Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

เล่า ลำดับที่ ๒ : สารคดีภาพถ่าย “ ก่อนหมดสิ้น .. สับขาลาย” 

โดย :  ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ

หากไม่เปิดเปลือยจะไม่รู้ว่ามีความงามใดซ่อนอยู่ ..
หากไม่สังเกตุอาจหลงเข้าใจว่าบุรุษนุ่งเตี่ยวยืนกลางลำธารใสเย็น .. ”

ภาพที่ ๑ – บางท้องถิ่นชาวกระเหรี่ยงเชื่อว่าตนคือลูกหลานของพญานาคจึงสักหน้าและหลังเอวเป็นลายเกล็ดเพื่อคุ้มครองตน

 

ผม เดินทางมาที่อมก๋อยอำเภอริมสุดด้านใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยความเชื่อ”    

จากพื้นราบ สู่เส้นทางคดโค้ง  หลายสิบยอดดอย หลายสิบหย่อมชุมชน ของชาวกระเหรี่ยงทั้ง 2 กลุ่ม ที่ตั้งถิ่นฐานมายาวนาน  

หวังทำความเข้าใจ ในคติความเชื่อ” ในรากทางความคิด ในศิลปะเฉพาะที่กำลังจะสาบสูญในอีกไม่กี่สิบปี.. 

ภาพที่ ๒ – หากไม่ถอดผ้านุ่งจะไม่มีวันรู้ว่าใครมีลายสับที่ขาบ้าง แม้แต่คนในครอบครัวก็แทบไม่เคยเห็นลวดลายในร่มผ้า

 

ภาพที่ ๓ – เพียงหนึ่งวันก่อนการ “สับขา” เพื่อนวัยเดียวกันในหมู่บ้าน เสียชีวิตเพราะทนความเจ็บปวดไม่ไหว

 

ในอดีตทุกชุมชนในกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยง บุรุษเมื่อย่างเข้าสู่วัยฉกรรจ์ ล้วนอยากเป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอดลวดลายโบราณที่มีแบบแผนคล้ายคลึง 

แต่ต้องอดทนต่อความเจ็บปวดที่อาจต้องแลกด้วยชีวิต จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในทุกสิบคนจะมีคนเสียชีวิตสองถึงสามคนเสมอ 

ภาพที่ ๔ -ลายสับหมึกของผู้ชายอายุ 60 – 90 ปี ในหมู่บ้านแม่ต๋อม หนึ่งชุมชนใหญ่ของชาวกระเหรี่ยงในอ.อมก๋อย

 

ภาพที่ ๕ -สมัยก่อนชาวกระเหรียงไม่ได้นับถือพุทธ ไม่มีการบวช การอดทนระหว่างสับหมึก ก็เพื่อตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่

 

แต่คนส่วนใหญ่ถือว่าคุ้มค่า เป็นความภาคภูมิใจที่จะปรากฏอยู่บนเรือนร่างและคงอยู่ตราบลมหายใจสุดท้ายของชีวิต 

สิ่งนี้คือความงามรูปแบบเฉพาะที่ถือเป็นตัวแทน ของศิลปะของชายชาวกระเหรี่ยง เราเรียกสิ่งนี้ว่าหมึกขาลายหรือการสับขาลาย” 

ภาพที่ ๖ – หญิงสาวชมชอบชายหนุ่มที่มีการสักขา เพราะดูสวยงาม มีความอดทนสมชายชาตรี และแสดงออกถึงความเป็นผู้นำ

 

ภาพที่ ๗ – ผู้ชายจะอาบน้ำด้านบนของลำธาร หากใครขาขาวมักจะถูกล้อว่าขาขาวเหมือนขาผู้หญิง ให้ไปอาบน้ำร่วมกับผู้หญิง

 

หมึกขาลายหรือการสับขาลายคือ การสักจากใต้หัวเข่าขึ้นมาจนถึงบริเวณเอวเหนือสะดือ ขาทั้งสองข้างมีกรอบสีเหลี่ยมหรือกรอบวงกลม

เว้นช่องว่างให้เห็นเนื้อหนังบางส่วนภายใน เป็นภาพสัตว์ต่างๆ หมึกดำทึบที่ใช้ มีส่วนผสมจากดีของสัตว์หลายชนิดผสมร่วมกับว่าน 

ภาพที่ ๘ – การสับหมึกคือการเอาเข็มจุ่มหมึกที่มีส่วนผสมจากดีสัตว์กับว่านกระแทกคล้ายการสับเพื่อให้หมึกติดบนร่าง

 

ภาพที่ ๙ – การไปทำงานในวัยหนุ่มฉกรรจ์ กระเหรี่ยงไม่น้อย จึงสักบนตัวทั้งอักขระ และยันต์ ในคติความเชื่อแบบคนเมือง

 

ปัจจุบัน ความภาคภูมิใจเหล่านี้ กลายเป็นเพียงสิ่งตกค้างจากวันเวลา ชาวกระเหรี่ยงอายุน้อยกว่า50ปี ในพื้นที่อำเภออมก๋อย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ 

กว่า80% คือชาวกระเหรี่ยงโป และกระเหรี่ยงสะกอ แทบไม่ปรากฏคนที่สับขาลายอีกแล้ว จึงเป็นจุดเริ่มต้น เป็นแรงบันดาลใจ ให้สร้างสรรค์ 

การบันทึกภาพประวัติศาสตร์ของศิลปะบนเรือนร่าง ในชื่อผลงานภาพถ่ายสารคดีก่อนหมดสิ้น .. สับขาลาย

ภาพที่ ๑๐ -ชายชราวัยร้อยปี สะท้อนความจริงที่ว่าหากไม่บันทึกภาพในวันนี้ ไม่นาน ความงดงาม จะหลงเหลือเพียงอดีต

 

ผลงานภาพถ่ายชุด นี้ ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 – รางวัล Popular Vote  

“ 10 ภาพเล่าเรื่อง ” season 6  National Geographic Thailand Photography Contest 2016

 

แขกรับเชิญ รายการ แกะกล้า ตอนสักขาลายอัตลักษณ์ใกล้สาบสูญ ช่อง Amarin TV  เสาร์ที่26มีนาคม 2559

ชมรายการสัมภาษณ์  ย้อนหลัง ทาง https://youtu.be/yyCtqI5ojWc

 


ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ :  คนทำงานศิลปะ พิธีกร นักเขียน นักเดินทาง และ นักบันทึกภาพ

พื้นฐานที่เกิดจากการเรียนศิลปะ  ความหลงใหลการเดินทางเพื่อทำสารคดีที่เกิดจากความอยากรู้ 

การเห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังปู่ม่านย่าม่านที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน  เกิดคำถาม .. ปัจจุบัน

ยังหลงเหลือ สักขาลาย” อยู่ไหม จึงตั้งปณิธานเล็กๆ ในการออกเดินทาง ปี ทั่วประเทศ หวังที่จะ

บันทึกเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์เฉพาะของการสักบนเรือนร่าง ก่อนจะสาบสูญ .. ในยุคสมัยเรา 

I FB – ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ   I   charnpichit.jumbo@gmail.com

Post a comment

13 + twenty =