Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

TCEB ผสานพลัง พร้อมเดินหน้า Thailand LOG-IN Events

เมืองพัทยา เป็น 1 ใน 6 ไมซ์ซิตี้ของประเทศไทย (กรุงเทพมหานคร, พัทยา, เชียงใหม่, ขอนแก่น, ภูเก็ต และ สงขลา) และเป็นไมซ์ซิตี้เพียงเมืองเดียวเมืองเดียวในภาคตะวันออก  

พื้นที่แห่งนี้มีความพร้อมในด้านรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและไมซ์ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนและธุรกิจบริการ มีที่พัก โรงแรมและศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ที่เหมาะแก่การจัดประชุมและงานแสดงสินค้านานาชาติ เช่น ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินงนุช พัทยา – NICE และ ศูนย์ประชุมนานาชาติพีช พัทยา – PEACH ฯลฯ

ที่ผ่านมา เมืองพัทยามีนักเดินทางกลุ่มไมซ์เดินทางสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประสบการณ์การรองรับการจัดงานประชุม งานแสดงสินค้านานาชาติ และเมกะอีเวนท์มากมาย ทำให้พัทยาเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญที่พร้อมรองรับงานไมซ์ได้อย่างครบวงจร

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC (Eastern Economic Corridor) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือแต่เดิมที่รู้จักกันในชื่อพื้นที่ อีสเทิร์นซีบอร์ด (Eastern Seaboard) ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา EEC เป็นหนึ่งในแผนที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ 20 ปี จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเขตส่งเสริมรองรับกิจการพิเศษ เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และกิจการอุตสาหกรรมอย่างน้อย 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

ปัจจุบัน EEC เข้าสู่การพัฒนาเฟสที่ 3 มุ่งเน้นอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมาย เทคโนโลยี องค์ความรู้ และทรัพยากรมนุษย์ เป้าหมายคือการผลักดันให้เกิดการลงทุนในพื้นที่เพื่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ รองรับการเป็นประตูสู่พื้นที่การลงทุนในเอเชีย ด้านความคืบหน้าของโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา) การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (Aerotropolis) ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 มีกำหนดจะแล้วเสร็จพร้อมรองรับกิจการอย่างเต็มศักยภาพภายในปี พ.ศ. 2569

จากศักยภาพของพื้นที่  สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ได้เตรียมแผนเร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมไมซ์ด้วยงานแสดงสินค้านานาชาติผ่านแผนแม่บท 3 ปี “ไทยแลนด์ ล็อก-อิน อีเวนท์” มุ่งเน้นการสร้างงานใหม่และการขยายงานลงสู่พื้นที่ “อีอีซี” ในฐานะจุดหมายปลายทางใหม่สำหรับนักลงทุนทั่วโลก และเมืองพัทยา ในฐานะไมซ์ซิตี้แห่งแรกของประเทศไทย

โดยไม่นานที่ผ่านมา ทีเส็บได้นำคณะสื่อมวลชนร่วมเดินทางลงพื้นที่ จ.ชลบุรี เพื่อรับฟังทิศทางการดำเนินงานตามแผนแม่บท “ ไทยแลนด์ ล็อก-อิน อีเวนท์” โดยเริ่มต้นกันที่อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

อุตสาหกรรมอวกาศ (Space Industry) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานยุคดิจิทัลที่สำคัญอย่างยิ่ง สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 5.6 หมื่นล้านบาท อัตราการเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมอื่นถึง 10% (ข้อมูลปี พ.ศ. 2562) GISTDA ในฐานะหน่วยงานที่มีพันธกิจส่งเสริมพัฒนาศักยภาพด้านอุตสาหกรรมอวกาศ จึงเร่งสนับสนุนพัฒนาและประยุกต์เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

กิจการด้านอุตสาหกรรมอวกาศที่คนทั่วไปรู้จัก เช่น การสำรวจอวกาศ การขนส่งทางอวกาศ ระบบการหาตำแหน่งทั่วโลก (GPS) และ ดาวเทียมและระบบควบคุมเพื่อการต่าง ๆ (เช่น ดาวเทียมสื่อสาร สำรวจพื้นที่และทรัพยากร พยากรณ์อากาศ และทางทหาร)

ทีเส็บ เล็งเห็นพันธกิจของ GISTDA ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนแม่บทไทยแลนด์ ล็อกอิน อีเวนท์ คือ การยกระดับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อเตรียมพร้อมรองรับการจัดงานไมซ์ระดับโลก จึงเป็นที่มาของการจับมือกันระหว่าง TCEB และ GISTDA ในฐานะพันธมิตรภายใต้แผนแม่บทนี้ และในฐานะเจ้าภาพร่วมการนำหนึ่งในงานแสดงสินค้านานาชาติด้านอุตสาหกรรมอากาศยานที่ใหญ่ที่สุด นั่นคือ Thailand International Air Show ลงพื้นที่ EEC ที่เริ่มต้นปูทางสู่การจัดงานตั้งแต่ปี 2566-2568 นอกจากเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานผ่านการจัดงานไมซ์แล้ว อุตสาหกรรมอากาศยานยังเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศโดยตรง ทำให้ส่งเสริมการพัฒนาและแลกเปลี่ยนนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมอวกาศในคราวเดียวกัน

กิจกรรมเยี่ยมชมอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ ประกอบไปด้วยการเยี่ยมชมศูนย์วิจัยและปฏิบัติการด้านต่าง ๆ  ประกอบด้วย

1.ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาเชิงกลยุทธ์และปฎิบัติการด้านการบินและอวกาศ (SOAR – Strategic and Operation Aerospace Research Center) หนึ่งในศูนย์วิจัยเพื่อความเป็นเลิศของ GISTDA วิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมกิจการด้านการบินและอวกาศ เช่น ระบบวางแผนถ่ายภาพด้วยดาวเทียมสำรวจโลก (OPTEMIS) ระบบวิเคราะห์และบริหารจัดการการจราจรทางอากาศ (GISAVIA) และ ระบบบริหารจัดการกิจกรรมบั้งไฟและโคมลอย (บำเพ็ญ)

2.ห้องปฎิบัติการด้านวัสดุและโครงสร้างการบินและอวกาศ (GALAXI Lab) ครอบคลุมการดำเนินงานด้านนวัตกรรมการบินและอวกาศ เช่น การวิจัยพัฒนานวัตกรรมแห่งอนาคต (โครงการอากาศยานไร้คนขับเพดานสูง การพัฒนาคุณสมบัตินาโนสำหรับชิ้นส่วนอากาศยาน) การพัฒนากำลังคนและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ รวมไปถึงการให้บริการทดสอบและวิจัยแก่หน่วยงานต่าง ๆ

3.ห้องทดลองวิจัยด้านวงโคจรในอวกาศ (AstroLab) เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านอวกาศด้านกลศาสตร์วงโคจรของประเทศไทยแบบครบวงจร มีทั้งการวิจัยและพัฒนาด้านกลศาสตร์วงโคจรในอวกาศที่เน้นการพัฒนาอัลกอริทึมเพื่อเพิ่มความแม่นยำสำหรับการคำนวณวงโคจรของวัตถุในอวกาศ การพัฒนาเพื่อให้ประเทศไทยสามารถสร้างดาวเทียมได้เอง รวมไปถึงการวิจัยที่มุ่งเน้นความปลอดภัยของดาวเทียมจากขยะอวกาศหรืออุกกาบาตและด้านสภาพอวกาศ

4.ห้องปฏิบัติการ Microsatellite ศูนย์ออกแบบประกอบและทดสอบดาวเทียมขนาดเล็ก ขนาดตั้งแต่ 3U-12U หรือน้ำหนักตั้งแต่ 3 กิโลกรัม ถึง 120 กิโลกรัม เพื่อใช้ในกิจการและอุตสาหกรรมอวกาศของประเทศไทย

จากนั้นได้เดินทางสู่ โรงแรม แกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ พัทยา เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน ท่ามกลางบรรยากาศมุมสูง บนชั้น 32 ที่มองเห็นความงดงามของพัทยาได้อย่างอิ่มตา ต่อด้วยกิจกรรมเสวนาภายใต้แผนแม่บท “ไทยแลนด์ ล็อก-อิน อีเวนท์”

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า นโยบายของทีเส็บในการเร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมไมซ์ผ่านแคมเปญส่งเสริมการจัดงานไมซ์ เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยคลี่คลายลง และช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไมซ์ให้กลับมาเดินหน้าต่อไปได้ผ่านการกระตุ้นด้วยแผนแม่บท ไทยแลนด์ ล็อก-อิน อีเวนท์ โดยมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนด้านงานแสดงสินค้านานาชาติเป็นหลักผ่านการประสานประโยชน์กับพันธมิตรหลักอย่าง อีอีซี และ เมืองพัทยา ในการสนับสนุนด้านต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนด้านการเงินในการจัดงานแบบปกติใหม่ (new normal) การสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการสำรวจพื้นที่ ค่าประชาสัมพันธ์งาน รวมไปถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับการอำนวยความสะดวกเมื่อเจ้าของงานเลือกสร้างงานใหม่หรือขยายงานเดิมมาลงยังพื้นที่ อีอีซี และ พัทยา

แผนแม่บทนี้จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้านานาชาติ ภายใต้การจัดงานงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมการบิน และอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ อีอีซี ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร และ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การจัดการภัยธรรมชาติ และการรับมือโรคระบาด รองรับผู้ประกอบการด้วยสิทธิประโยชน์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้การจัดงานประสบความสำเร็จ

กิจกรรมเสวนาในครั้งนี้ทีเส็บมาพร้อมกับวิทยากรรับเชิญที่มาร่วมพูดคุยถึงความพร้อมและความคืบหน้าของแผนแม่บทดังกล่าว ได้แก่ ดร.คเณศ วังส์ไพจิตร ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี, คุณรัตนชัย สุทธิเดชานัย ที่ปรึกษาเมืองพัทยาด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม   คุณธเนศ จันทร์เจริญ คณะทำงาน บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ ยูทีเอ / หัวหน้าคณะทำงานด้านวางแผนกลยุทธ์ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ คุณกนกพร ดำรงกุล ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมการแสดงสินค้านานาชาติ ทีเส็บ เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา ณ โรงแรม แกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ พัทยา โดยมีคณะสื่อมวลชนให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 30 สำนัก

จากนั้นเดินทางสู่ โรงแรมดุสิตธานี พัทยา และเข้าร่วมงานดินเนอร์ทอล์คริมชายหาด เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทีเส็บ โรงแรมดุสิตธานี และ  องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ในการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว และการนำเสนอสินค้าชุมชนเข้ากับกิจกรรมของทีเส็บโดยเย็นวันนี้ มีตัวอย่างของดีชุมชนในพัทยามาจัดแสดง ให้ชม ชิม ช้อป และร่วมลองทำด้วยตัวเองอีกด้วย

สาธิตการทำพวงมโหตร ชมรมผู้สูงอายุตำบลบางเสร่

เวิร์คช้อปหน้ากากงิ้ว จากชุมชนจีนโบราบ้านชากแง้ว

กุยช่ายไส้ผัก-ฮ่อยจ๊อปู เมนูอร่อย ชุมชนบ้านชากแง้ว

สลัดโรลดอกไม้ เมนูจากผักออร์แกนิค โดยชุมชนวังน้ำดำ อ.บ้านบึง

สาธิตทำผ้าบาติก จากชุมชนบ้านเก่า ตลาดบางเสร่ อ.สัตหีบ

นับเป็นการผสานความพร้อมของศักยภาพที่มีในพื้นที่ เพื่อเตรียมเดินหน้าทันทีหลังสถานการณ์ณ์แพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลายลง ซึ่งถือเป็นมิติแห่งความร่วมมือ ที่สามารถดึงพลังของแต่ละหน่วยงานออกมาเพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไป โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกภาคส่วน

Post a comment

5 × 3 =