Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

เที่ยวชัยภูมิ Tag

ฝนที่ตกหนักในช่วงเดือนตุลาคม เกือบจะทำให้เราไม่ได้พบกับสัตว์โลกผู้น่ารักในดินแดนอันแสนอบอุ่นของพวกเขา เพราะที่นี่คือ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว” ซึ่งไม่การันตีว่า เราจะพบสัตว์ป่าบริเวณไหน เวลาใด เพราะพวกมันต่างใช้ชีวิตอันอิสระ ในอาณาจักรของตัวเอง ชัยภูมิเป็นจังหวัดที่หลายคนยังไม่เคยมาสัมผัส บ้างก็นึกภาพชัยภูมิว่าเป็นเมืองเล็ก ๆ ด้วยความเป็นเมืองรองที่ถูกขนาบด้วยเมืองใหญ่อย่างขอนแก่นและนครราชสีมา แต่ใครที่รู้จักชัยภูมิดีจะทราบว่า  นี่คืออีกหนึ่งในใจนักเดินทางที่ชื่นชอบป่าเขาลำเนาไพร ด้วยลักษณะทางกายภาพบนพื้นที่ราบสูง ที่มีป่าธรรมชาติถึง 60% จากพื้นที่ทั้งหมด มีสัตว์ป่าหายากอาศัยอยู่ ทั้งยังเป็นต้นสายของแม่น้ำชี ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย “ภูเขียว” จ.ชัยภูมิ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเพชรบูรณ์ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยสภาพป่าที่หลากหลาย โดยเฉพาะสภาพป่าดงดิบที่มีแมกไม้น้อยใหญ่ปกคลุมหนาแน่นเขียวชอุ่มตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมีทุ่งหญ้ากระจายอยู่ในที่ราบสูง รวมทั้ง “ทุ่งกะมัง” แห่งนี้ ที่ผู้รักธรรมชาติสามารถเข้าไปชมชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ป่าภูเขียวเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด อาทิ ช้าง กระทิง วัวแดง เลียงผา กวาง เก้ง เนื้อทราย เสือ หมาใน

หลายคนเคยเห็นควาย เคยเห็นมูลควาย เคยเห็นตอนที่พวกมันกำลังขับถ่าย แต่คงไม่ได้สังเกตอาการของมัน เพราะไม่ใช่เรื่องที่น่าดูชมนัก  แต่สำหรับชาวบ้านในสมัยก่อน โดยเฉพาะชาวนาที่อยู่กับควาย พวกเขาเป็นดังมิตรสหายที่ช่วยกันทำมาหากิน เป็นสัตว์ผู้มีพระคุณของคนไทยมาช้านาน คนโบราณสังเกตว่า เวลาควายจะขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย พวกมันจะไม่ยืนเฉยๆ หรือนั่ง แต่จะเดินไปด้วยขับถ่ายไปด้วย ระหว่างนั้นอวัยวะเพศของมันก็ส่ายไปส่ายมา ภาษาอีสานเรียกว่า “เอี้ยวไปเอี้ยวมา” เป็นทางยาว จากพฤติกรรมของควายซึ่งดูเป็นเรื่องทะลึ่งทะเล้น แต่คนอีสานสมัยก่อนเขาช่างคิดช่างจินตนาการ นำเอามาปรับเป็นลวดลายผ้ามัดหมี่ เรียกว่า “ลายหมี่เอี้ยวเยี่ยวควาย” แค่ 1 Story ก็กินขาด ได้ใจชัยภูมิไปเต็มๆ “พิพิธภัณฑ์ ผ้าโบราณชัยภูมิ KOMGRISH” ลวดลายผ้าของคนโบราณมาจากการหยิบจับเรื่องราวใกล้ตัวมาเป็นไอเดีย เราได้เรียนรู้เรื่องนี้ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ “พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณชัยภูมิ KOMGRISH” หรือ “เฮือนคำมุ” ก่อตั้งโดย อาจารย์เอ๋-คมกฤช ฤทธิ์ขจร ศิลปินร่วมสมัยแห่งชาติ ทายาทพระยาแล จังหวัดชัยภูมิ นักอนุรักษ์ผ้าไทยที่มีความชื่นชอบด้านผ้าไทย ท่านเป็นลูกหลานเจ้าพ่อพญาแลโดยตรง