Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

กินอยู่ดู (พอ) ดี วิถีลาวครั่ง “สะนำสไตล์”

ที่หมู่บ้านสะนำ อันเป็นถิ่นอาศัยชาวลาวครั่ง ที่อพบพมาจากทางฝั่งลาวในอดีต ท่ามกลางชีวิตความเป็นอยู่ที่ยังคงวิถีดั้งเดิม ผสมผสานกลิ่นอายแบบไทย-ลาว ด้วยสำเนียงภาษาอีสานแบบเนิบช้าได้อย่างน่ารัก

เสน่ห์ความอยู่ดีกินดีแบบฉบับสำนำสไตล์ คือ การกินอยู่กับธรรมชาติ มีเมนูเรียบง่ายคู่ครัวอย่างน้ำพริก หรือ “แจ่ว” เป็นภูมิปัญญาอาหารที่ทำกินกันมาเนิ่นนาน และมีการพลิกแพลงสูตรจากวัตถุดิบที่หลากหลายใกล้ตัว จนได้ชื่อว่า “แจ่ว100สำรับ” ซึ่งใครจะแวะมาชิม มาลิ้มรสความแซ่บแบบฉบับลาวครั่งก็ยินดี

จำรัส ทาบ้านฆ้อง

“จำรัส ทาบ้านฆ้อง”  ชาวบ้านชุมชนลาวครั่งบ้านสะนำ เล่าว่า แจ่วแต่ละสูตรจะมีพื้นฐานวัตถุดิบที่ใกล้เคียงกัน คือ หอม กระเทียม พริกขี้หนูสด ที่มักจะนำมาคั่วเพื่อให้ความร้อนเร่งกลิ่นหอม ก่อนจะนำไปโขลกรวมกันเป็นแจ่ว ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือน้ำปลาร้า อาทิ “แจ่วมะเขือด้าน” ที่จะใช้มะเขือเจ้าพระยาลูกใหญ่ ๆ มาย่างบนเตาถ่านแล้วนำไปโขลก ก่อนจะนำไปผสมกับเครื่องปรุงที่เตรียมไว้ หรือจะเป็น “แจ่วบักขีเคีย” ทำจากมะเขือส้ม หรือมะเขือเครือ ที่นำไปปิ้งและโขลกก่อนเช่นเดียวกัน

แจ่วน้ำข้าว

น้ำพริกกะปิจิ้มหน่อ

หรือจะยุ่งยากขึ้นมาอีกหน่อยกับ “แจ่วน้ำข้าวใส่หมู” เพราะทำจากน้ำซาวข้าว ผสมกับหมูที่ปิ้งไฟพอสุกเหลือง ตามด้วยเครื่องปรุงพื้นฐานอื่น ๆ ส่วน “แจ่วปลาดุกย่าง” ก็ใช้ปลาดุกย่าง เรียกชื่อกันตามวัตถุดิบที่มี  หรือวัตถุดิบตามฤดูกาล อย่าง “น้ำพริกกะปิจิ้มหน่อ” ที่หมายถึงหน่อไม้รวก ที่จะหาได้ในเขาป่ารวกใกล้หมู่บ้านในช่วงฤดูฝนเท่านั้น เช่นเดียวกับผักกูดที่จะมีมากในช่วงฤดูฝนเช่นกัน ส่วนถั่วพู และคูนที่ชาวลาวครั่งเรียก “ก้านตูน” เป็นผักปลอดสารที่มีอยู่มากในหมู่บ้านแห่งนี้

เมื่อถามว่า “บักขีเคีย” หน้าตาเป็นยังไง เด็กน้อยก็อาสาพาไปชม

“ในมื้อหนึ่งก็จะมีน้ำพริก แล้วแต่ใครจะเลือกกินน้ำพริกอะไร กินกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ ต้องมีน้ำพริก ต้มผัก ถึงจะอร่อย ผักก็ปลูกเอง หรือไปเก็บจากป่า อย่างก้านทูน มีอยู่แทบทุกบ้าน นอกจากนั้นก็ยังมีเมนูท้องถิ่นตามฤดูกาล อย่างแกงคั่วดอกแค หมกดอกแค ซึ่งจะเก็บจากสวนจากไร่นาแถวบ้าน”

มะเขือส้ม หรือมะเขือเครือ

เมื่อถามว่าเจ้าตัวชอบแจ่วอะไร เธอก็บอกว่า ก็คงเป็น “แจ่วน้ำข้าว” เพราะนาน ๆ ทำที เป็นแจ่วที่ใช้เวลามากหน่อย แต่รสชาติถูกปาก ยิ่งได้ใส่ข้าวโพดซอยลงไปให้น้ำมีความข้น กินกับข้าวเหนียวได้ลงตัวสุด ๆ

นอกจากการสืบสานภูมิปัญญาดั้งเดิมไว้ บ้านสะนำยังมีเรื่องราวใหม่ ๆ ใช้เพื่อการสร้างสรรค์วิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างการทำจานใบไม้ โดยใช้กาบหมาก และใบไม้ขนาดใหญ่ที่ปลอดภัย รวมตัวกันเป็นกลุ่มวิสาหกิจ

ครรชิต คณฑา

“ครรชิต คณฑา” ประธานกลุ่มวิถีลาวครั่งบ้านสะนำ เล่าให้ฟังว่า ที่บ้านสะนำมีป่าหมากที่ได้ชื่อว่า “ป่าหมากล้านต้น” แต่ละวันจะพบกาบหมากที่ร่วงหล่น ชาวบ้านจึงนำมาแปรรูปเป็นจานจากกาบหมาก และจานใบไม้ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน และลดขยะ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรยังคงปลูกต้นหมากเพิ่มขึ้น

เนื่องจากต้นหมากเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความสูงมาก และหากสูงมากไป ก็จะหาคนเก็บหมากได้ยาก ชาวบ้านจึงมักจะโค่นทิ้ง แต่เมื่อมีการนำกาบหมากไปใช้ประโยชน์ ชาวบ้านก็หันมาปลูกหมากเพิ่มขึ้น

“บ้านสะนำเป็นหมู่บ้านที่ป่าหมากล้านต้น เราเห็นกาบหมากร่วงหล่นเยอะ ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เคยเห็นแต่ที่อื่นเขาทำมาก่อน เราไปดูแบบมาแล้วมาทำกันในชุมชน  อีกอย่างหนึ่งคือ ต้นหมากในหมู่บ้านเริ่มน้อยลง ถ้าเราทำอย่างนี้ ชาวบ้านมีรายได้ เขาก็จะปลูกหมากเพิ่ม ทำให้ระบบนิเวศน์ดี อากาศดี มีความร่มรื่น”

กระบวนการทำจานจากกาบหมาก เริ่มต้นจากเก็บกาบหมากนำ มาล้างทำความสะอาด ตากแดดให้แล้ว แล้วนำมาขึ้นรูปด้วยเครื่องอัด ความร้อน 160 องศา เวลา 60 วินาทีต่อครั้ง ชาวบ้านจะอาศัยเวลาช่วงพักจากงานเกษตรกรรม มาช่วยกันทำจานจาดกาบหมาก และจานจากใบไม้ โดยจะมีออร์เดอร์เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 5,000 ใบต่อเดือน เดือนไหนมีอีเว้นต์ออร์เดอร์ก็จะเยอะตามไปด้วย

“ใบไม้ที่ใช้ได้ ต้องเป็นใบใหญ่ ไม่เป็นพิษ ใช้ใส่อาหารได้ เช่น ใบสัก ใบตองตึง ใบมะเดื่อกวาง  สำหรับใบไม้ที่ทำออกมาได้สวยที่สุดและเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ  คือ  ใบมะเดื่อกวาง เพราะมีสีเขียวสด มีความมันวาวในตัว รองลงมาคือใบตองตึง ซึ่งก็หาได้ในหมู่บ้านเช่นกัน

ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจมีสมาชิกหลัก ๆ  10 คน แต่ชาวบ้านที่เหลือก็สามารถไปเก็บกาบหมากที่ร่วงหล่นมาขายให้กับทางกลุ่ม ซึ่งเป็นของฟรีจากป่า ใครเก็บคนนั้นก็รับรายได้ไป

สำหรับราคาจานกาบหมาก ความกว้าง 4×8  นิ้ว ขายใบละ 5 บาท แพ็คละ 12 ใบราคา 50 บาท  หากแวะไปที่บ้านสะนำก็จะมีสินค้าพร้อมจำหน่าย แต่ถ้าต้องการจำนวนมาก ต้องสั่งล่วงหน้าเท่านั้น

ท่องเที่ยววิถี “สะนำสไตล์”

โทร.06 2259 1285 (ครรชิต)

อุทัยธานี ยังมีของดีอีกมาก กับหลากมุมมองสดใส ท่ามกลางความเขียวขจีทั้งด้านพื้นที่และในใจผู้คน

ติดตามชมเรื่องราวในเส้นทาง “อยู่ดี Green ดี เที่ยวอุทัยธานี” ได้ที่

Post a comment

2 × three =