Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

อพท Tag

อพท. ร่วมกับภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ไทย เปิดเวทีถกแนวคิดการสร้างสรรค์สินทรัพทางวัฒนธรรม เพิ่มมูลค่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เตรียมพร้อมดันอีก 3 จังหวัดเข้าสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์โลก ในพิธีเปิดกิจกรรมขับเคลื่อนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ประเทศไทย หรือ Thailand Creative Cities Network : TCCN 2022  นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. ประธานการเปิดงาน กล่าวว่า อพท. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก และเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ประเทศไทย จัดกิจกรรมครั้งนี้ระหว่างวันที่ 30 มิ.ย. 65 - 1 ก.ค. 65 ณ อาคาร UBC 2 สุขุมวิท

ชุมชนบ่อสวกคว้ารางวัลรางวัล Upgrade Programme  จากการประกวดหมู่บ้านท่องเที่ยวยอดเยี่ยมโลก จาก UNWTO  เพิ่มโอกาสทางการตลาด และตอกย้ำความสำเร็จจากการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า  องค์กรการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาติ หรือ UNWTO ประกาศให้ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ได้รับรางวัล Upgrade Programme  ภายใต้การประกวดรางวัลหมู่บ้านท่องเที่ยวยอดเยี่ยม (Best Tourism Village) ประจำปี ค.ศ. 2021   ซึ่งการเข้าประกวดรางวัลครั้งนี้ เป็นการผลักดันจาก อพท. และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งเป็นสมาชิกหลักของ UNWTO เนื่องจากชุมชนตำบลบ่อสวกเป็นหนึ่งในชุมชนต้นแบบที่ อพท.พัฒนาจากเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย (CBT

อพท. จับมือ 9 หน่วยงาน ผลิตเรือไฟฟ้าส่งมอบชุมชน “ตลาดน้ำคลองดำเนินสะดวก” ลั่นกลองส่งเสริมต้นแบบการท่องเที่ยวไร้มลพิษ นาวาอากาศเอกอธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า อพท. มีเป้าหมายการพัฒนาและยกระดับพื้นที่และชุมชนให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ GSTC ในมิติการพัฒนาว่าด้วยเรื่องของการส่งเสริมผลประโยชน์และลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบวิถีคลองในพื้นที่คลองดำเนินสะดวกแห่งนี้ ได้ยึดหลักเกณฑ์ GSTC และเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย หรือ CBT Thailand  ประกอบกับการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนโยบาย BCG โมเดลของรัฐบาลที่ตอบเป้าหมาย Green Economy คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน และ      ยังช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยว ผนึก 9 พันธมิตร พัฒนาเรือไฟฟ้ามอบชุมชน ล่าสุดได้ร่วมกับ

“พิพัฒน์” ย้ำ ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบต้องอ้างอิงมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล ตอบโจทย์ตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ ปี 65’ สั่ง อพท. ปั้นเพิ่ม 50 ชุมชนท่องเที่ยวยั่งยืนมาตรฐานโลก เตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ ตอบนโยบาย BCG โมเดล เผยปัจจุบันมีแล้ว 12 ชุมชนในพื้นที่พิเศษ พร้อมเสิร์ฟตลาดคนไทยและชาวต่างชาติ  [caption id="attachment_25715" align="aligncenter" width="799"] พิพัฒน์ รัชกิจประการ[/caption] นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ได้ทำให้นักท่องเที่ยวหันมาให้ความสำคัญเฉพาะเรื่องสุขอนามัยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งระบบต้องหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนในทุกมิติมากขึ้น ซึ่งมิใช่เรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม พฤติกรรมนักท่องเที่ยว ที่เริ่มสนใจแหล่งท่องเที่ยวชุมชนมากขึ้น เนื่องจากผู้คนไม่พลุกพล่าน ได้เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ทางวัฒนธรรม

อพท. ปลื้ม  สุโขทัย น่าน ขึ้นสุดยอด 100 แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนโลก  ตามด้วย 23 ชุมชน เข้ารับรางวัลกินรี จากการใช้เกณฑ์ GSTC  และ CBT Thailand  ตอกย้ำทุกชุมชนพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวคุณภาพหลังรัฐบาลประกาศเปิดประเทศ นาวาอากาศเอกอธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า  ผลดำเนินงานด้านการพัฒนายกระดับแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนในรอบปีงบประมาณ 2564 ทำให้เกิดกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจากการใช้องค์ความรู้ที่มีมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวที่ อพท. รับผิดชอบ ได้รับการยอมรับจากองค์กรทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างมากมาย และล่าสุดแหล่งท่องเที่ยวที่ อพท. เข้าไปพัฒนา ได้รับคัดเลือกเป็นสุดยอดแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แหล่งของโลก ปี 2021 ( Global

อพท. ร่วมกับภาคีเครือข่ายกงทุนส่งเสริม ววน. สกสว.-บพข.-สอวช. เปิดผลการวิจัย คัดชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์  8 แห่ง พัฒนาเป็นต้นแบบการทำตลาด ท่องเทียววิถีใหม่ New Normal เตรียมความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ หลังสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลาย  นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า อพท.ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) คณาจารย์นักวิจัย และผู้นำชุมชน ที่อยู่ใน 4

เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ไทย หนุนตั้ง “เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของประเทศไทย” (Thailand Creative Cities Network  หรือ TCCN) ชู อพท. พี่เลี้ยงดันหลังเมืองที่ประสงค์เข้าสู่การเป็นเครือข่าย UCCN  ประเดินจัดเสวนาครั้งแรก เปิดเวทีระดมความคิด สร้างความรู้ความเข้าใจประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ และเกณฑ์ของยูเนสโก  เป้าหมายขยายเส้นทางท่องเที่ยวเมืองสร้างสรรค์แห่งใหม่ มุ่งกระจายรายได้ท่องเที่ยว  สร้างเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์โรดแมปชาติ 20 ปี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า จากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่รัฐบาลมุ่งเน้นให้เกิดการต่อยอดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนผ่านการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค เพื่อเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจฐานชีวภาพให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ได้กำหนดเป้าหมายทิศทางการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต โดยมุ่งพลิกโฉมประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มี

อพท.ร่วมกับจังหวัดสุโขทัย ประกาศศักยภาพเมือง ส่งข้อมูลเข้าชิงเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ องค์การยูเนสโก หรือ GNLC  ตอกย้ำความสำเร็จของการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน สู่เมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยแท้จริง หวังประโยชน์สำคัญต่อการสร้างการรับรู้ให้นักท่องเที่ยวและนักเดินทางจากทั่วโลกปักหมุดเป็นเป้าหมายของการเดินทาง นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.  เปิดเผยว่า ได้มอบให้สำนักงานพื้นที่พิเศษ 4 (อพท.4) จังหวัดสุโขทัย ให้ความร่วมมือกับทางจังหวัดสุโขทัยผลักดัน “สุโขทัย” เข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ องค์การยูเนสโก ( UNESCO Global Network of Learning Cities : GNLC )  ประจำปี 2564 ซึ่งล่าสุดได้รับรายงานว่า อพท. 4

อพท. เร่งเครื่องก่อนประกาศ “ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” เป็นพื้นที่พิเศษสิ้นปีนี้ ยกทีมลงพื้นที่เปิดเวทีแจงร่างแผนการดำเนินโครงการฯ และรับฟังความเห็นจากทั้ง 3 จังหวัด สงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช ย้ำแผนงานต้องเกิดจากการบูรณาการทุกภาคส่วน ชูวิถีและทรัพยากรที่เป็นอัตลักษณ์ พัฒนาคนและพื้นที่ สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการศึกษาศักยภาพและจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยมีพลเอก ภาณุวัชร นาควงษม์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าว ว่า ถือเป็นการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ และบทบาทและภารกิจของ อพท.  เพราะการจะประกาศพื้นที่พิเศษในที่ใดก็ตาม อพท. ต้องอาศัยการผนึกกำลัง และความร่วมมือจากภาคีทุกภาคส่วนที่จะขับเคลื่อนการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ ในการประชุมเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในครั้งนี้ อพท.  ได้เชิญภาคี ทั้งภาครัฐ

อพท. ขยายเครือข่าย อพท. น้อย คลัสเตอร์อีสานใต้ เดินสายเชิญชวนและให้ความรู้มาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งเป้าปี 64 มีหน่วยงานผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 7  แห่ง เล็งปีนี้เดินหน้าขยายผลคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ให้เกิดเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พร้อมนำเสนอข้อดีของการเป็นเครือข่าย อพท. มี แอพพลิเคชั่น ช่วยสนับสนุนข้อมูลด้านการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษของ อพท. นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. มอบสำนักพัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว (สพข.) และสำนักงานพื้นที่พิเศษ 2 เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ จัดประชุมชี้แจงความสำคัญและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Management Standard: STMS) ให้แก่หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี

เมื่อเร็วๆนี้ นาวาอากาศเอกอธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. (ที่ 5 จากซ้าย) พร้อมผู้บริหาร อพท.  ให้การต้อนรับ นายจิรุตน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สสปน. (ที่ 4 จากซ้าย) ซึ่งนำทีมผู้บริหารเข้าพบ โอกาสนี้ยังได้หารือถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างกัน โดย สสปน. ยินดีที่จะสนับสนุนด้วยการนำชุมชนที่ผ่านมาตรฐานการพัฒนาจาก อพท. เสนอให้กับตลาดไมซ์ (MICE) โดยเฉพาะกลุ่มการจัดประชุมสัมมนาภายในประเทศ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที  โอกาสนี้ อพท. จึงได้นำเสนอชุมชนที่มีความพร้อมทางการตลาดพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวกว่า 41 แห่ง ตั้งอยู่ในไมซ์ซิตี้ของ สสปน.และพื้นที่ใกล้เคียง ณ ห้องประชุม อพท.

อพท. ต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม นำร่องเปิดตัว 10 กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ใน 3 จังหวัดแดนอีสานใต้ หวังใช้การท่องเที่ยวช่วยให้เกิดการเรียนรู้และสืบทอดต่อไปอย่างยั่งยืน เล็งขยายผลปี 64 พัฒนาเพิ่มอีก 5 กิจกรรม เพื่อครอบคลุม 5 จังหวัด ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ  รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า จากที่ได้มอบนโยบายให้สำนักงานพื้นที่พิเศษ 2 หรือ อพท. 2 ไปดำเนินการสำรวจศักยภาพและความโดดเด่นทางวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของพื้นที่และชุมชนในเขตภาคอีสานตอนใต้ จากข้อมูลพบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความสมบูรณ์ในเรื่องของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่สามารถนำมาพัฒนายกระดับเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “การพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้เป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็นอีกหนึ่งแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพราะมรดกทางภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ จึงมีความเสี่ยงที่จะสูญหายไปได้ตามกาลเวลาและวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากเรานำองค์ความรู้ด้านการจัดการการท่องเที่ยวเข้ามายกระดับและพัฒนาให้เกิดเป็นกิจกรรมทางการท่องเที่ยวก็จะสามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน  ประโยชน์ทางอ้อมคือทำให้เกิดการเรียนรู้และสืบทอดไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น ซึ่งสิ่งนั้นถือเป็นความยั่งยืน” ทั้งนี้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

อพท. ยกระดับจังหวัดเลยเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับเวิร์ลคลาส (World Class Destinations) เมืองท่องเที่ยวและพักผ่อน ระดับสากล ชูความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเลย ให้เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวและพักผ่อน หรือ Leisure Loei  องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้นำหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ GSTC และเกณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือ CBT เป็นหลักในการพัฒนาให้พื้นที่และชุมชนเกิดความยั่งยืน อพท. ยังได้นำ นโยบายของ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่กำหนดไว้ 4 ด้าน เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่ Safe การท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย Clean สะอาดสวยงาม

อพท. ยกแหล่งท่องเที่ยวชุมชนขึ้นมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนโลก ตามมาตรฐาน Top 100 ประเดิมส่งชิง 2 แหล่งปีนี้ ในเวียง กับ เชียงคาน เป้าหมายเพิ่มอีก 4 แหล่งภายใน 5 ปี ย้ำมาตรฐานดังกล่าวคือความยั่งยืนที่จับต้องได้ และจะนำไปสู่ช่องทางการตลาดดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพให้มาเยือน ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รักษาการผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.  เปิดเผยว่า ในปี 2563 อพท. ได้เตรียมส่งแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ 2 แหล่ง คือเทศบาลตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เพื่อเข้าชิงรางวัล Sustainable Destinations Top

อพท. ชู 81 ชุมชน พร้อมรับนักท่องเที่ยวหลังพ้นโควิด-19 ด้วยรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ เล็งเพิ่มแนวทางการพัฒนาชุมชนด้วยการผสมการตลาด ใช้กิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นตัวกำหนดการเลือกรับนักท่องเที่ยว เผยปี 2563 ยังดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ สร้างท่องเที่ยวไทย “ยั่งยืน” เร่งศึกษาประกาศพื้นที่พิเศษลุ่มน้ำทะเลสาปสงขลา สู่เมืองอารยธรรมวิถีชีวิตสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในภาคใต้ เดินหน้าพัฒนา 4 เมืองเข้าเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์โลก ยกระดับแหล่งท่องเที่ยวเข้าสู่ TOP 100 และเป้าหมายปี 2566 ดันถ้ำขุนน้ำนางนอนเป็นแหล่งท่องเที่ยวจีโอปาร์ค  นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า เตรียมนำหลักการตลาดมาผสมกับแนวทางการพัฒนาชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อให้ได้ผลลัพท์เป็นเส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวซึ่งมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการท่องเที่ยวภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งแนวคิดดังกล่าว อพท. จะร่วมมือกับภาคีผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดท่องเที่ยว เช่น สมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวต่างๆ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท.  เข้ามาร่วมให้ความรู้แก่ชุมชน 

อพท. จับมือภาคีเครือข่าย จัดทำข้อปฏิบัติของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อสุขอนามัยและความปลอดภัย หวังให้ชุมชนใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามแนวทางมาตรฐาน SHA เพิ่มความมั่นใจให้กับชุมชนท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวตามวิถีปกติใหม่ หรือ New Normal [caption id="attachment_20272" align="aligncenter" width="799"] นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ[/caption] นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า  อพท. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดทำ “ข้อปฏิบัติของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสุขอนามัยปลอดภัยใส่ใจในสุขภาพ” เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้กับชุมชนท่องเที่ยวและผู้มาเยือน  โดยข้อปฏิบัติดังกล่าวอ้างอิงจาก โครงการแนวทางความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety & Health Administration (SHA) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

แม้ว่าสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่ของโรคโควิด-19 จะเริ่มลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง แต่ทางกระทรวงสาธารณสุขก็ยังคงเตือนคนไทยว่าอย่าเพิ่งประมาท และยังจำเป็นต้องอยู่ในการเฝ้าระวัง และป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อโรคดังกล่าว การใส่หน้ากากอนามัย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเวลาต้องออกนอกบ้านไปพบปะผู้คน ซึ่งนอกจากต้องเว้นระยะห่าง 1-2 เมตรแล้ว สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือการล้างมือบ่อยๆ และใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาไปอีกสักระยะ การระบาดของโรค โควิด-19 กระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต้องหยุดชะงัก ชาวบ้านและชุมชนในพื้นที่พิเศษซึ่งมีภูมิปัญญาเรื่องการทอผ้าพื้นเมืองและการตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าเครื่องประดับ หรือเป็นของที่ระลึกต่างๆ ไว้จำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน จึงได้ปรับตัวเพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของตลาด ด้วยการนำผ้าพื้นเมืองที่มีอยู่ มาตัดเย็บเป็นหน้ากากอนามัย สำหรับใส่ป้องกันเชื้อ โควิด-19 เข้าสู่ร่างกาย นับเป็นการพัฒนาสินค้าให้เหมาะกับความต้องการของตลาด เพื่อสร้างรายได้ให้เกิดมีขึ้นในวันที่ไม่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือน [caption id="attachment_19992" align="aligncenter" width="881"] นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ[/caption] นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า ในการพัฒนาของ อพท. หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาคน

พิษโควิด-19 นักท่องเที่ยวหาย อพท. เปิดเว็บไซต์ และ เฟซบุ๊ค ช่วยผู้ประกอบการท่องเที่ยวท้องถิ่น หวังใช้เป็นสื่อกลางนำเสนอสินค้าถิ่นและระบายของสด นำร่อง 2 พื้นที่พิเศษ พัทยา และสุโขทัย นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.  เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการช่วยผู้ประกอบการท่องเที่ยวท้องถิ่นอย่างเร่งด่วน ในช่วงที่ยังไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทาง อพท. ในส่วนของสำนักงานพื้นที่พิเศษ ได้เป็นสื่อกลางช่วยผู้ประกอบการร้านค้าและชุมชน นำสินค้าและบริการมาโพสต์จำหน่ายในเพจและเว็บไซต์ของสำนักงานพื้นที่พิเศษ เบื้องต้นนำร่อง 2 แห่ง ดังนี้ สำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง ได้พัฒนา Platform การจำหน่ายสินค้าแบบชั่วคราว บนเว็บไซต์ www.smartactivebeach.dasta.or.th ให้แก่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ได้มาลงทะเบียนและนำเสนอสินค้า

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เดินหน้างานพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้กับชุมชนตามแผนที่วางไว้ ส่วนระบบภายในใช้รูปแบบ Work from home พร้อมกันนี้ยังเตรียมแผนการดำเนินงานหลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มดีขึ้น นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.  กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ และส่งผลกระทบต่อบริษัทนำเที่ยว โรงแรมที่พัก ร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหาร เป็นต้น อพท. ในฐานะหน่วยงานต้นน้ำ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ยังคงใช้ช่วงเวลานี้มุ่งพัฒนาเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวตามแผนงานเดิมที่กำหนดไว้ เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษให้ได้มาตรฐาน TOP 100  และการขับเคลื่อนเมืองในพื้นที่พิเศษเพื่อเข้าสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network - UCCN) [caption id="attachment_19772" align="aligncenter" width="900"] นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ[/caption] พ้นโควิด-19

การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของจังหวัดสีหนุวิลล์  ทำให้ภาพของเมืองตากอากาศของกัมพูชา ดูแปลกตาออกไปมาก  ด้วยเป้าหมายในการพัฒนาสู่เมืองอันมั่งคั่ง จึงเต็มไปด้วยการลงทุนเพื่อการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน ทั่วทั้งตัวเมือง นายตัง โสเชียตกฤษณา ผอ.การท่องเที่ยว จ.พระสีหนุวิลล์ กล่าวว่า สีหนุวิลล์เป็นเมืองยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวระดับโลก โดยมุ่งพัฒนาทั้งด้านการท่องเที่ยว การค้า การคมนาคม เมืองแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความพร้อมด้านธรรมชาติทางทะเล ประกอบด้วยเกาะต่างๆ อันสวยงาม 32 เกาะ ในปี 2561 นักท่องเที่ยวที่มาเยือนสีหนุวิลล์มีปริมาณที่เติบโตขึ้นถึง 50% หรือประมาณ 2 ล้านคน 30% เป็นชาวต่างชาติ 70% เป็นนักท่องเที่ยวในประเทศ ปัจจุบันมีบริการด้านการท่องเที่ยวในสีหนุวิลล์ ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร สปา คาสิโน ฯลฯ จำนวน