Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ก้าวสู่ “รักษ์บ้านนอก”

เยาวชน คนรุ่นใหม่ ก้าวเข้าสู่การเรียนรู้วิถีพื้นถิ่น ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่า จากความสนุกสนานกลายเป็นความสนใจ ต่อยอดไปสู่การสืบสาน ประกาศให้คนภายนอกได้รับรู้ว่า “บ้านนอก” หรือ “บ้านๆ” ของพวกเขา อาจจะเป็นถนนสายวัฒนธรรมสายเล็กๆ ที่ไม่ได้มีความอลังการใด แต่นี่ก็คือถนนที่หัวใจดวงเล็กๆ กำลังรวบรวมเพื่อสร้างเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ จากคนรุ่นเก่า สู่คนรุ่นใหม่สร้างสรรค์ให้ความบ้านๆ ของ “บ้านนอก” ไปสู่ “รักษ์บ้านนอก”

จากความสนุกสนาน  กลายเป็นความสนใจ จากความสนใจต่อยอดสู่การสืบสาน จากคนรุ่นเก่าผู้เฝ้ารอการมาเยือนของลูกหลานด้วยรอยยิ้ม ผู้ตอบการซักถามของคนรุ่นใหม่ด้วยเมตตา บอกกล่าวถึงวิถีพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่คนรุ่นเก่าเหล่านี้บ่มเพาะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมายาวนาน

สายใหมสีทอง ถูกดึงจากจากฝักเหลืองอร่าม เรียงร้อยเป็นขดงาม สายใยเส้นนี้สืบสานความรัก ความอบอุ่น จากคุณยายสู่คุณแม่ จากคุณแม่สู่ลูกสาว ตอกไม้ใผ่เส้นบาง ที่มองด้วยสายตาว่า บางมากแล้วนั้น พลันคุณตาก็กรีดคมมีดผ่าลงไป กลายเป็นตอกเส้นบางลงไปอีกเส้น ความง่าย งาม เช่นนี้ เกิดขึ้นได้เพราะทำจากความเคยชิน กระทั่งกลายเป็นความชำนาญที่เกิดจากการทำมาอย่างยาวนาน หากจะถามว่านานแค่ไหน ก็คงนานพอๆ กับช่วงชีวิตของคุณตา เพราะศิลปะหัตถกรรมการถักทอ จักสาน เป็นเหนึ่งในวิถีชีวิตประจำวัน  จนเป็นที่มาของคำว่าภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา 

 

ก้าวสู่ “รักษ์บ้านนอก”

ภาพที่น่าชื่นใจนี้เกิดขึ้นที่ บ้านกอก ตำบลหัวเรือ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ในการเรียนรู้พร้อมปฏิบัติการของโครงการ “รักษ์บ้านนอก” โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อสร้างการเชื่อมจากคนรุ่นเก่ากลับไปสู่เยาวชนคนใหม่ เพื่อต่อยอด สืบสาน บอกเล่าถึงวิถีถิ่น ภูมิปัญญา วัฒนธรรม จากคนรุ่นเก่า โดยคนรุ่นใหม่  ร่วมกันธำรงไว้ซึ่งวิถีแห่ง “บ้านนอก”

“ตอนแรกก็ค่อนข้างกังวลครับ เพราะเราทิ้งช่วงมานาน จากช่วงปิดเทอมกว่าจะมาเจอกันอีก” จักรพงษ์ ศรีสุนทร หัวหน้าโครงการ “รักษ์บ้านนอก” บอกถึงปัญหาในการทำงานที่สุดท้ายก็คลี่คลายและเดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อ “ก้าวสู่รักษ์บ้านนอก” ช่วงที่สองของโครงการ ด้วยการลงพื้นที่พร้อมกับทีมงานจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับเยาวชนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 16 ที่เข้าร่วมโครงการ 21 คน เป็น 21 คน ที่คัดเลือกจากผู้สนใจในการทำสื่อ สนใจในการเรียนรู้ภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่า สนใจที่จะสืบทอดศิลปะวัฒนของวิถีถิ่น

ความง่าย งาม เช่นนี้ เกิดขึ้นได้เพราะทำจากความเคยชิน กระทั่งกลายเป็นความชำนาญที่เกิดจากการทำมาอย่างยาวนาน หากจะถามว่านานแค่ไหน ก็คงนานพอๆ กับช่วงชีวิตของคุณตา เพราะศิลปะหัตถกรรมการถักทอ จักสาน เป็นเหนึ่งในวิถีชีวิตประจำวัน  จนเป็นที่มาของคำว่าภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา

“เด็กบางคนเขามีความสนใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อ้อ…บอกบางคนคงจะไม่ได้ ต้องบอกว่าหลายคน เพราะพอไห้จับกล้องเพื่อลองถ่ายรูป สักพัก หันกลับไปดูนี่…สั่งเพื่อนโพสต์ท่า จิกตาใส่กล้องกันสนั่น สนุกครับ ทำงานกับคนรุ่นใหม่ ไม่เครียด…“ เขาเล่าต่อถึงบรรยากาศในการอบรมเชิงปฏิบัติการ แล้วยังเล่าต่ออีกว่า “แต่ก็อีกนั่นแหละ คือ พอเป็นเรื่องเทคโนโลยี่ เรื่องดิจิตัลนี่ การหยิบ จับ เรียนรู้การใช้งาน อาจจะเป็นเรื่องง่ายๆ สำหรับพวกเขา แต่พอเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทักษะ ความสามารถเฉพาะด้านเข้ามาใช้ ไปไม่เป็นเหมือนกัน ทั้งทางเราและทางเขา” อย่างเช่นอะไรคะ มีเสียงถามแทรก… “พวกเขากังวลเรื่องงานเขียนครับ การสัมภาษณ์ก็เหมือนกัน บอกไม่รู้จะถามอะไร…แต่ พวกเขาก็ช่วยกันนะ พอคนที่ทำหน้าที่สัมภาษณ์กังวลเรื่องคำถามว่า ไม่รู้จะถามอะไร พวกเพื่อนๆ ก็พากันบอกว่า ก็ถามไอ้ที่ไม่รู้นั่นแหละ…“ จักรพงษ์ เล่าพร้อมรอยยิ้ม

วิถี“รักษ์” วิถีถิ่น

ก่อนนหน้านั้น ทีม “รักษ์บ้านนอก” ได้ลงพื้นที่ พบปะสนทนา ขอคำแนะนำ หารือกับผู้รู้ในวิถีถิ่นเพื่อร่างหลักสูตร เนื้อหาที่จะบรรจุลงในสื่อของโครงการ หนึ่งในผู้รัก รู้ ในวิถิ่นที่ทางโครงการ“รักษ์บ้านนอก” มีโอกาสได้สนทนาด้วย คือ อาจารย์พรเถลิง วิสุงเร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาฝาย เหล่าหุ่ง ตำบลหัวเรือ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

“อาจารย์พรเถลิง เป็นคนที่สนใจในวิถีถิ่น แบบที่เรียกได้ว่า “รักษ์บ้านนอก” เลยล่ะ ผอ.สุรีย์ บัวรัตน์ ผอ. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 16 แนะนำให้พวกเราไปคุยด้วย โชคดีที่ได้มีโอกาสสัมภาษณ์อาจารย์“ หัวหน้าโครงการ “รักษ์บ้านนอก” เล่าถึงผู้รู้ในวิถีถิ่น “ทางเราขอสัมภาษณ์อาจารย์เรื่องดอนปู่ตา แต่ก่อนจะสัมภาษณ์นี่ อาจารย์ก็สร้างเซอร์ไพรซ์ด้วยการขอดูมือซ้ายของน้องผู้ชายที่ไปด้วย…“ หัวหน้าโครงการบอกถึงบรรยากาศในการลงพื้นที่เพื่อทำงานช่วง “ก้าวสู่รักษ์บ้านนอก”

“…พอเดินเข้าไปนี่ อาจารย์ถาม มากี่คนครับ …3 คน ครับ พอผมตอบ อาจารย์บอก หยุด! ขอดูมือซ้ายของน้องผู้ชายคนนี้หน่อย น้องเขาก็ยกมือขึ้นให้ดูอย่างงงๆ อาจารย์เดินเข้ามาดูใกล้ๆ เพ่งดูลายมือของน้องเขาอยู่ครู่หนึ่ง แล้วถอยห่างออกไป จากนั้น ถามน้องผู้ชายว่า…แฟนเก่าสองคนเอาไปไว้ไหนแล้วครับ ถึงได้มาอยู่กับคนที่สามได้… ไอ้น้องนี่ สะดุ้งโหยง! ร้องเฮ้ย! หันหน้ามาถามผมว่า เขารู้ได้ไง น้าบอกเขาก่อนแล้วเหรอ …” ฮ่า ฮ่า ฮ่า หัวหน้าโครงการ “รักษ์บ้านนอก” เปล่งเสียงหัวเราะประสานกับเสียงถามเซ็งแซ่ ทำใมล่ะ เขารู้ได้ยังไง “อาจารย์มีงานอดิเรกเป็นหมอดูครับ ดูลายมือ แม่นไม่แม่น ไม่รู้ แต่ดูจากอาการสะดุ้งของน้องที่โดนทักแล้ว ก็น่าจะบอกได้” หัวหน้าโครงการ “รักษ์บ้านนอก” ไขข้อข้องใจให้ผู้ที่ถามไถ่

จากการสัมภาษณ์อาจารย์พรเถลิง ทำให้ได้ทราบว่า ภูมิปัญญาของวิถีถิ่นนั้น สอดแทรกกุศโลบายของบรรพชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รักษาผืนป่าเอาไว้ให้เป็นแหล่งพันธุ์พืช เพาะวัตถุดิบในการประกอบอาหารตำหรับพื้นบ้าน เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดเล็ก สร้างเป็นระบบนิเวศวิทยาที่ธรรมชาติจัดสรรอย่างกลมกลืน สร้างสมดุลและสอดคล้องระหว่างชาวบ้าน พืชและสัตว์ ได้อยู่อาศัยเกื้อกูลกันเสมอมา “ดอนปู่ตา” เปรียบสมือนโอเอซีสพื้นบ้าน เป็นอีสานสโตร์ นอกจากนั้น ยังเป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณของชุมชน   เป็นป่าวัฒนธรรม  เป็นระบบนิเวศวิทยาที่ธรรมชาติจัดสรรอย่างกลมกลืน สร้างสมดุลและสอดคล้องระหว่างชาวบ้าน พืชและสัตว์ ได้อยู่อาศัยเกื้อกูลกันเสมอมา

นอกจาก ได้สนทนากับอาจารย์พรเถลิงแล้ว โครงการ“รักษ์บ้านนอก” ยังได้สนทนากับกำนันสุวรรณ์ เกณฑ์มา  กำนันตำบลหัวเรือ  ที่เล่าให้ฟังถึง “ดอนปู่ตา” ในอีกแง่มุมของความเชื่อ ความศรัทธา ที่ปนมากับปาฏิหาริย์และความหวดเกรง โดยส่วนใหญ่ชาวบ้านมักจะไม่กล้าล่วงล้ำเข้าไปในบริเวณดอนปู่ตา ด้วยความรกคลื้ม ด้วยบรรยากาศที่ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจึงเคารพและเกรงกลัว “ดอนปู่มาก” มาก แต่กระนั้น ก็ยังมีชาวบ้านบางคนที่มีความใจกล้า เข้าไปตัดไม้โดยไม่มีการขอขมา 

เมื่อสนทนามาถึงตอนนี้ หัวหน้าโครงการ “รักษ์บ้านนอก” นิ่งไปชั่วขณะ ก่อนจะกล่าวต่อไปว่า “กำนันเล่าให้พวกเราฟังว่า พ่อใหญ่(พ่อของแม่)ของกำนันเป็นคนใจกล้า ไม่กลัวอะไร ไปตัดไม้ในดอนปู่ตาบ้านชาด โดนไม้ดีดหำตายคาที่…”

ร่วมกัน “รักษ์บ้านนอก”

จากการลงพื้นที่ ขอคำแนะนำ หารือกับผู้รู้ หลังจากประสานงานกับผอ.สุรีย์ บัรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 16 ที่ร่วมกับโครงการ “รักษ์บ้านนอก” แล้ว กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ จึงได้เริ่มดำเนินการสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงวันที่เยาวชน คนรุ่นใหม่ ได้ก้าวเข้าสู่การเรียนรู้วิถีพื้นถิ่น ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่า จากความสนุกสนาน  กลายเป็นความสนใจ จากความสนใจต่อยอดไปสู่การสืบสาน ประกาศให้คนภายนอกได้รับรู้  ว่า “บ้านนอก” หรือ “บ้านๆ” ของพวกเขา อาจจะเป็นถนนสายวัฒนธรรมสายเล็กๆ ที่ไม่ได้มีความอลังการใด  แต่นี่ก็คือถนนที่หัวใจดวงเล็กๆ กำลังรวบรวมเพื่อสร้างเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ จากคนรุ่นเก่า สู่คนรุ่นใหม่  สร้างสรรค์ ให้ความบ้านๆ ของ “บ้านนอก”  ไปสู่ “รักษ์บ้านนอก”

Post a comment

7 − five =