Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ตุลาคม 2021

ฝนที่ตกหนักในช่วงเดือนตุลาคม เกือบจะทำให้เราไม่ได้พบกับสัตว์โลกผู้น่ารักในดินแดนอันแสนอบอุ่นของพวกเขา เพราะที่นี่คือ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว” ซึ่งไม่การันตีว่า เราจะพบสัตว์ป่าบริเวณไหน เวลาใด เพราะพวกมันต่างใช้ชีวิตอันอิสระ ในอาณาจักรของตัวเอง ชัยภูมิเป็นจังหวัดที่หลายคนยังไม่เคยมาสัมผัส บ้างก็นึกภาพชัยภูมิว่าเป็นเมืองเล็ก ๆ ด้วยความเป็นเมืองรองที่ถูกขนาบด้วยเมืองใหญ่อย่างขอนแก่นและนครราชสีมา แต่ใครที่รู้จักชัยภูมิดีจะทราบว่า  นี่คืออีกหนึ่งในใจนักเดินทางที่ชื่นชอบป่าเขาลำเนาไพร ด้วยลักษณะทางกายภาพบนพื้นที่ราบสูง ที่มีป่าธรรมชาติถึง 60% จากพื้นที่ทั้งหมด มีสัตว์ป่าหายากอาศัยอยู่ ทั้งยังเป็นต้นสายของแม่น้ำชี ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย “ภูเขียว” จ.ชัยภูมิ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเพชรบูรณ์ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยสภาพป่าที่หลากหลาย โดยเฉพาะสภาพป่าดงดิบที่มีแมกไม้น้อยใหญ่ปกคลุมหนาแน่นเขียวชอุ่มตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมีทุ่งหญ้ากระจายอยู่ในที่ราบสูง รวมทั้ง “ทุ่งกะมัง” แห่งนี้ ที่ผู้รักธรรมชาติสามารถเข้าไปชมชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ป่าภูเขียวเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด อาทิ ช้าง กระทิง วัวแดง เลียงผา กวาง เก้ง เนื้อทราย เสือ หมาใน

ด้วยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ประกอบกับทำเลที่อยู่ระหว่างเมืองเศรษฐกิจอย่างนครราชสีมา และขอนแก่น ทำให้ภาพสะท้อนที่ผ่านมา จังหวัดชัยภูมิจึงเป็นเพียงแค่ทางผ่าน แต่ด้วยเหตุนี้ ชัยภูมิจึงเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ยังคงความ “สด” ถือเป็น “เพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน” หรือ “สาวงามที่ยังไม่ผ่านเวทีการประกวด” ใครที่ชอบความดิบ สด เป็นธรรมชาติแบบ “เพียว ๆ” ก็ต้องหลงใหลในดินแดนแห่งนี้ หากวัดจากความนิยมในการท่องเที่ยว ชัยภูมิจึงอยู่ในมุมเล็ก ๆ ในใจของคนโดยทั่วไป แต่สำหรับนักเดินทางสายธรรมชาติ ชัยภูมิมีความยิ่งใหญ่และมากด้วยความหมาย เป็นหนึ่งในใจนักเดินทางที่ชื่นชอบป่าเขาลำเนาไพร ด้วยลักษณะทางกายภาพบนพื้นที่ราบสูง ที่มีพื้นที่ป่าธรรมชาติถึง 60% มีสัตว์ป่าหายากอาศัยอยู่ ทั้งยังเป็นต้นสายของแม่น้ำชี ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย [caption id="attachment_25020" align="aligncenter" width="799"] มุมมองจากพระธาตุชัยภูมิ[/caption] นอกจากนั้นชัยภูมิยังเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ มีความโดดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรม ไม่นานมานี้ชัยภูมิได้รับการประกาศเป็น “อุทยานธรณี จีโอปาร์ค” (Chaiyaphum Geopark)

“ต้มยำกุ้ง” เป็นอาหารไทยที่มีความครบเครื่องในหลายมิติ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในเมืองไทยต่างไม่พลาดที่จะลิ้มลองรสชาติของต้มยำกุ้ง จนกลายเป็นเมนูที่มีชื่อเสียงอยู่ในร้านอาหารไทยในหลาย ๆ ประเทศ อาหารไทย เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ และ “ต้มยำกุ้ง” ก็เป็นหนึ่งในอาหารไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” ของประเทศไทย พร้อมด้วยอีกหลากหลาย อาทิ แกงเขียวหวาน แกงพุงปลา ส้มตำ ผัดไทย ข้าวยำ กระยาสารท น้ำพริก ฯลฯ คนวัยทำงาน หรือมีอายุ 30 ปีขึ้นไป ยังคงคุ้นเคยกับรายการอาหารเหล่านี้ แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ กลุ่มเด็ก หรือวัยรุ่น โดยเฉพาะคน Gen Z หรือ ผู้ที่เกิดระหว่างปี 2540-2555 ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ยังมีอาหารไทยอีกหลายรายการที่พวกเขาไม่รู้จัก และไม่เคยกินมาก่อน [caption

อพท. ปลื้ม  สุโขทัย น่าน ขึ้นสุดยอด 100 แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนโลก  ตามด้วย 23 ชุมชน เข้ารับรางวัลกินรี จากการใช้เกณฑ์ GSTC  และ CBT Thailand  ตอกย้ำทุกชุมชนพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวคุณภาพหลังรัฐบาลประกาศเปิดประเทศ นาวาอากาศเอกอธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า  ผลดำเนินงานด้านการพัฒนายกระดับแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนในรอบปีงบประมาณ 2564 ทำให้เกิดกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจากการใช้องค์ความรู้ที่มีมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวที่ อพท. รับผิดชอบ ได้รับการยอมรับจากองค์กรทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างมากมาย และล่าสุดแหล่งท่องเที่ยวที่ อพท. เข้าไปพัฒนา ได้รับคัดเลือกเป็นสุดยอดแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แหล่งของโลก ปี 2021 ( Global

ปลายปี 2563 ที่ผ่านมา หลายคนคงเคยได้ยินเสียงฮือฮาของนิทรรศการศิลปะแนวใหม่ในพื้นที่ธรรมชาติ  Rakdok Floral Destination ในพื้นที่  RakDok LaLagoon (รักดอก ลาลากูน) ริมบึงไมตรีจิต ย่านคลองสามวา กรุงเทพฯ  ซึ่งทำให้คนกรุงได้มีพื้นที่ใหม่ในการสังสรรค์ทางความคิด ปล่อยวางชีวิตจิตใจไปกับธรรมชาติ นิทรรศการได้จบลงไปตามฤดูกาล แต่ปัจจุบัน RakDok LaLagoon ยังคงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ตอบรับความผ่อนคลายให้กับคนเมือง เนื่องจากมีบึงน้ำกว้างใหญ่ รายล้อมไปด้วยความเขียวชอุ่ม มุมมองส่วนใหญ่จึงตัดขาดจากตึกรามบ้านช่อง ออกจากย่านใจกลางเมืองกรุงมาไม่ไกลก็ได้เบิกตารับแสงสีของธรรมชาติกันแบบเต็ม ๆ วันนี้เราเดินทางมายัง RakDok LaLagoon เพียงเพราะอยากหาบรรยากาศโล่ง ๆ โปร่งสบาย นั่งพักผ่อนกันชิลล์ ๆ แต่ที่นี่ก็มีร้านอาหารให้บริการ รวมทั้ง Food Truck ที่เพื่อนร่วมทางของเราบอกว่า “ต้องลอง” STEAK JOBS

การเกิดขึ้นของตลาด NFT (Non-fungible Token) กำลังจะพลิกโฉมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั่วโลก และถือเป็นโอกาสใหม่ของนักสร้างสรรค์ไทยและอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในการก้าวสู่ “ตลาดศิลปะดิจิทัล” หรือ “ตลาด NFT” ด้วยการแปลงผลงานของตนเองให้เป็นรูปแบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้จากการขาย NFT กับศิลปะในยุคดิจิทัล NFT คือ สินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่สามารถทำซ้ำหรือดัดแปลง ซึ่งจะบันทึกอยู่ในระบบบล็อกเชน (Blockchain) ที่มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบสิทธิ์ความเป็นเจ้าของได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ดังนั้น นักสร้างสรรค์สามารถแปลงผลงานของตนเอง อาทิ งานศิลปะ เพลง ภาพยนตร์ ข้อความ วิดีโอ รูปภาพ หรือสินทรัพย์ทางกายภาพอื่น ๆ (Physical Asset) มาเป็นรูปแบบดิจิทัล พร้อมกับสร้างรายได้จากค่าลิขสิทธิ์ (Royalty Payments) จากการแปลงผลงานของตนเองเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อรักษาความเป็นต้นฉบับ สร้างสภาพคล่องให้กับผลงาน โดยช่วงไตรมาสแรกของปี 2564

บ่ายวันนี้ (11 ตุลาคม 2564) ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 13 ประจำปี 2564 หรือรางวัล Thailand Tourism Awards ให้กับผู้ประกอบการ องค์กรและชุมชนท้องถิ่นในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ชนะการประกวด จำนวนทั้งสิ้น 185 รางวัล โดยท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดการประกวดและรับสมัครผลงานตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา เพื่อผลักดันการยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว พร้อมสร้างความเชื่อมั่น มั่นใจ และประทับใจแก่นักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวรูปแบบวิถีใหม่ ปลอดภัยห่างไกลโควิด-19 ณ PM Studio กรุงเทพมหานคร และถ่ายทอดสดทางออนไลน์ผ่านเฟสบุ๊กแฟนเพจ ThailandTourismAwards และ Amazing

บรรยากาศที่ภูเก็ตต้นเดือนตุลาคม 2564 ยังชุ่มฉ่ำด้วยสายฝน ฟ้าครึ้มเกือบทั้งวัน แต่ทริปนี้เราไม่ได้โฟกัสไปที่การท่องเที่ยวทางทะเลสักเท่าไหร่ (แม้ในใจจะคิดถึงทะเลแค่ไหนก็ตาม) การเดินทางเข้ามาไปภูเก็ตช่วงโควิด-19 เต็มไปด้วยมาตรการที่ซับซ้อน เริ่มต้นจากต้นทางที่ดอนเมือง เจ้าหน้าที่เช็คอินตรวจสอบใบรับรองการฉีดวัคซีนและผลตรวจโควิด-19 ก่อนที่จะขึ้นเครื่อง เจ้าหน้าที่ของสายการบินก็ให้สแกน QR Code Phuket เพื่อลงทะเบียนเข้าจังหวัด ในส่วนนี้จะต้องกรอกรายละเอียดเยอะมาก ทั้งข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ของที่พัก พร้อมอัพโหลดเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนและผลการตรวจโควิด-19 อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้นในวันแรก การอยู่ในภูเก็ตวันที่ 2 จึงได้เวลาออกหาที่เที่ยว ในทริปนี้เรามีโอกาสได้เดินทางไปเที่ยวชม “อควาเรีย ภูเก็ต” (Aquaria Phuket) เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในชั้น B1 ศูนย์การค้า เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า ด้วยเวลาที่มีจำกัดเราจึงต้องรวบรัดการเข้าชมอย่างเร่งรีบพอสมควร จึงไม่ได้เดินดูจนครบทุกโซน บางโซนก็มีเวลาไม่พอที่จะได้ภาพดี ๆ จากเจ้าตัวซน แต่สัญญาว่า

หลังจากมาตรการผ่อนคลาย และเริ่มเดินทางข้ามจังหวัดได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ต่าง ๆ ก็เริ่มคึกคัก ทั้งจากนักท่องเที่ยวชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ ในโครงการ Phuket Sandbox จ.ภูเก็ต คอรัล เลาจน์ ห้องรับรองพิเศษในสนามบินเพื่อประสบการณ์การเดินทางอันน่าประทับใจ กลับมาเปิดให้บริการผู้โดยสารภายในประเทศแล้ว ทั้งสนามบินภูเก็ต ดอนเมือง และเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564  ที่ผ่านมา โดยยังคงบรรยากาศห้องรับรองที่สวยงาม สะอาด พร้อมด้วยมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ภายในห้องรับรองพิเศษ คอรัล เลาจ์ สนามบินภูเก็ต ตั้งอยู่ในห้องผู้โดยสารขาออก มีความสงบ เป็นส่วนตัว พร้อมบริการอย่างมีระดับ เอกสิทธิ์สำหรับผู้โดยสารที่เดินทาง ด้วยบริการห้องรับรองพิเศษ The Coral Executive Lounge ที่เพิ่มความสะดวกสบายให้ท่านได้พักผ่อนก่อนการเดินทาง

ใครที่มีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดที่มีมาตรการควบคุมสูงสุด โดยเฉพาะการเดินทางโดยเครื่องบิน จะพบว่าปัจจุบันยังพบขั้นตอนที่ซับซ้อน นอกจากมาตรการที่แตกต่างกันของแต่ละจังหวัดแล้ว แต่ละหน่วยงานยังมีภารกิจต่างกัน เอกสารสำคัญที่ใช้สำหรับการเดินทางยังคงแยกกันอยู่คนละที่ รวมทั้งบางจังหวัดมีแอปพลิเคชันแยกออกไปต่างหาก ภายใต้มาตรการที่เคร่งครัดในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 การเดินทางยังคงเป็นประเด็นที่อยู่ในการควบคุมอย่างเคร่งครัด สำหรับนักท่องเที่ยวไทยอาจจะต้องปรับตัวกับขั้นตอนที่ยุ่งยากขึ้น เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งต้องพบกับมาตรการควบคุมที่เคร่งครัดยิ่งกว่า โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox) เป็นโครงการนำร่องในการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาภูเก็ตแบบมีเงื่อนไข นอกจากเอกสารการรับรองการฉีดวัคซีนแล้ว ยังต้องใช้ผลการตรวจคัดกรองโควิด-19 แบบ RT-PCR เท่านั้น รวมทั้งต้องมีการทำประกันโรคโควิด-19  มีระบบติดตามตัวผ่านแอปพลิเคชันหมอชนะ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นภาระของนักท่องเที่ยว ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางเข้ามาในโครงการนี้ หลังจากการเปิดตัวโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox) หรือการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตแบบมีเงื่อนไข ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ทำให้ภาพรวมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตเริ่มมีการขยับตัว ข้อมูล ณ วันที่ 27 กันยายน 2564 ระบุว่า โครงการดังกล่าวสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 2,330