Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

Halal for All

“ฮาลาล” มาจากภาษาอาหรับ มีความหมายว่า “อนุมัติ” โดยอิสลามได้กำหนดให้มนุษย์บริโภคสิ่งที่ฮาลาลและดี (ตอยยิบ) ที่ผ่านมา เราอาจจะเคยได้ยินเพียงว่า อิสลามไม่รับประทานหมูและไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกออฮอล์ แต่แท้จริงแล้ว ยังมีความเชื่อตามหลักศาสนาที่น่าสนใจอีกมาก

ไม่เฉพาะผู้ที่อยู่ในศาสนาอิสลามเท่านั้น เพราะวันนี้ เรื่องของอาหาร อันเป็นอนาคตทางความมั่นคงของโลก มีทางเลือกของอาหารฮาลาล เข้ามาเป็นอีกหนึ่งในประเด็นที่น่าติดตาม

ในโอกาสครบรอบ 16 ปี ของ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ได้มีการจัดนิทรรศการสิ่งต้องห้ามและต้องสงสัยตามหลักศาสนบัญญัติอิสลาม Exhibition on Don’ts and Doubts  ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สำนักงานสวนหลวงสแควร์ (ซอยจุฬา 12) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้งานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล และเป็นประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลของประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแหล่งเรียนรู้ให้นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้อีกด้วย

นอกจากได้ความรู้ ความเข้าใจ แล้ว ยังมีเวทีเสวนาเกี่ยวกับโอกาสของอาหารฮาลาลในตลาดโลกอีกด้วย

ปัจจุบันทั่วโลกมีประชากรมุสลิมเกือบ 2,000 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 4 ของประชากรโลก และมีส่วนแบ่งตลาดอาหารสำหรับชาวมุสลิมอยู่ราว 17% โดยประเทศไทย เป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารไปยังประเทศมุสลิมอันดับที่ 10 ของโลก โดยที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตั้งเป้าหมายขึ้นอันดับ 5 ไว้ภายในปี พ.ศ. 2563

เนื่องจากอาหารสำหรับชาวมุสลิม เป็นอาหารที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา ซึ่งมีทั้งกฎระเบียบ ข้อห้ามต่างๆ ที่ระบุไว้อย่างชัดเจน กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ อาหารสำหรับของมุสลิม ก็คือ อาหารที่มี “มาตรฐาน” ไม่ต่างจากอาหารโดยทั่วไป แต่มาตรฐานของอาหารอิสลาม นอกจากเรื่องของโภชนาการแล้ว ยังมีเรื่องของความเชื่อทางศาสนามาเป็นแนวทางในการเลือกปฏิบัติด้วย

ในอดีตผู้บริโภคชาวมุสลิมในประเทศไทย อาจจะต้องประสบกับความเสี่ยงในการเลือกรับประทานอาหาร แต่ก็มีการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นมา แม้จะมีคำว่า “ฮาลาล” (Halal) ระบุอยู่ ก็ยังขาดกระบวนการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างความมั่นใจ จนเมื่อปี พ.ศ.2546 มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลและบริการทางวิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาหารฮาลาล และพัฒนามาเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล หรือ ศวฮ. ขึ้น ปัจจุบันได้ทำการจัดงานครบรอบปีที่ 16 ไปเมื่อเร็วๆ นี้

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน กล่าวถึง รายงานของ Harvard Business Review ที่ระบุว่า ความท้าทายของธุรกิจในปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องของเทคโลโลยีอีกต่อไป แต่หมายถึงความเข้าใจและเข้าถึง ความเชื่อ และ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า มุสลิมในประเทศไทยมีจำนวน 5-7% ของประชากรไทย ถือว่ายังมีจำนวนน้อย เดิมทีผู้ประกอบการส่วนใหญ่อาจจะยังไม่เข้าใจ ที่ผ่านมา ศวฮ. ได้ทำงานในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมุสลิมมาแล้ว 16 ปี นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำให้คำว่า “ฮาลาล” เป็นที่เข้าใจและสร้างความน่าสนใจ  โดยมีรัฐบาลเข้ามาสนับสนุนและส่งเสริม เพื่อพัฒนาธุรกิจอาหารฮาลาลของไทย ให้เติบโตขึ้น โดยอาศัยพื้นฐานความพร้อมของ ศวฮ. ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหน่วยงานอันดับ 1 ด้านวิทยาศาสตร์อาหารฮาลาลของโลก

และวันนี้โอกาสของอาหารฮาลาลยังมีความน่าสนใจอีกมาก จากเป้าหมายของอาหารเพื่อชาวมุสลิม ซึ่งมีสัดส่วน 17% ของตลาดโลก เป็นอาหารของคนทุกคน หรือ Halal for All ราว 90% ของตลาดอาหาร

“เราตั้งคำถามที่ถูกต้องหรือยัง?” รศ.ดร.วินัย อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า หากเราถามว่าคู่แข่งเราคือใคร หากมุ่งไปที่อาหารฮาลาล คู่แข่งของเราจะอยู่ที่ 17% ของตลาดโลก แต่ในความเป็นจริงอาหารฮาลาล ก็คืออาหารของคนทุกคน ดังนั้นจึงมีโอกาสเข้าไปใน 90% ของตลาดอาหารโลกได้

 

การเติบโตของธุรกิจอาหารฮาลาลในประเทศไทย ยังมีทิศทางที่ดีขึ้น เพราะที่ผ่านมา คณะกรรมการตรวจสอบอาหารฮาลาล ใช้เวลาตลอด 70 ปี  ในการดำเนินการรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลให้กับผู้ผลิตประมาณ 7,000 โรงงาน ในขณะที่ในเมืองไทยยังมีอีก 70,000 โรงงานรอการตรวจสอบ หากคำนวณภายใต้กฎเกณฑ์เดิม คงต้องใช้เวลาถึง 100  ปี แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เรื่องนี้สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้ภายใน 1 ปี

อ.ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สำนักงานเชียงใหม่ บรรยายถึงแอปพลิเคชั่น HAL+

นี่คือเป้าหมายของคำว่า Halal for All ซึ่งเป็นเส้นทางที่ ศวฮ. จะเดินหน้าทั้งงานด้านวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมความรู้และศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ โดยล่าสุด ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน HAL+” (ฮาลพลัส) ขึ้น เป็นโฉมใหม่ในการทำงานด้านอาหารฮาลาลในยุค 4.0

“ในปัจจุบันฮาลาลครอบคลุมผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดโดยไม่จำกัดเฉพาะผู้บริโภคที่เป็นมุสลิม โดยรวมถึงผู้บริโภคที่มิใช่มุสลิมด้วย แนวคิดเรื่องฮาลาลเพื่อทุกคนจึงขยายไปในทุกภาคส่วน เป็นเพราะฮาลาลเข้ามาแสดงบทบาทอย่างสูงในทางอุตสาหกรรมและการค้าของโลกสมัยใหม่ ล่าสุด ทางศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(ศวฮ.) จึงได้คิดค้นและพัฒนาแอปพลิเคชัน ที่มีชื่อว่า “HAL+” เพื่อสร้างความสะดวกแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะทางด้านการซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการหรือการจับคู่ธุรกิจ”  

การพัฒนา แอปพลิเคชัน “HAL+” เป็นเครื่องมือที่ช่วยผู้ประกอบการ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ  ต้นน้ำคือ ผู้ประกอบการที่อยากจะขอรับรองฮาลาลแต่ยังไม่มีองค์ความรู้ หรืออยากได้ผู้เชี่ยวชาญ ค่อยให้คำปรึกษา ซึ่งแอปฯ HAL+ จะทำให้ SMEs ในกลุ่มแรก เข้าสู่มาตรฐานได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยกรอกเอกสารและการเติมข้อมูลต่างๆ สำหรับใช้ประกอบการขอรับรองฮาลาลได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วย ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) นั่นเอง

ต่อจากนี้ไป เราอาจจะได้เห็นอาหารฮาลาล ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เพราะสำหรับบางประเทศ อาหารฮาลาล ก็คือ อาหารของคนทุกคน ดังที่ รศ.ดร.วินัย ระบุว่า ในบางประเทศ เช่น เกาหลี หรือ อังกฤษ อาหารฮาลาลคืออาหารที่อยู่ในตลาดของอาหารทั่วไป

ดังนั้น ต่อจากนี้ไป คู่แข่งของอาหารฮาลาล ก็คือ อาหารที่ไม่ได้รับรองฮาลาล และนั่นคือโอกาสสำคัญของธุรกิจอาหารฮาลาลของเมืองไทย

 

  • ปัจจุบัน ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาตร์ฮาลาล มีรางวัลเชิดชูมากมาย และมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานทุกเดือน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • รศ.ดร.วินัย สุรีย์พงษ์ ซึ่งได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ทรงอิทธิพลของโลกมุสลิม หนึ่งใน 500 คน เป็นเวลา 10 ปีติดต่อกัน โดยได้รับเชิญให้ไปบรรยายด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน
  • ความฝันของ รศ.ดร.วินัย สุรีย์พงษ์ คือ การพัฒนา ศวฮ.เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ก้าวสู่ 1 ใน 200 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก (ที่มา : วารสาร HALAL INSIGHT กรกฎาคม 2562)

สามารถดาวน์โหลด แอฟพลิเคชัน HAL+ ได้จาก QR Code ในภาพ

เกี่ยวกับ HAL+

สมาชิกของ HAL+ แบ่งเป็น 4 ระดับ สมาชิกแต่ละระดับ มีสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

-Member เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแอปพลิเคชัน สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ กิจกรรมและข้อมูลธุรกิจได้

-Bronze Level เมื่อป้อนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทของผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิในการเข้ารับการอบรมในกิจกรรมต่าง ๆ

-Silver Level เมื่อป้อนข้อมูลใบรับรองมาตรฐานฮาลาล และผลิตภัณฑ์จะได้รับสิทธิในการออกบูธในงานต่าง ๆ และได้ส่วนลดในกิจกรรมต่างๆ

-Gold Level เมื่อป้อนข้อมูลวัตถุดิบ หรือสารปรุงแต่งที่ใช้ในกระบวนการผลิตจะได้รับสิทธิ Halal Global Ecommerce Platform Online ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้ทั่วโลก

 

 

Post a comment

3 × two =