Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

พลังคนสร้างสรรค์โลก Tag

โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ) จัดงานสรุปผลความสำเร็จหลังดำเนินงานมาครบ 9 ปี เผยผลการดำเนินงานดีเกินคาด ทั้งด้านการสร้างคนมีใจ เครือข่าย และศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย หนุนแนวคิดในการนำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ 22 ลุ่มน้ำในประเทศ เกิดการรับรู้และกระแสความตื่นตัวที่ ส่งแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนเชิงนโยบาย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า “จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ที่ทรงแสดงความห่วงใยต่อปัญหาภัยแล้งและปัญหาอุทกภัยบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2556 ด้วยความร่วมมือระหว่าง

โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ) จัดกิจกรรมเอามื้อ ณ จังหวัดนครราชสีมา ลุ่มน้ำป่าสัก  เดินหน้าภารกิจถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาสู่ปีที่ 9 เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยลงมือทำเกษตรแบบโคก หนอง นา ตามศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ไม่เพียงช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คืนสมดุลให้กับระบบนิเวศ แต่ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร อันเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานสำหรับการรับมือกับวิกฤตต่างๆ ของมนุษย์ได้อีกด้วย โดยวางมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของผู้ร่วมกิจกรรมอย่างเข้มข้น “โคก หนอง นา” ฝ่าวิกฤตสิ่งแวดล้อม ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก และผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า ในปัจจุบันทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมกันรับมือกับภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ  ให้โลกพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการทำเกษตรแบบโคก หนอง นา ตามศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น นับเป็นเครื่องมือที่จะช่วยในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้ เพราะในโคก หนอง นา จะมีป่า 3

“ตามรอยพ่อฯ” จัดแคมเปญ “รวมพลังสู้โควิด-19” ชูแนวคิด “สอน เสริม สู้ ด้วยศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น” 19 เครือข่ายทั่วประเทศ ร่วมจัดคาราวานแจกตะกร้าปันสุข น้ำสมุนไพร 7 นางฟ้า และกล่องกรีนบ็อกซ์ โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ) ปี 9 เปิดตัวแคมเปญ “รวมพลังสู้โควิด-19”  นำโดย บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ  บริษัท  ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนประชาชนในการดูแลรักษาสุขภาพในช่วงวิกฤตโควิด-19  ระดมวิทยากรให้ความรู้ในการดำรงชีวิต การดูแลสุขภาพ และการใช้สมุนไพร บนเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ของโครงการตามรอยพ่อฯ พร้อมเดินหน้าจัดคาราวานแจกตะกร้าปันสุข ชุดต้มและน้ำสมุนไพร 7

“การลงมือทำ เสียงดังกว่าคำพูด”  ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ อาจารย์ยักษ์  ได้กล่าวปิดท้ายไว้ในงานแถลงข่าวรูปแบบ Live Streaming ในโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ)  ปีที่ 9 ซึ่งในครั้งนี้ ว่าด้วยการเดินตามศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรับมือกับวิกฤตโควิด 19  โดย ดร.วิวัฒน์ กล่าวว่า “โลกเรากำลังเปลี่ยนใหม่ และไม่สามารถกลับมาเป็นแบบเดิมได้อีกแล้ว” นั่นเพราะวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้น และที่เห็นได้ชัดคือ “โควิด19” ซึ่งทำให้เกิดคำว่า New Normal เป็นวิถีใหม่ที่กลายเป็นปกติไปแล้ว ทุกคนคงทราบดีว่า โควิด 19 ผ่านมาปีกว่าๆ ได้สร้างผลกระทบอะไรไปแล้วบ้าง มีผู้เชี่ยวชาญประเมินไว้ว่า คงใช้เวลาอีกราว 2-3 ปี โลกถึงจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง แต่คงไม่เหมือนเดิม

นอกจาก “นาปรัง” และ “นาปี” ที่บ่งบอกฤดูกาลและลักษณะของการปลูกข้าวแล้ว หลายคนแทบไม่รู้จัก และอาจจะไม่เคยได้ยินเรื่องของการทำ “นาขาวัง” มาก่อน แต่หากใครที่เคยรู้เคยเห็นว่า บนเกาะกลางทะเล หรือ พื้นที่ติดทะเล ก็สามารถทำนาได้ เรื่องของ “นาขาวัง” ก็อาจจะอยู่ในทำนองที่คล้ายคลึงกัน เพราะการทำ “นาขาวัง” เป็นรูปแบบการทำนาในระบบนิเวศ 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เรียนรู้กลไกธรรมชาติของน้ำขึ้น น้ำลง เมื่อถึงหน้าฝนมีน้ำมีท่าก็ทำนาตามปกติ  ส่วนในฤดูแล้งก็จะปล่อยน้ำเค็มให้ไหลเข้ามาในนาเพื่อเลี้ยงกุ้ง หอย ปู ปลา ส่วนคำว่า “ขาวัง” คือ ลุ่มน้ำบางปะกง  เป็นภูมิปัญญาในการจัดการน้ำของชาวนา สำหรับการทำนาขาวัง อาจจะไม่รู้จักกันเป็นที่แพร่หลายมากนัก เพราะปัจจุบันเหลือพื้นที่ทำนาขาวังเพียงแค่ที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

ไม่ใช่เพียงแค่หน้าที่ที่ทำให้คนเรายังมีที่ยืน ที่อยู่ ที่อาศัย แต่วันนี้โลกรู้แล้วว่า ดิน คือ ที่พึ่งของคนทั้งโลก เพราะแม้แต่กองทัพยังต้องเดินด้วยท้อง ดังนั้นความมั่นคงของประเทศ ที่หลายคนมองว่าเป็นแค่เรื่องของการทหาร ก็ยังต้องพึ่งพาอาหาร ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศมีความมั่นคงสูง ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร แต่ในขณะเดียวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการเรื่องของดิน น้ำ ป่า เพราะหากใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง  อาจจะกลายเป็นการทำลายสิ่งที่มีค่าไปอย่างน่าเสียดาย หลายคนคงได้ทราบแล้วว่า ในวันดินโลก พ.ศ.2561 ในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การสหประชาชาติ (UN) มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันดินโลก เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชา และน้อมสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาดิน  รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพยากรดินเพื่อความมั่นคงทางอาหารโลกอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด ‘Be the solution to soil pollution’ เน้นเรื่องมลพิษทางดินซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร [caption

ราว 4-5 ปีที่หลายคนอาจจะเคยผ่านตา โรงเรียนร้างย่านพระราม 9 บริเวณปากซอย 17 เมื่อขึ้นชื่อว่าร้าง ก็สร้างความคิดจินตนาการไปได้ต่างๆ นานา และที่ไม่พ้นมโนของคนทั่วไปก็คงเป็นเรื่องของผีสาง ถึงขนาดที่หนังผีก็เคยมาใช้เป็นโลเคชั่นในการถ่ายทำมาแล้ว นั่นคงไม่ใช่ประเด็น เพราะการเปิดตัวมายาวนานราว 40 ปี เท่ากับว่าโรงเรียนแห่งนี้ได้สร้างคนมาแล้วหลายรุ่น แม้จะทิ้งร้างไปถึง 4-5 ปี ก็ยังกลับมาสร้างคุณค่าและประโยชน์กับตัวเองและผู้อื่นได้ ไม่เป็นเพียงความรกร้างที่ว่างเปล่า แต่ยังแปรเปลี่ยนพลังครั้งยิ่งใหญ่ ที่จะส่งต่อไปยังอีกหลายชีวิตหลายหัวใจของเมืองหลวง โรงเรียนชาญวิทย์ ซึ่งวันนี้ปิดให้บริการแล้ว ได้รับการอนุเคราะห์จากเจ้าของให้กับกลุ่ม “ธรรมธุรกิจ” ที่มียักษ์กับโจนจับมือกันเป็นแนวหน้า ยักษ์ที่ว่าคือ อ.ยักษ์ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร และโจนที่ว่า ก็คือคุณโจน จันใด นั่นเอง การจับมือในครั้งนี้ จึงไม่น่ากังวลอย่างที่คิด และเชื่อมั่นได้เลยว่า