Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

No Room for Small Dreams

ความท้าทายของประเทศไทยในการก้าวสู่  ศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางวิวัฒนาการของประชาคมโลก มีประเด็นสำคัญหลายด้านที่ต้องนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา เพื่อมุ่งหน้าเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายการเติบโตทาง GDP ให้อยู่ที่ระดับ 7-8% เหมือนเช่นในอดีต เป็นที่มาของการปฏิรูปหน่วยงานด้านอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมให้กับประเทศ

ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ลบคำว่า “งานวิจัยบนหิ้ง” สู่การพัฒนาและต่อยอดทางนวัตกรรมที่สร้างผลประโยชน์แบบองค์รวมให้กับประเทศ ดังนั้น จึงมีการจัดตั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว.อย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 โดยรวมหน่วยงานอุดมศึกษากับหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศทั้งหมดมาอยู่ภายใต้กระทรวงเดียวกัน

ล่าสุด  มีการจัดการจัดงาน “การประชุมชี้แจงระบบ แผน และแนวทางการจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2562 ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพค เมืองทองธานี  เพื่อให้การออกแบบแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ  ถูกนำไปปฏิบัติและสนับสนุนการสร้างคนและสถาบันความรู้ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิต ตามเป้าหมายของ กระทรวง อว. อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการจัดงานครั้งนี้มีบุคลากรในระบบ ววน. เข้าร่วมกว่า 1,000 คน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในการเปิดงาน

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวถึงแนวทางใหม่ของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศภายใต้กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ว่า เจตนารมณ์ของการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คือ การถอดรหัสจากนโยบายของรัฐบาล มาสู่การตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มุ่งสู่การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยตอบโจทย์ 4 ด้าน คือ ความอยู่ดีกินดี  มีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และใช้ศักยภาพคนอย่างเต็มที่

“มหาวิทยาลัยจะเป็นด่านหน้า ของไทยแลนด์ 4.0  กระทรวงใหม่จึงรวมสถาบันอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี  หน่วยงานที่ขับเคลื่อนนโยบายเกี่ยวกับวิจัย นวัตกรรมมาอยู่ด้วยกัน ขับเคลื่อนร่วมกัน เป็นกระทรวงแห่งปัญญา กระทรวงแห่งโอกาส และกระทรวงแห่งอนาคต”

ดร.สุวิทย์  กล่าวต่อว่า การขับเคลื่อนองค์ความรู้ งานวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมจะขับเคลื่อนผ่านแพลทฟอร์ม 4 แพลทฟอร์ม ได้แก่ 1. Platform สร้างคนและองค์ความรู้ รวมหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดการผนึกกำลังกันนำไปสู่การตอบโจทย์ประเทศ  สร้างระบบนิเวศของการสร้างนักวิจัย คนมีความสามารถของไทยและของโลกมาทำงาน  2. Platform การขับเคลื่อนองค์ความรู้ การวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม และการยกขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ใช้ AI and Data Economy เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เศรษฐกิจแบ่งปัน ในการขับเคลื่อนประเทศ  3. Platform การวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ขจัดความยากจน ส่งเสริมการวิจัยที่ตอบโจทย์สำคัญของประเทศ เช่นประเทศและโลก ด้วยการส่งเสริมการวิจัยขึ้นก้าวหน้า (frontier research)  เช่นการวิจัยเรื่องปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm2.5 การทำขยะให้เหลือศูนย์ เป็นต้น

ด้าน ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า  สกสว.ได้จัดการประชุมชี้แจงระบบ แผน และแนวทางการจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมได้รับทราบ และให้หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมระดมความคิดเห็นในการจัดทำแผนปฏิบัติการระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ใน 8 ด้าน ได้แก่ คนไทยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่และความมั่นคง  สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สังคมเท่าเทียมและคุณภาพชีวิต นวัตกรรมอุตสาหกรรม  เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม  ระบบนิเวศการพัฒนาประเทศ และการปฏิรูปการอุดมศึกษา เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อไป

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การพัฒนา “คน” ซึ่งเป็นต้นทางของการพัฒนานวัตกรรม ซึ่ง รมว.อว. เน้นย้ำความสำคัญในประเด็นดังกล่าว อันเป็นที่มาของการรวบรวมสรรพกำลัง คลังสมองของคนไทย มาไว้ในกระทรวงเดียวกัน พร้อมเป้าหมายในการท้าทายครั้งใหญ่ของประเทศไทยที่ว่า No Room for Small Dreams ไม่มีที่สำหรับความฝันเล็กๆ

จากนี้ไป การเขย่าระบบอุดมการศึกษาของไทยจึงต้องสอดคล้องกับการตอบโจทย์ครั้งยิ่งใหญ่เช่นกัน  ซึ่งท่าน รมว. กล่าวว่า น่าจะเป็นการปลุก “ยักษ์” ที่หลับมานาน 10-20 ปี ให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง

No Room for Small Dreams

No Room for Small Dreams เป็นชื่อหนังสือเล่มสุดท้ายของ  Shimon Peres อดีตประธานาธิบดีอิสราเอล

“…ซึ่งผมเห็นว่าเหมาะกับบริบทของพวกเราในตอนนี้ครับ …ไม่มีที่สำหรับความฝันเล็กๆ” จากโพสต์ของ  ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ที่มา : https://www.facebook.com/drsuvitpage 

Post a comment

eleven + thirteen =