Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

CHANGE PLEASE บาริสต้าเปลี่ยนโลก

ทีม CHANGE PLEASE จากสหราชอาณาจักรคือผู้ ชนะโครงการ CHIVAS VENTURE 2018ในงาน TNW CONFERENCE ที่เมืองอัมสเตอร์ดัม

Will.I.Am. (วิล.ไอ.แอม) ผู้ที่เป็นทั้งTech entrepreneur และนวัตกรผู้สร้างสรรค์อยู่ในอัมสเตอร์ดัม เพื่อช่วยคัดเลือกและตัดสินผู้ชนะในโครงการ Chivas Venture 2018 ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับโลกของ ชีวาส รีกัล (Chivas Regal)  โดยมอบทุน 1 ล้านดอลลาร์โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ เป็นประจำทุกปีให้กับสตาร์ทอัพเพื่อสังคมที่มีแววรุ่งมากที่สุดในโลก จากผู้เข้ารอบสุดท้าย 27 ราย Change Please ผู้ประกอบการสัญชาติอังกฤษ เป็นผู้คว้าเงินทุนก้อนใหญ่ที่สุดไป โดยได้รับเงิน 350,000 ดอลลาร์ หลังจากการ pitching แบบสดๆ ในงาน TNW Conference ซึ่งเป็นงานด้านเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของยุโรป ต่อหน้าผู้คลั่งไคล้เทคโนโลยี ระดับนานาชาติ นักลงทุน และผู้ประกอบการ

Change Please ช่วยเหลือชุมชนของคนไร้บ้านด้วยการไปฝึกให้พวกเขาเป็นบาริสต้า สตาร์ทอัพจากกรุงลอนดอนได้พาคนไร้บ้านไปจากท้องถนนและให้ความเชื่อมั่นว่าพวกเขาจะหาบ้านให้ได้ภายใน 10 วัน รวมทั้งมอบบัญชีธนาคารและงานที่จ่ายค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างของลอนดอน กาแฟที่พวกเขาชงจะเสิร์ฟในแก้วที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นผลผลิตที่เชื่อมั่นได้ จากฟาร์มซึ่งสนับสนุนชุมชนยามที่พวกเขาลำบาก

Cemal Ezel (ซีมอล เอเซล) ผู้ก่อตั้ง Change Please กล่าวถึงความรู้สึกที่เป็นผู้ชนะว่าผมมีความสุขมากผมว่าผมยังตกใจอยู่เลยครับ เป็นการเดินทางที่ ยากลำบากและยาวนานมาก แต่การได้รู้จักเพื่อนใหม่น่าทึ่งทั้ง 26 ทีมจากทั่วโลก นั่นคือไฮไลท์สุด สำหรับผมสี่เดือนที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่น่าทึ่งมาก ผมอยากจะขอบคุณชีวาสมาก ครับ

รอบ The Global Final ซึ่งมีนักแสดงเจ้าของรางวัล BAFTA นักเขียน ผู้กำกับ และพิธีกรรายการโทรทัศน์ Richard Ayoade (ริชาร์ด เอโยอาเด) เป็นผู้ดำเนินรายการ เป็นรอบไคลแม็กซ์ในปีที่ 4 ของการแข่งขันChivas Venture การแข่งขันปีนี้ดึงดูดผู้เข้าแข่งขัน 2,600คนจากทั่วโลก แล้วคัดเลือกให้เหลือผู้เข้ารอบสุดท้าย 27 ทีม ทั้งหมดแข่งขันกันเพื่อให้ได้ส่วนแบ่งในเงินทุนจำนวน 1 ล้านดอลลาร์จาก ชีวาส รีกัล คณะกรรมการประกอบด้วย Will.i.am (วิล.ไอ.แอม) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ I.AM.PLUS; Alexandre Ricard (อเล็กซานเดอร์ ริคาร์ด) ประธานและซีอีโอของ เพอร์นอต ริคาร์ด บริษัทแม่ของ ชีวาส รีกัล; Sheila Herrling (ชีอิล่า เฮอร์ลิ่ง) นักวิชาการอาวุโสแห่ง The Beeck Center for Social Impact + Innovation (ศูนย์เบ็คเพื่อศึกษาผลกระทบทางสังคมและนวัตกรรม) ; และKresse Wesling (เครสซี่ เวสลิง) ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการแบรนด์สุดหรูเน้นความยั่งยืน Elvis &Kresse (เอลวิส & เครสซี่)คณะกรรมการประเมินสตาร์ทอัพแต่ละทีมโดยพิจารณาจากความสามารถในการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนผ่านทางโมเดลธุรกิจที่มีแววประสบความสำเร็จและมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้

นี่ไม่ใช่แค่การแข่งขัน แต่เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการและนวัตกร ซึ่งสร้างผลกระทบต่อโลกเราได้ อย่างแท้จริง

ผู้เข้ารอบสุดท้ายอีก 4 ทีม ที่ได้รับเงินทุนจำนวนมาก ได้แก่ Mestic จากเนเธอร์แลนด์ (200,000 ดอลลาร์) ทีมที่จะเปลี่ยนมูลวัวให้กลายเป็น biotextiles (สิ่งทอชีวภาพ), bioplastics (พลาสติกชีวภาพ) และbiopaper (กระดาษชีวภาพ); Spain’s BraiBook (100,000 ดอลลาร์) ผู้สร้างสรรค์eReader ด้วยตัวอักษรเบรลล์เป็นรายแรก; The Picha Project จากมาเลเซีย (50,000 ดอลลาร์) ซึ่งสนับสนุนชุมชนที่ถูกกีดกันทางสังคมผ่านทางธุรกิจจัดเลี้ยงและจัดส่งอาหารแบบยั่งยืน และ change:WATER Labs จากสหรัฐอเมริกา (50,000 ดอลลาร์) ทีมที่พัฒนาห้องสุขาที่ไม่ใช้น้ำ และต้นทุนต่ำ สำหรับชุมชนหรือบ้านพักอาศัยที่ไม่มีระบบท่อน้ำทิ้งทั่วโลก

มีการตัดสินรางวัล People’s Choice Award โดยการถ่ายทอดสดในคืนนั้นและมีผู้ชมในสตูดิโอและผู้ชมกว่า 420,000 คนทั่วโลกที่ชมภาพการถ่ายทอดสด  will.i.am ประกาศว่าผู้ชมได้ตัดสินมอบรางวัลเงินทุนเพิ่มเติมอีก 50,000 ดอลลาร์ให้กับ Eric Sicartจากทีม BraiBook

Will.i.am (วิล.ไอ.แอม) กรรมการตัดสินกล่าวถึงงานนี้ว่าต้องขอบคุณ Chivas Venture ทำให้เราได้รู้จักบรรดาคลื่นลูกใหม่ของ entrepreneur ที่มีแววมากๆ ซูเปอร์สตาร์ในอนาคตก็คือบรรดาผู้ก่อตั้งบริษัทแบบนี้ที่กำลังแก้ปัญหาต่างๆ ของโลก ผมรู้สึกขอบคุณชีวาสที่ยกระดับและส่งเสริมสตาร์ทอัพเพื่อสังคมซึ่งกำลังพยายามเปลี่ยนแปลงให้โลกเราดีขึ้น

Alexandre Ricard  (อเล็กซานเดอร์ ริคาร์ด) ประธานและซีอีโอบริษัท เพอร์นอต ริคาร์ด กล่าวเสริมว่า “Chivas Venture เป็นโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ที่ ผมรู้สึกภาคภูมิใจมาก นี่ไม่ใช่แค่การแข่งขัน แต่เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการและนวัตกร ซึ่งสร้างผลกระทบต่อโลกเราได้ อย่างแท้จริง พวกเขากำลังเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราทำธุรกิจ เราได้มอบเงินทุนไป 3 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่เริ่มต้นการแข่งขัน และผู้เข้ารอบสุดท้ายกำลังช่วยพัฒนาชีวิตผู้คนกว่า 1 ล้านคนในกว่า 40 ประเทศทั่วทั้ง 6 ทวีป นับว่าเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนไม่เลวเลยครับ

ปัจจุบันเป็นปีที่ 4 แล้วของการจัด Chivas Venture มีผู้สมัครเข้าแข่งขันกว่า 8,000 รายแล้ว นับตั้งแต่เริ่มต้นการแข่งขันในปี ..2557 สตาร์ทอัพที่ชีวาสสนับสนุนได้ ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลงได้กว่า 60 ล้านตัน รีไซเคิลขยะ 13,000 ตัน อนุรักษ์ต้นไม้ไว้ได้ว่า 8 ล้านต้นรวมทั้งรังผึ้ง 1 ล้านรัง ผู้หญิงและเด็กได้รับการศึกษา 75,000 วัน มีน้ำดื่มสะอาดให้ผู้คน 24 ล้านลิตร และบ้าน 23,000 หลังมีพลังงานปลอดภัยใช้   

 ชีวาสเชื่อว่าความโอบอ้อมอารีและความสำเร็จสามารถเกิดคู่กันได้ เป็นความเชื่อที่ได้แรงบันดาลใจมาจากสองพี่น้องผู้ประกอบการและเป็นผู้ก่อตั้งชี วาส นั่นคือ เจมส์และจอห์น ชีวาส ซึ่งแบ่งบันความสำเร็จของพวกเขากับชุมชนเมื่อธุรกิจของพวกเขาเติบโตมากขึ้น  ปัจจุบัน โครงการ Chivas Venture มีผู้ประกอบการแชมเปี้ยนของชีวาส ซึ่งมีปรัชญาเดียวกัน ซึ่งต้องการประสบความสำเร็จ ขณะเดียวกันก็ต้องการช่วยให้โลกดีขึ้นด้วย 

องค์กรเพื่อสังคมเหล่านี้ได้รับเชิญให้สมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อโอกาสในการเป็นผู้ชนะในส่วนแบ่งเงินทุนจำนวน 1 ล้านดอลลาร์รวมทั้งแหล่งข้อมูลต่างๆ เมื่อโครงการ Chivas Venture 2019 จะเปิดรับสมัครในเดือนกันยายน ..2561 ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง www.chivas.com/the-venture

Post a comment

5 × five =