Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

meetthinks

ได้ยินเรื่องราวน่ารักจากการสนทนาของเด็กน้อยกับคุณน้า เด็กน้อย : ประเทศอะไรมีนาอยู่ตรงกลาง น้า : ปานามา เด็กน้อย : ผิด! แคนาดา ต่างหาก น้า : อ้าว แล้วปานามาไม่ถูกหรือ เด็กน้อย : มีที่ไหน ประเทศปานามา

เรื่องชุ่มเย็นใจของคนหัวใจศิลป์มาถึงแล้ว เพราะในช่วงที่ประเทศไทย กำลังอบอวนไปกลิ่นไอของสุนทรียะของศิลปกรรม จากศิลปิน และผู้สนใจงานด้านศิลปะจากทั่วโลก ในงานเทศกาลศิลปะ “Biennale” ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในแวดวงศิลปะระดับนานาชาติ ที่มาจัดงานในประเทศไทยเป็นครั้งแรก   ในช่วงเดือนตุลาคม 2561 ถึง กุมภาพันธ์ 2562  โดยแบ่งเป็น 2 งาน  คือ Thailand Biennale 2018 และ Bangkok Art Biennale  มูลนิธิบัวหลวง จึงจัดงานนิทรรศการ “Beyond Artistic Boundary : ความงามข้ามขอบเขต” คู่ขนานไปพร้อมๆ กัน   นิทรรศการ “Beyond Artistic Boundary : ความงามข้ามขอบเขต”

มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชม นิทรรศการศิลปะ Beauty and Ugliness : Aesthetic of Marsi ความงามและความน่าเกลียด : สุนทรียศิลป์ แห่งมารศี นิทรรศการใหญ่ครั้งแรก ในรอบ 5 ปี ที่จะนำผู้ชมร่วมค้นหาความหมายแห่งสุนทรียศาสตร์ จากผลงาน  จิตรกรรมฝีพระหัตถ์อันทรงคุณค่ากว่า 40 ชิ้น ของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร จิตรกรหญิงชาวไทยผู้สร้าง สรรค์ ผลงานอันเปี่ยมล้นด้วยตัวตนและจิตวิญญาณ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า ตั้งแต่ 7 พฤศจิกายน ถึง 23

คนเราไม่ชอบความเปลี่ยนแปลงสักเท่าไหร่ แม้ส่วนใหญ่ชอบออกมาตะโกนว่า อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง เพราะแม้แค่การปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างในชีวิตประจำวัน เราก็รู้สึกขัดหูขัดตาเสียกระบวนท่าการใช้ชีวิตไปเสียแล้ว “แปรงสีฟันฉันอยู่ไหน” รับรองว่าคุณจะเป็นอีกคนที่มึนงงหน้ากระจก หากวันใดวันหนึ่ง อุปกรณ์ยามเช้าของคุณได้ย้ายที่อยู่ออกไปตั้งรกรากใหม่ แม้จะเป็นเพียงฝั่งซ้ายไปฝั่งขวา ก็เขม่นลูกกะตาแล้วว่า ฝีมือใคร! ความรู้สึกพอๆ กับแม่มาเยี่ยมที่หอพัก พอกลับไปแล้ว อะไรที่เคยอยู่ (ไม่เป็นที่) ก็กลายเป็นหายไปตามระเบียบ (เรียบร้อย) คนอยากผอม จึงอยากได้ความเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่ไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง ก็ยังอยากฟินกินสุโก้ยโซ้ยแหลกอยู่นี่นา จะย้ายร่างออกไปตุเลงเต๊งชึ่งในฟิตเนสก็แหม ไม่มีมีเวลามากหรอกนะ คนทำงานมาเหนื่อยๆ มันต้องพักบ้างรู้รึเปล่า

คำว่า “ทั้งปี” มักจะอยู่ในรูปประโยคที่ไม่ค่อยดี เช่น เป็นอย่างนี้ทั้งปี! ที่แสดงถึงการบ่นถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  แต่มองอีกด้าน คำว่า “เป็นอย่างนี้ทั้งปี” มันก็เสมอต้นเสมอปลายดีนะ พอบอกว่า “ทั้งปี” จะหมายถึงอะไรได้บ้าง สภาพอากาศ ฝนตกทั้งปี ออกดอกทั้งปี ออกผลทั้งปี มาถึงคราวนี้ เราจะได้เข้าใจความหมายของคำว่า “ทั้งปี” กันมากขึ้น “ทั้งปี” ไม่ได้หมายถึง “ทุกวัน” เหมือนดอกไม้ที่ออกดอกทั้งปี ก็ไม่ได้ออกดอกทุกวัน จบคาบภาษาไทยแล้ว ออกไปเที่ยวกันได้ เพราะเวลาบอกว่าที่เบตง มีหมอกให้ชมทั้งปี คนก็หมายความว่า มันต้องมีให้เห็นทุกวันสินะ แต่บางครั้ง วันฝนตก อากาศไม่เป็นใจ มวลมหาหมอกก็ไม่มารวมตัวกันให้เราชม เหมือนบรรดาพลังแสงยามเช้าหรือยามเย็น ที่ต้องเฝ้ารอคอยชมความงามกันในแต่ละที่ เจอกับอิทธิฤทธิ์ของเมฆฝนเข้าไป ก็ทำให้บังแสงที่ควรจะส่องให้ชมได้ ที่ “เบตง” ได้ชื่อว่า “เมืองในหมอก” ที่ซึ่งจะชมความงามของหมอกรอบตัวได้ทั้งปี

การได้คุยกับใครสักคน เป็นความสุขหนึ่งที่สร้างความโล่งโปร่งสบายใจ แต่การได้นั่งฟังใครสักคนหนึ่ง ก็ชื่นใจไม่แพ้กัน แถมยังเปิดจินตนาการจากเรื่องเล่าได้ไม่รู้เบื่อ เพราะนี่คือ “เรื่องเล่าแห่งชาวไทลื้อ” จากแม่แสงดา สาวชาวไทลื้อ ผู้มีเรื่องราวมากมาย เป็นนิทานที่ไม่มีวันจบสิ้น กล่อมให้เราตกอยู่ในห้วงแห่งการท่องเที่ยวอย่างมีความสุข   อ.เชียงคำ จ.พะเยา คือ ประสบการณ์แห่งความสุขจากเรื่องเล่าของชาวไทลื้อที่เราได้มาสัมผัสในวันนี้ พร้อมกับความแปลกใหม่กับการสวมชุดไทลื้อออกไปท่องโลกไทลื้อในชุมชนแห่งนี้ [caption id="attachment_16634" align="aligncenter" width="900"] เช่าชุดไทลื้อมาสวมใส่ สร้างประสบการณ์ใหม่ เที่ยวชุมชนไทลื้อ[/caption] ไทลื้อ หรือ ไตลื้อ เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือการใช้ภาษาไทลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ อื่นๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่างๆ ดังที่เราได้ลองแปลงร่างเป็นชาวไทลื้อวันนี้ พบว่า ชุดไทลื้อมีความเรียบง่าย แต่ก็งดงาม [caption id="attachment_16649" align="aligncenter" width="900"]

“ชาวบ้านไม่เคยรู้หรอกว่า ของบ้านๆ ที่ทำใช้กันอยู่เป็นประจำ จะไปไกลสู่สากลได้” รศ.วาสนา สายมา นักสร้างสรรค์จากโครงการ Innovative Craft Award ปี 2555 เจ้าของแบรนด์ Vassana กล่าวในช่วงหนึ่งของการเสวนา ในงานแสดงผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยในวัฒนธรรมร่วม (Cross Cultural Crafts 2018) ซึ่งเธอเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เดินทางไปแลกเปลี่ยนมุมมองการทำงานด้านการจักสานที่ไต้หวัน จนเกิดความประทับใจว่า เพียงการจักสานลายเดียว สามารถต่อยอดการใช้งานได้นับร้อย นับเป็นเส้นทางตัวอย่าง ที่เธอจะนำมาประยุกต์ใช้กับงานจักสานที่เธอได้ร่วมกับชาวบ้านต่อไป [caption id="attachment_16577" align="aligncenter" width="900"] ผลงาน "ระย้าประจำปี" ไม้แขวนจากการผสมผสานงานไทยและไต้หวัน โดย รศ.วาสนา สายมา[/caption] “สิ่งเหล่านี้คือการทำให้ชุมชนมีรายได้จริงๆ ชาวบ้านเขาคิดว่า จักสานคืองานบ้านๆ จะโกอินเตอร์ยังไง เมื่อมีโอกาสสร้างรายได้ ก็เริ่มเห็นภาพ อย่างที่สอนผู้สูงอายุในชุมชน

เพราะความสุขจากการเดินทางท่องเที่ยว ไม่ได้เกิดระหว่างการออกเดินทางเสมอไป คนที่เก็บกระเป๋ารอวันเดินทาง คนที่กำลังออกเดินทาง หรือ คนที่กำลังนั่งมองภาพหลังจากการเดินทาง ต่างก็มีความสุขได้ในมุมที่แตกต่างกัน และอีกมุมแห่งโลกจินตนาการ คือ สัมผัสของมุมมองท่องเที่ยวผ่านงานศิลปะภาพถ่าย ซึ่งวันนี้ มีไอเดียการนำเสนอรูปแบบของนิทรรศการสมัยใหม่ มาแนะนำให้ไปชมกัน อุทยานการเรียนรู้ TK park ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จัดนิทรรศการ France eMotion

เวลาเจอใครแล้วได้รับคำทักทายว่า “ไม่เปลี่ยนไปเลยนะ” ก็แอบยิ้มในใจ เหมือนการได้รับคำถามในครั้งนี้ ก็อยากบอกเหมือนกันว่า แม้จะไม่เหมือนเดิมทั้งหมด แต่ภาพรวมๆ ก็ยังไม่เปลี่ยน นานมาแล้วที่เราเดินทางไปเกาะหมาก และอีกหลายครั้งที่มีโอกาสได้เดินไปทางไปเยือน พร้อมข่าวคราวที่น่ายินดีของเกาะแห่งนี้ ที่ทำให้วันนี้ เกาะหมาก เป็นเกาะหนึ่งในประเทศไทย ที่มีการเจริญเติบโตทางด้านการท่องเที่ยว แต่สภาพแวดล้อมของเกาะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปไหนมาก และวันนี้ก็เป็นโอกาสที่ดีอีกครั้ง เมื่อเกาะหมากได้รับการจัดการที่เข้มแข็งขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตที่อาจจะควบคุมไม่ได้ในอนาคต เพราะปัจจุบัน แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ยังบริหารด้วยคนเกาะหมาก แต่ก็มีบางส่วนถูกขายให้คนต่างพื้นที่แล้ว ดังนั้น นอกเหนือจากการควบคุมทางด้านการก่อสร้างที่ไม่ให้สูงเกินตามกำหนดแล้ว ยังต้องล้อมรั้วเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม จากคนทุกภาคส่วน ไม่นานมานี้ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และประชาชนบนเกาะหมาก จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “เกาะหมากสดใส ร่วมใจลดคาร์บอน Kohmak

ลิ้นกับฟันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะกระทบกัน นั่นคือเรื่องที่เราได้ยินกันมานาน สำหรับการครองชีวิตคู่ ซึ่งคนที่ไม่เคยก็คงไม่รู้ ส่วนคนที่อยู่ในจุดนั้น ต่างก็เจอปัญหาที่แตกต่างกัน แต่วันนี้ปัญหาของลิ้นกับฟัน ที่เคยพลาดเคยเผลอเรอ กระทบกระทั่งกันบ้าง กลับลุกลามไปใหญ่ กลายเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นเด็กและสตรี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าใจหายว่า ในบรรดาความรุนแรงในสังคมทั้งหมด ส่วนใหญ่มาจากครอบครัว ครอบครัว เป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุด แต่ก็มีความสำคัญมากที่สุด เพราะพลังที่ยิ่งใหญ่ย่อมหลอมรวมมาจากจุดเล็กๆ ครอบครัวของเรา บ้านแต่ละหลัง ก็หมายถึงพลังเล็กๆ ในสังคมที่รวมตัวกัน เมื่อวันที่ปัญหาในครอบครัว กลายเป็นสถิติที่พุ่งสูง จึงต้องได้รับการแก้ไขในหลายมิติ หนึ่งในนั้น คือการขจัดต้นทางแห่งปัญหาด้านเศรษฐกิจ วันนี้เรามีโอกาสได้เข้าร่วมงาน “มหกรรมตลาดนัด สร้างอาชีพให้มั่นคง สังคมไทยไร้ความรุนแรง” โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดขึ้นเพื่อแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมพื้นถิ่น ฝีมือกลุ่มสตรีและครอบครัวทั่วประเทศกว่า 200 ร้านค้า และเชิญภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง มาออกบูธและจัดแสดงนิทรรศการประเด็นความรุนแรง อีกจำนวน 45 บูธ นอกจากนี้ ยังมีเวทีเสวนาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงในทุกรูปแบบ

ภาพที่ชินตาหากว่าเราเดินทางไปยังชุมชนห่างไกลในต่างจังหวัด คือบ้านเรือนที่เรียงรายอยู่อย่างเงียบเชียบ มีเพียงคนเฒ่าคนแก่ที่นั่งชะเง้อชะแง้อยู่หน้าบ้าน เพราะลูกหลานต้องไปทำงานหรือไปเรียนกันในเมืองใหญ่ ชีวิตที่แปรเปลี่ยนไป ยามที่เข้าสู่วัยชรา นอกจากกำลังวังชาที่ลดหาย สายตาที่พร่าเลือนแล้ว ความทรงจำดีๆ ก็พาลจะจางตามลงไปด้วย จากที่เคยอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตากัน กลับเหลือเพียงความเดียวดาย บางบ้านเหลือกันเพียงสองตายาย แย่หน่อยก็ตอนที่คนใดคนหนึ่งต้องจากไปก่อน "เพราะไม่อยากคุณพ่ออันเป็นที่รักต้องประสบกับภาวะนี้ จึงเป็นที่มาของการสร้างชีวิตให้มีชีวิตชีวา พร้อมส่งต่อความเป็นชีวิตให้กับอีกหลายครัวเรือน" พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต ตำบลหนองพันทา อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ  รวบรวมวิถีชีวิตของคนบึงกาฬในอดีตมาไว้บนเรือนไม้หลังเก่าอันเป็นบ้านแห่งความรักความห่วงใย  จากฟู้ดสไตลิสต์ชื่อดัง “คุณขาบ สุทธิพงษ์ สุริยะ” ที่ดัดแปลงบ้านที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เด็กๆ มาเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้วิถีชุมชน โดยผสานความเป็นศิลปะกับธรรมชาติแห่งวิถีชีวิตได้อย่างลงตัว พี่หวัง หรือ สจ.สมหวัง  สาวเก่งสาวแกร่งแห่งโซ่พิสัย หนึ่งในครอบครัวสุริยะ เล่าให้ฟังคร่าวๆ ว่า นี่คือบ้านหลังเดิมที่อาศัยอยู่มาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ คุณขาบและพี่น้องอยู่บ้านหลังนี้มาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อพวกเขาเติบโต ก็ออกไปมีครอบครัวและทำงานในต่างพื้นที่ เหลือแค่เพียงพ่อและแม่ ในครอบครัวก็คิดกันว่า ทำอย่างไรให้มีใครสักคนเข้ามาอยู่เป็นเพื่อนพ่อกับแม่ น้องสาวคนเล็กจึงเสียสละ

นั่นสินะ มันก็ตอบยากอยู่เหมือนกัน ข้าวแกง ที่ง่ายและสะดวก มีให้เลือกหลากหลาย จะกินกี่อย่างก็ได้ ต้ม ผัด แกง ทอด ก็ว่ากันไป แล้วทำไม อาหารตามสั่งจึงยังเป็นมื้อยอดฮิตตั้งแต่เช้าสายบ่ายเย็น  นั่นอาจเป็นเพราะอาหารตามสั่ง มีลักษณะพิเศษบางอย่าง ที่ไม่แมส แม้จะอยู่ทุกต้น ท้าย กลาง ซอย  ตั้งแต่รถเข็น ไปจนถึงโรงแรมหรู ก็ตาม แต่คำว่า “ตามสั่ง” มันสร้างความแตกต่างให้กับเราได้ ไม่หวาน ไม่ชูรส ไม่ผัก ไม่หอม ผักชีเยอะๆ ไม่ซีอิ๊ว ใส่ถั่วอย่างเดียว ไม่เผ็ด พริกเยอะๆ ขอมะนาวเพิ่ม

เอาอกเอาใจทุกท่านที่ชื่นชอบรสชาติอันล้ำลึกของอาหารญี่ปุ่นต้นตำรับ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ หัวหิน เชิญคุณลิ้มลองความอลังการของรสชาติอาหารญี่ปุ่นที่ดีที่สุด จากบุฟเฟ่ต์อาหารค่ำสุดพิเศษทุกวันจันทร์ คัลลินารี เทรเชอร์ (Culinary Treasures) อลังการอาหารญี่ปุ่น ณ ห้องอาหารญี่ปุ่นฮากิ ที่พร้อมเสิร์ฟความอร่อยจากแดนอาทิตย์อุทัยให้คุณได้อิ่มอร่อยอย่างเต็มที่ สำหรับมื้อค่ำทุกเย็นวันจันทร์ ห้องอาหารญี่ปุ่นฮากิ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ หัวหิน นำเสนอความอลังการตระการตาของสุดยอดของรสชาติแห่งอาหารญี่ปุ่นที่ดีที่สุด ในบุฟเฟ่ต์อาหารค่ำสุดพิเศษ คัลลินารี เทรเชอร์ (Culinary Treasures) อลังการอาหารญี่ปุ่น ที่คัดสรรสุดยอดวัตถุดิบขึ้นชื่อ จากดินแดนอันสวยงาม ผ่านท้องทะเลลึกของเมืองอาทิตย์อุทัย มาปรุงเป็นหลากหลายจานอาหารรสเยี่ยม เพื่อเอาอกเอาใจสาวกอาหารญี่ปุ่นอย่างแท้จริง เริ่มต้นมื้อพิเศษของคุณด้วยรสสัมผัสหนานุ่มแห่งท้องทะเลลึก ซูชิและชาชิมิคุณภาพเยี่ยม เคล้าซอสโชยุและวาซาบิสดแบบต้นตำรับ ต่อด้วยความกรุบกรอบของเทมปุระนานาชนิด ที่รับประกันความอร่อยแบบบางเบาของแป้งสไตล์ญี่ปุ่นและซอสเทมปุระดั้งเดิม หรือจะลองรับประทานของว่างสไตล์ญี่ปุ่นสุดแสนโปรดปราน อย่าง เกี๊ยวซ่า และ ทาโกะยากิ ก็มีให้ได้ลองอย่างครบรส ก่อนเริ่มลิ้มลองจานเด่นหลากหลายรายการ

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลำปาง ร่วมกับ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส จัดงาน  “LAMPANG CITY เส้น : มหกรรมรวมพลคนกินเส้น”  ครั้งแรกในภาคเหนือกับเทศกาลอาหารเมนูเส้น  พบกับเมนูเส้นไฮไลท์ บะหมี่เส้นผัก เส้นผลไม้, บะหมี่สายรุ้ง 7 สี, ก๋วยเตี๋ยวชามยักษ์, ราดหน้ากะลา, หมี่คลุกสัปปะรด และเมนูเส้นกว่า 200 เมนู จาก 30 ร้านดังในจังหวัดลำปาง อาทิ  ร้าน ลลลล.ลำลำลับแล, ร้านชอกะเชอ 2, ร้านบะหมี่เกี๋ยวโกใจ๋ จูเนียร์, ร้านทองทิพย์ขนมเส้นหม้อดินบุฟเฟ่ต์, ร้านราดหน้าอัศวิน, ร้านน้ำเงี้ยว Homemade, ร้านผัดไทยเจ๊นันท์,

เป็นเรื่องจริงที่ว่า คนในระดับผู้บริหารจะไปไหนมาไหนก็ต้องสะดวกสบายสมฐานะ แต่ใช่ว่าเรื่องของการท่องเที่ยวจะจำกัดเฉพาะสถานที่หรูหรา กินหรูอยู่แพงเสมอไป เพราะยังมีอีกหลายแง่มุมให้ท่านไปสัมผัส เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และได้ประสบการณ์ใหม่ๆ พร้อมทั้งไอเดียในการพากันไปท่องเที่ยวกันแบบหมู่คณะ หรือการท่องเที่ยวกลุ่มองค์กร ซึ่งเป็นอีกเป้าหมายของการกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยให้ไปถึงชุมชน ไม่นานมานี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  ร่วมกับ พันธมิตรภาครัฐและเอกชน จัดงานเปิดตัว WE LOVE LOCAL (วี เลิฟ โลคอล) แคมเปญส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชนสำหรับกลุ่มตลาดองค์กร นำเสนอ 10 คอลเลคชั่น ชุมชนท่องเที่ยวเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มองค์กร (Corporate) ทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก 10 ซีอีโอจากองค์กรต่างๆ ร่วมเป็นพรีเซนเตอร์ CEO LOVE LOCAL (ซีอีโอ เลิฟ โลคอล) โปรโมทชุมชนทั้ง 10

จังหวัดน่าน ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปสัมผัสบรรยากาศ และชื่นชมธรรมชาติที่สวยงามเป็นจำนวนมากตลอดทั้งปี “อำเภอบ่อเกลือ” เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสุดคูล ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมความงามตามธรรมชาติทั้งผืนป่าที่สมบูรณ์ มีภูเขา ลำธาร และแหล่งน้ำที่ใสสะอาด [caption id="attachment_16272" align="alignnone" width="900"] ภาพมุมสูงของลำน้ำมางและธารน้ำตกจากบ่อเกลือวิว[/caption] ‘ลำน้ำมาง’ เป็นลำธารเล็กๆ ที่ไหลผ่าน ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ นอกจากเป็นอัญมณีด้านการท่องเที่ยวของอำเภอบ่อเกลือแล้ว ชุมชนยังถือว่าลำน้ำมางเป็นแม่คนที่ 2 และถือเป็นสายเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชุมชนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการอุปโภคบริโภคและใช้ในการทำเกษตรโดยเฉพาะการทำนา อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และที่วางไข่ของสัตว์น้ำหลากหลาย เช่น ปลามัน ปลาผีเสื้อ หรือปลาปีกแดงซึ่งเป็นปลาหายาก และยังเป็นแหล่งที่ตั้งของบ่อเกลือสินเธาว์ภูเขาบ้านบ่อหลวงบ่อเกลือโบราณที่มีอายุมานานกว่าพันปีหนึ่งเดียวในโลกที่ตั้งอยู่บริเวณลำน้ำมาง ถือเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอบ่อเกลือ แต่ปัจจุบันสภาพความสวยงามของลำน้ำมางหายไป หลังจากถูกทำลายลงจากโครงการของภาครัฐโดยการขุดลอกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ บรรเทาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในช่วงต้นปี 2558 ที่ผ่านมา ทำให้คนในชุมชนออกมาคัดค้าน นอกจากสร้างความเสียหายให้กับชุมชนแล้ว ยังเป็นโครงการที่ไม่โปร่งใส ไม่มีการทำประชามติ ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ทราบรายละเอียด

ความฝันของผู้ชายหลายๆ คน คือการได้ไว้หนวดไว้เครา ส่วนใหญ่ก็อยากมีไว้เพื่อเสริมความคมเข้มบนใบหน้า และแสดงถึงเอกลักษณ์ของชายชาตรี พ่อแม่ผู้ปกครองหรือบรรดาคุณยายคุณย่า อาจจะไม่ชอบพอความรกครึ้มบนใบหน้าของเจ้าลูกหรือหลานชายมากนัก บ้างก็บอกว่ามันดูไม่ดีเอาเสียเลย  อาจจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคเสียด้วยซ้ำ แต่มาในปัจจุบัน การไว้หนวดไว้เครา ได้รับการยอมรับมากขึ้น แถมยังมีประโยชน์อีกมาก นอกจากความมั่นใจในเอกลักษณ์แห่งบุรุษแล้ว เครายังสามารถปกป้องแสงแดด สร้างความอบอุ่นในสภาพอากาศหนาวเย็น รวมทั้งให้ความชุ่มชื่นบนใบหน้า แต่นั่นหมายถึงเคราที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี การไว้เคราจึงเป็นหนึ่งคำถามยอดฮิตของผู้ชายในทุกยุคสมัย ว่าจะทำอย่างไรจะครอบครองความคมเข้มนั้นมาได้ ก็ว่ากันไปตามแต่วิธีการของตน ซึ่งวันนี้เราไม่ได้มีไอเดียสร้างเคราบนใบหน้าผู้ชายมาแชร์  แต่เป็นเรื่องของเครา ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน คือมีทั้งความสวยงาม ประโยชน์ เต็มไปด้วยเสน่ห์ชวนลุ่มหลง “เคราฤาษี” เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ ในวงศ์สับปะรดที่ไม่มีราก ลำต้นห้อยระย้าเป็นทิ้งตัวลง แต่จะดูไม่มีน้ำหนักมากนัก ต้นสมบูรณ์ถึงน้ำถึงแดด จะดูฟูๆ เด้งๆ  ชุ่มชื่นสายตา เราพบเคราฤาษีมานาน  เพราะอยู่ในหนึ่งไม้ประดับตกแต่งสวนที่เลี้ยงง่าย ให้ความงดงาม เพราะหากปลูกเรียงต่อๆ กันเป็นเวลานานก็จะกลายเป็นม่านระย้าที่สวยงาม สามารถบังแสงแดดได้ดี “บิ๊กการ์เด้น” สวนกล้วยไม้ หนึ่งในเส้นทางชุมชนท่องเที่ยวิถีเกษตร มณฑลนครชัยศรี

ศาสตร์ของพระราชา วิถีเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นแนวคิดที่เหมาะสมกับวิถีถิ่นของไทย หลายโครงการต่อยอดมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำถิ่น อเล็กซ์ เรนเดล, เฟรซ-อริศรา วงษ์ชาลี, ลิฟท์-สุพจน์ จันทร์เจริญ และครอบครัว, ดุ๊ก-ภาณุเดช วัฒนสุชาติ และ ท็อป-พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันถึงความปลามปลื้มใจที่ได้ลงพื้นที่ สัมผัสชีวิตตามแนวพระราชดำริที่แฝงไปด้วยความเรียบง่าย พอเพียง แต่เลี้ยงตนได้อย่างสุขใจ ในโครงการ “แหล่งท่องเที่ยวตามรอยศาสตร์พระราชา สู่การเชื่อมโยงแอ่งท่องเที่ยว” โดยโครงการนี้เป็นการน้อมนำศาสตร์ของพระราชา เพื่อมาต่อยอดในการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวตามรอยศาสตร์พระราชา และการเดินทางเพื่อเชื่อมโยงแอ่งท่องเที่ยว หรือการเดินทางสู่เมืองรอง [caption id="attachment_16231" align="aligncenter" width="891"] อเล็กซ์ เรนเดล ในทริป ราชบุรี-นครปฐม[/caption] อเล็กซ์ เรนเดล  กล่าวว่า “เป็นความรู้สึกที่แปลกใหม่สำหรับการท่องเที่ยว

กลีบบางที่รัดตรึงเข้าด้วยกันอย่างมีชั้นเชิง ยามผลิบานก็เผยกลีบซ้อนซ่อนเฉดสี  เป็นความงามหลากมิติของดอกบัว ดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ใช้ทั้งการประดับและบูชา และเป็นตัวแทนของศรัทธาอันบริสุทธิ์ หลายพื้นที่ของประเทศไทย มีการปลูกบัวกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพราะปริมาณความต้องการการใช้ดอกบัวยังมีอย่างสม่ำเสมอ ไม่เฉพาะวันพระเท่านั้น ด้วยสารพัดประโยชน์ของบัว ตั้งแต่ราก ก้าน ใบ ดอก ทำให้เกิดภูมิปัญญาจากดอกบัวขึ้นอีกมาก กระจายไอเดียได้หลากหลายเหมือนสายบัวที่แตกแขนงออกไปจนเต็มบึง พื้นที่จังหวัดนครปฐมเป็นอีกแหล่งของการปลูกบัว หรือที่เรียกกันว่าการทำนาบัว ซึ่งดัดแปลงมาจากนาข้าว และวันนี้เราคงได้เห็นแล้วว่า นอกจากการกินและใช้บัวแล้ว การได้ชมบัวยังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรได้อีกทาง เราเดินทางมายังจังหวัดนครปฐม ด้วยภารกิจสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม พร้อมกับเครือข่ายชุมชน ซึ่งได้จัดทำเส้นทางเที่ยวชมสวนเกษตรในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครปฐม ในช่วงเวลาการจราจรโล่งๆ หากคุณไม่ใช่คนขับ นครปฐมเป็นก็เป็นจังหวัดที่เผลอสัปหงกไปครั้งสองครั้งก็ไปถึง เพราะใกล้กันจนไม่รู้ตัว แต่เพราะใกล้กันนี่แหละ ยิ่งดูไกล เพราะจะบอกว่า “ค่อยไป

ปัจจุบันเครื่องประดับเงินอาจจะถูกมองว่าใส่แล้วเชย ไม่ทันสมัย หรืออาจจะซื้อมาในราคาสูง แต่พอจะขายต่อกลับขายยาก เพราะคนส่วนใหญ่สนใจโลหะหรือแร่ที่มีค่ามากกว่าอย่างเพชรหรือทองคำ แต่หากจะว่าไปแล้ว “เครื่องเงิน” จัดเป็นเครื่องประดับที่รวมความละเอียดอ่อน และบ่งบอกอัตลักษณ์ของผู้ที่สลักเสลางานเงินชิ้นนั้นขึ้นมาได้เป็นอย่างดี หรือจะเรียกว่า เครื่องเงินโบราณ คือไทม์แมชชีนให้เราได้เรียนรู้ความคิดและความเชื่อของคนในยุคอดีตก็ว่าได้ และเมื่อโลกเปลี่ยน เครื่องเงินก็เปลี่ยนดีไซน์ไปตามยุคสมัยเช่นกัน แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ตัวตนของคนแต่ละท้องถิ่นก็ยังจารึกอยู่ในลวดลายเสมอ จึงอยากจะพาไปเที่ยวทั่วไทย สำรวจเครื่องเงินจากแต่ละภาคของไทย ว่ามีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นอย่างไรบ้าง ภาคเหนือ เครื่องเงินเมืองน่าน น่านคือหนึ่งในเมืองที่มีภูมิปัญญาการผลิตเครื่องเงินมาช้านาน เครื่องเงินน่านจึงไม่เหมือนกับที่อื่น โดยปัจจุบันแบ่งเป็น 2 แบบคือ แบบเงินดั้งเดิม และแบบชมพูภูคา (เครื่องเงินชาวเขา) โดยแบบดั้งเดิมจะมีรากมาจากการกวาดต้อนเทครัวช่างเงินและช่างทองจากฮ่อน้อย ฮ่อหลวง เมืองยอง และเชียงแสน มายังบริเวณบ้านประตูป่องของเมืองน่าน ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ จนเกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญา ส่วนแบบชมพูภูคา เกิดจากการประยุกต์งานเงินโดยชาวเขาเผ่าเมี่ยน และเผ่าม้ง เครื่องเงินน่านในภาพรวมต่างจากเครื่องเงินภาคอื่นตรงที่ช่างนิยมใช้เม็ดเงินที่มีค่าความบริสุทธิ์ระหว่าง 96-98% ซึ่งมีความอ่อนตัวสูงกว่าเนื้อเงินทั่วไป