Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ยุโรปรับรองมาตรฐาน “หนอนนกอบ” เป็นอาหาร ลุ้นอีก 14 แมลงทยอยตาม

เทรนด์อาหารแห่งอนาคตยังคงเป็นที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะกลุ่มโปรตีนจากแมลง ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในดินแดนที่มีความพร้อมในการเป็นครัวแมลงโลกเลยก็ว่าได้ นอกจากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของแมลงนานาชนิดแล้ว คนไทยยังบริโภคแมลงมานานแล้ว

แต่การบริโภคโปรตีนจากแมลงในฝั่งหนึ่งของโลก พร้อมทั้งเงื่อนไขของการส่งออก มาตรฐานของแมลงเพื่อการบริโภค จึงต้องอาศัยขั้นตอนที่เคร่งครัด และเมื่อเป็นโอกาส ประเทศไทยจึงไม่พลาดที่จะก้าวสู่จุดนั้น

ล่าสุด จากการเปิดเผยของ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ช่วงสถานการณ์โควิด-19  การทำงานเชิงรุกของทีมเซลล์แมนประเทศหรือทูตพาณิชย์ในต่างประเทศมีความคึกคัก และประเด็นของแมลงเพื่อการบริโภคก็มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย

“ขณะนี้สถานการณ์ความเคลื่อนไหวตลาดจากทั่วโลกเพื่อผู้ประกอบการไทยสามารถวางแผนการพัฒนาและผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของตลาดแต่ละประเทศตามกลยุทธ์ “ตลาดนำการผลิต” ภายใต้ยุทธศาสตร์เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาดของ “นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์”  อยากแจ้งให้ทราบว่ามีโอกาสในสินค้าเฉพาะกลุ่ม หรือ Niche Market และโอกาสในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ  โดยโอกาสของตลาดสินค้าเฉพาะกลุ่ม ล่าสุด  สหภาพยุโรปที่ได้รับรองหนอนนกอบให้เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ได้และยังมีอีก 14 รายการของแมลงที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบขึ้นทะเบียนพิจารณาเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ ” นางมัลลิกา กล่าว

สำหรับ “หนอนนก” ซึ่งคนไทยคุ้นเคยกันดีในนามของอาหารของนก ปลา หนู กระรอก ฯลฯ  หนอนที่ว่านี้ เป็นตัวอ่อนของแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ

นอกจากหนอนนกแล้ว ทางกระทรวงพาณิชย์ยังระบุว่า สินค้าตกแต่งบ้านแฮนด์เมดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ เสื่อรองจานตะกร้าสาน มีความต้องการมากในเยอรมัน ดังนั้นไทยจึงควรศึกษาเรื่องตรารับรอง SSC และกฎระเบียบด้านความปลอดภัยของสินค้าสิ่งทอของยุโรปด้วย

สำหรับตลาดสหราชอาณาจักร มีความต้องการสินค้าเทคโนโลยีสำหรับสัตว์เลี้ยงในเพิ่มขึ้นเพราะคนเริ่มกลับมาทำงานตามปกติ เช่น กล้องวงจรปิด อุปกรณ์ติดตามการเคลื่อนไหวของสัตว์ และบริการสมัครสื่อบันเทิงสำหรับสัตว์ ส่วนสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยง ด้านตลาดทางจีน ผู้ประกอบการไทยควรพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้ซื้อหลักในจีน คือ สตรีวัยกลางคน ที่มีการศึกษาและมีสถานะการเงินสูงกว่ารายได้เฉลี่ย

เมื่อรายหลักของประเทศไทยอย่างการท่องเที่ยว กำลังสะดุดล้มอย่างหนัก ถึงกับต้องใช้คำว่า “เดี้ยง” ไปแล้วในยามนี้ ภาคการส่งออกจึงเป็นขาเดียวที่เหลืออยู่ เศรษฐกิจในยุคโควิด-19 จึงต้องพึ่งพาการส่งออก และต้องทำงานเชิงรุก บุกทุกทาง รวมทั้งเรื่องแมลงซึ่งเป็นอาหารแห่งอนาคต ที่มาถึงแล้วในวันนี้

 

Post a comment

11 − seven =