Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

กันยายน 2019

ในความทรงจำของใครหลายคนบอกว่า กว่าจะกินผักคะน้าเป็นก็แสนยากเย็น ด้วยรสชาติที่อาจจะเหม็นเขียว หรือแอบขม สำหรับเด็กๆ ที่ยังคุ้นเคยกับรสชาติหวานมันที่กินได้ง่ายกว่า แต่หากถามว่า กว่าจะปลูกคะน้าได้แต่ละต้น มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ได้ยินมาว่าอาจต้องใช้เวลาเกือบ 10 ปี เพราะแม้จะใช้เวลาเพียง 50 วันต่อรอบการเติบโตของคะน้า แต่ก็ไม่ได้การันตีว่า เราจะได้กินคะน้าดังใจหวัง เราได้เรียนรู้หลักสูตรเร่งด่วน จากประสบการณ์ล้วนๆ ของ คุณธานินทร์ เทพสุรินทร์ เจ้าของ “หอมค่ะน้า คาเฟ่” และ โรงคั่วกาแฟกาญจนบุรี  สถานที่พักผ่อน ชิม แชะ ชิลล์ ชมวิวสวยเมืองกาญจน์ที่บอกได้ว่าห้ามพลาด เพราะความสงสัยนำมาซึ่งการจดจำ “หอมค่ะน้า” จึงตั้งใจเติมไม้เอกลงไปตรงคำว่า “คะ” เพื่อสื่อสารถึงตัวของเจ้าของร้านซึ่งมีหลานๆ หลายคน จึงควบเสียงคำว่า “คะน้า” เป็น “ค่ะน้า” สร้างกิมมิคเล็กๆ

การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของจังหวัดสีหนุวิลล์  ทำให้ภาพของเมืองตากอากาศของกัมพูชา ดูแปลกตาออกไปมาก  ด้วยเป้าหมายในการพัฒนาสู่เมืองอันมั่งคั่ง จึงเต็มไปด้วยการลงทุนเพื่อการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน ทั่วทั้งตัวเมือง นายตัง โสเชียตกฤษณา ผอ.การท่องเที่ยว จ.พระสีหนุวิลล์ กล่าวว่า สีหนุวิลล์เป็นเมืองยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวระดับโลก โดยมุ่งพัฒนาทั้งด้านการท่องเที่ยว การค้า การคมนาคม เมืองแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความพร้อมด้านธรรมชาติทางทะเล ประกอบด้วยเกาะต่างๆ อันสวยงาม 32 เกาะ ในปี 2561 นักท่องเที่ยวที่มาเยือนสีหนุวิลล์มีปริมาณที่เติบโตขึ้นถึง 50% หรือประมาณ 2 ล้านคน 30% เป็นชาวต่างชาติ 70% เป็นนักท่องเที่ยวในประเทศ ปัจจุบันมีบริการด้านการท่องเที่ยวในสีหนุวิลล์ ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร สปา คาสิโน ฯลฯ จำนวน

หนังสือคือโลกของจินตนาการ เป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำ เป็นเพื่อนรักที่เราอยากหยิบจับสัมผัส เป็นสื่อที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ทั้งด้านเนื้อหาและการดีไซน์ เป็นอะไรได้หลายอย่างนอกเหนือจากคำว่าความรู้  ผู้ปกครองรุ่นใหม่จึงให้ความสำคัญกับการอ่านเป็นอย่างมาก และท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ร้านหนังสือหลายแห่งปิดตัวลงไปเช่นเดียวกับตัวหนังสือหลายประเภท และแม้ว่าแพลทฟอร์มทั้งหมดจะถูกแปลงไปสู่โลกออนไลน์ แต่ใช่ว่าร้านหนังสือจะไร้ความหมาย และที่สำคัญคือ “คนรักหนังสือ” ก็ยังมีอยู่อีกมาก   บีทูเอส จึงสร้างพื้นที่ “Book Community” เปิดตัว “B2S Book Club” คลับสำหรับคนรักหนังสือภายใต้เคมเปญ “อ่านเถิดที่รัก” รณรงค์ให้เด็กนักเรียนและประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงความสำคัญของการอ่านหนังสืออันเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้และต่อยอดสู่ทักษะในด้านต่างๆ พร้อมเดินหน้าจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายอเล็กซองด์ ฮัมเมล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.บีทูเอส จำกัด เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมเชิญ คุณก๊อต-จิรายุ ตันตระกูล ร่วมเผยถึงความรักในการอ่านหนังสือพร้อมแนะนำหนังสือเล่มโปรด ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักอ่าน ณ ธิงค์สเปซ บีทูเอส เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา นายอดิเรก

ภาพของด่านชายแดนที่คุ้นตา คือ การข้ามไปมาระหว่างกัน อาณาเขตที่ติดต่อกัน เอื้อให้เกิดความสัมพันธ์ทางการค้า ตั้งแต่ระดับรากหญ้า ไปจนถึงการค้าระหว่างประเทศ แต่การไปและมาหาสู่กันนั้น แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของคนที่ใช้คำว่าบ้านใกล้เรือนเคียงกันในอีกมิติหนึ่ง บริเวณด่านชายแดนบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เป็นสถานที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของชาวไทยและกัมพูชา ที่ข้ามไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวกโดยทางรถยนต์ จึงเป็นอีกจุดเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ระหว่างจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา และ จ.ตราด ของประเทศไทย ไม่นานมานี้ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้จัดกิจกรรมทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวหลัก เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี และมองหาแนวทางการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยมุ่งไปที่การสร้างประโยชน์ให้เกิดกับชุมชนเป้าหมายและชุมชนระหว่างทางของทั้งสองประเทศ ซึ่งเต็มไปด้วยเสน่ห์เฉพาะตัวที่น่าค้นหา นายสุธารักษ์ สุนทรวิภาต รองผู้จัดการ อพท.3 ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ อพท. และ สื่อมวลชน เดินทางไปยัง จ.ตราด เป็นการออกสตาร์ทเพื่อชมบรรยากาศของชุมชนท่องเที่ยวบ้านไม้รูด อ.คลองใหญ่

อย่างที่ทราบกันดีว่า อัญมณีและเครื่องประดับเป็นสมบัติล้ำค่าที่มีประวัติศาสตร์คู่กับมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน ดังนั้น จึงสิ่งที่เรียกว่า "สมบัติอันล้ำค่า" นอกเหนือจากมูลค่าแล้ว ยังหมายถึงรากเหง้าของมนุษย์ในแต่ละพื้นถิ่น ที่ได้ถ่ายทอดศิลปะ ความเชื่อ และวัฒนธรรม  ส่งผ่านเครื่องประดับแต่ละชิ้น เป็น "สมบัติระดับระดับชาติ" จากภูมิปัญญาของช่างฝีมือไทย ไม่เพียงแต่การเป็นฐานการผลิตที่มีช่างฝีมือระดับมือทองอยู่มาก แต่ยังลงลึกไปถึงรากเหง้าที่แตกต่างกัน อันเป็นเสน่ห์อันลึกซึ้งของเมืองไทย [caption id="attachment_18292" align="aligncenter" width="900"] ladycrystal : พังงา[/caption] ล่าสุด meetThinks ได้เข้าชมผลงานเครื่องประดับจากการออกแบบของแต่ละท้องถิ่นในเมืองไทย ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับส่วนภูมิภาค  โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ภายใต้ระยะเวลาดำเนินงานราว 2 ปี รวม 15 จังหวัด และได้นำผลงานเหล่านี้ มาจัดแสดงโชว์ในงาน Bangkok Gems