Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

สิงหาคม 2019

  ในแต่ละปี อินโดรามา เวนเจอร์ส ได้นำขยะขวดพลาสติก PET มาใช้ในกระบวนการรีไซเคิลเพื่อแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติก และเส้นใยสังเคราะห์รีไซเคิลในปริมาณมากถึง 3.3 แสนตันต่อปี เพื่อส่งต่อให้ลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และเครื่องแต่งกายทั้งในประเทศและต่างประเทศ นั่นหมายความว่า “ขวดพลาสติกที่ใช้แล้วไม่ได้เป็นแค่ขยะ”หากมองเห็นคุณค่าของ “การรีไซเคิล” หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้โดยอาศัยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ มันจะสามารถสร้างรายได้ และยังสามารถลดของเสียจากอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย และนั่นก็เป็นแนวคิดและที่มาของ โครงการประกวดออกแบบแฟชั่นรักษ์โลก RECO Young Designer ซึ่งจัดขึ้นปีนี้เป็นปีที่ 8” [gallery columns="2" size="full" ids="18243,18242"] นายริชาร์ด โจนส์ รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล ผู้นำด้านเคมีภัณฑ์ระดับโลก อธิบายว่า โจทย์ในปีนี้จะเน้นการนำวัสดุรีไซเคิล PET  เส้นใยโพลีเอสเตอร์เหลือใช้

“ฮาลาล” มาจากภาษาอาหรับ มีความหมายว่า “อนุมัติ” โดยอิสลามได้กำหนดให้มนุษย์บริโภคสิ่งที่ฮาลาลและดี (ตอยยิบ) ที่ผ่านมา เราอาจจะเคยได้ยินเพียงว่า อิสลามไม่รับประทานหมูและไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกออฮอล์ แต่แท้จริงแล้ว ยังมีความเชื่อตามหลักศาสนาที่น่าสนใจอีกมาก ไม่เฉพาะผู้ที่อยู่ในศาสนาอิสลามเท่านั้น เพราะวันนี้ เรื่องของอาหาร อันเป็นอนาคตทางความมั่นคงของโลก มีทางเลือกของอาหารฮาลาล เข้ามาเป็นอีกหนึ่งในประเด็นที่น่าติดตาม ในโอกาสครบรอบ 16 ปี ของ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ได้มีการจัดนิทรรศการสิ่งต้องห้ามและต้องสงสัยตามหลักศาสนบัญญัติอิสลาม Exhibition on Don’ts and Doubts  ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สำนักงานสวนหลวงสแควร์ (ซอยจุฬา 12) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้งานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล และเป็นประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลของประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแหล่งเรียนรู้ให้นิสิต

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ชี้ทางและสร้างโอกาสให้กับผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมจากฝีมือชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์ สู่กลุ่มผู้ที่ต้องการใช้งานคราฟต์ ในชีวิตประจำวัน รวบรวมและนำมาจำหน่ายมากที่สุดในประเทศไทย กว่า 55 ร้าน ในงาน “ชีวิตใหม่ ใต้ร่ม พระบารมี ครั้งที่ 2” เริ่ม 8 – 12 สิงหาคม นี้ ที่ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ ชั้น M ควอเทียร์แกลอรี่ และชั้น G ควอเทียร์ อเวนิว นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า งาน “ชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมี”

แค่คำว่า "กินข้าวโรงหนัง" ก็เชื่อว่าประสบการณ์นี้ ไม่ได้เข้าถึงกันง่ายๆ เพราะหากเป็นลูกค้าทั่วไป แค่เบอร์เกอร์ ไก่ทอด หรือ กล้วยแขก ก็ห้ามกินในโรงหนัง เพราะไม่ว่าเป็นอาหารชนิดใดที่โรงหนังไม่ได้ขาย  จะไม่อนุญาตให้นำเข้าไป แต่สำหรับลูกค้าคนพิเศษ ก็อาจจะมีแนวทางเป็นไปได้ ไม่นานมานี้ บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ALL จัดกิจกรรมสุดเอ็กซ์คลูซีฟรับเดือนแห่งวันแม่ “Love Inspired By Chef Chumpol” เปิดประสบการณ์ Dine – in Cinema Experience ครั้งแรกของประเทศไทย ตอกย้ำแนวคิด Class of Living ชีวิตที่มีระดับ

เยาวชน คนรุ่นใหม่ ก้าวเข้าสู่การเรียนรู้วิถีพื้นถิ่น ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่า จากความสนุกสนานกลายเป็นความสนใจ ต่อยอดไปสู่การสืบสาน ประกาศให้คนภายนอกได้รับรู้ว่า “บ้านนอก” หรือ “บ้านๆ” ของพวกเขา อาจจะเป็นถนนสายวัฒนธรรมสายเล็กๆ ที่ไม่ได้มีความอลังการใด แต่นี่ก็คือถนนที่หัวใจดวงเล็กๆ กำลังรวบรวมเพื่อสร้างเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ จากคนรุ่นเก่า สู่คนรุ่นใหม่สร้างสรรค์ให้ความบ้านๆ ของ “บ้านนอก” ไปสู่ “รักษ์บ้านนอก” จากความสนุกสนาน  กลายเป็นความสนใจ จากความสนใจต่อยอดสู่การสืบสาน จากคนรุ่นเก่าผู้เฝ้ารอการมาเยือนของลูกหลานด้วยรอยยิ้ม ผู้ตอบการซักถามของคนรุ่นใหม่ด้วยเมตตา บอกกล่าวถึงวิถีพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่คนรุ่นเก่าเหล่านี้บ่มเพาะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมายาวนาน สายใหมสีทอง ถูกดึงจากจากฝักเหลืองอร่าม เรียงร้อยเป็นขดงาม สายใยเส้นนี้สืบสานความรัก ความอบอุ่น จากคุณยายสู่คุณแม่ จากคุณแม่สู่ลูกสาว ตอกไม้ใผ่เส้นบาง ที่มองด้วยสายตาว่า บางมากแล้วนั้น พลันคุณตาก็กรีดคมมีดผ่าลงไป กลายเป็นตอกเส้นบางลงไปอีกเส้น

โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ขอเชิญชมงานแสดงนิทรรศการศิลปะ “ผ่านดวงตาและสีสัน” โดยศิลปินมากความสามารถ เอกรัตน์ อรุณรัตน์ และปัญจรัตน์ พลพลึก โดยรายได้จากการจำหน่ายภาพส่วนหนึ่งจะร่วมสบทบทุนให้แก่ มูลนิธิดร.กำจัด - ปราณี มงคลกุล นิทรรศการครั้งนี้ นำเสนอเรื่องราวความจริงของชีวิตและความเป็นไปในสังคมมนุษย์ ผ่านผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้น โดยศิลปินได้ตีความผลงานผ่านประสบการณ์ตรงที่กระทบจิตใจโดยตรง นำมาวิเคราะห์ ตีความ ผ่านแง่มุมการนำเสนอที่เป็นไปตามเสน่ห์ของศิลปิน และผลงานอื่นๆที่น่าสนใจ ที่ใช้สีโดดเด่น ด้วยเทคนิคพิเศษที่ควบคุมได้ยาก เนื้อสีมากมายถูกบีบหยดลงบนผืนผ้าใบสิบเฉดนับไม่ถ้วน เอกรัตน์ อรุณรัตน์ - ศิลปินผู้มีศรัทธา มุ่งมั่นตั้งใจ ผลงานของเขามีเอกลักษณ์โดดเด่นชัดเจน ถึงแม้ผลงานของเขาจะประกอบด้วยรูปลักษณ์ที่น่ารักโทนสีที่ดูสดใส แต่ทว่าเนื้อหาภายในสุดลึกล้ำ สะท้อนชีวิตมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ปัญจรัตน์  พลพลึก - ศิลปินผู้แสดงความงามผ่านความหยาดเยิ้ม หยดย้อยของสีเหล่านั้น  ศิลปินเชื่อว่าความงามสามารถพินิจในหลายรูปแบบ  เธอจึงสร้างสรรค์เทคนิคและรูปทรงที่บิดเบี้ยว เพี้ยนไปจากประสบการณ์ที่คุ้นเคย ขอเชิญชม นิทรรศการศิลปะ

ความท้าทายของประเทศไทยในการก้าวสู่  ศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางวิวัฒนาการของประชาคมโลก มีประเด็นสำคัญหลายด้านที่ต้องนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา เพื่อมุ่งหน้าเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายการเติบโตทาง GDP ให้อยู่ที่ระดับ 7-8% เหมือนเช่นในอดีต เป็นที่มาของการปฏิรูปหน่วยงานด้านอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมให้กับประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ลบคำว่า “งานวิจัยบนหิ้ง” สู่การพัฒนาและต่อยอดทางนวัตกรรมที่สร้างผลประโยชน์แบบองค์รวมให้กับประเทศ ดังนั้น จึงมีการจัดตั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว.อย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 โดยรวมหน่วยงานอุดมศึกษากับหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศทั้งหมดมาอยู่ภายใต้กระทรวงเดียวกัน ล่าสุด  มีการจัดการจัดงาน “การประชุมชี้แจงระบบ แผน และแนวทางการจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ระหว่างวันที่

เพราะไม่เคยมีใครเหมือนใคร มนุษย์จึงอาจจะเป็นสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่ต้องการความแตกต่างอยู่เสมอ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เลือกได้ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร โดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ทางการตลาด  เรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มผู้มีกำลังซื้อ หรือ ลูกค้าระดับพรีเมี่ยม CRM (Customer Relationship Management หรือ CRM)  หรือ การบริหารความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์และลูกค้า เป็นกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมในหมู่ของสินค้าหรือบริการที่ต้องการผูก Loyalty กับลูกค้า เพื่อไม่ให้โยกย้ายไปใช้สินค้าหรือบริการของคู่แข่งในตลาด ยกตัวอย่าง ธุรกิจห้างสรรพสินค้าที่ออกบัตรสมาชิก สำหรับการสะสมแต้ม หรือรับสิทธิพิเศษอื่น ๆ และยกความเหนือระดับขึ้นไปเพื่อเอาใจกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมี่ยม แค่ไหนจะถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมี่ยม? หากวัดด้วยตัวเลขเงินฝากในบัญชีธนาคาร หรือบริการแบบ Private Banking ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับลูกค้าคนสำคัญ ลูกค้าพรีเมียมก็คือ ผู้ที่มีเงินฝาก 5 ล้านบาทขึ้นไป โดยในกลุ่มลูกค้าพรีเมี่ยมทั้งหมดจะแบ่งเป็นลำดับขั้นตามจำนวนในบัญชีเงินฝาก ประกอบด้วย กลุ่มผู้มีเงินฝาก 5-30 ล้านบาท