Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ธันวาคม 2019

นอกจากความสวยงามหลากหลายมุมมองของการท่องเที่ยวไทย สิ่งหนึ่งที่เราจะได้จากการท่องเที่ยว คือ การเติมพลังแห่งความสุข ความปรารถนาดี หรือ สิ่งที่สร้างมงคลให้กับชีวิต และเรื่องราวเหล่านี้ก็แอบซ่อนความหมายดีๆ อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั่วไทย เช่นเดียวกับ 8 แห่ง ที่ ททท. นำมาแนะนำ ภายใต้แนวคิด “ดี 8 ทิศ

ในปี พ.ศ.2563 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็จะเดินทางมาถึงปีที่ 60 จึงเป็นอีกปีที่มีความสำคัญ สำหรับการก้าวต่อไป บนพื้นฐานของความยั่งยืน ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่เรียกได้ว่า เป็นองค์กรที่ช่วยสนับสนุนรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศไทย ที่กระจายยังไปยังชุมชนทั่วประเทศ เป็นที่ทราบดีว่าปัจจุบัน โลกเข้าสู่ภาวะที่น่ากังวล สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติถูกคุกคามจากการใช้ชีวิตของมนุษย์ หนึ่งในนั้นคือปัญหาขยะ ที่ส่งผลให้เห็นเป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่อง นโยบายที่สำคัญในการดำเนินงานของ ททท. จึงมุ่งไปที่ประเด็นของการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เป็นการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะตัวนักท่องเที่ยวที่ต้องมีความตระหนักในเรื่องดังกล่าวนี้ [caption id="attachment_19390" align="aligncenter" width="900"] บรรยากาศของหาดจอมเทียน[/caption] เมื่อเร็วๆ นี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และเมืองพัทยา จัดทำโครงการ “ลดโลกเลอะ x รักษ์ปันสุข”

เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้โครงการ “เมืองสุขสยาม” สะพัดรายได้ไปถึง 1 พันล้านบาทภายใน 1 ปี คือการนำเสนอความสุขด้วยเสน่ห์แห่งวิถีไทย ที่สามารถดึงลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้ามาใช้บริการได้เฉลี่ยวันละ 50,000-70,000 คน ภายใต้ความโออ่าน่าพิสมัย บนพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร แสดงภาพความเป็นไทยที่เฉิดฉายไฉไล เป็นความเท่แบบไทยๆ ที่แม้เราคนไทยเองก็ยังรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย การเข้ามาเดินอยู่ในเมืองสุขสยาม ทำให้เราเห็นภาพ 7 สุข ที่ “เมืองสุขสยาม” ตั้งใจรวมรวบไว้จริงๆ “สุขเสน่ห์” นำเสนอเสน่ห์ของคนไทยที่ยากจะลอกเลียน ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาค รวมไปถึงความสวยงามของของสถาปัตยกรรมต่างๆ “สุขแซ่บ”  นำเสนอความหลากหลายของอาหารเลิศรสในแบบฉบับที่ไม่เหมือนใคร แน่นอนว่าใครที่เข้ามาแล้วเป็นต้องได้ลองชิมอาหารคาวหวานของดีจาก 4 ภาค ที่คัดมาแล้วว่าอร่อยจริง  “สุขสร้างสรรค์” การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ของความเป็นไทยให้เกิดขึ้น ทั้งเรื่องราวจากไอเดียของการต่อยอดภูมิปัญญาของกินของใช้อันน่าประทับใจ “สุขสืบสาน” การสืบสานและสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทยภาคต่างๆ ซึ่งเป็นชาวบ้านจากชุมชนต่างๆ จริงๆ มาร่วมออกร้าน หมุนเวียนกันไป มากกว่า

ไม่เพียงแต่ตัวเลขด้านการท่องเที่ยวที่ระบุว่า ชาวจีนเป็นชาวต่างชาติอันดับ 1 ที่นิยมมาท่องเที่ยวในเมืองไทย แต่ปัจจุบันชาวจีนยังนิยมมาศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยในเมืองไทยอีกด้วย ไม่ใช่เพราะว่า ชาวจีนมีจำนวนประชากรมหาศาลกว่า 1,300 ล้านคนเท่านั้น แต่จีนคือยักษ์ใหญ่ที่มีพลังในการค้าและการลงทุน ซึ่งการค้าขายของไทยและจีนนั้นเกิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ สืบสานเป็นเรื่องราวความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่น และยังคงเดินหน้าขยายความร่วมมือในทุกระดับต่อไป นั่นเป็นอีกเหตุผลที่คนจีนสนใจเข้ามาเรียนในเมืองไทย เพราะสามารถต่อยอดวิชาความรู้ทั้งทักษะด้านวิชาการและการใช้ชีวิตในเมืองไทย เป็นพื้นฐานของการทำงานระหว่างบริษัทไทยหรือจีนในอนาคต   ล่าสุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption University) และ Guangdong Ocean University Cunjin Collage (มหาวิทยาลัย กว่างตงชุนจิน) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยและจีน  ได้บันทึกความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อร่วมพัฒนาหลักสูตรนานาชาติ รองรับนักศึกษาจีนที่เดินทางเข้ามาเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษาในประเทศไทย [caption id="attachment_19310" align="aligncenter" width="900"] ภราดา ดร. ศิริชัย ฟอนซีกา (ซ้าย) นายหมิ่น หลี่

เราเชื่อว่า ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องพูดย้ำกันแบบซ้ำๆ และต้องดำเนินด้วยการลงมือทำ ในทุกภาคส่วน เด็กในสมัยก่อนอาจจะถูกสอนให้รู้จักการทิ้งขยะอย่างเป็นที่เป็นทาง แต่นั่นก็อาจจะไม่เพียงพอเสียแล้วสำหรับโลกในวันนี้ ข้อมูลจากธนาคารโลกในปี 2560 พบว่า ประเทศทั่วโลกสร้างขยะรวมกันถึง 2.01 พันล้านตัน โดยเป็นพลาสติก 11% และเป็นขวด PET 1% ขยะทั้งหมดสามารถนำไปรีไซเคิลได้เพียง 16% หรือคิดเป็น 323 ล้านตันเท่านั้น สำหรับประเทศไทย ในปี 2561 มีปริมาณขยะประมาณ 27.8 ล้านตัน พบพลาสติกในขยะชุมชนประมาณ 2 ล้านตัน แต่สามารถนำเข้าสู่ระบบรีไซเคิลประมาณ 500,000 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขวดพลาสติก ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นขยะพลาสติก 1.5 ล้านตัน ประกอบด้วยถุงพลาสติกประมาณ 1.2 ล้านตัน ที่เหลือเป็นพลาสติกอื่นๆ

หากกล่าวถึงประเทศญี่ปุ่น ดอกไม้ที่เราจะนึกถึงคือ “ซากุระ” เพราะชาวญี่ปุ่นมีความผูกพันกับดอกซากุระมานับตั้งแต่โบราณ มีเทศกาลชมซากุระที่สืบเนื่องมาถึงพันปี และดอกซากุระก็ยังถูกสอดแทรกอยู่ในวัฒนธรรมต่างๆ ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะเรื่องราวทางด้านศิลปะที่เรามักจะเห็นดอกซากุระปรากฎอยู่เสมอ แต่ดอกไม้อีกชนิดที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อประเทศญี่ปุ่น เพราะเป็นสัญลักษณ์แห่งราชวงศ์ และถือได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำชาติ คือ  “เบญจมาศ” หรือ Kiku ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยนารา โดยได้นำพันธุ์เบญจมาศจากประเทศจีนมาทำเป็นยา หลังจากนั้นดอกเบญจมาศก็เข้ามามีบทบาทกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น จนกลายเป็นดอกไม้ประจำราชวงศ์ ปรากฎอยู่บนตราของจักรพรรดิและพระบรมวงศ์ ใช้ในธงประจำพระองค์สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น และ เป็นสัญลักษณ์บนหนังสือเดินทางของชาวญี่ปุ่น ฯลฯ โดยแบ่งแยกสถานะของสัญลักษณ์ด้วยจำนวนกลีบและชั้นของดอก อยากรู้จักดอกเบญจมาศในเมืองไทยอย่างใกล้ชิดต้องไปที่สวนบิ๊กเต้ แปลงดอกไม้ใกล้กรุงขวัญใจคนจากทั่วทุกสารทิศ เพราะที่นี่เป็นแปลงดอกเบญจมาศที่ออกดอกทั้งปีโดยไม่ต้องรอฤดูกาล แต่จะพิเศษทั้งด้านอารมณ์และสีสันที่น่าชมในช่วงหน้าหนาว คุณเต้-กิตติคุณ พรหมพิทักษ์ เจ้าของสวนบิ๊กเต้ (Big Tae Garden) เล่าว่า ดอกเบญจมาศเป็นพืชเมืองหนาว เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในจีน และขยายไปทั่วทั้งเอเชียและยุโรป เดิมทีมีเพียงสีขาวและสีเหลือง แต่ผ่านการพัฒนาสายพันธุ์จนมีมากกว่า 1,000 สายพันธุ์

เราได้ยินคำว่า “พลอยดก” จากคำบอกเล่าของคนเมืองจันท์ ซึ่งระบุว่าในอดีตพื้นที่เขาพลอยแหวนจังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่ที่มีพลอยดก หรือ มีพลอยอยู่มาก จนเรียกได้ว่า “ดก” เหมือนผลไม้ ว่ากันว่า แค่เดินไปเดินมาเขี่ยตามดิน ก็พบเจอแล้ว ชาวบ้านจึงสนุกสนานกับการหาพลอย โดยเฉพาะเมื่อฝนตกหนัก หน้าดินที่ถูกชะล้าง จะปรากฏพลอยก้อนกรวดให้เห็น ฟังแล้วน่าทึ่งจริงๆ แม้ว่าวันนี้พลอยที่จันทบุรีจะเป็นของหายาก แต่คนเมืองจันท์ยังมีภูมิปัญญาของช่างฝีมือพลอยที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยปัจจุบันพลอยก้อนราว 80% จากทั่วโลกจะถูกส่งมาเจียระไนที่เมืองไทย โดยมีจันทบุรีเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้า จึงได้ชื่อว่า “นครแห่งอัญมณี” โดยจะมีย่านการค้าพลอยและเครื่องประดับอยู่ที่ตลาดพลอยภายในตัวเมือง บริเวณถนนศรีจันท์และตรอกกระจ่าง และจะคึกคักมากในวันศุกร์เสาร์และอาทิตย์ อีกจุดของการเที่ยวชมหรือเรียนรู้เรื่องพลอย อยู่ที่ศูนย์ส่งเสริมอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับ เปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์อัญมณีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ในเมืองจันทบุรียังมีผู้ประกอบการด้านการค้าพลอยที่มีชื่อเสียงอีกหลายแห่ง เช่น แกลลอรี่พลอย World Sapphire  ที่รวบรวมเอาพลอยต่างทั่วทุกมุมโลกทั้งที่เจียระไนแล้วและยังไม่ได้เจียระไนมาไว้ที่นี่ แนวคิดในการสร้าง World Sapphire  Gallery มาจากประสบการณ์การทำมาค้าขายพลอยของคุณเมธี จึงสงวนสิทธิ์

ความคุ้มค่าในการลงทุน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการเลือกซื้อเครื่องประดับในปัจจุบัน ดังนั้นการออกแบบเครื่องประดับที่สามารถตอบโจทย์ในข้อนี้ได้ก็จะสร้างโอกาสในการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น เช่นเดียวกับผลงาน The power of gems โดยคุณจิรวัฒน์ สมเสนาะ นักออกแบบเครื่องประดับที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดในโครงการประกวดออกแบบเครื่องประดับ (GIT’s World Jewelry Design Awards) ประเภทเครื่องประดับสำหรับในหัวข้อเครื่องประดับที่ใช้พลอยทับทิม (สีแดง) และ/หรือ พลอยไพลิน (สีน้ำเงิน) หรือ พลอยเฉดสีที่ใกล้เคียง The power of gems มีความโดดเด่นของการออกแบบที่ผสมผสานความงดงามของพลอยสีแดง และไพลินสีน้ำเงิน เป็นชุดสร้อยพร้อมจี้ ต่างหู และแหวน ที่สะท้อนความหรูหราน่าหลงใหลแฝงเอกลักษณ์ความเป็นไทยไว้อย่างน่าชื่นชม พร้อมการออกแบบเพื่อตอบสนองการใช้งานหลายรูปแบบ โดยผลงานชุดนี้สามารถถอดชิ้นงานเครื่องประดับออกมาสวมใส่ได้ถึง 8 แบบ อาทิ ตัวสร้อยที่ถอดมาเป็นเข็มขัดหรือพู่ที่ถอดออกมาเป็นสร้อยได้อีกแบบ ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องประดับโบราณ ทรงพุ่มดอกพิกุล เป็นดอกซ้อนกัน ลดหลั่นกัน

อาหารคือเรื่องราวหนึ่งในชีวิตของผู้คน ที่แสดงออกถึงสไตล์ที่แตกต่างของคนในแต่ละวัฒนธรรม แม้ว่าวันนี้ประเทศไทยจะมีร้านใหม่ๆ จากหลายชนชาติเข้ามาเปิดให้บริการ แต่ร้านอาหารระดับตำนานที่ยืนหยัดอยู่ในความทรงจำของคนแต่ละรุ่นก็ยังไม่ได้หายไปไหน เพราะสิ่งหนึ่งที่ทุกคนสัมผัสได้นอกจากรสชาติของอาหารแล้ว “ความผูกพัน” ที่มีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนฝูง หรือ คนรัก ต่างเป็นช่วงเวลาที่เราต่างอยากให้ย้อนกลับคืนมา หรือไม่