Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ธันวาคม 2018

“ซั่วแท้” ในภาษาอีสานแปลว่า “โง่มาก” ผู้ชายคนหนึ่งได้ยินคำนี้จากปากของคุณพ่อของเขา  ในวันที่เขาอยากพลิกชีวิตการทำงานในเมือง ไปเป็นชาวสวน แต่วันนี้เขาก็นำเรื่องนี้มาเล่าให้ทุกคนได้ฟังด้วยอารมณ์ขัน หากคนเราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และสามารถหล่อเลี้ยงอยู่กับมันไปทั้งชีวิตได้สบายๆ เป็นแต่ก่อนก็คงไม่มีใครกล้าทิ้งทุกอย่างไปง่ายๆ โดยเฉพาะการพลิกจากเมืองสู่ป่า จากตึกสู่เรือกสวนไร่นา ที่ไม่เคยคุ้นมาก่อน “บอย-วิวิช พวงสวัสดิ์”  เกิดในครอบครัวข้าราชการ เคยเป็นทั้งอาจารย์  ผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงาน  ผู้จัดการในบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ เขาตัดสินใจกลับมาทำสวน ซึ่งในตอนนั้น แทบไม่มีความรู้อะไรเลย จวบจนวันนี้ 6 ปีแล้ว ที่ไร่สุขสวัสดิ์เดินทางมาถึงจุดที่ตอกย้ำแนวคิดที่ว่า ความสุข ไม่ได้เกิดเพราะเรา รวยหรือจน แต่เกิดจาก “พอใจ” หรือ “ไม่พอใจ” ต่างหาก หากย้อนไปตั้งแต่ปี 2542 ไร่สุขสวัสดิ์ เริ่มต้นจากชายผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล “สะท้าน ไชยวงษ์” พ่อตาของคุณบอย อย่าว่าแต่วิชาการด้านการเกษตรเลย คุณพ่อสะท้าน แกอ่านไม่ออก

วันที่ลืมตาดูโลก ฉันอาจจะเป็นคนหนึ่งที่ได้นอนบนเสื่อกระจูด  ป้าของฉันเรียกมันว่า “สาดจูด” ตามประสาคนใต้ที่ชอบรวบรัดตัดคำให้สั้นลง นั่นคงเป็นสิ่งแรกที่นึกถึงกระจูด แม้วันนี้เราเดินทางมาไกล และอาจจะห่างจากบ้านเกิด ห่างจากสาดจูด และห่างจากลุงป้าน้าอา แต่ความทรงจำยังไม่เคยเลือนหาย ภาพของกระจูดยังแจ่มชัด เช่นเดียวกับความผูกพันของคนในเครือญาติ เมื่อมีโอกาสตามติดชีวิตของกระจูดอีกครั้งจึงได้รู้ว่า กระจูดเองก็เดินทางไปไกลแล้วเช่นกัน กระจูดเป็นพืชตระกูลเดียวกับ “กก” จริงๆ แล้วเกิดขึ้นเป็นวัชพืชในที่น้ำขังตลอดเวลา ดังนั้นที่ที่กระจูดจะใช้ชีวิตอยู่ได้ก็ต้องเป็นแหล่งน้ำจืดที่ไม่เคยแห้งแล้ง รู้จักกันในนาม “ป่าพรุ” ซึ่งเป็นดินโคลนที่มีน้ำขังทั้งปี ดังนั้นใครที่สนใจปลูกกระจูดก็สามารถนำกระจูดไปปลูกไว้ในอ่างได้ กระจูดตามธรรมชาติของพื้นที่ในประเทศไทย มีอยู่ใน 5 จังหวัดทางภาคใต้เท่านั้น คือ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส แต่ละพื้นที่ก็มีการสานกระจูดมานาน มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์และรูปแบบของตัวเอง สำหรับกระจูดที่พัทลุง ซึ่งเราได้เดินทางไปเจอมาล่าสุด จากการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า มีเรื่องราวที่ยาวนานมา เพราะในอดีตนิยมสานเป็นเสื่อและกระสอบใส่ข้าวสารและน้ำตาลเพื่อเป็นบรรณาการมานาน ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาจนกลายเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน การเดินทางทำให้เราได้มาเจอกับ “วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี” (Varni)

บางครั้งเราก็ลืมไปว่า หน้าที่ของสะพาน ใช้ในการเชื่อมโยงของสองฝั่งเข้าด้วยกัน เพราะวันนี้มีสะพานชมวิวเกิดขึ้นมากมาย บ้างก็ข้ามไปอีกที่ บ้างก็ไม่ได้ข้ามไปไหน แต่ที่สะพานไม้แกดำ นอกจากสะพานจะเล่าเรื่องราวให้เราฟังแล้ว สะพานยังเชื่อมโยงเรื่องราวของอีกฝั่งออกมาอย่างมีสีสัน สะพานไม้แกดำ ตั้งอยู่ที่วัดดาวดึงษ์ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม เป็นสะพานไม้เก่า อายุราวมากกว่า 50 ปี  ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางข้ามอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ โดยเชื่อมระหว่างบ้านหัวขัวกับหมู่บ้านแกดำ [caption id="attachment_17370" align="aligncenter" width="800"] ทองอยู่ บุติมนตรี[/caption] จากคำบอกเล่าของ “ทองอยู่ บุติมนตรี” คุณครูวัยเกษียณ ตัวแทนของชมรมอนุรักษ์หนองแกดำ เล่าว่า เดิมทีราวปี 2502 สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นโดยคนในชุมชน เพื่อใช้ข้ามอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ ให้ชาวบ้านได้สัญจรไปมา เด็กๆ ได้ใช้เส้นทางนี้ข้ามไปโรงเรียน โดยไม่ต้องอ้อมไปทางถนน สะพานทอดยาว เล่าเรื่องราวในตัวเอง จากสภาพของไม้ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เรียงต่อกันด้วยฝีมือของคนในชุมชน สภาพไม่ได้เรียบร้อยเหมือนงานช่างที่เน้นความเป็นระเบียบ

ไม่ใช่เพียงแค่หน้าที่ที่ทำให้คนเรายังมีที่ยืน ที่อยู่ ที่อาศัย แต่วันนี้โลกรู้แล้วว่า ดิน คือ ที่พึ่งของคนทั้งโลก เพราะแม้แต่กองทัพยังต้องเดินด้วยท้อง ดังนั้นความมั่นคงของประเทศ ที่หลายคนมองว่าเป็นแค่เรื่องของการทหาร ก็ยังต้องพึ่งพาอาหาร ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศมีความมั่นคงสูง ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร แต่ในขณะเดียวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการเรื่องของดิน น้ำ ป่า เพราะหากใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง  อาจจะกลายเป็นการทำลายสิ่งที่มีค่าไปอย่างน่าเสียดาย หลายคนคงได้ทราบแล้วว่า ในวันดินโลก พ.ศ.2561 ในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การสหประชาชาติ (UN) มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันดินโลก เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชา และน้อมสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาดิน  รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพยากรดินเพื่อความมั่นคงทางอาหารโลกอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด ‘Be the solution to soil pollution’ เน้นเรื่องมลพิษทางดินซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร [caption