Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

“ลาบเครือหมาน้อย” อาหารที่เป็นยิ่งกว่าอาหาร

ปัจจุบัน ผู้คนกำลังถวิลหาวิถีธรรมชาติ ชื่นชมกับอาหารปลอดสารพิษ เฮโลไปตามหาพืชพันธุ์สายรักษาโรค นานมาแล้ว บรรพชนคนอีสานสอดแทรกวิถีธรรมชาติลงไปในอาหารพื้นบ้าน กลายเป็นอาหารที่มีคุณค่ามากว่าความเป็นอาหาร อันควรค่าแก่การสืบสานต่อไป “ลาบเครือหมาน้อย” คือเมนูในตำนานที่ว่านั้น

อิสานมีวัฒนธรรมการกินในรูปแบบที่สามารถแสวงหาได้จากรอบตัวอย่างน่าอัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็นแมลง นก หนู และสัตว์อื่น ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะสภาพการดำรงชีวิตของชาวอิสานที่ชอบอิงแอบ ใกล้ชิดกับธรรมชาติ โดยมีป่า โคก แหล่งน้ำ เป็นแหล่งหลักในการแสวงหาวัตถุดิบมาใช้ในการประกอบอาหาร 

นอกจากจะนำเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติมาประกอบเป็นอาหารแล้ว บรรพบุรุษของชาวอิสานยังเปี่ยมด้วยภูมิปัญญาในการดัดแปลง ปรับตัวให้อยู่รอด โดยการสอดแทรกตำรับยาพื้นบ้านอยู่ในอาหารอีสานเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้รับประทาน

อาหารพื้นบ้านของอีสานอีกเมนูหนึ่งที่หากินค่อนข้างยาก หรือบางทีคนต่างถิ่นอาจจะไม่กล้าลองลิ้มรส คือ “ลาบเครือหมาน้อย” บางคนฟังชื่อแล้วให้ฉงน เอาหมาน้อยมาลาบให้กินจริงๆ หรือ เปล่าหรอก หมายถึงการคั้นเอาน้ำจากต้นเครือหมาน้อย แล้วนำมำมาปรุงรสกับวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อเป็นการปรุงแต่งให้น่ารับประทานมากขึ้น เช่นนำไปผสมผสานกับป่น เป็นต้น แต่สำหรับคนที่รู้ถึงสรรพคุณทางยาของเครือหมาน้อยแล้ว จะไม่ลังเลเลยกับการยกทั้งชามขึ้นมาซดจนเกลี้ยง

ชื่อที่เรียกว่า หมาน้อยนั้น ไม่อาจทราบที่มาอันแท้จริงได้ได้ บ้างเล่าว่า เพราะใบอันมีขนนุ่ม ลูบไปแล้วเหมือนลูบหลังหมาน้อยที่เพิ่งเกิด  ชาวอิสานจึงเรียกว่า “ต้นเครือหมาน้อย” ส่วนอีกหนึ่งที่มานั้น เล่ากันว่า พอคั้นเป็นน้ำแล้วถ้าไม่รีบกิน สักพักน้ำที่คั้นไว้นั้นจะแข็งเป็นตัวอ่อนนุ่มเหมือนหมาน้อย บางทีก็ว่า เดี๋ยวมันจะแข็งเป็นตัวแล้วจะวิ่งหนีไปเหมือนหมาน้อย

บรรพชนคนอีสานสอดแทรกวิถีธรรมชาติลงไปในอาหารพื้นบ้าน
กลายเป็นอาหารที่มีคุณค่ามากว่าความเป็นอาหาร อันควรค่าแก่การสืบสานต่อไป

 เครือหมาน้อย เป็นพืชตระกูลหนึ่ง ไม่ใช่ลูกสุนัขเกิดใหม่ นอกจากจะนำมารับประทานเป็นอาหารแล้ว ยังแฝงด้วยสรรพคุณในการเป็นยาอีกด้วย เช่น เป็นยาแก้ร้อนใน ใช้แก้ไข้ แก้ดีรั่ว ดีล้น ดีซ่าน เป็นยาขับปัสสาวะ ยาถ่าย แก้ไข้มาลาเรีย ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ฯลฯ ทั้งนี้การใช้ประโยชน์ในด้านการใช้เป็นยาอาจะมีวิธีการปรุงแต่งไม่เหมือนกัน เพราะบางครั้งอาจใช้เฉพาะราก ใช้เฉพาะใบ หรือเฉพาะเครือ เป็นต้น 

นอกจากมีสรรพคุณทางด้านยาแล้ว เครือหมาน้อยยังมีสรรพคุณทางความงามอีกด้วย โดยมีกรรมวิธีง่ายๆ เพียงแค่เด็ดใบนำมาล้างน้ำ ขยี้ใบให้เป็นวุ้น ๆ แล้วนำพอกหน้า ทำเป็นสมุนไพรใช้มาส์กหน้า บำรุงผิว หลังพอกจะรู้สึกผิวหน้าเต่งตึง เปล่งปลัง ให้ความรู้สึกเย็นสบาย ช่วยรักษาสิว ปัจจุบันมีผู้นำไปผลิตเป็นเจลพอกหน้า (ใบเครือหมาน้อย มีสารเพกทินอยู่ประมาณ 30% มีคุณสมบัติในการพองตัวอุ้มน้ำ) 

“เครือหมาน้อย” (ชื่ออื่นๆ กรุงเขมา กลาง นครศรีธรรมราช, หมอน้อย อุบลราชธานี, ก้นปิด ตะวันตกเฉียงใต้, ขงเขมา พระพาย ภาคกลาง, เปล้าเลือด แม่ฮ่องสอน, สีฟัน เพชรบุรี ชื่อวิทยาศาสตร์ Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman.) จัดเป็นพืชป่าตระกูลไม้เลื้อย มักอาศัยพันกับหลักหรือต้นไม้ พบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทยโดยเฉพาะทางแถบภาคอีสานจะพบมาก มีลักษณะใบเดี่ยวรูปหัวใจ มีขนปกคลุมทั่วทั้งใบและท้องของใบดูคล้ายๆย่านางแต่ต่างกันที่ใบย่านางไม่มีขน

“ลาบเครือหมาน้อย”

วัตถุดิบหลัก

ใบหมาน้อย          1 กำมือ

ป่น                    1 ถ้วย

ตะไคร้                1 ต้น

มะเขื่อขื่น             1/2 ผล

น้ำ                     1/2-1 ถ้วย

ข้าวคั่ว ต้นหอม ใบผักชี น้ำปลาร้า เครื่องปรุงรสอื่นๆ

วิธีการทำ

  1. ล้างใบหมาน้อยให้สะอาด, ตะไคร้ มะเขื่อขื่น ต้นหอม ใบผักชี หั่นฝอย
  2. ขยำใบหมาน้อยกับน้ำ จนออกเป็นเขียว กรองเอากากออก (ระหว่างคั้นใบให้คั้นใบย่านางผสมลงไปด้วย ซึ่งจะช่วยให้เป็นวุ้นแข็งตัวเร็วขึ้น)
  3. นำป่น(ป่น อีกความหมายหนึ่งคือ ละเอียด ในที่นี้ หมายถึงการโขลกเนื้อปลาให้ละเอียดแล้วนำมาปรุงเป็นเหมือนน้ำพริก) ผสมกับตะไคร้ มะเขื่อขื่น ข้าวคั่ว คลุกให้นัวเข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า น้ำปลา เติมรสตามจริต

ปัจจุบัน คนอิสานรุ่นใหม่อาจจะไม่คุ้นเคยกับชื่ออาหารเมนูนี้แล้ว น่าเสียดาย ถ้าหากอาหารรสแซ่บ จากการดัดแปลง ปรับตัว อย่างชาญฉลาด ด้วยการผสมผสานระหว่างอาหารและยาได้อย่างลงตัว จนกลายเป็นอาหารพื้นบ้านอันบ่งบอกถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษอิสาน  ที่ตกทอดสืบต่อกันมาจะสูญหายไป 

โครงการ “รักษ์บ้านนอก”โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มุ่งหวังให้คนรุ่นหลัง ได้อนุรักษ์วิถีถิ่น  สืบสานรสพื้นบ้านต่อไป เพื่อให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ได้สัมผัสถึงคุณค่าอาหารที่มากยิ่งกว่าอาหาร

ข้อมูล: https://medthai.com, https://www.silpa-mag.com

Post a comment

sixteen + 15 =