Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

คลอดแล้ว ร่าง พรบ.กิจการอวกาศฯ

กิจการอวกาศไทยคลอดแล้ว ครม. ไฟเขียวร่าง พรบ.กิจการอวกาศฯ ในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม 2564

ศ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ชี้แจงว่า พระราชบัญญัติกิจการอวกาศฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่มีความทันต่อสถานการณ์และรองรับอนาคตของประเทศไทย  ในปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศเกิดขึ้นมากมายที่ดำเนินงานโดยหน่วยงานจากภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยหรือแม้แต่ระดับโรงเรียน มีความร่วมมือจากภายในประเทศและต่างประเทศ  กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดประโยชน์กับประเทศในวงกว้างทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม  

ศ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

กฎหมายอวกาศหรือพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. …. จัดทำขึ้น เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศ การดำเนินกิจกรรมอวกาศระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างสอดคล้องกับกฎกติกา สามารถสร้างความเชื่อมั่นของประเทศในระดับสากลได้ และสิ่งสำคัญที่ตามมาคือทำให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีระดับสูงมาสู่บุคลากรภายในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญสร้างความแข็งแกร่ง ที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถการลงทุนด้านกิจการอวกาศของประเทศด้วย

ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์

ทางด้าน ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA กล่าวเสริมว่า กฎหมายฉบับนี้ จะช่วยให้ประเทศไทยมีความพร้อมและรองรับการสร้างเศรษฐกิจอวกาศ หรือ New Space Economy ที่เน้นบทบาทร่วมจากภาครัฐและภาคเอกชน เป็นกฎหมายที่ให้การดูแลกิจการนิติบุคคลของไทย ส่งเสริมอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมอวกาศของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สร้างมาตรฐานของกิจการอวกาศประเทศไทย ตลอดจนดูเเลการประสานงานกับหน่วยงานอวกาศของต่างประเทศ ทำให้พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย เกิดการลงทุน สร้างรายได้ และการจ้างงานในอุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงภายในประเทศ

หลังจากนี้ ร่าง พรบ.กิจการอวกาศ จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และการพิจารณาของรัฐสภาก่อนที่จะประกาศบังคับใช้ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อพัฒนาประเทศไทยของเรา

Post a comment

one × 3 =