Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

อัตลักษณ์ถิ่นไทยในเครื่องประดับ

อย่างที่ทราบกันดีว่า อัญมณีและเครื่องประดับเป็นสมบัติล้ำค่าที่มีประวัติศาสตร์คู่กับมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน ดังนั้น จึงสิ่งที่เรียกว่า “สมบัติอันล้ำค่า” นอกเหนือจากมูลค่าแล้ว ยังหมายถึงรากเหง้าของมนุษย์ในแต่ละพื้นถิ่น ที่ได้ถ่ายทอดศิลปะ ความเชื่อ และวัฒนธรรม  ส่งผ่านเครื่องประดับแต่ละชิ้น เป็น “สมบัติระดับระดับชาติ” จากภูมิปัญญาของช่างฝีมือไทย ไม่เพียงแต่การเป็นฐานการผลิตที่มีช่างฝีมือระดับมือทองอยู่มาก แต่ยังลงลึกไปถึงรากเหง้าที่แตกต่างกัน อันเป็นเสน่ห์อันลึกซึ้งของเมืองไทย

ladycrystal : พังงา

ล่าสุด meetThinks ได้เข้าชมผลงานเครื่องประดับจากการออกแบบของแต่ละท้องถิ่นในเมืองไทย ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับส่วนภูมิภาค  โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ภายใต้ระยะเวลาดำเนินงานราว 2 ปี รวม 15 จังหวัด และได้นำผลงานเหล่านี้ มาจัดแสดงโชว์ในงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair ครั้งที่ 64  ณ อิมแพคเมืองทองธานี

ผลงานจากแบรนด์ต่าง จ.เชียงใหม่

Cultury Design Studio : ภูเก็ต

กระทรวงพาณิชย์ โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติได้ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับส่วนภูมิภาค เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่อง ประดับโลก โดยตั้ง เป้าหมายในการลงพื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน จังหวัดสุโขทัย จังหวัดสตูล จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดแพร่ จังหวัดตราด จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตาก จังหวัดพังงา จังหวัดสตูล จังหวัดกาญจนบุรี และ จังหวัดนครราชสีมา และพัฒนาต่อยอดให้เกิด รายได้ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานด้าน อัญมณีและเครื่องประดับกระจายอยู่ใน 15 จังหวัดนี้กว่า 111,021 ราย ปัจจุบัน สถาบันได้ลงพื้นที่ครบทั้ง 15 จังหวัด และได้นำทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ GIT ได้ลงพื้นที่ พบปะผู้ประกอบการ พร้อมหารือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ 15 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งทีมผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการท้องถิ่นได้ร่วมกันรังสรรค์เครื่องประดับที่มีอัตลักษณ์อัน โดดเด่นของแต่ละจังหวัด ให้มีความ สวยงาม ร่วมสมัย และสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน

Silver Maker Family : ภูเก็ต

อนันดามาส : ภูเก็ต

by ณปภัช ภูเก็ต

Dragon Eye PK Pearl และ อาจารย์และนักวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต

สตูล อันดามันเพิร์ล

ML Jeweiry : สตูล

 

Tonploy by wanchai : ตราด ผลงานชิ้นนี้มีความพิเศษด้วยการออกแบบคล้ายเกล็ดปลาที่ขยับได้

Warin by Krang Gems : ตาก

Joy Jewel House : ตาก

Paranakan de Siam : พังงา

Srethong Pearls : พังงา

ในปีนี้ สถาบันได้ลงพื้นที่โดยส่งนักออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับชื่อดัง อาทิ คุณศรัณญ อยู่คงดี คุณนวธัณย์ รุ่งดิลกโรจน์ และ คุณจุฑาพัชร์ นิเวศรัตน์ มาร่วมค้นหาอัตลักษณ์และสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับ นักออกแบบท้องถิ่น ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลก โดยมุ่งพัฒนาและส่งเสริมให้อุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่อง ประดับไทยได้เติบโตอย่างเข้มแข็งตั้งแต่ระดับฐานราก และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน พร้อมนำผลงาน การออกแบบเครื่องประดับในโครงการนี้มาจัดแสดงในงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ Bangkok Gems and Jewelry Fair ครั้งที่ 64  พร้อมด้วยการแสดงแฟชั่นโชว์เครื่องประดับ GEMS TREASURE ภายในงานนี้ด้วย

Panyee Pearls : พังงา

Panyee Pearls : พังงา

บริษัท เคโอเค จำกัด : นครศรีธรรมราช

Pikun Dinphao : นครราชสีมา

นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางใน การขยายตลาดสินค้าไทย จากชุมชนสู่สากลและเพื่อพัฒนาศักยภาพประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลกสถาบันยังผลักดันงานสำคัญในการผลักดันให้จังหวัดจันทบุรีก้าวสู่การเป็น “นคร อัญมณีโลก” และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชนด้านอัญมณีและเครื่องประดับจังหวัดจันทบุรี ให้มีความสามารถเพียงพอ ต่อการขยายตลาดการค้าสู่สากล โดยสถาบันกำหนดจัดงานเทศกาล “พลอยและเครื่องประดับนานาชาติ 2019”  หรือ International Chanthaburi Gems and Jewelry Festival 2019”  โดยจัดมีกิจกรรม ที่น่าสนใจมากมาย ระหว่างวันที่ 4 – 8 ธันวาคม 2562

 

ภายในงานยังมีการจัดแสดงแฟชันโชว์ชุดพิเศษ GEMS TREASURE

นับเป็นอีกกิจกรรมที่ประกาศศักดาศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทย สู่ “ฮับการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลก” แต่เหนืออื่นใด สมบัติล้ำค่า คือ เอกลักษณ์ความเป็นไทย ที่มาพร้อมความละเมียดละไมหาใครเทียม

Thinks : อัญมณีและเครื่อง ประดับไทยเป็นสินค้าสำคัญที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศได้สูงเป็นอันดับ 3 ในบรรดาสินค้าส่งออกทั้งหมด เมื่อรวมกับมูลค่าการค้าภายในประเทศด้วยแล้ว ก่อให้เกิดเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศถึงปีละ เกือบ 1 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 6% ของจีดีพี อีกทั้งยังก่อให้เกิดการจ้างแรงงานกว่า 7 แสนคน ตลอดห่วงโซ่อุปทานปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับราวอันดับที่ 14 ของโลก สำหรับในปี 2562  ในช่วงเดือนมกราคม- กรกฎาคม 2562 ไทยส่งออกสินค้าอัญมณี และเครื่องประดับไทย (รวมทองคำ) ด้วยมูลค่า 9,025.29 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 6.26 ของสินค้าส่งออกโดยรวม เติบโตสูงขึ้น 29.29 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่มีมูลค่า 6,980.70  ล้านเหรียญสหรัฐ

 

 

 

Post a comment

three × three =