบบนิเวศของคนบนพื้นที่ราบลุ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง รวมถึงแหล่งอาหารธรรมชาติของชุมชนหายไป เช่น พื้นที่ที่เคยเป็นวังปลาและปลาที่อยู่ในลุ่มน้ำหมันซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักหายไป กลายเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งและนำมาสู่โจทย์งานวิจัย

“ในการพัฒนาใดๆ นั้น จะต้องรับฟังเสียงชาวบ้านว่าเขาต้องการอะไร
ไม่ใช่ทำจากมุมมองของภาครัฐหรือคนภายนอก”

“จากจุดเริ่มต้นในพื้นที่วิจัย 2 หมู่บ้านดังกล่าว นำไปสู่โจทย์ที่ใหญ่ขึ้น เนื่องจากผลการวิจัยเบื้องต้นแม้จะสามารถแก้ปัญหาได้ แต่ก็พบว่าแนวทางการแก้ปัญหาของหมู่บ้านหนึ่งอาจไม่ใช่คำตอบของทุกหมู่บ้าน และการแก้ปัญหาไม่สามารถแก้เพียงหมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่ง เพราะจะไม่สามารถฟื้นฟูผืนป่าทั้งระบบได้ จึงหันมาแก้ปัญหาทั้งระบบนิเวศของลุ่มน้ำ เพราะการฟื้นฟูทรัพยากรอาหาร ดิน น้ำ ป่า ไม่สามารถพัฒนาแบบแยกส่วนหรือทำงานวิจัยเชิงเดี่ยวได้ ควรคิดในเชิงระบบทั้งระบบนิเวศ ชุมชน และสังคม เป็นที่มาของการจัดทำโครงการการจัดการลุ่มน้ำหมันทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ การฟื้นฟูป่าและแหล่งต้นน้ำไม่สามารถแยกออกจากคนได้ คนจึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัยครั้งนี้”

การปลูกข้าวของคนด่านซ้ายส่วนใหญ่

ผศ.ดร. เอกรินทร์  กล่าวว่า “ตลอดลุ่มน้ำหมันแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะในเชิงกายภาพ ระบบนิเวศ และวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน แต่ละหมู่บ้านมีรูปแบบการทำเกษตรที่แตกต่างกัน การดำเนินงานวิจัยจึงต้องประเมินสถานการณ์ของแต่ละหมู่บ้านก่อนว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร อะไรคือปัญหา มีการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หรือ Participatory Action Research เพื่อต้องการรู้ ความต้องการในการแก้ปัญหาของแต่ละหมู่บ้าน โดยการถอดบทเรียนเพื่อหาคำตอบของแต่ละหมู่บ้าน จากนั้นจึงค่อยนำมาสู่การหาวิธีการแก้ปัญหา”

พัดหมูม่น

 

ลำน้ำหมันช่วงไหลผ่านบ้านแก่งครก

จากการถอดบทเรียนทำให้พบว่าในการพัฒนาใดๆ นั้น จะต้องรับฟังเสียงชาวบ้านว่าเขาต้องการอะไร ไม่ใช่ทำจากมุมมองของภาครัฐหรือคนภายนอก เช่นการสร้างเขื่อน ที่มักเกิดคำถามว่าสร้างทำไม ทำไมไม่คุยกับชาวบ้านก่อน ฝายก็เช่นเดียวกัน  ดังนั้นการสร้างความยืดหยุ่นให้กับชุมชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ  กระบวนการพัฒนาจะต้องเรียนรู้วิถีของชาวบ้านและการแก้ปัญหาต้องไม่ไช่เกิดจากพัฒนาในมิติเชิงเดี่ยว แต่ต้องใช้ความรู้ในการจัดการทำความเข้าใจกับชาวบ้าน เข้าใจฐานหรือวิถีชีวิตของชุมชน

“จริงๆ แล้วชาวบ้านไม่ได้ปฏิเสธกระบวนการพัฒนา แต่การพัฒนาอะไรในพื้นที่ต้องฟังเสียงชาวบ้าน ต้องเรียนรู้วิถีชีวิต และในฐานะเจ้าของพื้นที่ ชาวบ้านจะตั้งคำถามก่อนที่จะปล่อยให้มีการเข้ามาสร้างหรือพัฒนาในสิ่งที่ชุมชนไม่ต้องการ เพราะจะทำให้ระบบนิเวศหายไป เช่นเดียวกับงานวิจัยลุ่มน้ำหมัน จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่เห็นชีวิตของผู้คนตรงนั้น ”

การขุดลอกลำน้ำหมัน

ผศ.ดร. เอกรินทร์ กล่าวยอมรับว่า แม้ผลการวิจัยจะไม่สามารถหาคำตอบได้แบบเบ็ดเสร็จ เพราะแนวทางในการแก้ปัญหาของแต่ละหมู่บ้านแตกต่างกัน แต่สามารถเสนอแนวคิดให้กับท้องถิ่นได้จากการถอดบทเรียนแต่ละหมู่บ้านมีปัญหาอะไร มีวิธีคิดที่จะนำไปสู่การจัดการอย่างยั่งยืนและให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร ต่อไปปัญหาการจัดการน้ำของอำเภอด่านซ้าย จำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องมาเรียนรู้ร่วมกันก่อนว่าชุมชนต้องการอะไร และควรทำอะไรก่อน รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น นั่นคือ จะต้องมีกระบวนการวิจัยก่อนที่จะมีผลผลิต จึงไม่สามารถสร้างพิมพ์เขียว หรือ output ได้แบบเบ็ดเสร็จ แต่จะต้องใช้ความรู้หรืองานวิจัยเข้าไปช่วยในการพัฒนา

และจากการที่ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยได้เห็นควรให้นำผลงานวิจัยมาขยายผลและพัฒนาเรื่องการจัดการน้ำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในท้องถิ่น จึงได้จัดให้มีการประชุมระดมความเห็นการจัดการลุ่มน้ำหมันขึ้นเมื่อต้นปี 2560 ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย โดยมีภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วม ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้จัดทำ “แผนยุทธศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำหมัน”เร่งด่วน ล่าสุดแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาเรียบร้อย คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในเดือนตุลาคม 2561

ที่มา : ฝ่ายการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และสื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)

Post a comment

thirteen + twelve =