Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

เปิด รพ. พญาไท ศรีราชา 2 เสริมทัพ Phyathai Sriracha Network

เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล เดินหน้าขยายการให้บริการด้านการแพทย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก เปิดตัว โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา 2 ขานรับนโยบายรัฐในการผลักดันให้ประเทศไทยโดยเฉพาะเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นศูนย์กลางการแพทย์ครบวงจรของภูมิภาคอาเซียน เผยแผนเปิดตัว รพ.พญาไทบ่อวิน ปี 68 เสริมแกร่งเครือข่ายพญาไทศรีราชา รองรับสิทธิประกันสังคม 5 แสนคนภายใน 10 ปี พร้อมขยายกลุ่มต่างชาติ ตอกย้ำแนวหน้าด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล จัดงานเปิดตัว รพ.พญาไท ศรีราชา 2 จ.ชลบุรี โดยได้รับเกียรติจากนายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานในพิธี

โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา 2  เป็นโรงพยาบาลทั่วไป สามารถรองรับผู้ป่วยนอกได้มากถึง 1,500 คนต่อวัน และผู้ป่วยในจำนวนรวมทั้งสิ้น 113 เตียง โดยโรงพยาบาลแห่งนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการให้บริการด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ชลบุรีและใกล้เคียง โดยสืบเนื่องมาจากความสำเร็จของโรงพยาบาลพญาไทศรีราชาสาขาแรก  ที่ให้บริการแก่ประชาชนมาเป็นเวลากว่า 28 ปี เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล กลุ่ม BDMS ให้บริการด้านการแพทย์เฉพาะทางในหลากหลายสาขา โดยเน้นการบริการที่ครอบคลุมและมีคุณภาพสูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่ ทั้งผู้ป่วยทั่วไปและผู้ประกันตน จนเป็นที่ไว้วางใจและยอมรับในเขตอุตสาหกรรม EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งเป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ

อัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล เปิดเผยว่า  โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2538 และเริ่มเปิดให้บริการประกันสังคมครั้งแรกเมื่อปี 2542 โดยเน้นคุณภาพและมาตรฐาน ทำให้เพิ่มยอดผู้ประกันตนได้มากถึง 250,000 คน และได้รับรางวัลโรงพยาบาลประกันสังคมในดวงใจในปีที่ผ่านมา และในปีนี้ได้รับโควต้าเพิ่มอีก 115,000 คน เมื่อพิจารณาถึงความต้องการที่เพิ่มเติมของผู้รับบริการ จึงมีการขยายโรงพยาบาลขึ้น เพื่อรองรับผู้ทำงานและกลุ่มแรงงาน

โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา 2 ก่อสร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลเดิม และมีความตั้งใจที่จะพัฒนาโรงพยาบาลแห่งนี้ให้เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางการแพทย์ในอนาคต

โดยในปี 2568 เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ยังวางแผนลงทุนในการเปิดดำเนินการโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน จำนวน 225 เตียง เพื่อเป็นที่พึ่งพาทางด้านสุขภาพของชาวชลบุรีและบริเวณใกล้เคียงในอนาคต โดยจะใช้งบประมาณการลงทุนกว่า 1.8 พันล้านบาท

นายแพทย์ชาญชัย ลี้สมประสงค์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา กล่าวว่า  โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา มุ่งมั่นที่จะเป็นที่พึ่งพาของประชาชนในเขต EEC โดยมุ่งเน้นการให้บริการที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม มีระบบที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และเครือข่ายที่เข้าถึงได้ง่ายทุกพื้นที่โดยเฉพาะในภาคตะวันออกที่เป็นเขตอุตสาหกรรม เพื่อให้บริการดูแลประชากรอย่างทั่วถึง จึงมีการขยายบริการให้สามารถรองรับผู้ประกันตนได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

โดยโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา 2 ได้เปิดขึ้นเพื่อรองรับผู้ประกันตนและผู้ป่วยทั่วไป สำหรับโรงพยาบาลพญาไทศรีราชาแห่งแรกจะพัฒนาเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์  โดยปรับปรุงพื้นที่ใหม่เพื่อรองรับผู้ใช้บริการระดับพรีเมียมและผู้ประกันตนที่ต้องการการรักษาโรคเฉพาะทางหรือโรคซับซ้อน โดยได้เริ่มให้บริการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัด การผ่าตัดหัวใจ และขยายศูนย์การผ่าตัดผ่านกล้องทุกระบบ นอกจากนี้ยังมีการขยายศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและเวชศาสตร์ชะลอวัย และอีกหลากหลายสาขา ที่มีแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ จำนวนกว่า 280 ท่าน

ในปีที่ผ่านมา ศูนย์ผู้มีบุตรยากของโรงพยาบาลได้รับการรับรองคุณภาพระดับโลก AACI จากประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับประกาศนียบัตรรับรอง Trauma 3 ในการบริหารจัดการฉุกเฉิน และกำลังดำเนินการขอรับรอง TEMSA ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ยึดหลักความปลอดภัยใน 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1. Patient Safety 2. Personnel Safety และ 3. Public Safety เพื่อพร้อมให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลพญาไทศรีราชาและเครือข่าย สามารถตอบโจทย์และเป็นที่พึ่งพาของประชาชนในจังหวัดชลบุรีและใกล้เคียงทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่ประสบสภาวะอุบัติเหตุฉุกเฉินต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และมีความเชื่อถือ

ปัจจุบันเครือข่ายโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา (Phyathai Sriracha Network) มีโรงพยาบาลในความดูแล 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา โรงพยาบาลพญาไทบางพระ และล่าสุดโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา 2  นอกจากนี้ยังมีคลินิกเครือข่ายอีก 2 แห่ง คือ คลินิกเวชกรรมพญาไทบ่อวิน และคลินิกเวชกรรมพญาไทสะพาน 4 และในปี 2568 มีแผนการเปิดตัวโรงพยาบาลพญาไทบ่อวิน  ด้วยศักยภาพทั้งหมดจะสามารถรองรับผู้ป่วยนอก (OPD) ได้วันละ 7,000 คน และคาดว่าจะขยายการรองรับสิทธิประกันสังคมได้ถึง 5 แสนคนภายใน 10 ปี สอดคล้องกับจำนวนแรงงานในพื้นที่อีอีซีที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการขายตัวของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

สำหรับแผนการบุกตลาดชาวต่างชาติ ปัจจุบัน โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา มีสัดส่วนชาวต่างชาติ 3% คิดเป็นรายได้ 5% โดยมีเป้าหมายในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ในการเพิ่มสัดส่วนชาวต่างชาติเป็น 10% ผ่านกลยุทธ์ 3 ประการ คือ 1.การเพิ่มประเทศเป้าหมาย ซึ่งเดิมทีเจาะกลุ่มชาวจีนเป็นหลัก โดยจะทำการขยายตลาดไปยังประเทศญี่ปุ่น เกาหลี กลุ่มประเทศ CLMV กลุ่ม อาหรับ ฯลฯ 2.เพิ่มการสื่อสารเกี่ยวกับบริการต่าง ๆ ของโรงพยาบาลให้มากขึ้น และ 3.การเพิ่มเอเจนซี่ด้านสุขภาพในแต่ละประเทศ นอกจากนั้นยังมีแผนการจัดตั้งศูนย์บริการสำหรับชาวต่างชาติโดยเฉพาะ เพื่อดูแลและให้บริการผู้ป่วยและผู้เข้าใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พญ.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า BDMS มีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรม Healthcare ของไทยสามารถดำเนินแนวทางความยั่งยืนตามมาตรฐานโลก โดยเฉพาะการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของประชาชนทั่วประเทศ โดยในปัจจุบัน BDMS มีโรงพยาบาลในเครือมากกว่า 50 แห่งทั่วประเทศ และล่าสุดได้ขยายเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา 2 ของกลุ่มโรงพยาบาลพญาไทและเปาโล บนเขตพื้นที่ศรีราชา เพื่อตอบสนองประชาชนและรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่นี้ โดยเฉพาะในแง่ของการรับมือกับความต้องการด้านการแพทย์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การขยายธุรกิจในพื้นที่ EEC ไม่เพียงแต่เป็นการตอบสนองต่อความต้องการในตลาดและความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรในการเป็นผู้นำด้านบริการทางการแพทย์ในพื้นที่ EEC ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการขยายธุรกิจของกลุ่มโรงพยาบาล

นอกจากนี้ ยังมุ่งหวังที่จะช่วยพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) โดยช่วยดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศและรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทยตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งเป็นการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่มีอยู่ในระดับโลกอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Post a comment

4 × 3 =